ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ผู้ชนะสิบทิศ บุเรงนอง มหาราชแห่งอุษาคเนย์
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2544
ตอบกลับ: 6
ผู้ชนะสิบทิศ บุเรงนอง มหาราชแห่งอุษาคเนย์
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2017-5-6 16:02
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2017-5-6 16:04
ผู้ชนะสิบทิศ บุเรงนอง มหาราชแห่งอุษาคเนย์
ในบรรดากษัตริย์พม่าทั้งหมด พระนามของ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้มีสมญาว่า ผู้ชนะสิบทิศ
ดูจะเป็นที่คุ้นหูคนไทยมากที่สุด เรื่องราวของพระองค์ถูกเล่าขานในหลายรูปแบบ
ตั้งแต่เป็นมหาราชผู้เกรียงไกรของพม่า ศัตรูผู้ชิงเอกราชของอโยธยา มหามิตรของพระมหาธรรมราชาและพระบิดาบุญธรรมของพระนเรศวร สุดท้ายคือ พระเอกรูปหล่อ ผู้เก่งกล้าในอมตะนิยาย ผู้ชนะสิบทิศทว่าพระราชประวัติที่แท้จริงของพระเจ้าบุเรงนองที่ถูกบันทึกไว้นั้น เป็นอย่างไรกันแน่ คำตอบที่ว่า (แม้อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด) สามารถหาอ่านได้จากบทความต่อไปนี้
(อนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนอง)
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 (ต้นศตวรรษที่ 16) ดินแดนลุ่มน้ำอิรวะดีถูกแบ่งเป็นหลายแว่นแคว้น โดยแคว้นใหญ่ทั้งสี่ ได้แก่ ตองอูเกตุมวดี โปรม(หรือแปร) รัตนบุระอังวะและหงสาวดี โดยอังวะและแปรนั้นถูกปกครองโดยเชื้อสายชาวพม่าผสมไทใหญ่ ส่วนหงสาวดีเป็นอาณาจักรของชาวมอญ ขณะที่ตองอูถูกปกครองโดยชาวพม่า
พระเจ้าบุเรงนองทรงถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเรื่องชาติกำเนิดของพระองค์นั้นมีตำนานที่เล่ากันแพร่หลายว่า พระองค์เป็นบุตรของคนปาดตาล ที่หมู่บ้านงะสะยอก ในเขตเมืองพุกาม ในสมัยนั้นอาชีพคนปาดตาลถือว่า ยากจน ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการปีนต้นตาลสูงขนาดตึกห้าหกชั้นและเอามีดปาดงวงตาลก่อนใช้กระบอกรองน้ำหวานที่ไหลออกมาจากงวงตาล เพื่อใช้ทำน้ำตาลสด หรือน้ำตาลปึก
ส่วนมารดาของบุเรงนองนั้น ต่อมาได้ถูกเลือกให้เป็นพระนมของราชกุมารมังตรา พระโอรสของพระเจ้าเมงกะยินโยแห่งตองอู ทำให้บุเรงนองได้มีโอกาสติดตามมารดาเข้ามาอยู่ในวังตั้งแต่ยังเล็ก นอกจากนี้ตำนานยังเล่าต่อด้วยว่า เมื่อครั้งเป็นทารก บุเรงนองถูกบิดาวางเอาไว้บนพื้นและมีปลวกมากมายมาไต่ทั่วตัวโดยที่ทารกน้อยยังหลับสบายไม่เป็นอะไร ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ จึงถูกตั้งชื่อว่า ชาเต หรือ จะเด็ด ในนิยายผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งคำว่า จาเต็ดนี้ แปลว่า เจ้าปลวกไต่
อย่างไรก็ตาม ในพงศาวดารพม่า ฉบับ อูกาลา ที่เขียนขึ้นหลังการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง 121 ปี ระบุเป็นนัยว่า บุเรงนองมีเชื้อสายเกี่ยวดองกับราชวงศ์ตองอู โดยเกิดที่เมืองตองอู ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2058 บิดา มีนามว่า เมงจี สเว (Mengyi Swe) เป็นขุนนางของพระเจ้าตองอู นอกจากนี้ใน มหาราชวงศ์ศาวดารพม่า ก็ระบุไว้ด้วยว่า บุเรงนองเป็นหนึ่งในพี่เลี้ยงทั้งเจ็ดของราชกุมารมังตรา ผู้ที่ภายหลังคือ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ โดยพี่เลี้ยงทั้งเจ็ดนี้ถูกคัดเลือกมาจากบุตรหลานของเหล่าขุนนางและพระราชวงศ์ทั้งสิ้น
สำหรับพระนามเดิมของพระเจ้าบุเรงนองนั้น นอกจากนาม ชาเต แล้ว ในหนังสือสารานุกรมของพม่ายังเขียนไว้ว่า ในวัยเยาว์ บุเรงนองมีนามว่า เชงเยทุต ซึ่งแปลว่า เจ้าผู้ยอดกล้า
ชาเต เติบโตในวังพร้อมกับราชกุมารมังตรา โดยมีฐานะเป็นพระพี่เลี้ยง ครั้นต่อมาเมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่ม พระเจ้าเมงกะยินโยยังได้พระราชทาน พระธิดานามว่า ตะขิ่นจี ให้แก่ชาเต อีกด้วย
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมงกะยินโยในปี พ.ศ. 2073 ราชกุมารมังตราซึ่งมีพระชนมมายุเพียงสิบสามชันษาได้สืบทอดราชสมบัติและทรงพระนามว่า เมงตยายาวที หรือพระเจ้าตะเบงชเวตี้ ซึ่งแปลว่า สุวรรณเอกฉัตร
เมื่อ พระเจ้าตะเบงชเวตี้มีชันษาครบ 15 ชันษา พระองค์ต้องประกอบพิธีเจาะพระกรรณตามพระราชประเพณี ทว่าแทนที่จะประกอบพิธีในตองอู พระองค์กลับเสด็จไปยังพระธาตุมุเตาชานกรุงหงสาวดีในอาณาเขตรามัญประเทศ โดยขบวนของพระองค์ ประกอบด้วยพราหมณ์ 8 คนและอำมาตย์ 40 คน สำหรับประกอบพิธี ซึ่งในการเสด็จครั้งนี้ ชาเต ได้ทำหน้าที่คุมทหารม้า 500 นาย คุ้มกันขบวนเสด็จ
ในครั้งนั้น พระเจ้าตากายุตปี (Takayutpi) กษัตริย์หงสาวดีทรงพิโรธ ที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้อาจหาญนำไพร่พลเพียงห้าร้อยมาถึงชานเมืองหงสา จึงส่งพระยาลอ พระยาจาน คุมไพร่พลหนึ่งหมื่นมาจับพระองค์
ทว่าพระเจ้าตะเบงชเวตี้กลับไม่หวั่นเกรงและให้อำมาตย์ประกอบพิธีเจาะพระกรรณจนเสร็จ จากนั้นก็ทรงนำทหารม้าตองอูทั้ง 500 นายตีฝ่าทัพมอญกลับออกไปถึงยังนครตองอูได้โดยปลอดภัย
หลังการเหยียบจมูกหงสาวดีในครั้งนั้น ตะเบ็งชะเวตี้ก็เริ่มเปิดศึกกับชาวมอญอย่างเต็มที่ เพื่อหวังรวมแผ่นดินในลุ่มน้ำอิรวะดี โดยมี ชาเตซึ่งเป็นทั้งพี่เขย พระพี่เลี้ยงและขุนพลคู่พระทัยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ
สงครามระหว่างตองอูและหงสาวดีดำเนินมาหลายครั้งจนถึงปี พ.ศ. 2082 ทัพตองอูก็ยึดกรุงหงสาวดีได้ พระเจ้าตากายุทปีเสด็จหนีพร้อมไพร่พลแปดพันนาย มุ่งหน้าไปยังเมืองแปรเพื่อขอพึ่ง พระเจ้านรบดี พันธมิตรของพระองค์ ในยามนั้น ฝ่ายตองอูรู้ดีว่า หากปล่อยให้ พระเจ้าหงสาวดีนำไพร่พลไปรวมกับทัพแปรได้แล้ว จะกลายเป็นภัยใหญ่หลวง พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงทรงนำทัพไล่ตาม โดยมีชาเตเป็นกองหน้า
ชาเตนำไพร่พล 1,000 คนติดตามทัพพระเจ้าหงสาวดีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือมาถึงพื้นที่ซึ่งเรียกว่า นองโย ที่นักประวัติศาสตร์คาดว่า น่ะจะอยู่บริเวณปากแม่น้ำอิรวะดี ก่อนถึงเมืองแปร โดยทัพของพระเจ้าตากายุทธปีแบ่งเป็นสองส่วนคือ ทัพบกและทัพเรือ ซึ่งทัพบกนั้นตั้งมั่นอยู่บนฝั่งแม่น้ำ ขณะที่ทัพเรืออยู่ในแม่น้ำ
ชาเตตัดสินใจเข้าโจมตีโดยไม่สนใจพระบรมราชโองการของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ที่ให้รอทัพหลวงมาถึงก่อน ด้วยเห็นว่า หากมัวรอ จะเสียโอกาสและทำให้ข้าศึกหลบหนีได้ทัน ครั้นพอตกกลางคืน ชาเตจึงให้ทหารต่อแพข้ามแม่น้ำไป จากนั้นก็ทำลายแพทิ้งทั้งหมด เป็นเดิมพันว่าจะไม่ถอยทัพเด็ดขาด
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-5-6 16:05
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(ศึกนองโย)
ชาเตแบ่งทหารเป็นสามกอง โดยตัวเขาคุมกองกลางและปีกซ้าย ส่วนแม่ทัพอีกนายคุมปีกขวา จากนั้นก็ยกเข้าตีทัพหงสาวดีโดยไม่ให้อีกฝ่ายทันตั้งตัว ชาเตขี่ช้างชื่อ สเวละมาน เข้าชนกับพระยาทะละ แม่ทัพหงสาวดี จนอีกฝ่ายพ่ายแพ้หลบหนีไป นอกจากนี้ยังสังหารแม่ทัพมอญได้อีกคนบนหลังช้างด้วย การเสียแม่ทัพทั้งสองนายพร้อมๆกัน ทำให้ทหารหงสาวดีส่วนใหญ่ยอมจำนน ส่วนพระเจ้าตากายุทปี แม้จะทรงนำกำลังส่วนน้อยหนีรอดไปได้ ทว่าก็ทรงถูกกองทหารตองอูที่ไล่ติดตามมา ปลงพระชนม์ในระหว่างทางก่อนถึงเมืองแปร
ชัยชนะในศึกนองโยนี้ ทำให้ชาเตได้รับแต่งตั้งเป็น บาเยงนองดอ หรือ บุเรงนอง ซึ่งแปลว่า พระเชษฐากษัตริย์ และถือเป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์พม่าที่ได้รับตำแหน่งนี้
หลังชนะศึกแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้เสด็จมาประทับยังกรุงหงสาวดีและใช้เป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักรตองอู และนับแต่นั้นมา ผู้คนทั้งหลายก็เรียกขานพระนามของพระองค์ว่า พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชเวตี้ หรือบ้างก็เรียกว่าพระเจ้าหงสาเกตุมวดี และเรียกอาณาจักรของพระองค์ว่า หงสาวดี
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2084 หลังจากที่ได้กรุงหงสาวดีและหัวเมืองมอญโดยรอบไว้ในอำนาจทั้งหมดแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยาตราทัพไปตีเมาะตะมะซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ฝ่ายใต้ของมอญ โดยมีบุเรงนองเป็นแม่ทัพใหญ่ ในยามนั้น อุปราชสอพินยา เจ้าเมืองเมาะตะมะได้เตรียมการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งและได้ว่าจ้างทหารโปรตุเกสจำนวนมากเป็นกำลังเสริม ทำให้การโจมตีของกองทัพหงสาวดีไม่ประสบความสำเร็จ บุเรงนองจึงเปลี่ยนกลยุทธ์โดยให้ตั้งค่ายล้อมเมืองอย่างแน่นหนาและส่งกองเรือไปปิดปากน้ำเมืองเมาะตะมะ ทัพหงสาวดีล้อมเมาะมะตะทั้งทางบกและทางน้ำนานถึง 7 เดือน จนในเมืองเกิดจลาจลเนื่องจากขาดแคลนเสบียงอาหารและเมื่อหมดหนทางรักษาเมืองไว้ได้ อุปราชสอพินยา เจ้าเมืองเมาะตะมะก็ทรงยอมจำนนและถูกจับเป็นเชลย
หลังยึดเมาะตะมะแล้ว บุเรงนองได้ตามเสด็จพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ไปทำศึกกับเมืองแปร โดยระหว่างที่ทัพตองอูล้อมเมืองแปรอยู่นั้น ทางกรุงอังวะและยะข่าย พันธมิตรของแปรได้ส่งทัพมาตีกระหนาบ บุเรงนองนำทัพไปซุ่มโจมตีทัพอังวะจนแตกพ่ายและส่งกำลังไปสกัดกองทัพยะข่ายจนต้องล่าถอยไป ครั้นเมื่อแปรสิ้นพันธมิตร กองทัพตองอูก็สามารถยึดเมืองได้สำเร็จ จากนั้น พระเจ้าตะเบงชะเวตีก็ยกทัพไปตีอังวะและได้ชัยชนะทำให้กรุงอังวะยอมเป็นประเทศราช
เมื่อปราบปรามหัวเมืองในลุ่มน้ำอิระวดีได้แล้ว พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงทรงยกทัพไปตียะข่ายหรือแคว้นอาราคาน ทว่าในระหว่างที่ทัพตองอูกำลังล้อมเมืองมะรอคอู หรือ กรุงธัญญวดี เมืองหลวงของยะข่ายอยู่นั้น ก็มีข่าวว่า อโยธยาส่งทัพมาโจมตีเมืองทวายซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของพระองค์ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงให้บุเรงนองนำทัพส่วนหนึ่งไปช่วยเมืองทวาย โยบุเรงนองได้ตีกองทัพอโยธยาแตกพ่ายและจับตัวแม่ทัพอโยธยามาได้
หลังจากสงบศึกโดยยะข่ายยอมอ่อนน้อมแล้ว ใน ปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จึงจัดทัพใหญ่ยกมาตีกรุงศรีอโยธยา โดยในพงศาวดารพม่าระบุว่า มีไพร่พล 150,000 คน ส่วนของไทยกล่าวว่า มีถึง 300,000 คน
ในสงครามครั้งนี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้นำทัพหลวงออกมาหยั่งเชิงศึกที่ทุ่งมะขามหย่อง โดยมีพระสุริโยทัย อัครมเหสีตามเสด็จมาด้วย ทัพอโยธยาปะทะกับทัพหงสาวดี ทำให้พระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์
ต่อมา หลังจากล้อมกรุงศรีอโยธยาได้ไม่นาน กองทัพฝ่ายเหนือของอโยธยาได้ยกลงมาช่วย ประกอบกับเสบียงในกองทัพเริ่มขาดแคลน ทำให้พระเจ้าตะเบงชะเวตี้จำต้องถอยทัพกลับ ในการถอยทัพนี้เอง บุเรงนองได้คุมกองหลังแต่งกลศึกซุ่มโจมตีกองทัพอโยธยาที่ไล่ตามมาจนแตกพ่าย และจับตัวพระมหาธรรมราชา เจ้านครฝ่ายเหนือและพระราเมศวร พระราชโอรสของพระมหาจักรพรรดิได้ ทำให้อโยธยาต้องขอสงบศึก โดยฝ่ายอยุธยาต้องมอบช้างศึกสามสิบเชือกและเงินแท่งสามร้อยชั่ง พร้อมภาษีปากเรือที่เก็บได้จากเมืองมะริดให้กับฝ่ายหงสาวดี เป็นการแลกเปลี่ยนกับพระราเมศวรและพระมหาธรรมราชา จากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงเลิกทัพกลับไป
อย่างไรก็ตาม การที่ไม่อาจพิชิตอโยธยาได้อย่างเด็ดขาดทำให้หัวเมืองต่าง ๆ เริ่มคิดกระด้างกระเดื่อง ประกอบกับพระเจ้าตะเบงชเวตี้ทรงหนไปหมกหมุ่นแต่กับการดื่มน้ำจันทน์โดยไม่สนใจราชกิจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง จนเกินการจลาจลขึ้น โดยสมิงทอราม อนุชาของพระเจ้าตากายุตปี ได้รวบรวมกำลังก่อกบฏที่เมาะตะมะ บุเรงนองได้นำทัพไปปราบ ครั้นเมื่อบุเรงนองออกจากหงสาวดีไปแล้ว สมิงสอตุด กรมวัง ได้วางแผนก่อกบฏโดยปล่อยข่าวว่ามีคนพบช้างเผือกอยู่ในราวป่านอกกรุงหงสาวดี ทำให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้เกิดความสนพระทัยและเสด็จออกจากเมืองไปคล้องช้าง จากนั้น สมิงสอตุดก็ใช้โอกาสที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้ประทับอยู่ในป่านำกำลังทหารมอญเข้าล้อมพลับพลาและปลงพระชนม์พระองค์ด้วยดาบ
การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ทำให้อาณาจักรล่มสลายในชั่วข้ามคืน เมืองต่างๆแยกตนเป็นอิสระ ส่วนทางกรุงหงสาวดีนั้น สมิงสอตุดได้นำกำลังเข้ายึดเมืองเอาไว้ แต่ก็เกิดขัดแย้งกับสมิงทอรามที่ยกทัพมาจากเมาะตะมะและถูกอีกฝ่ายหนึ่งสังหาร จากนั้นสมิงทอรามก็ขึ้นครองราชสมบัติกรุงหงสาวดี
ในเวลานั้น บุเรงนองกลายเป็นแม่ทัพที่ไร้ที่มั่นและจำต้องถอยทัพจากเมาะตะมะกลับไปตองอู ซึ่งน้องชายของตนดูแลอยู่ จากนั้นเขาได้ใช้ตองอูเป็นที่มั่นและนำทัพเข้าปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2096 หลังปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วลุ่มน้ำอิระวดีได้แล้ว บุเรงนองได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ก่อนเสด็จยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีและปลงพระชนม์สมิงทอรามกลางสนามรบ หลังจากนั้นจึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-5-6 16:05
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลังจากครองราชย์ที่หงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยขยายพื้นที่จากกรุงหงสาวดีเดิม พร้อมกันนั้นก็ทรงแผ่แสนยานุภาพไปยังหัวเมืองในแคว้นไทใหญ่และล้านนา จนถึงปี พ.ศ. 2101 พระองค์ได้ล้านนาและหัวเมืองไทใหญ่ทั้งหมดไว้ในอำนาจ
ในการขยายอำนาจของบุเรงนอง หลังจากยึดเมืองได้ พระองค์จะกวาดต้อนผู้คนไปครึ่งหนึ่งโดยอีกครึ่งที่เหลือนั้น จะทรงแต่งตั้งเจ้านายชาวพื้นเมืองให้ปกครองต่อในฐานะประเทศราชของหงสาวดี นอกจากยังทรงผูกญาติกับเจ้าเมืองเหล่านั้นโดยการนำพระราชธิดาของเจ้าเมืองประเทศราชมาเป็นพระชายา ทั้งยังทรงให้นำเอาพระราชโอรสของเจ้าเมืองเหล่านั้นมาเลี้ยงดูยังกรุงหงสาวดีด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า เมืองเหล่านั้นจะไม่กล้าทรยศต่อหงสาวดี
การแผ่อำนาจเข้าไปในล้านนา ทำให้หงสาวดีขัดแย้งกับล้านช้าง พันธมิตรเก่าของล้านนา โดยหลังจากพระเจ้าบุเรงนองเสด็จกลับจากล้านนา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างได้ทรงนำทัพมาชุมนุมพลยังเชียงแสน ทำให้พระเจ้าบุเรงนองต้องส่งกองทัพไปขับไล่ทัพล้านช้างออกไป
หลังปราบปรามความไม่สงบในล้านนาได้แล้ว พระเจ้าบุเรงนองได้หันมาพระทัยอโยธยา โดยทรงทราบข่าวว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงได้ช้างเผือกมาถึง 7 เชือก พระองค์จึงให้ทูตมาทูลขอช้างเผือกสองเชือก ซึ่งหากอโยธยายอมส่งมอบให้ ก็เท่ากับว่ายอมเป็นประเทศราชของหงสาวดี เนื่องจากในสมัยโบราณ อาณาจักรที่มีฐานะเสมอกันจะไม่ยอมมอบช้างเผือกของตนให้อีกฝ่าย
เมื่ออโยธยาปฎิเสธคำขอ พระเจ้าบุเรงนองจึงเกณฑ์รี้พลถึงห้าแสนคนเข้ารุกราน ซึ่งสงครามครั้งนี้ถูกเรียกว่า สงครามช้างเผือก โดยแม้ว่าในครั้งนี้ ทัพหงสาวดีจะไม่อาจยึดกรุงศรีอโยธยาได้โดยสมบูรณ์แต่หงสาวดีก็สามารถยึดเมืองพระพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทั้งหมด ทั้งยังทำให้อโยธยาต้องขอเจรจาหย่าศึก
พระเจ้าบุเรงนองทรงยื่นเงื่อนไขให้อโยธยาส่งมอบช้างเผือกสี่เชือก มากกว่าจากที่เคยขอไว้สองเชือก และทุกปี อโยธยาต้องส่งเงินแท่ง 300 ชั่ง ช้างศึก 30 เชือก รวมทั้งภาษีอากรทั้งหมดจากมะริด ตะนาวศรี ให้กับทางหงสาวดี และที่สำคัญคือ ทางอโยธยาต้องให้พระราเมศวร องค์รัชทายาทของอโยธยาไปประทับยังหงสาวดี ในฐานะองค์ประกันด้วย ทางอโยธยาไม่มีทางเลือกจึงต้องยอมรับทุกเงื่อนไข นอกจากนี้ พระเจ้าบุเรงนองยังได้นำ พระนเรศ โอรสของพระมหาธรรมราชา เจ้าครองพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือไปยังหงสาวดีในฐานะองค์ประกันอีกด้วย
หลังสงครามช้างเผือก ล้านนาได้ก่อกบฎขึ้นแต่ก็ถูกปราบได้อย่างง่ายดาย จากนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จนำทัพพร้อมอุปราชมังไชยสิงห์ พระโอรสองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่พระนางตะขิ่นจี อัครมเหสีของพระองค์ ไปทำศึกกับล้านช้าง กองทัพหงสาวดีสามารถตีเวียงจันทน์ เมืองหลวงของล้านช้างได้ ทว่าเกิดความวุ่นวายที่กรุงหงสาวดี เนื่องจากเชลยชาวไทใหญ่หลายพันคนที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่นอกเมืองก่อการจลาจลจะยกกำลังเข้าเผากรุงหงสาวดี ทำให้บุเรงนองต้องเสด็จไประงับเหตุและให้มังไชยสิงห์อยู่ทำศึกกับล้านช้างต่อ
พระเจ้าบุเรงนองทรงปราบพวกก่อความวุ่นวายได้และรับสั่งให้นำตัวเชลยที่ก่อเหตุทั้งหมดไปประหารด้วยการเผาทั้งเป็น ขณะเดียวกัน ทางด้านล้านช้าง ทัพหงสาวดีก็ถูกกองทัพของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชคอยก่อกวนซุ่มโจมตี จนไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้และต้องล่าถอยกลับมา
ใน ปี พ.ศ.2111 พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเรื่องจากพระมหาธรรมราชาซึ่งยามนั้นกลายเป็นพันธมิตรลับๆของพระองค์ว่า อโยธยาจะผูกมิตรกับล้านช้างโดยส่งพระเทพกษัตรี พระธิดาองค์สุดท้องของพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัยไปเป็นพระมเหสีของพระไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าบุเรงนองจึงส่งกองทหารไปดักโจมตีขบวนเสด็จของพระเทพกษัตรีและนำพระนางกลับมาเป็นพระมเหสีของพระองค์ที่หงสาวดี เรื่องทั้งหมดเป็นเหตุให้ล้านช้างกับอโยธยาร่วมมือกับยกทัพมาตีพิษณุโลก แต่พระมหาธรรมราชาได้ขอความช่วยเหลือจากหงสาวดีจนทำให้ทัพล้านช้างและอโยธยาต้องพ่ายแพ้กลับไป
พระเจ้าบุเรงนองทรงถือว่า พิษณุโลกเป็นประเทศราชของหงสาวดี การที่อโยธยาร่วมมือกับล้านช้างมาทำดังนี้จึงเท่ากับประกาศศึกกับหงสาวดี ดังนั้นพระองค์จึงจัดทัพใหญ่มีรี้พลกว่าห้าแสนนายมาตีกรุงศรีอโยธยา
ในระหว่างทัพหงสาวดียกมาตีพระนครนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้สิ้นพระชนม์ลง พระมหินทร์ โอรสองค์รองของพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์แทน และทำสงครามปกป้องอโยธยาจากทัพหงสาวดีอย่างเข้มแข็ง พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงใช้กลอุบายส่งพระยาจักรีไปเป็นไส้ศึกทำให้สามารถยึดกรุงศรีอโยธยาได้ สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงถูกจับและนำพระองค์ไปไว้ยังหงสาวดีก่อนสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา
หลังเสร็จศึกกับอโยธยา พระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จยกทัพไปทำศึกกับล้านช้างต่อ ทว่าการขาดแคลนเสบียงและความยากลำบากในการเดินทัพ รวมทั้งการที่พระไชยเชษฐาธิราชทรงนำทัพต่อต้านกองทัพหงสาวดีอย่างเข้มแข็ง ทำให้พระเจ้าบุเรงนองต้องยกทัพกลับ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2117 หลังทรงทราบข่าวว่าพระไชยเชษฐาธิราชทรงหายสาปสูญไประหว่างทำศึกกับกรุงละแวก (เขมร) พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงถือโอกาสนี้ยกทัพมาตีล้านช้างและได้รับชัยชนะในที่สุด เมื่อยามที่ได้ชัยชนะเหนือล้านช้างนั้น พระเจ้าบุเรงนองทรงมีพระชนมายุได้ 59 พรรษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-5-6 16:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อเสร็จศึกล้านช้าง พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร โดยการสร้างเมืองหน้าด่านชื่อ เมือง กะเล ทางทิศตะวันตก และเมือง อมราวดี ทางทิศตะวันออก เพื่อดูแลประเทศราชทั้งหลายและเข้าควบคุมเมืองประเทศราชที่สำคัญๆด้วยการส่งพระโอรสและพระญาติสนิทไปปกครอง เช่น กรณีเมืองเชียงใหม่ที่ทรงให้ เมงนรธาสอ พระโอรสของพระองค์ไปปกครอง และเมืองอังวะที่ให้พระชามาดา (ลูกเขย) ไปปกครอง เป็นต้น
สงครามครั้งสุดท้ายของพระเจ้าบุเรงนองคือการส่งทัพไปปราบกบฎที่ยะข่ายใน พ.ศ. 2124 ทว่าระหว่างที่กองทัพหงสาวดีเดินทางไปยะข่ายนั้น พระเจ้าบุเรงนองก็เสด็จสวรรคตที่กรุงหงสาวดีขณะทรงมีพระชนมายุได้ 66 พรรษา ทำให้กองทัพทั้งหมดต้องถอยกลับ จากนั้น อุปราชมังไชยสิงห์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง
และในรัชสมัยของพระเจ้านันทบุเรงนี้เองที่ความยิ่งใหญ่ของมหาอาณาจักรหงสาวดีซึ่งพระเจ้าบุเรงนอง ผู้ชนะสิบทิศได้สร้างเอาไว้ ได้ต้องถูกท้าทายจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอมราชันย์หนุ่มผู้เหี้ยมหาญแห่งอโยธยา จนนำไปสู่ความล่มสลายของหงสาวดีในกาลต่อมา
ที่มา..
http://www.komkid.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87/
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
5
#
โพสต์ 2017-5-7 23:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Nujeab
Nujeab
ออฟไลน์
เครดิต
27798
6
#
โพสต์ 2017-5-8 10:38
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-5-15 10:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...