าลครั้งหนึ่ง มีสุภาพสตรีสวยงามนางหนึ่งนามว่า “โอปอล” ซึ่งความงามของนางนั้นต้องตาต้องใจเทพเจ้าพร้อมกันถึง 3 องค์ และทำให้เทพเจ้าทั้ง 3 นั้นเกิดความริษยาแก่กัน เทพเจ้าซีอุสทราบเรื่องจึงสาปให้โอปอลกลายเป็นหมอกไปเพื่อยุติปัญหา เมื่อเทพเจ้าทั้ง 3 เมื่อทราบข่าวก็กลัวว่าตนเองจะจำนางอันเป็นที่รักไม่ได้ จึงพยายามที่จะมอบสีประจำตนให้โอปอล เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการจดจำ เทพเจ้าแห่งสวรรค์มอบสีน้ำเงิน เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์มอบสีทอง และเทพเจ้าแห่งไฟมอบสีแดง แต่ในที่สุดก็ไร้ผล และด้วยความสงสารและเห็นใจ เทพเจ้าซีอุสจึงได้แปลง “หมอกโอปอล” นั้นให้กลายเป็น “หินโอปอล” พร้อมทั้งมอบสีประกายรุ้งเป็นสีประจำตัวตลอดไป และนั้นคือตำนานกำเนิดโอปอลของกรีกโบราณค่ะ ส่วนในประวัติศาสตร์ของโลกนั้น มนุษย์รู้จักโอปอลและใช้เป็นเครื่องประดับ ตั้งแต่สมัยโรมัน หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล เหมืองโอปอลในยุคนั้นอยู่ในบริเวณประเทศ เชคโกสโลวาเกียในปัจจุบัน การขุดหาโอปอลในประเทศเชคโกสโลวาเกีย ยุติลงในปี ค.ศ. 1932 เมื่อมีการค้นพบโอปอลที่ White Cliff ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งของโอปอลที่ใหญ่ที่สุด และมีคุณภาพดีที่สุดในโลก “โอปอล สัญลักษณ์ แห่งความหวัง และความบริสุทธิ์”โอปอล เป็นอัญมณีแห่งความปรารถนาของมนุษย์มาเนิ่นนาน มีเรื่องเล่ากันว่า มาร์คแอนโทนี่ เพียรพยายามซื้อแหวนที่ทำด้วยโอปอลจากท่านวุฒิสมาชิกชาวโรมัน ชื่อนูเนียส เพื่อจะนำไปถวายแก่พระนางคลีโอพัตรา แต่ได้รับการปฏิเสธ ท่านวุฒิสมาชิกท่านนั้นจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองไปอยู่ต่างแดนอย่างไม่ใยดี และต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีผู้คนมากมายเชื่อว่าโอปอลเป็นเครื่องหมายของลางร้าย ตามอิทธิพลจากนวนิยายเรื่อง ANN OF GEIERTEIN ของเซอร์ วอลเตอร์สกอตต์ ซึ่งเป็นนวนิยายที่มีอิทธิพลมากในสมันนั้น แต่ความเชื่อนี้ก็ถูกลบล้างไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อพระนางเจ้าวิคตอเรีย ได้พระราชทานโอปอลให้แก่พระราชธิดาแต่ละองค์ในวันอภิเษกสมรส เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดี นับแต่นั้นโอปอลก็คงเสน่ห์น่าจับจองเป็นเจ้าของมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
ลักษณะของโอปอลคำว่า “OPAL” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “UPALA” (อูพาลา) แปลว่าหินที่มีค่า โอปอล เป็นอัญมณีที่มีความพิเศษ และมีคุณสมบัติแตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น ๆ ในโลก กล่าวคือโอปอลนั้นมีสีสันเป็นประกายดั่งสีของสายรุ้งบนท้องฟ้า การที่โอปอลมีสันหลากหลายนั้นเกิดจากอนุภาคของทรายซึ่งเป็นส่วนประกอบของโอปอลที่เรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดช่องว่างภายในเป็นโพรงเล็ก ๆ และมีน้ำแทรกอยู่ในช่องว่าง จึงเกิดแสงสะท้อนให้เราเห็นเป็นสีสันต่าง ๆ มากมาย ในทางธรณีวิทยา โอปอลจัดเป็นแร่ในตระกูลควอตซ์ที่มีเนื้อเป็น ซิลิกา (Silica) และมีน้ำและความชื้นปะปนอยู่ในเนื้อประมาณร้อยละ 3 – 10 อาจจะมีสูงได้ถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว โดยมีสูตรทางเคมีเป็น SiO2.nH2O มีโครงสร้างเป็นรูปผลึก แต่มีเนื้อแน่นละเอียดมาก (Crystalline aggregate) ตัวโอปอลจะมีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ที่ประมาณ 1.98 – 2.20 เป็นอัญมณีที่มีน้ำหนักค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับแร่รัตนชาติตัวอื่น ๆ มีค่าดัชนีหักเหอยู่ที่ประมาณ 1.37 – 1.52 อาจแปรเปลี่ยนได้ตามจำนวนของน้ำที่ปะปนอยู่ ภายในเนื้อโอปอลไม่มีรอยแยกแนวเรียบ (Clevage) อย่างรัตนชาติชนิดอื่น ๆ มีแต่เฉพาะรอยแตกที่เป็นรูปคล้ายก้นหอย โอปอล มีค่าความแข็งอ่อนกว่าเนื้อควอตซ์อื่น ๆ เพราะมีความแข็งเพียง 5.5 – 5.6 และมีความแวววาวคล้ายกับแก้ว
|