"สิงห์" สุดยอดแห่งเมตตา ราชาแห่งพงไพร
สัญลักษณ์รูป “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” ถูกนำมาใช้เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ทรงพระราชทานให้เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ปวงประชาราษฎร์”
หรือแม้แต่ ชาวต่างชาติต่างภาษาก็ยังยกย่อง “สิงห์” ว่า “เป็นที่สุดแห่งสัตว์มงคลทั้งปวง” และนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติ เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ และอินเดีย
ตั้งแต่โบราณกาลนั้น “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” เป็นดั่งราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยลักษณะแห่งความเข้มแข็ง ทรงพลัง และสง่างามของสิงห์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมจึงนิยมที่จะนำรูปลักษณ์ดังกล่าวมาจัดสร้างเป็นเครื่องรางวัตถุมงคล เช่น
- หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
- หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ
- หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม ฯลฯ
โดยพุทธคุณแห่งการบูชาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์นั้น มีความเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ที่บูชานั้น
"มั่งมีในทรัพย์สิน และหมดสิ้นศัตรู
อุปสรรคอันใดที่มีอยู่ จะสลายหายสิ้นไปโดยพลัน"
ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าป่า มักจะนิยมพกพาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์ไว้เสมอ เพราะเชื่อว่า สัตว์ร้ายต่างๆ ในป่าจะยำเกรง ไม่กล้าทำอันตรายต่อผู้ที่บูชา เพราะ "สิงห์" คือ เจ้าแห่งป่า สัตว์น้อยหรือใหญ่ทั่วไพรพนา มิอาจหาญกล้าเข้ามากล้ำกราย
และแม้แต่ความเชื่อของพราหมณ์ หรือโหราศาสตร์นั้นก็เชื่อว่า พระอาทิตย์ เอกะเทพเจ้า ผู้บันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สว่างไสว มั่งคั่ง เพียบพร้อมด้วยมหาอำนาจบารมี ก็กำเนิดเกิดจากราชสีห์เช่นกัน
*************************
เรียบเรียงโดย : ทีมงานมงคลพระ
|