ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1733
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธรูปแห่ง “บามิยัน” สมัย “พระถังซำจั๋ง” เป็นพระพุทธรูปสีทองประดับด้วยอัญมณี

[คัดลอกลิงก์]
ภาพถ่ายหนึ่งในสองพระพุทธรูปแห่งบามิยัน เมื่อปี 1981 (AFP PHOTO / UNESCO (HWC)
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-17 17:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้เขียน
ผิน ทุ่งคา
เผยแพร่
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560

เมืองบามิยัน เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมอันโด่งดัง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ ที่ยังหลงเหลือร่องรอยความยิ่งใหญ่ปรากฏให้เห็นอยู่บ้างถึงปัจจุบัน

แต่เป็นที่น่าเสียดาย เมื่อสองหลักฐานสำคัญของความรุ่งเรืองในศาสนาพุทธของเมืองบามิยัน นั่นคือพระพุทธรูปขนาดยักษ์ที่เกิดจากการแกะสลักเข้าไปหน้าผาสององค์ ได้ถูกทำลายลงด้วยฝีมือของกลุ่มตาลีบันเมื่อปี 2001 จนไม่เหลือซากองค์พระพุทธรูปให้เห็นอยู่เลย

ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธรูปทั้งสององค์ จึงคงเหลือให้เห็นเพียงภาพถ่าย หรือภาพเขียนซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์พระทั้งสองที่หลงเหลือก่อนถูกทำลายก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมจนไม่เหลือพระพักตร์ให้เห็น จนคาดเดาได้ยากว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธรูปทั้งสองอยู่ในสภาพสมบูรณ์จะมีความงดงามเพียงใด

เคราะห์ดีที่ “พระถังซำจั๋ง” (บ้างสะกดว่า เหี้ยนจึง หรือเสวียนจั้ง ตามสำเนียงที่ต่างไป) หลวงจีนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกซึ่งเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปเมื่อราวหนึ่งพันสี่ร้อยปีก่อน ได้เดินทางผ่านแคว้นบามิยันพร้อมกับได้บันทึกสิ่งที่ท่านได้พบเห็นในดินแดนแห่งนี้เอาไว้ด้วย

ตามบันทึกของท่านระบุว่า ในแคว้นบามิยัน มีอารามหลายสิบแห่งมีพระภิกษุนับพัน ส่วนใหญ่ศึกษานิกาย “หินยานฝ่ายโลกุตรวาท” พร้อมกล่าวถึงพระพุทธรูปใหญ่แห่งบามิยันเอาไว้ว่า

“เนินเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวง [ของพามิยาน*] มีพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลา สูง ๑๔๐-๑๕๐ เฉียะ สีทองอร่ามประดับด้วยอัญมณีมีค่า ด้านตะวันออกขององค์พระพุทธรูปมีอารามแห่งหนึ่งซึ่งอดีตพระราชาของแคว้นทรงสร้างขึ้น”


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-17 17:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

นอกจากนี้ พระถังซำจั๋งยังกล่าวว่า แคว้นบามิยันยังมีพระพุทธไสยาสน์ขนาดยักษ์ที่มีความยาว “กว่าพันเฉียะ” หรือกว่า 300 เมตร อยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองอีกด้วย

แต่ทั้งหมดล้วนเป็น “อนิจจัง” (ตามคำสอนของศาสนาพุทธเอง) เพราะพระพุทธรูปขนาดยักษ์ทั้งหลายในบามิยันไม่มีหลงเหลือให้คนในยุคปัจจุบันได้พบเห็นอีกต่อไป แม้ปัจจุบันจะมีความพยายามที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปแห่งบามิยันขึ้นมาใหม่ แต่นั่นก็หาใช่พระพุทธรูปองค์เดิม


อ้างอิง: “ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” โดย ชิว ซูหลิน. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ 2 : กุมภาพันธ์ 2547

หมายเหตุ: *บามิยัน ยึดการสะกดตามต้นฉบับ


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้