ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 17241
ตอบกลับ: 21
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทหารเสือพระเจ้าตาก คนดีที่ไม่เคยรู้

[คัดลอกลิงก์]


ทหารคู่พระทัยทั้งสี่มีใครรู้จักบ้าง...............ยกมือขึ้นหน่อยเป็นไร  
                               ผมเชื่อว่ามีฅนรู้น้อยแทบจะนับนิ้วได้  เพราะบ้านเมืองเราไม่ค่อยเชิดชูบุคคลที่ทำประโยชน์ให้ฅนในชาติกันเท่าใดนัก  เชิดชูกันอยู่ได้ก็เพียงแค่ฅนที่มีเงินมีทองเป็นหมื่นล้านเป็นพันล้านบาท  แถมยังเชิดชูกันแบบถวายหัว  มันเป็นเสียอย่างนี้แหละเมืองไทยเรา  มีเงินก็เรียกน้อง  มีทองก็เรียกพี่  ทำความดีข้าไม่รู้จัก  และไม่สนใจ.....  

                               คุณๆ ลองควักธนบัตรใบ  ๒๐  ออกมาดูซิครับ  จะเห็นบรรพบุรุษที่เป็นทหารหาญ  ที่ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า  เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา  หน้าที่เรารักษาสืบไป....  ทหารหาญทั้งสี่ที่เป็นขุนศึกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ๔  หน่อ  หนึ่งคือ  "พระเชียงเงิน"  ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีว่า  มิได้หนีมาพร้อมกับพระเจ้าตากสินฯ  แต่เสด็จมาพบในภายหลัง  และได้ให้  "พลายแหวนกับพังหมอนทรง"  แสดงว่าพระเชียงเงินน่าจะมีบริวารอยู่พอสมควร  ถึงกับมีช้างที่จะถวายได้  อีกทั้งบรรดาศักดิ์ที่เป็น  "พระ"  ก็สูงกว่าบริวารทั้งหมดที่ออกชื่อไว้ในพระราชพงศาวดาร  เข้าใจว่าเชียงเงินจะเป็นชุมชนหรือเมืองเล็กๆ  แถบเมืองตาก-ระแหง   เพราะแถบนั้นปรากฏชื่อเมือง  "เชียงทอง"  อยู่ด้วย  (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  เล่ม  ๒, พระนคร,  โอเดียนสโตร์,  ๒๕๐๕,  หน้า  ๓๖๒)  ถ้าเช่นนั้นก็พอเดาได้ว่า  พระเชียงเงินก็คงเป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน  ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับเมืองตาก-ระแหง  มาก่อน  และด้วยเหตุนี้  เมื่อได้พบพระเจ้าตากสินฯ  จึงได้เข้าสวามิภักดิ์ด้วยแต่ต้น  

                               ต่อมา  พระเชียงเงิน  ได้รับโปรดเกล้าฯ  จากพระเจ้าตากสินฯ  ให้รับตำแหน่งของขุนนางส่วนกลางในระหว่างทางเดินทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาไปเมืองระยอง  ซึ่งตอนนี้  พระเจ้าตากสินฯ  ได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรอยุธยาหลังจากหนีออกจากอยุธยาแล้ว  พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ในคราวที่ทรงต่อสู้เหล่าร้ายที่เมืองระยอง  พระเชียงเงินได้รับตำแหน่งที่  "ท้ายน้ำ"  ไปแล้ว  พระราชพงศาวดารเรียกว่า  "พระเชียงเงินท้ายน้ำ"  ครั้นเมื่อปราบเมืองเหนือได้เรียบร้อยแล้ว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้พระเชียงเงินท้ายน้ำผู้นี้รั้งเมืองสุโขทัย  จึงปรากฏชื่อว่าเป็น  "พระยาสุโขทัย"  จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อก่อน  พ.ศ. ๒๓๒๐  

                                 พระเชียงเงินท้ายน้ำหรือพระยาสุโขทัยนั้น  เป็นเจ้าเมืองฅนหนึ่งที่  พระเจ้าตากสินฯ โปรดให้มาเฝ้า  เพื่อทรงสั่งสอนวิชาการต่อสู้ข้าศึก  เพราะฉะนั้น  พระยาสุโขทัยผู้นี้  จึงเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูงจากพระเจ้าตากสินฯ ผู้หนึ่ง  (จากหนังสือ  "การเมืองไทย  สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี"  โดย  ศ. ดร. นิธิ  เอียวศรีวงศ์)

                                  ฅนต่อมาคือ  หลวงราชเสนา  ซึ่งต่อมาก็คือ  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  หลังจากพระยาตากสินที่รวบรวมไพร่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี  เข้าตีพม่าข้าศึกที่ตีกรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว  และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น  สมเด็จพระเจ้าตากสิน  สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี  เมื่อปีชวด  สัมฤทธิศก  พ.ศ. ๒๓๑๑  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น  "พระมหามนตรี"  เจ้าพระตำรวจในขวา
                                 
                                   ทหารหาญต่อมาคือ  หลวงพิชัยอาสา  ซึ่งก็คือพระยาพิชัยดาบหักนั่นแหละ  พระยาพิชัยดาบหักนั้นเดิมชื่อ  "จ้อย"  และชอบชกมวยก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น  "นายทองดี  ฟันขาว"  นายทองดี  ฟันขาว  นั้น  ถือว่ามีฝีมือในการชกมวยมาก  เท้าไว  เตะขากรรไกรครูมวยหลายฅนสลบไสลไปหลายครั้งหลายครา  และได้ชกมวยต่อหน้าพระยาตากเสียด้วย  เจ้าเมืองตากจึงชักชวนให้อยู่ด้วย  นายทองดี  ฟันขาว  จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก  (พระเจ้าตากสินฯ)  ตั้งแต่บัดนั้น  รับใช้เจ้าเมืองตาก  เป็นที่โปรดปรานมาก  ได้รับยศเป็น  "หลวงพิชัยอาสา"  

                                    เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ  (จากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์  หรือ  พระเจ้าเอกทัศน์)  ให้เป็นพระยาวชิรปราการ  ครองเมืองกำแพงเพชร  หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด  และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา  พระยาวชิรปราการ  พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา  และทหารหาญ  ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ  ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร  ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ  พระเจ้าตากสินฯ ได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ  เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว  พระเจ้าตากสินฯ ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี  และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสาเป็น  "เจ้าหมื่นไวยวรนารถ"  เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์  

                                       และฅนสุดท้ายก็คือ  "หลวงพรหมเสนา"  ซึ่งถือทหารชั้นประทวน  มียศเป็นจ่าเมือง  รับใช้ใกล้ชิดพระยาตากมาแต่ครั้งอยู่เมืองตาก  เป็นฅนที่ชอบทางด้านไสยศาสตร์  วิชาอาคม  เก่งในเรื่องการใช้ธนู  เป็นหมอสักยันต์ให้แก่บรรดาทหาร  

                                        ธนบัตรรุ่นนี้นำเอาภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ผู้ทรงพระปรีชาด้านการรบ  และสามารถกอบกู้อิสรภาพของฅนไทยให้กลับคืนมาจากพม่า  จนทางราชการประกาศให้วันที่  ๒๘  ธ.ค.  ของทุกปีเป็น  "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"  มาบันทึกไว้ให้อนุชนฅนรุ่นหลังได้ศึกษา  และระลึกถึงผ่านทางธนบัตร

                                         แต่เชื่อว่าหลายฅนไม่เคยรับรู้

                                         ที่มา  http://www.posttoday.com

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


"มือซ้ายถือดาบอยู่ในฝักดาบ  มือขวาชี้ไปข้างหน้า"  คือ  พระเชียงเงิน  (พระยาสุโขทัย)
"แบมือ  ไม่ถือดาบ"  คือ  หลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก)
"มือขวาถือปืน  แอบอยู่ข้างอาชา"  คือ  หลวงราชเสนา  (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)
"ชักดาบเตรียมสู้  เหลียวระวังหลัง"  คือ  หลวงพรหมเสนา

ขอขอบพระคุณ  คุณ Burapha  ในเว็บไซต์  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2e1b51295d9e4eed  ด้วยนะครับ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอกจาก  หลวงพิชัยอาสา  พระเชียงเงิน  หลวงพรหมเสนา  หลวงราชเสนา  และขุนอภัยภักดี  ยังมีนายทหารเอกคู่พระทัยพระเจ้าตากสินฯ อีก  ดังมีรายนามตามลำดับดังนี้
                       ๑. พระยาศรีสิทธิสงคราม  (นายจันหนวดเขี้ยว)
                       ๒. พระยาปราบอริราชศัตรู  (เสริม)
                       ๓. พระยาศัตรูพินาศ  (ประชา)
                       ๔. พระยาองอาจราชสงคราม  
                       ๕. พระยาสามเมืองระย่อ
                       ๖. พระยาพนอราชบาท
                       ๗. พระยาไพรีพินาศ
                       ๘. พระยาปราบราชปัจจามิตร
                       ๙. พระยาราชมิตรราชา
                     ๑๐. พระยามหาพิชัยสงคราม
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพรหมเสนา หรือ เจ้าพระยานครสวรรค์


หลวงพรหมเสนา เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีมะโรง พุทธศักราช 2279 ณ บ้านเชียงของ (ปัจจุบันคือบ้านเชียงทอง) จ.ตาก บิดาท่านสืบเชื้อสายมาจากเมืองเชียงของ หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มารดาท่านเป็นญาติใกล้ชิดกับพระเชียงเงิน (ธงชัย).  ท่านได้ไปเติบโตที่ฝั่งลาว และได้กลับมาเป็นเจ้าคุ้มเชียงทอง ท่านจึงมีอีกนามหนึ่งว่า "เจ้าฟ้าเชียงทอง" และคุ้มของท่านอยู่บานเนินเขาเตี้ย ๆ ริมฝั่งแม่น้ำปิง (ปัจจุบันคือวัดเชียงทอง จ.ตาก) จากนั้นท่านได้ติดตามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาเป็นทหารเอกคู่พระทัย อาทิ พระเชียงเงิน (ธงชัย) หลวงพิชัยอาสา (จ้อย) หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี.1

        เดิมท่านเป็นเพียงทหารชั้นประทวน มียศเป็นจ่าเมือง รับใช้ใกล้ชิดพระยาตาก มาแต่ครั้งอยู่เมืองตาก เป็นคนที่ชอบทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม เก่งในเรื่องการใช้ธนู เป็นหมอสักยันต์ให้แก่บรรดาทหาร.2

       หลวงพรหมเสนา รับราชการเป็นสามารถและได้ใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เช่นเดียวกับนายทหารทั้งหลายที่ร่วมรบกันมาตั้งแต่แหกค่าย หลวงพรหมเสนาเป็นนักรบที่มีความสามารถสูงและไม่ย่อท้อในการศึก จึงได้รับโปรดเกล้าตำแหน่งจนถึงพระยาอนุรักษ์ภูธร เมื่อก่อนศึกเจ้าพระฝาง.

        ต่อมาท่านได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านก็ได้ศึกษาความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ จากวัดแห่งนี้ ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ทรงพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระพรหมเสนา"

        เมื่อเสร็จศึกเจ้าพระฝาง บ้านเมืองเริ่มเป็นปึกแผ่น สมเด็จพระเจ้าตากสินสินมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับลงมายังเมืองพิษณุโลก ทรงได้จัดพิธีสมโภชพระมหาธาตุและพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ร่วมสามวัน แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการสงคราม ให้อยู่ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง.

        บรรดาหัวเมืองใหญ่นั้น โปรดให้พระยายมราช เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ครองเมืองพิษณุโลก ถือไพร่พลหมื่นห้าพัน ให้พระยาพิชัยราชา เป็นเจ้าเมืองสวรรคโลก ถือไพร่พลเจ็ดพัน ให้พระยาสีหราชเดโช เป็นพระยาพิชัย ถือไพร่พลเก้าพัน ให้พระยาท้ายน้ำเป็นพระยาสุโขทัย ถือไพร่พลห้าพัน ให้พระยาสุรบดินทร์เป็นพระยากำแพงเพ็ชร ให้พระยาอนุรักษ์ภูธร เป็นพระยานครสวรรค์ ทั้งสองเมืองนั้นถือไพร่พล เมืองละสามพันเศษ.





เมื่อแต่งตั้งข้าหลวงเดิมไว้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว โปรดมีรับสั่งให้บรรดาผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือนั้นลงมาเฝ้าที่เมืองหลวง เพื่อสั่งสอนอบรมการปกครองและการยุทธอยู่เสมอ พระยานครสวรรค์เป็นขุนนางที่ลงมาเฝ้ามิได้ขาด จึงเป็นที่โปรดปรานมาก (พระยาพิชัยไม่ลงมาเฝ้า 1 ครั้ง - โปรดให้เฆี่ยนมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง) ประกอบกับพระยานครสวรรค์เป็นผู้มีความเด็ดขาดในการรบมาก ในคราวศึกบางแก้ว ก่อนที่พระยานครสวรรค์จะไปช่วยหนุนพระยาธิเบศบดี ในวันนั้นเจ้าพระยานครสวรรค์ยกไปถึงโคกกระต่าย ทรงพระกรุณาให้หามาเฝ้า แล้วพระราชทานพระราชอาญาสิทธิและพระแสงดาบข้างหนึ่งให้เจ้าพระยานครสวรรค์ ๆ สามารถถือพระราชอาญาสิทธิ หากผู้ใดย่อหย่อนให้ลงพระราชอาชญาตามกำหนดพิชัยสงคราม. แล้วพระราชทานเกนหัดถือปืน 40 คน ลูกหาบ 40 คน ม้าต้นม้าหนึ่ง แก่เจ้าพระยานครสวรรค์แล้วพระราชทานทหารกองนอก ถือปืน 150 ลูกหาบ 150 คน ให้หลวงอภัยสรเพลิงไปเข้ากองเจ้าพระยานครสวรรค์ แล้วถอกพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์หนึ่งพระราชทานเจ้าพระยานครสวรรค์ ทรงพระราชทานพรว่า ชะยะตุภวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ3 ในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ มหาเมฆยัง ฝอยฝนให้ตกลงมาหน่อยหนึ่ง.

        ท่านเป็นผู้รอบรู้หลากหลายทั้งการเจรจาติดต่อการฑูต วางแผนต่าง ๆ ทั้งหลักศาสนพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และไสยเวทย์ รวมทั้งโหราศาสตร์พระเวทย์ต่าง ๆ แต่ท่านมีอุปนิสัยดุ เจ้าระเบียบแบบแผน ไม่ยอมใคร จะยอมให้แต่เจ้านายเพียงองค์เดียว.

       ต่อมาเมื่อสิ้นราชวงศ์ธนบุรีแล้ว ท่านได้พากรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) หนีไปทางภาคอีสาน เพื่อหวังจะพาพระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้รอดพ้นจากอุปัทวภัย ไปขอพักอาศัยกับญาติของท่านทางฝั่งลาว. แต่ทว่าเจ้าฟ้าจุ้ยทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่บ้านลานสะกา (ปัจจุบันบ้านหนองไฮน้อย ด้านหลังเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร) ท่านจึงได้ไปตั้งถิ่นฐานบ้านพักที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณบ้านจอมมณี จ.หนองคาย.

       ณ สถานที่นี้ ท่านได้เป็นที่พึ่งให้กับบุคคลทั้งหลายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แนะนำสั่งสอนการดำเนินชีวิต และรับขึ้นครูกลุ่มลูกศิษย์ด้านพระเวทย์อาคม สุดท้ายพระพรหมเสนาได้ปลีกวิเวก และได้เดินทางไปพบพระเชียงเงินที่เขาธงชัย จ.เพชรบุรี แต่พระเชียงเงินได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว โดยการนั่งสมาธิจนลูกนัยน์ตากลับ แล้วจึงสิ้นลม ท้ายที่สุดพระพรหมเสนาได้กลับมาถึงแก่กรรม ณ จ.หนองคายอย่างสงบ.2

      ขอสดุดีวีรกรรมหลวงพรหมเสนา ที่ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยในการปกปักษ์รักษาสยามประเทศไว้ ณ ที่นี้.

      เทิดทูนและเคารพยิ่ง
      อภิรักษ์ กาญจนคงคา และบรรดาชนรุ่นหลังที่ซาบซึ้งในพระคุณของท่าน.
       31 พฤษภาคม 2557


ที่มาและคำอธิบาย:
1.   ปรับปรุงจาก. เว็บไซต์ kingthonburi.myreadyweb.com/webborad/topic16547.html, วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2557.
2.   ปรับปรุงจาก. เว็บไซต์ druthit.com/detailhtip.asp?tip=14, วันที่สืบค้น 31 พฤษภาคม 2557.
3.   ที่มา. หนังสือพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ.


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงราชเสน่หา




ต่อมาก็คือกรมพระราชวังบวงมหาสุรสีหนาท หลังจากพระยาตากสินได้รวบรวมไพร่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายไป และได้ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้าตากสิน สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ.2311 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็นพระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา.

         สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน จ.ศ.1105 (พ.ศ.2286).

        มีพระนามเดิมว่า "บุญมา" ต่อมาได้ทรงรับราชการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ตำแหน่ง นายสุจินดาหุ้มแพร (ได้รู้จักกับพระยาตากมาก่อน เมื่อครั้นรับราชการอยู่นั้น) เมื่อ พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงแก่พม่า นายสุจินดากับเพื่อน ๆ ได้ลอบหนีออกจากเมือง ได้มาอาศัยอยู่กับพี่สาวที่บางกอก (คงจะเมื่อกรุงแตกแล้วหรือใกล้จะแตกแล้ว) และได้ข่าวเกี่ยวกับพระยาตากไปตั้งตัวที่จันทบูร มีกำลังมากจะยกทัพมาตีอยุธยาคืน นายสุดจินดาหุ้มแพรได้ฝากภรรยาและทรัพย์สมบัติไว้กับพี่สาว แล้วพาพรรคพวกบางคนเดินทางไปจันทบูรทางบกโดยผ่านบางปลาสร้อย พระเจ้าตากได้รับนายบุญมาเข้าไว้เป็นพรรคพวก.
      
        ด้วยความสามารถส่วนตัวของนายบุญมาเด่นมาก จนทำให้ได้รับความไว้วางพระทัยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  และไปสมัครรับราชการอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา.

ที่มาและคำอธิบาย:
1. จาก. www.kkbook.tha.im/ch4.html., วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2557.
2. จาก. นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2536.

ที่มา: Topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/11/K11341792/K11341792.html






ภาพบน รูปทางซ้ายมือเป็นพระยาพิชัย ขวามือเป็นพระเชียงเงิน
ภาพด้านล่าง ซ้ายมือเป็นหลวงราชเสน่หา และทางขวามือที่ถือปืน คือ หลวงพรหมเสนา.





เป็นภาพจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ.จันทบุรี อยู่บนธนบัตรแบบที่ 12 ราคา 20 บาท ออกพิมพ์และใช้ในปี พ.ศ.2524 ใช้กันมาจนถึงปี พ.ศ.2546.


ที่มา http://huexonline.com/knowledge/18/60/



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ฟังเพลงก่อนครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ยังไม่จบครับ ไว้ค่อยมาต่อ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-12 22:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้