ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4068
ตอบกลับ: 3

พระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

[คัดลอกลิงก์]


พระเจ้าล้านทอง
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง
(พระอารามหลวง) ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง


     

“วัดพระธาตุลำปางหลวง” พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง เป็นปูชนียสถานสำคัญของ จ.ลำปาง ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดของล้านนา ภายในวัดมีความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่พระเจดีย์ พระวิหารหลวง ซุ้มประตูโขง จนถึงซุ้มพระเจ้าล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ล้วนแต่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและศิลปกรรมล้านนาเป็นอย่างดี

เป็นวัดที่ตำนานระบุไว้ชัดเจนว่า มี “พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า” ส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” อันล้ำค่าอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย และยังคงประดิษฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้

วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ ปัจจุบันยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาเยือนอย่างไม่ขาดสาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชาวเมืองทั้งใกล้และไกล

ในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สถานที่แห่งนี้ ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ความเชื่อทางคติธรรม สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด นอกจากมีหน้าที่ใช้สอยทางพิธีกรรมในศาสนาแล้ว ยังมีความหมายสำคัญที่แฝงอยู่คือ ช่างโบราณได้จำลองจักรวาลที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณ เช่น ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น

กล่าวคือ องค์พระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางของวัด คือ สัญลักษณ์แทนเขา พระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ขณะเดียวกัน องค์พระธาตุจึงเปรียบได้กับ พระเจดีย์จุฬามณี ที่ประดิษฐานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นวิมานของพระอินทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) ดังนั้น การได้นมัสการองค์พระธาตุลำปางหลวง เปรียบได้ว่าเป็นการได้กราบไหว้บูชาพระเจดีย์จุฬามณีอันศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมกันด้วย

พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์เจดีย์ประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของพระวิหารหลวงเป็นวิหารโถงเครื่องไม้แบบเปิดโล่ง ก่อสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังยกพื้นสูงจากพิ้นดินเล็กน้อย การลดของชั้นหลังคาพระวิหารถือเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมล้านนา คือ ลดด้านหน้า 3 ชั้น และด้านหลัง 2 ชั้น

ส่วนโครงสร้างของพระวิหารหลวงเป็นแบบเสาและมีคานรับน้ำหนัก ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าพระวิหารหลวงหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากข้อมูลที่ได้จากศิลาจารึก จุลศักราช 838 (พ.ศ.2019) กล่าวเพียงว่า มีการสร้างวิหาร แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นวิหารแห่งใด

อย่างไรก็ตาม พระวิหารหลวงหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2044 เนื่องจากได้มีการหล่อพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทอง เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นอาคารที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.2466 โดยพระธรรมจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปางในสมัยนั้น

ในการบูรณปฏิสังขรณ์ได้พยายามรักษารูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของพระวิหาร เช่น เปลี่ยนเสาแปดเหลี่ยมที่รับโครงสร้างหลังคาส่วนบนตอนกลางพระวิหารมาเป็นเสากลม สร้างเพดานและลานประดับเป็นไม้ แกะสลักประดับกระจกสีภาพ 12 ราศี แต่เดิมพระวิหารหลวงไม่มีเพดาน เป็นอาคารที่เปิดให้เห็นโครงสร้างหลังคาทั้งหมด

ภายในพระวิหารหลวง มี “กู่” หรือ “พระมณฑป” อันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป “พระเจ้าล้านทอง” พระประธานของพระวิหารหลวง ซึ่งหล่อด้วยสำริดปิดทอง ในท่าขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบศิลปะเชียงแสนผสมกับศิลปะสุโขทัย

นอกจากนี้ ภายในพระวิหารหลวงยังมีภาพเขียนจิตรกรรมประดับอยู่บนแผงคอสองด้านข้างทั้งสองด้าน ภาพจิตรกรรมเหล่านี้เป็นภาพเขียนที่สวยงามและหาดูได้ยาก เป็นฝีมือของช่างท้องถิ่น เขียนเรื่องราวทศชาติชาดก พุทธประวัติ และพรหมจักรหรือรามเกียรติ์ ฉบับสำนวนล้านนา

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปนมัสการพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากถนนสายเอเชีย ประมาณ 4 กิโลเมตร
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-12-20 08:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด


“พระเจ้าล้านทอง” พระประธานในพระวิหารหลวง



ความงดงามของวัดพระธาตุลำปางหลวง

 เจ้าของ| โพสต์ 2014-12-20 08:54 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระเจ้าหลวง" เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างมานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด มีขนาดหน้าตักกว้าง 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274 เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้จาก หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า "พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น   และตามหนังสือ  คนดีเมือง เหนือของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า"พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระ เมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้"

ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ  จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี   พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น   ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว วังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมือง หมดคงปล่อยให้องค์ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง  349  ปีจนมาถึง  พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน

เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง  ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว ้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสัน ขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาว บ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน  พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ ท่านครู บาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้ สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบา เป็นอย่าง มาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส  "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่งวัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่   ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ  ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร  แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง   อำเภอท่าขี้เหล็ก   สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ 1 ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว - วังหิน  เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน



“กู่” หรือพระมณฑป ที่ประดิษฐาน “พระเจ้าล้านทอง”
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง

 เจ้าของ| โพสต์ 2014-12-20 08:55 | ดูโพสต์ทั้งหมด




พระธาตุลำปางหลวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลำปาง

ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ ::
https://th-th.facebook.com/PhraThatuLapangHlwng
http://www.chiangraiphotoclub.com
http://www.hamanan.com/tour/lampang/pra ... emple.html
                                                                                       

.........................................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=31686

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้