ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ เจ้าคุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ วัดเทพศิรินทร์ ~

[คัดลอกลิงก์]
51#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สันติสุข

พระพุทธเจ้าสอนว่า “นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ”

“สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

หมายความว่า ความสุขอื่นมี

เช่นกับความสุขในการดู ละคร ดูหนัง

ในการเข้าสังคม

ในการมีคู่รักคู่ครอง

หรือ ในการมีลาภยศ

ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง

แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ

ไฝเหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็น

และไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก

เป็นความสุขที่ทำได้ง่าย ๆ

เกิดกับกายใจของเรานี่เอง

อยู่ในที่เงียบ ๆ คนเดียวก็ทำได้

หรือ อยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้

ถ้าเรารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง

สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ

แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย

แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้

ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย

เมื่อใจสงบแล้ว

กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย

และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น
52#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น 3 ทาง คือ

1. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล

ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบ ที่เกิดทางกาย วาจา เป็นเหตุให เกิดสันติสุข ทางกาย วาจา เป็นประการต้น

2. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง

ความกำหนัด

ความโกรธ

ความโลภ

ความหลง

ความกลัว

ความฟุ้งซ่านรำคาญ

ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่ง เหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็น สันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง

3. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็นด้วยปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า

สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง

คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็นทุกข์

ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้องเร่งรัดให้เป็นไป ตามความประสงค์ท่านเรียกว่า อนัตตา

เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคงเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย

เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน

มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป

ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา

อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ

คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ

ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น

เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข

เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิต ที่จะใช้ทำกิจกรณียะ อันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์

“นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ - สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”
53#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ดับขันธ์



บัดนี้ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้ละจากโลกไปแล้ว แต่วันที่ 8 มกราคม 2514 เวลาประมาณ 11.00 น. เหลือเพียงประวัตชีวิตอันบริสุทธิ์ มีแต่ความดีงามไว้ให้ทุกคนได้ดำเนิน ตาม

ท่านเป็นตัวอย่างยืนยันถึงความสุขอันเกิดแต่ความสงบโดยแท้ คนที่ไม่ต้องการอะไรเลยในชีวิต เป็นผู้ประสบความสุขอย่างแท้จริงยิ่งกว่าคนที่ต้องการทุกอย่างในชีวิต

ท่านเป็นตัวอย่างของสงฆ์ ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่มีความอยากใด ๆ ไม่ปรารถนาจะเป็นอาจารย์ของผู้ใด ไม่ใฝ่หาลาภสักการะ ไม่ใฝ่หาชื่อเสียงเกียรติคุณ

เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความกตัญญูเป็นเลิศยากจะหาใครมาทัดเทียม

นับแต่นี้ต่อไป แม้จะไม่มีสังขารของท่านธมฺมวิตกฺโก แต่คุณงามความดีของท่านก็จะยังคงอยู่ตลอดไปไม่เสื่อมสลาย

ท่านเคยบอกว่านามฉายาของท่านคือ ธมฺมวิตกฺโก นั้นมี ความหมายถึง การระลึกถึงธรรม หรือ การตรึกถึงธรรม อันเป็นนามเดิมของท่าน

เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านเคยบอกเสมอว่า “ถ้าคิดถึง อาตมาก็ให้คิดถึง ธมฺมวิตกฺโก เพราะ ธมฺมวิตกฺโก คือ การระลึกถึงธรรม เมื่อคิดถึงเช่นนี้แล้ว ธมฺมวิตกฺโก ก็จะอยู่ข้าง ๆ เสมอ”

ไม่จำเป็นจะต้องมาหาอาตมา เพราะเมื่อมาหาก็มาเห็นแต่สังขาร ซึ่งวันหนึ่งก็จะเน่าเปื่อย และเสื่อมสิ้นไป

จงระลึกถึงธรรมดีกว่า จะมีคุณค่าต่อชีวิตยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด ศีลและธรรมเป็นหลักของมนุษย์ มนุษย์จะอยู่ได้สงบเยือกเย็นเป็นสุขก็โดยศีลและธรรม หากขาดสิ่งเหล่านี้แล้วมนุษย์ก็จะมีค่าเสมอกันกับสัตว์

พวกเราทั้งหลายที่มีจิตศรัทธาต่อท่านธมฺมวิตกฺโก จงมาระลึกถึงท่านด้วยการระลึกถึงธรรม ดังที่ท่านปรารถนาเถิด เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อท่าน

และเมื่อพวกเขาทั้งหลายได้ระลึกถึงธรรมและปฏิบัติธรรมกันแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมนั้น จะช่วยคุ้มครองให้ถึงซึ่งความสุขอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน อย่างมิต้องสงสัยเลย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
54#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติราชการ

25 กุมภาพันธ์ 2457 โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่อง ยศมหาดเล็กวิเศษ

1 เมษายน 2458 เงินเดือน เดือนละ 40 บาท

10 พฤศจิกายน 2458 ยศ บรรดาศักดิ์ รองหุ้มแพร นายรองเสนองานประภาษ เงินเดือนเพิ่ม 20 บาท รวม 60 บาท

1 เมษายน 2459 ย้ายไปอยู่ กองห้องที่พระบรรทม

30 สิงหาคม 2459 บรรดาศักดิ์ หุ้มแพร นายเสนองานประภาษ

1 กันยายน 2459 เงินเดือนเพิ่ม 40 บาท รวม 100 บาท

31 ธันวาคม 2460 ยศ บรรดาศักดิ์ จ่า นายจ่ายง

1 มกราคม 2460 เงินเดือน เพิ่ม 100 บาท รวม 200 บาท

31 ธันวาคม 2461 ยศ บรรดาศักดิ์ รองหัวหมื่น หลวงศักดิ์นายเวร

1 มกราคม 2461 เงินเดือนเพิ่ม 100 บาท รวม 300 บาท

1 เมษายน 2463 เงินเดือนเพิ่ม 40 บาท รวม 340 บาท

10 พฤศจิกายน 2465 ยศ บรรดาศักดิ์ หัวหมื่น เจ้าหมื่นสรรเพชภักดี.

1 เมษายน 2465 เงินเดือนเพิ่ม 160 บาท รวม 500 บาท

1 ธันวาคม 2465 เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม

30 ธันวาคม 2465 บรรดาศักดิ์ พระยานรรัตนราชมานิต

1 กรกฎาคม 2467 องคมนตรี ร.6

1 มกราคม 2467 ยศ จางวางตรี

24 มีนาคม 2468 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้า ล้นกระหม่อม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส

1 เมษายน 2468 เงินเดือน เพิ่ม 200 บาท รวม 700 บาท

1 เมษายน 2469 โปรด เกล้าฯ ให้ยุบเลิกตำแหน่งหน้าที่ ราชการกรมมหาดเล็กหลวง ได้รับพระราชทานบำนาญเดือนละ 84 บาท 66.2/3 สตางค์

4 เมษายน 2469 องคมนตรี ร.7

8 มกราคม 2514 ถึงมรณภาพ ด้วยความชรา (บันทึก ส.น.ว. ที่ 314 ล.ว. 11 ม.ค. 2514)
55#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิสริยาภรณ์

21 มกราคม 2457 เหรียญราชรุจิทอง

2 มกราคม 2458 เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น 5

31 ธันวาคม 2459 ตรามงกุฎสยามชั้น 5

18 เมษายน 2460 ตราวชิรมาลา

31 ธันวาคม 2460 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

31 ธันวาคม 2461 ตรามงกุฎสยามชั้น 4

10 พฤศจิกายน 2464 เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น 3

11 พฤศจิกายน 2465 ตราตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

11 พฤศจิกายน 2466 ตราทุติยจลจอมเกล้า

10 พฤศจิกายน 2468 ตรามงกุฎสยามชั้น 1 (ปถมาภรณ์มงกุฎสยาม)

25 กุมภาพันธ์ 2468 เหรียญบรมราชาภิเษกทอง (รัชกาลที่ 7)

4 เมษายน 2475 เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี เงินกะไหล่ทอง

http://www.dharma-gateway.com/mo ... -nor-hist-08-04.htm
56#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-4 18:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
AUD

"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ" เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้ว จะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไร ก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนก้อนหินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะเสกเป่าอวยพร ขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วต้องล่นจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ

— ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
สาธุครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้