ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2493
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กำเนิดความเป็นมา เครื่องรางของขลัง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AmAm เมื่อ 2014-4-9 00:32

กำเนิดความเป็นมา  เครื่องรางของขลัง

        หากจะพูดถึงเรื่อง เครื่องรางของขลัง เป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวาง  ซึ่งในตำราพิชัยสงคราม กล่าวว่า เครื่องรางของขลัง ที่นักรบสมัยโบราณจะมีติดตัวเป็นมงคล ซื่งมีด้วยกันหลายชนิดและมีความเชื่อต่อ เครื่องรางของขลังนั้นๆและพระคณาจารย์เหล่านั้นอย่างมั่นคง จะเห็นได้จากการสืบทอดสรรพตำรา ตกทอดกันมาเนิ่นนานทีเดียว ซึ่งแบ่งออกไปตามประเภทย่อๆดังนี้
        1. ความเป็นมาจากตามธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ซึ่งถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษา สิ่งนั้น ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือ กลวง เถาวัลย์ ฯลฯ
        2. ส่วนของดีที่สร้างขึ้นมานั้น ได้แก่ สิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น แร่ธาตุ ต่างๆ ที่หล่อหลอมตามสูตร การเล่นแร่แปรธาตุ อันได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้คลุมไปถึง เครื่องราง ลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้นกันภัยอันตราย

การแบ่งตามการใช้ดังต่อไปนี้
        1. เครื่องคาด อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ
        2. เครื่องสวม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ
        3. เครื่องฝัง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา (ใส่ลูกตา) และการฝังเหล็กไหล หรือ ฝังโลหะมงคล ต่างๆ ลงไปในเนื้อจะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น
        4. เครื่องอม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้อมในปาก อาทิเช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม (สำหรับในข้อนี้ไม่รวมถึง การอม เครื่องราง ชนิด ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กไว้ในปากเพราะไม่เข้าชุด)
การแบ่งตามวัสดุดังนี้
        1. โลหะ
        2. ผง
        3. ดิน
        4. วัสดุอย่างอื่น อาทิ กระดาษสา ชันโรง ดินขุยปู
        5. เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์
        6. ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย
        7. ผ้าทอทั่วๆไป
การแบ่งตามรูปแบบลักษณะดังนี้
        1. ผู้ชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี พ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์ พระสีสแลงแงง และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ
        2. ผู้หญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ศรีเรือน แม่ซื้อ แม่หม่อมกวัก เทพนางจันทร์ พระแม่ธรณี  และสิ่งที่เป็นรูปของผู้หญิงต่างๆ
        3. สัตว์ ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู ดังนี้เป็นต้น
การแบ่งตามระดับชั้น ดังนี้
        1. เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย ซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
        2. เครื่องรางชั้นต่ำ อันได้แก่ เครื่องราง ที่เป็นของต่ำ อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อ  (แม่เป๋อ) ไอ้งั่ง  (พ่องั่ง) ไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง
        3. เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ธงรูปนก รูปตั๊กแตน รูปปลา หรือ กระบอกใส่ยันต์และอื่นๆ
        เมื่อได้แบ่งแยกกันออกไป เป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ออกไปให้เห็นกันง่ายๆแล้ว ทีนี้ก็จะจะมาพูดถึงว่าเขาสร้างเครื่องรางกันทำไม เรื่องนี้อธิบายได้พอสังเขปก็แล้วกัน เรื่องก็มีอยู่ว่าเดิมทีนั้นโลกไม่มีศาสนาบังเกิดขึ้นมนุษย์ก็รู้จักกับปรากฏการณ์ของธรรมชาติเท่านั้น อาทิเช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และ ดาวตก  หรือแม้กระทั่ง ไฟ ดังนั้น เมื่อเห็น พระอาทิตย์ มีแสงสว่างก็เคารพ แล้วเขียนภาพดวงอาทิตย์ไว้ในผนังถ้ำ เพื่อให้เกิด ความอบอุ่นใจในตอนกลางคืน เมื่อเขียนใส่ผนังถ้ำแล้วก็มาสลักลงบนหิน เพื่อติดตัวไปมาได้ ก็กลายเป็น เครื่องราง ไปโดยบังเอิญ และเมื่อรู้จักไฟก็คิดว่าไฟเป็นเทพเจ้า ก็บูชาไฟ ทำรูปดวงไฟ แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งประหลาด อาทิ นกที่มีรูปร่างประหลาด เป็นต้น ต่อมาก็สร้างรูปเคารพของเทพต่างๆ และค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จาก ประเทศ อียิปต์ กรีก โรมัน เพราะเป็นประเทศที่มี เครื่องราง มากมาย ดังนั้นเมื่อก่อนพุทธกาลราว 2,000 ปีเศษ ศาสนาพราหมณ์ ถือเอาพระผู้เป็นเจ้าเป็นสรณะก็บังเกิดขึ้น พระผู้เป็นเจ้านั้นก็คือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม และ เมื่อต้องการความสำเร็จผลใน สิ่งใด ก็มีการสวด อ้อนวอน อันเชิญ ขออำนาจของ เทพเจ้าทั้งสามให้มาบันดาลผลสำเร็จที่ต้องการนั้นๆ
         การกระทำดังกล่าวนี้จำต้อง มีที่หมายทางใจ เพื่อความสำรวม ฉะนั้นภาพจำหลักของ เทพเจ้าทั้ง 3 ก็มีขึ้น จะเห็นได้จากรูปหะริหะระ ( HariHara ) แห่งประสาทอันเดต (Prasat Andet) ที่พิพิธภัณฑ์ เมืองพนมเปญ อันเป็นภาพจำหลักของ พระนารายณ์ ใน ศาสนาพราหมณ์ กับ เทวรูปมหาพรหม แห่ง พิพิธภัณฑ์กีเมต์ที่ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเอาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ในประเทศอินเดีย  กาลต่อมาพระพุทธศาสนาก็บังเกิดขึ้นในโลก โดย พระบรมศาสดา (เจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นผู้ทรงค้นพบอมตะธรรมวิเศษ อันมีผู้เลื่อมใส่สักการะแล้วยึดเป็นสรณะ ดังนั้น พระพุทธองค์ ทรงมีพระสาวก ตามเสด็จ ประพฤติปฏิบัติมากมาย  จนเป็นพระอสีติมหาสาวก ขึ้น ซึ่งท่านมหาสาวก เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงไว้ ความเป็นเอตทัลคะ ในด้านต่างๆกัน มี พระสารีบุตร ทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางปัญญา ส่วน พระโมคคัลลานะทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางอิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่สำเร็จญาณสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ย่อมแสดงอิทธิฤทธิ์ ได้หลายอย่าง เป็นอเนกประการ อิทธิฤทธิ์ เหล่านี้ เรียกว่า “อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นการกระทำที่สามัญชนไม่สามารถจะกระทำได้ ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ใน “พระไตรปิฎก” มากมาย และพระคณาจารย์เจ้า  ผู้สำเร็จญาณสมาบัติ ท่านย่อมทรงไว้ซึ่งฤทธิ์
         โดย ที่พระพุทธองค์ ผู้เป็นเจ้าของ “พุทธศาสนา” นั้น พระองค์ทรงไว้ด้วย พระคุณ 3 ประการ คือ 1. พระเมตตาคุณ 2. พระปัญญาคุณ 3.พระบริสุทธิคุณ
ดังนั้น พระเถรานุเถระผู้ทรงไว้ด้วย ญาณสมาบัติ ก็มักจะใช้ฤทธิ์ของท่านช่วยมนุษย์และสัตว์โลก ซึ่งถือเอาหลัก พระเมตตาคุณ เป็นการรอยพระยุคบาทแห่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระบรมศาสนา นั่นเอง
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่ถกเถียงกันมานานแสนนานทีเดียว แต่ลงรอยกันไม่ได้ นั่นก็คือคำว่า เครื่องราง กับ “เครื่องลาง” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า เครื่องราง อันหมายถึงเครื่องป้องกันภัยที่สำเร็จด้วยรางหรือร่อง แต่สำหรับ นักนิยมสะสม เครื่องราง ระดับสากลนิยมจะเรียกว่า “เครื่องลาง”
อันหมายถึง เครื่องที่ใช้เกี่ยวกับโชคลาง เพราะดั่งเดิมนั้น มนุษย์ ทำของเช่นนี้ ขึ้นมา เพื่อป้องกัน เหตุร้ายที่เรียกว่า “ลาง” ซึ่งเป็นลางดีและไม่ดี แต่ก็เอาละเมื่อเขียนว่า “เครื่องราง” ก็เอาตาม พจนานุกรมนั่นแหละ



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-9 16:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-4-9 06:49

-.-   -.-

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-10 22:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปเก่า-พระพุทธรูปใหม่ เนื้อสัมฤทธิ์ มีวิธีดูอย่างไร


"เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นของ พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร"

ปัจจุบันวงการนักนิยมสะสม พระบูชา พระเครื่อง ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น มีผู้ให้ความสนใจศึกษาและมุ่งหวังที่จะเข้าสู่วงการเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ถามว่าบุคคลเหล่านั้นจะเข้าใจในสิ่งที่ได้ศึกษามาอย่างถ่องแท้หรือไม่ สามารถมาขับเคี่ยวกับเสือ สิงห์ นักเล่นมืออาชีพ (เซียน) ในวงการได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความบากบั่นและมุ่งมั่นของแต่ละบุคคล

การพิจารณา พระพุทธรูป ก็เป็นหนึ่งในหลักวิชาการที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงขอนำหลักการเบื้องต้นในการศึกษา "พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์" ว่าความเก่าใหม่นั้นดูอย่างไร

มาทำความเข้าใจคำว่า "เนื้อสัมฤทธิ์" กันก่อน คำว่า "สัมฤทิธิ์" คือการนำโลหะต่างๆ มาผสมกัน อาทิ ทองคำ เงิน นาก ทองเหลือง ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว ฯลฯ สำหรับพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์มักนิยมใช้ส่วนผสมของโลหะ ดังนี้

- ผสมโลหะ 5 ชนิด คือ ดีบุก 1 บาท ปรอท 2 บาท ทองแดง 3 บาท เงิน 4 บาท และทองคำ 5 บาท เรียก "ปัญจโลหะ"
- ผสมโลหะ 7 ชนิด คือ ดีบุก 1 สังกะสี 2 เหล็กละลายตัว 3 ปรอท 4 ทองแดง 5 เงิน 6 และทองคำ 7 เรียก "สัตโลหะ"
- ผสมโลหะ 9 ชนิด คือ ชิน 1 เจ้าน้ำเงิน 2 เหล็กละลายตัว 3 บริสุทธิ์ 4 ปรอท 5 สังกะสี 6 ทองแดง 7 เงิน 8 และทองคำ 9 เรียก "นวโลหะ"

ศึกษาเกี่ยวกับโลหะต่างๆ ที่นำมาผสมรวมกัน ซึ่งจะมีคุณสมบัติเฉพาะในแต่ละตัว เช่น ทองคำ เมื่อนำมาผสมกับโลหธาตุอื่นก็จะเกิดความมันใสขึ้น "เจ้าน้ำเงิน" จะทำให้ผิวกลับดำ มองเห็นความเก่าชัดเจน เป็นต้น หรือบางครั้งเมื่อผสมกันแล้วโลหธาตุจะเปลี่ยนไป เช่น เมื่อนำทองแดงมาผสมกับสังกะสีก็จะกลายเป็นทองเหลือง ทั้งนี้ทั้งนั้น การนำเอาโลหะต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวมาผสมรวมกันก็จะปรากฏเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นมาสำหรับเนื้อสัมฤทธิ์นั้นๆ

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่พบเห็นกันโดยส่วนใหญ่ มีอาทิ "เนื้อสัมฤทธิ์ดำ" เป็นส่วนผสมที่มีโลหะเงินมาก "เนื้อสัมฤทธิ์เขียว" มีส่วนผสมของทองเหลืองมาก และ "เนื้อสัมฤทธิ์แดงน้ำตาลไหม้" มีส่วนผสมของทองแดงมาก และทั้งหมดนี้ถ้าได้ผสมโลหะทองคำเข้าไปด้วย ก็จะทำให้เนื้อสัมฤทธิ์ดังกล่าวมันวาวและสวยงามยิ่งขึ้น

เมื่อทราบถึงลักษณะการผสมและคุณสมบัติเฉพาะที่จะมีส่วนปรากฏบนพื้นผิวองค์พระแล้ว ก็มาเข้าสู่หลักการพิจารณา "ความเก่า-ใหม่" เบื้องต้น ดังนี้

1.สังเกตพุทธศิลปะ ตามที่ได้ศึกษามาว่าอยู่ในสมัยใดเป็นอันดับแรก ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย หรืออยุธยา จากนั้นดูความประณีตงดงามว่าเป็นฝีมือช่างหลวงหรือช่างราษฎร์
2.พระเก่าหรือโลหะเก่าแท้จะต้องมีคราบ มีสนิม ความสึกกร่อน รอยชำรุด รูสนิมขุม ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ สนิมจะเกิดจากด้านในออกมาด้านนอก ปากสนิมจะเล็ก การกัดกินจะไม่สม่ำเสมอ แต่ถ้าพระใหม่จะใช้น้ำกรดสาด ลักษณะสนิมปากนอกจะกว้าง และความขรุขระสม่ำเสมอ
3.พระเก่าเมื่อสัมผัสจะไม่มีขอบคม ไม่เหมือนพระใหม่
4.พระเก่าผิวเนื้อจะเข้ม มันใส และแห้งเนียน ในภาษาวงการพระเรียก "มีความซึ้งตาซึ้งใจ" ไม่กระด้างเหมือนพระใหม่
5.พระเก่าที่มีอายุยาวนาน เมื่อเคาะที่ฐานจะมีเสียงแปะๆ ส่วนพระใหม่เสียงจะกังวาน
6.ดินหุ่นด้านในใต้ฐานองค์พระของพระเก่าจะค่อนข้างหนา และแข็ง เอามือสัมผัสแทบไม่หลุดติดมือมาเลย
7.เม็ดพระศกของพระเก่าจะเล็กบ้างใหญ่บ้างเบี้ยวบ้างแตกต่างกันเล็กน้อย แต่พระใหม่จะเป็นระเบียบ

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการเข้าสู่วงการนักสะสมจริงๆ ท่านต้องหมั่นค้นคว้าศึกษา ได้เห็นของแท้บ่อยๆ ให้เกิดความชินตา หาผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญที่ไว้วางใจได้สักคนที่จะให้คำแนะนำที่ถูกต้อง

ที่สำคัญต้องกล้าเสี่ยงที่จะลองผิดลองถูกครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้