ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6513
ตอบกลับ: 24
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สมเด็จพระสังฆราช

[คัดลอกลิงก์]
องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตาราม
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่งพ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๖
ในรัชกาลที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๑๑ ปี
พระนามเดิมศรี
พระฉายาไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล-
พระชนกไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนีไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติไม่ปรากฏหลักฐาน
ทรงอุปสมบทณ วัดพนัญเชิง ตำบลคลองสวนพลู อำเภอกรุงเก่า(อำเภอพระนครศรี อยุธยาในปัจจุบัน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. ๒๓๒๕
สิ้นพระชนม์พ.ศ. ๒๓๓๖


สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดระฆังโฆษิตาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๖ ดำรงตำแหน่ง อยู่ ๑๑ พรรษา น่าจะมีพระชนมายุไม่น้อยกว่า ๘๐ พรรษา
พระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏรายละเอียด พบแต่เพียงว่า เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่ วัดพนัญเชิง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ เสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้อาราธนาพระองค์ให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๔ ได้ถูกถอดจากตำแหน่ง เนื่องจากถวายวิสัชนาเรื่อง พระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล เนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่สูง ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ วิสัชนานี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ จึงให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราช ลงเป็นพระอนุจร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ขึ้นครองราชย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเดิม และไปครองพระอารามตามเดิมด้วย ทรงเห็นว่าเป็นผู้มีความสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรแก่นับถือเคารพสักการะบูชา
พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการชำระและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทั้งในด้านความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสามเณร การบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธสถาน การชำระตรวจสอบพระไตรปิฎก ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
งานสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งนี้ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ ของราชอาณาจักรไทย กระทำเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑ โดยนำพระไตรปิฎก ที่รวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม จารึกลงลานประดิษฐานไว้ ณ หอพระมณเทียรธรรม และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง เมื่อตอนต้นรัชกาล มาตรวจชำระ โดยอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะให้ดำเนินการ สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ ๓๒ คน ทำการสังคายนาที่ วัดนิพพานาราม แบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๔ กอง ดังนี้
สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองชำระพระสุตตันปิฎก
พระวันรัตเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก
พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเศส
พระธรรมไตรโลกเป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก
การชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา ๕ เดือน ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบ เรียกว่า ฉบับทอง ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm


25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-20 12:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ สาธุ สาธุ
อนุโมทนาครับ
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 21:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
น้อมนมัสการทุกๆพระองค์ครับ
ขอบคุณครับ
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รวบรวมข้อมูลจาก http://www.dhammathai.org/thailand/sangkharaja.php
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฬ้า ฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเวลาถึง ๑๕๒ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
ผลงานของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นเอนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้
ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีบ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘
พ.ศ. ๒๕๑๔ เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศ ฯ
พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน ๔๓ คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซียและในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชา กุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาศทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
ด้านสาธารณูปการ ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
ปูชนียสถาน ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ ฯ พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
พระอาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล
โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมัธยมญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี
โรงพยาบาล ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาล และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม ชลบุรี และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร ทุกพระองค์ รวม ๑๙ แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง
พระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้
ประเภทตำรา ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค ๑-๒ สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทรบุรี นฤนาถ
ประเภทพระธรรมเทศนา มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ ๕ กัณฑ์ ทศพลญาณ ๑๐ กัณฑ์ มงคลเทศนา โอวาทปาฎิโมข์ ๓ กัณฑ์ สังฆคุณ ๙ กัณฑ์ เป็นต้น
ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท วินัยมุข พุทธประวัติ ภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
ประเภททั่วไป มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นการนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ ๔๕ พรรษาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ) วิธีปฎิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ พระพุทธศาสนากับสังคมไทย เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ) แนวปฎิบัติในสติปัฎฐาน อาหุเณยโย อวิชชา สันโดษ หลักธรรมสำหรับการปฎิบัติอบรมจิต การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ บัณฑิตกับโลกธรรม แนวความเชื่อ บวชดี บุพการี-กตัญญูกตเวที คำกลอนนิราศสังขาร และตำนาน วัดบวรนิเวศ เป็นต้น





ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศวิหาร
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน
พระนามเดิมเจริญ
พระฉายาสุวฑฺฒโน
นามสกุลคชวัตร
พระชนกน้อย
พระชนนีกิมน้อย
ประสูติวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษาพ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงสอบได้ น.ธ. เอก พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
ทรงอุปสมบทวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วได้ทรงทำทัฬหีกรรม(ญัตติซ้ำ) เป็นธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต นพวงษ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ ทีปรักษพันธุ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ทรงบรรพชาพ.ศ. ๒๔๖๙ ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี
ดำรงตำแหน่งวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒
สมณศักดิ์พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระโศภนคณาภรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้น ราช ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ที่พระสาสนโสภณ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร


[size=15.555556297302246px]  สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิถลอดุลยเดช
พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๖ อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๗,๒๔๗๘,๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิก สังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวักบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 15:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ. ๔) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ –๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๑ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน
พระนามเดิมวาสน์
พระฉายาวาสโน
นามสกุลนิลประภา
พระชนกบาง
พระชนนีผาด
ประสูติวันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การศึกษาพ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ ๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๔
ทรงอุปสมบทวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ
ทรงบรรพชาวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ณ วัดราชบพิธใหม่
ดำรงตำแหน่งวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗
สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๐


สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่า วาสน์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่อำเภอนครหลวงจังหวัด พระนครศรีอยุธยาบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมตามลำดับ สอบได้เปรียญ ๔ประโยค
พ.ศ. ๒๔๖๕ และ ๒๔๖๖ เป็นพระครูโฆสิตสุทธสร พระครูธรรมธร และพระครูวิจิตรธรรมคุณ ตามลำดับ และเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง
พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นพระราชาคณะที่ พระจุลคณิศร ปลัดซ้ายของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นคณาจารย์เอกทางรจนาพระคัมภีร์ และเป็นสมาชิกสภาสังฆสภา
พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาคกลาง และภาค ๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอพระนคร และเป็นกรรมการการสังคายนาพระธรรมวินัย
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี และรักษาการณ์ในหน้าที่เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี
พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ และเป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค ๑
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นเจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค ๑-๒-๖ และเป็นเจ้าคณะจังหวัด พระนครสมุทรปราการ กับ นครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งเจ้าคณะธรรมยุต ภาค ๑-๒-๖ และเป็นอุปนายกกรรมการ มหามกุฎราชวิทยาลัยฯ
พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และเป็นกรรมการเถรสมาคม
พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
- นายกกรรมการและนายกสภาการศึกษา มหามงกุฎราชวิทยาลัย
- เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- ประธานการศึกษาของคณะสงฆ์
- ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
- ประธารกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนา และมนุษยธรรม
- เป็นองค์อุปถัมภ์ในกิจการด้านการพระศาสนา และการสงเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น มูลนิธิสังฆ ประชานุเคราะห์ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ศูนย์และชมรมพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช ( วาสนมหาเถร ) สถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศน์ และมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช ( วาสนมหาเถร ) เป็นต้น
งานเผยแผ่ศาสนธรรม นับว่าเป็นงานหลักที่ทรงกระทำเป็นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ การสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในการสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี นับเป็นครั้งที่ ๓ ของประเทศไทย
การบรรยายธรรม ได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาประจำวันธรรมสวนะในพระอุโบสถ เป็นประจำ การบรรยายสวดมนต์มีคำนำแปล ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำวันพระแรม ๘ ค่ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๗
การตรวจเยี่ยมพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศทั้ง ๗๓ จังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
การแต่งหนังสือและบทความต่าง ๆ เพื่อสอนพระพุทธศาสนาในระดับต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก
การตั้งมูลนิธิต่างๆ เพื่อบำรุงพระอาราม
งานสาธารนูปการ ทรงสร้างและให้ความอุปถัมภ์ในการสร้างวัด โรงเรียน โรงพยาบาล และสาธารณสถานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดแสงธรรมสุทธาราม จังหวัดนครสวรรค์ วัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา อาคารเรียนโรงเรียน ประชาบาลวัดสระกะเทียม นครปฐม โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) จังหวัดอยุธยา ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสนาวนาราม หอนาฬิกา จังหวัดอยุธยา ศาลาที่พักริมทางหลวง ๘ แห่ง ศาลาทรงไทยหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ๒ หลัง และสถานสงเคราะห์คนชราวาสนเวศน์ จังหวัดอยุธยา สิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ โรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ในที่ดินที่กองทัพบกยกให้ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา งานสร้างพุทธมณฑล ให้สำเร็จเสร็จทันในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นผลงานสำคัญของพระองค์ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑
งานพระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทิศ ๖ สังคหวัตถุ ๔ สัมปรายิกัตถประโยชน์ วัดของบ้าน พุทธศาสนคุณ พัฒนาใจ บุคคลหาได้ยาก มรดกชีวิต ความเติบโต วาสนาสอนน้อง จดหมายถึงพ่อ วาทแห่งวาสน์ คำกลอนสอนใจ วาสนคติ นิราศ ๒ ปี สวนดอกสร้อย สักวาปฏิทิน กลอนปฏิทิน อาจารย์ดี สมพรปาก คน-ระฆัง เรือ-สมาคม วัยที่เขาหมดสงสาร และบทความเรื่องบันทึกศุภาสินี เป็นต้น





ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 14:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ป.ธ. ๖) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ – ๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑ ปี
พระนามเดิมปุ่น
พระฉายาปุณฺณสิริ
นามสกุลสุขเจริญ
พระชนกเน้า
พระชนนีวัน
ประสูติวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ณ ตำบลบ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
การศึกษาพ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๖
ทรงอุปสมบทพ.ศ. ๒๔๖๐ ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ
ทรงบรรพชาเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี ได้บรรพชาที่วัดสองพี่น้อง พอได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขากลับไปช่วยบิดามารดาทำนา ๑ ปี แล้วจึงกลับมา บรรพชาใหม่
ดำรงตำแหน่งวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕
สิ้นพระชนม์วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริรวมพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ๕๖


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑พรรษาเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา
พระองค์มีพระนามเดิมว่า ปุ่น ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาในเบื้องต้น เรียนกับบิดาของท่าน จนอ่านออกเขียนได้ แล้วจึงไปเรียนภาษาบาลี อักษรขอม และมูลกัจจายน์ (กับพระอาจารย์หอม และอาจารย์ จ่าง) ที่วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อพระชนม์ได้ ๑๐ พรรษา (พระอาจารย์หอมได้พามาฝากให้เป็นศิษย์พระอาจารย์ป่วน) ได้มาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ฯ เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ได้ย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์สด (พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ณ วัดพระเชตุพน แล้วกลับไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
พ.ศ. ๒๔๕๖ สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ. ๒๔๕๘ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขณะเป็นสามเณร
พ.ศ. ๒๔๖๒ สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ. ๒๔๖๓, ๒๔๖๖, ๒๔๗๐ สอบได้เปรียนธรรม ๔,๕ และ ๖ ประโยคตามลำดับ
พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก แผนกพระวินัย เป็นภาษาไทย
พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานสมศักดิ์ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระอมรเวที เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นคณาจารย์เอกทางเทศนา
พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาคบูรพา ( ๘ จังหวัด ภาคตะวันออก ) เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค ๒ ( ๑๐ จังหวัดภาคกลาง ) และเป็นกรรมการสังคายนา พระธรรมวินัย
พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นสมาชิกสังฆสภา
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน และเป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการสังมาณัติระเบียบพระคุณาธิการ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมดิลก
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๒ (ภาคบูรพาเดิม) และเป็นสภานายกสภาพระธรรมกถึก
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๓ และ ๔ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๗ (๘ จังหวัดภาคกลาง) เป็นกรรมการเจ้าคณะตรวจการภาค และเป็นอนุกรรมการอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ข้าราชการ และประชาชน
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมโรดม และเป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การสาธารณูปการ) สมัยที่ ๕
พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การเผยแผ่) สมัยที่ ๖
พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต และเป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี
พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก หนเหนือ และหนใต้
พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นแม่กองงาน พระธรรมทูต
พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ระหว่างที่พระองค์เสด็จเยือนลังกา
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
ผลงานของพระองค์ นอกจากที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฎิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ และงานพิเศษต่าง ๆ ที่ได้รับมอบอย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีงานด้านพระศาสนาที่ทรงริเริ่มพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
งานด้านการก่อสร้าง และปฎิสังขรณ์ ทรงก่อสร้างและปฎิสังขรณ์ทั้งปูชนียสถานเช่น พระอาราม สาธารณสถาน เช่น พิพิธภัณท์ โรงเรียน โรงพยาบาล ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก
งานด้านมูลนิธิ ทรงก่อตั้งและสนับสนุนมูลนิธิ ที่ดำเนินงานด้านธรรม ด้านวิชาการ และการศึกษา และด้านสาธารณูปการ เป็นจำนวนมาก
งานด้านพระนิพนธ์ มีพระธรรมเทศนาจำนวนมาก วันสำคัญทางศาสนา ประมวลอาณัติคณะสงฆ์ สารคดี เช่น สู่เมืองอนัตตา พุทธชยันตี เดีย-ปาล ( อินเดีย-เนปาล ) สู่สำนักวาติกัน และนิกสัน และบ่อเกิดแห่งกุศล คือ โรงพยาบาล เป็นต้น ธรรมนิกาย เช่น จดหมายสองพี่น้อง สันติวัน พรสวรรค์ หนี้กรรมหนี้เวร ไอ้ตี๋ ดงอารยะ เกียรติกานดา คุณนายชั้นเอก ความจริงที่มองเห็น ความดีที่น่าสรรเสริญ อภินิหารอาจารย์แก้ว กรรมสมกรรม
งานด้านต่างประเทศ ทรงไปร่วมประชุมฉัฎฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ไปร่วมงานฉลองพุทธชยันตี (๒๕ พุทธศตวรรษ) ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นอกจากนี้ยังทรงไป และสังเกตุการณ์ พระศาสนาและเยือนวัดไทยในต่างประเทศ อีกเป็นจำนวนมาก





ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้