ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 18648
ตอบกลับ: 151
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ~

[คัดลอกลิงก์]


พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ



หัวข้อ

๏ พระประวัติในเบื้องต้น
๏ ทรงบรรพชา
๏ ทรงอุปสมบท
๏ พระศาสนกิจและสมณศักดิ์
๏ สมเด็จพระญาณสังวรรูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๏ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๏ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
๏ พระศาสนกิจในต่างประเทศ
๏ การสาธารณูปการ
๏ การสาธารณสงเคราะห์
๏ พระนิพนธ์
๏ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
๏ ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
๏ ชีวิตและปฏิปทาแบบอย่าง                                                                                       


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


๏ พระประวัติในเบื้องต้น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร
และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี

มีพระนามเดิมว่า “เจริญ คชวัตร” พระนามฉายาว่า “สุวฑฺฒโน”
ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๗๕
ตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒)
เวลาประมาณ ๑๐ ทุ่ม มีเศษ (หรือเวลาประมาณ ๐๔.๐๐ นาฬิกาเศษ
แห่งวันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตามที่นับแบบปัจจุบัน)
ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร (ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๐๘)

บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย
กล่าวคือ มาจาก ๔ ทิศทาง

พระชนกนั้นมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง

ส่วนพระชนนีมีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็ก และ นางแดงอิ่ม
เป็นหลานปู่หลานย่าหลวงพิพิธภักดี และนางจีน

ตามที่เล่ามานั้น หลวงพิพิธภักดี เป็นชาวกรุงเก่า
เข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ
ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยา คราวหนึ่ง
และเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบองคราวหนึ่ง

หลวงพิพิธภักดี ไปได้ภริยาชาวเมืองไชยา ๒ คน
ชื่อ ทับ คนหนึ่ง ชื่อ นุ่น คนหนึ่ง
และได้ภริยาชาวเมืองพุมเรียง ๑ คน ชื่อ แต้ม

ต่อมาเมื่อครั้งพวกแขกยกเข้ามาตีเมืองไทร
เมืองตรัง เมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีพิพัฒน์
(ทัด ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔)
เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม

หลวงพิพิธภักดี ได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย
และไปได้ภริยา ชื่อ จีน ซึ่งเป็นธิดาของพระยาปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน)
เป็นหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง  
หรือ พระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช)
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มีเรื่องราวดังที่เขียนไว้ในจดหมายหลวงอดุมสมบัติว่า

หลวงพิพิธภักดี ได้พาจีน
ภริยาจากตะกั่วทุ่งมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯ
ได้รับภริยาเดิม ชื่อ แต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย
(ส่วนภริยาชาวเมืองไชยาอีก ๒ คน ได้ถึงแก่กรรมก่อน)

เวลานั้น พี่ชายของ หลวงพิพิธภักดี
เป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
และ พระยาประสิทธิสงคราม (จำ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีครั้งนั้น
ก็เป็นอาของหลวงพิพิธภักดี
ต่อมาหลวงพิพิธภักดีพาภริยาทั้ง ๒
ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เล่ากันมาว่า

หลวงพิพิธภักดี เป็นคนดุ
เมื่อรับราชการเป็นผู้ช่วยราชการเมืองไชยา
เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา
เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีสลดใจลาออกจากราชการ

แต่บางคนบอกเล่าว่า

ต้องออกจากราชการเพราะความขึ้น
เรื่องที่เกี่ยวกับจีนหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง
เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีนั้นแล้ว
พระพิชัยสงคราม ผู้พี่ชาย จะให้เขารับราชการอีก
หลวงพิพิธภักดี ไม่ยอมรับ สมัครทำนาอาชีพ


นายน้อย คชวัตร พระชนก


นายน้อย คชวัตร เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก
ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗
ได้เรียนหนังสือ ตลอดจนถึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ๒ พรรษา
ในสำนัก พระครูสิงคบุรคณาจารย์ (สุด)
เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน

พระครูสิงคบุรคณาจารย์ เป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดี
และ นางจีน เป็นอาคนเล็กของ นายน้อย คชวัตร เอง
เมื่อลาสิกขาแล้วได้เข้ารับราชการ

เริ่มตั้งแต่เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรี
และได้แต่งงานกับ นางกิมน้อย เมื่ออายุ ๒๗ ปี
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

นางกิมน้อย คชวัตร พระชนนี


นางกิมน้อย คชวัตร มาจากบรรพชนทางญวนและจีน
บรรพชนสายญวนนั้นเข้ามาในเมืองไทย รัชกาลที่ ๓
เมื่อครั้ง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ยกทัพไปปราบจลาจลเมืองญวน ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวาย

รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ญวนพวกที่นับถือพระพุทธศาสนาไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๒ เพื่อรักษาป้อมเมือง

ส่วนพวกที่นับถือคริสต์ศาสนา
ให้ไปรวมอยู่กับพวกญวนเข้ารีตที่ตำบลสามเสน ในกรุงเทพฯ

พวกญวนที่ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีในครั้งนั้น
ได้สร้างวัดญวนขึ้นที่เมืองกาญจนบุรีวัดหนึ่ง ชื่อ วัดครั๊นถ่อตื่อ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดถาวรวราราม”
บรรพชนสายญวนของนางกิมน้อยเป็นพวกที่เรียกว่า “ญวนครัว”
ที่เข้ามาเมืองไทยในครั้งนั้น

ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ตามที่เล่ามาว่า
ได้โดยสารเรือสำเภามาจากเมืองจีน
เรือมาแตกก่อนจะถึงฝั่งเมืองไทย  
แต่ก็รอดชีวิตมาขึ้นฝั่งเมืองไทยได้
และได้ไปตั้งหลักฐานทำการค้าอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

นางกิมน้อย คชวัตร
เป็นบุตรของนางเฮงเล็ก แซ่ตัน (สายจีน) และนายทองคำ (สายญวน)
เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ
ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๙
ที่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

มีชื่อเรียกเมื่อเป็นเด็กว่า “กิมน้อย” แปลว่าเข็มน้อย
คำว่า “กิม” เป็นคำญวณ แปลว่าเข็ม
แต่งงานกับนายน้อย คชวัตร เมื่ออายุ ๒๕ ปี
และใช้ชื่อเมื่อแต่งงานแล้ว
ตามที่พบในสมุดบันทึกของนายน้อย คชวัตร ว่า “แดงแก้ว”
แต่ต่อมาใช้ชื่อว่า “กิมน้อย” หรือ “น้อย” ตลอดมา
นางกิมน้อย คชวัตร พูดญวนได้
และอ่านเขียนภาษาไทยได้เล็กน้อย

ตามประวัติการรับราชการ นายน้อย คชวัตร
ได้เป็นเสมียนอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕
จนเป็นผู้ที่รั้งปลัดขวา

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ต่อมาได้ไปตรวจราชการท้องที่
กลับมาป่วยเป็นไข้อย่างแรง
ต้องลาออกจากราชการคราวหนึ่ง
หายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่

และได้ให้กำเนิดบุตรคนโต
คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายในปีต่อมา
ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)



ในศกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
ก็ได้มีโอกาสไปร่วมซ้อมรบด้วย

และในศกเดียวกันนั้นเอง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)  

ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ขณะประทับที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ได้โปรดให้ชาวบ้าน ข้าราชการ นำบุตรหลานเล็กเข้าเฝ้า

ในวันหนึ่ง นายน้อย คชวัตร ก็ได้นำบุตรคนโต อายุ ๒ ขวบ
คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าเฝ้าด้วยในโอกาสนั้น

ต่อมา นายน้อย คชวัตร
ได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ได้ไปป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกขึ้น
เมื่ออาการมากได้กลับมารักษาตัวที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี
และได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง ๓๘ ปี
ทิ้งบุตร ๓ คน ซึ่งมีอายุน้อยๆ ให้อยู่ในความอุปการะของภริยา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น
ป้าเฮ้ง ผู้เป็นพี่หญิงของนางกิมน้อย
ได้ขอไปเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ  และได้อยู่กับป้าเรื่อยมา

แม้เมื่อ นางกิมน้อย ต้องย้ายไปอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม
ก็หาได้นำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปด้วยไม่
เพราะเกรงใจป้าซึ่งรัก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาก
ป้าเลี้ยงเจ้าพระคุณสมเด็จด้วยความทะนุถนอม
เอาใจจนใครๆ พากันว่าเลี้ยงตามใจเกินไป
จะทำให้เสียเด็กภายหลัง แต่ป้าก็เถียงว่าไม่เสีย

เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
คนภายนอกมักจะเห็นว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ทรงมีร่างกายอ่อนแอ ขี้อาย เจ็บป่วยอยู่เสมอ

คราวหนึ่งป่วยถึงกับผู้ใหญ่คิดว่าไม่หาย
และบนว่าถ้าหายจะให้บวชแก้บน
ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ทรงมีพระนิสัยทางพระแสดงออกตั้งแต่ทรงพระเยาว์
คือชอบเล่นเป็นพระ ทำคัมภีร์เทศน์เล็ก พัดยศเล็ก


(ตามที่เห็นคือพัดพระครูของท่านพระครูอดุลยสมณิจครั้งนั้น)
เก็บหินมาทำภูเขา มีถ้ำ ทำเจดีย์เล็กบนยอดเขา
เล่นทอดกฐินผ้าป่า เล่นทิ้งกระจาด
และทำรูปยมบาลเล็กด้วยกระดาษแบบพิธีทิ้งกระจาดที่วัดญวน

เมื่อทรงเจ็บป่วยขึ้นผู้ใหญ่ต้องนำรูปยมบาลไปเผาทิ้งเสีย
ในคราวที่ป้าต้องตื่นแต่เช้ามืดออกไปทำงาน
ก็ต้องให้เทียนไว้สำหรับจุดที่นั่งเล่นพราะไม่ยอมนอน
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ด้านหน้าวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อพระชนมายุได้ ๘ ขวบ
ที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน
และโรงเรียนในครั้งนั้นก็คือศาลาวัดนั่นเอง ทรงเรียนจนจบชั้นสูงสุด
คือประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเท่ากับจบประถมศึกษาเมื่อครั้งกระนั้น
ถ้าจะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาก็ต้องย้ายไปเข้า
โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้)
ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี

แต่ครูโรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม
ชวนให้ไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่
โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๑
และจะเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ต่อไปอีก
แต่ไม่มีภาษาอังกฤษเท่านั้น
จึงตกลงเรียนที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ต่อไป
มีเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันหลายคนย้ายไปเรียนชั้นมัธยมที่
โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) แล้วมาต่อที่กรุงเทพฯ

ในระหว่างเป็นนักเรียนได้สมัครเป็นอนุกาชาด
และเป็นลูกเสือได้เรียนวิชาลูกเสือ สอบได้เป็นลูกเสือเอก

ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ฝึกซ้อมรบลูกเสืออย่างหนัก
โดยฝึกรบอย่างทหารใช้พลองแทนปืน
เพราะมีกำหนดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ลูกเสือจากกาญจนบุรีเข้าร่วมการซ้อมรบด้วย
แต่ก็ได้เสด็จสวรรคตในศกนั้นเอง
จึงเป็นอันเลิกเรื่องการซ้อมรบเสือป่าลูกเสือ

ขณะเป็นนักเรียนอยู่นั้นเคยรับเสด็จเจ้านายหลายครั้ง
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

ได้เสด็จประพาสจังหวัดกาญจนบุรี
และได้เสด็จเยี่ยม โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ครั้งหนึ่ง


สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


๏ ทรงบรรพชา

ในต้นพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่ วัดเทวสังฆาราม  ๒ คน   
พระชนนีและป้าจึงชวนให้บวชเป็นสามเณรแก้บนเสียให้เสร็จ   
จึงตกลงพระทัยบวชเป็นสามเณรในศกนั้น เมื่อพระชนมายุเข้า ๑๔ ปี   

โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (พุทฺธโชติ ดี เอกฉันท์)
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูนิวิฐสมาจารย์ (สุวณฺณโชติ เหรียญ รัสสุวรรณ)
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณสมาจาร)
เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว)
ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

บรรพชาแล้วจำพรรษาอยู่ที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)


พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์
(สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
เมื่อครั้งทรงบรรพชาและทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



ก่อนที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น   
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่เคยอยู่วัด   
ไม่คุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระทุกองค์   
เป็นแต่ไปเรียนหนังสือในวัด  
ไปบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่างๆ ในวัด  

เคยพาป้าไปฟังเทศน์ตอนค่ำพรรษาหนึ่ง
มีเทศน์ชาดกติดต่อกันทุกคืนภายในพรรษา  
ติดพระทัยเร่งป้าให้ไปฟังนิทานทุกคืน   
ถ้าเป็นเทศน์ธรรมะฟังไม่เข้าใจก็เร่งให้กลับ   

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้อยู่กับป้าไม่เคยแยก   
นอกจากไปแรมคืนเมือเป็นลูกเสือบางครั้งเท่านั้น   
คืนวันสุดท้ายก่อนจะทรงบรรพชาเป็นสามเณร ป้าพูดว่า

“คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน”

ซึ่งก็เป็นความจริง   ได้แยกจากกันตั้งแต่วันนั้นมา   
จนอวสานแห่งชีวิตของป้า (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗)
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์หมดไปด้วยการท่องสามเณรสิกขา
ทำวัตรสวดมนต์ต่างๆ กับทำอุปัชฌายวัตร ยังมิได้เริ่มศีกษานักธรรม

พระครูอดุลยสมณกิจ หรือหลวงพ่อวัดเหนือ (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)  
ได้ต่อเทศน์กัณฑ์อริยทรัพย์ ๗ ประการ แบบต่อหนังสือค่ำให้กัณฑ์หนึ่ง
คือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌายวัตรทุกคืน
ท่านอ่านนำให้ท่องตามทีละวรรค คืนละตอนจนจำได้ทั้งกัณฑ์
แล้วให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าแก่พุทธบริษัทในคืนวันพระคืนหนึ่ง

ครั้นวันออกพรรษาแล้วก็ยังเพลินอยู่ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี
ที่ วัดเสนหา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
เพื่อที่ว่าต่อไปจะได้กลับมาสอนที่ วัดเทวสังฆาราม
ท่านว่าจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้


ศาสนสถานภายในบริเวณวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


ครั้นสามเณรและผู้เป็นญาติโยมยินยอมแล้ว
หลวงพ่อจึงนำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปฝากไว้กับ
พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดเสนหา
เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เริ่มเรียนไวยากรณ์ที่วัดเสนหา ในพรรษาศกนั้น
อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจาก วัดมกุฏกษัตริยาราม  
ออกพรรษาแล้ว อาจารย์เห็นว่าจะทรงเจริญก้าวหน้าในการเรียน  
จึงชักชวนให้ไปอยู่ที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม  
และได้ติดต่อฝากฝังทางวัด  ให้ทางวัดจัดกุฏิเตรียมสำหรับที่อยู่
และแจ้งว่ามีนิตยภัตบำรุงของเจ้าของกุฏิด้วย

จึงได้หารือเรื่องนี้กับหลวงพ่อ  แต่ท่านไม่เห็นด้วย  
เพราะท่านคิดจะนำไปฝากให้เรียนต่อที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่  
จึงเป็นอันงดไม่ได้ไปอยู่วัดมกุฏกษัตริยาราม


ส่วน พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) นั้น  
ได้อาพาธเป็นวัณโรคถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา
พระปลัดห้อย (ต่อมาเป็นพระครูสังวรวินัย)  เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา  

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม
เรียนแปลธรรมบทปี พ.ศ. ๒๔๗๒  อีกพรรษาหนึ่ง  
ออกพรรษาแล้วกลับไปพัก วัดเทวสังฆาราม เตรียมเข้ากรุงเทพฯ
เพราะหลวงพ่อได้เข้ามากราบเรียนฝาก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร (พระยศในขณะนั้น)
หรือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(สุจิตฺโต ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
ในกาลต่อมา และท่านได้กรุณารับไว้แล้ว


เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ในกาลต่อมา



เจ้าพระคุณสมเด็จฯ  มีโอกาสได้เห็น เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
เป็นครั้งแรกที่วัดเสนหา เมื่อเสด็จออกไปแสดงธรรมเทศนา  
ในงานพระราชทานเพลิงศพ   พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร)
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 22:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อได้นำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
มาฝาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน  พ.ศ. ๒๔๗๒  ก็ได้ทรงพระเมตตารับไว้
และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองดูแลของ
พระครูพุทธมนต์ปรีชา  (เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ. ๓ ต่อมาลาสิกขา)

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับประทานพระฉายา  
จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า “สุวฑฺฒโณ”
ได้ปฏิบัติทุกอย่างตามกฎกติกาของวัดบวรนิเวศวิหาร
เช่น ซ้อมสวดมนต์ได้จบหลักสูตรของวัด

ในปีแรกที่มาอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม  สอบได้ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๗๒  พระชนมายุ ๑๗ สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ พระชนมายุ ๑๘ สอบได้นักธรรมโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ พระชนมายุ ๒๐  สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค


เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร  
ขณะนั้น มีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น
ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระราชหัตถ์


ปีต่อจากนั้นก็งด
มีเหลือแต่ไตรสดัปกรณ์เพียง ๑๐ ไตร จนกระทั่งปัจจุบัน


พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้