ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5147
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ชำแหละ”พรบ.คอมพิวเตอร์”

[คัดลอกลิงก์]
ชำแหละ”พรบ.คอมพิวเตอร์”วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559                                                                  

รายงานพิเศษ
ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ พ.ศ….) ที่ครม. เป็นผู้เสนอ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 2 ชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) เหตุผลเพื่อป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กำหนดให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีภารกิจกำหนดมาตรฐานและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ทว่ายังมีนักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กร สิทธิมนุษยชนที่ติดตาม ตั้งข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ดังนี้

จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน

คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
กฎหมายคอมพ์ฉบับปัจจุบันให้อำนาจเจ้าหน้าที่นำชื่อเว็บไซต์ไปขอหมายศาลเพื่อนำไปบังคับให้มีการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ แต่ร่างปรับปรุงล่าสุดในมาตรา 20 เปิดช่องให้มีกระบวนการเร่งด่วนสามารถดำเนินการให้ปิดเว็บไซต์ ได้ทันที แล้วค่อยทำรายงานแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งตามฉบับนี้คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับทราบภายหลัง แต่เนื้อหาของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดว่า เร่งด่วนหมายถึงอะไร กรอบความหมายและบรรทัดฐานเป็นอย่างไร แต่เปิดช่องให้ดำเนินการได้ทันที
มันจึงมีผลกระทบต่อเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนโดยตรง
ทั้งยังกำหนดให้ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ มีอำนาจวินิจฉัยเพื่อสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีได้ทันที เนื้อหามีเพียงเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นผิดกฎหมายถึงปิดกั้นได้
พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปไกลถึงขนาดจะสั่งบล็อกอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ต้องผิด กฎหมาย เช่น มีกระทู้ความรู้การทำแท้ง แม้ทำแท้งไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากตีความว่าขัดศีลธรรมอันดี ก็ต้องเอาลงทันที
คำถามคือ เราไม่ได้มีมาตรฐานกลางของศีลธรรมที่มาใช้ร่วมกัน ถ้อยคำดังกล่าวเป็นกรอบอย่างกว้าง เปิดช่องให้รัฐใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนเขาเปิดช่องให้คณะกรรมการชุดหนึ่ง มาชี้ขาดศีลธรรม แล้วบังคับให้คนส่วนใหญ่ในสังคมทำตามแบบนี้ บอร์ดชุดดังกล่าวจึงคล้ายกับ กบว. กองเซ็นเซอร์สื่อโทรทัศน์เมื่อสิบปีที่ผ่านมา ทว่าต้องอย่าลืมว่าสื่ออินเตอร์เน็ต ไม่ได้รวมศูนย์เหมือนสื่อทีวี ผลของการปิดกั้นจะไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ รูปแบบการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลแบบนี้ ไม่เข้ากับยุคสมัยของเราอีกต่อไป
สิ่งที่กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของสนช. พยายามจะแก้ มาตรา 14 (1) เพื่อไม่ให้ถูกนำไปใช้ฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ ยังไม่เฉียบคมพอ สุดท้ายยังเปิดช่องให้เกิดการฟ้องหมิ่นประมาทคู่กับกฎหมายคอมพิวเตอร์ เหมือนฉบับปัจจุบันได้อยู่ดี พยายามแถว่า จะถูกนำไปใช้ป้องกันการปลอมข้อมูลออนไลน์เพียงอย่างเดียว
การปิดช่องนำพ.ร.บ.คอมพ์ ไปฟ้องคู่กับกฎหมายหมิ่นประมาท เพื่อหวังจะพ่วงโทษรุนแรงขึ้นนั้น สามารถทำได้โดยระบุให้ชัดว่า คดีหมิ่นประมาทออนไลน์ให้ไปใช้กับมาตรา 326 และ 328 ตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ
ขณะเดียวกันกฎหมายฉบับนี้ ได้เปิดช่องให้การกำหนดรายละเอียดวิธีการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้อำนาจปิดกั้นการถึงหน้าเว็บไซต์ ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองกฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ประกาศดังกล่าวจะให้อำนาจเกินกว่าพ.ร.บ.ไม่ได้ แต่กระบวนการออกมาบังคับใช้ทำได้ง่ายมาก สะท้อนว่า รัฐจ้องจำกัดสิทธิประชาชน



จะส่งข้อความคุยกะกิ๊ก ไม่กล้าเลย กลัวความลับรั่วไหล กลัวท่าพิสดารจะโดนเปิดเผย
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“มาร์ค” ชี้แก้ไขพ.ร.บ.คอมพ์ฯ มาถูกทาง
แต่ประชาชนห่วงถูกผู้มีอำนาจบิดเบือน ทำละเมิดสิทธิ





เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่กำลังจำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ว่า ถึงจุดที่จะเป็นทางเลือกว่าเราเลือกจะเอาความมั่นคงให้มากที่สุด แล้วมีความสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือจะให้มีสิทธิส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ แต่มีความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคง ก็ต้องหาความพอดี แต่ตัวพ.ร.บ.คอมพ์นั้นความจริงมันเป็นกฎหมายที่ต้องแก้ไขอยู่แล้ว เพราะมีปัญหาในเรื่องการตีความ การบังคับใช้ และถ้าคนไม่มีความมั่นใจเรื่องดิจิทัล อีโคโนมีก็จะเกิดไม่ได้ บางเรื่องที่เขาพยายามแก้ไขอยู่ ตนเห็นว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เช่น การเล่นงานพวกคนที่ขึ้นข้อความ ข้อมูล ข่าวสาร แชร์ ไลค์ ในกรณีที่อาจละเมิดความมั่นคง แต่อย่าเอาไปรวมกับเรื่องหมิ่นประมาท มิเช่นนั้นจะมีความสุ่มเสี่ยงบานปลายกันไปหมด

“คนที่ใช้อินเทอร์เน็ต เขามีความรู้สึกว่า การแสดงความชัดเจนว่า เวลากฎหมายเขียนความผิดต่างๆ เขายังไม่มั่นใจในเรื่องการบังคับใช้ต่อไปว่า จะตีความครอบคลุมแค่ไหน แล้วสุดท้ายถ้าเกิดมีมาตรการซึ่งทำให้รัฐสามารถเข้ามาล่วงรู้ หรือควบคุมการสื่อสารทางนี้มากขึ้น แล้วถูกบิดเบือนได้โดยผู้ใช้อำนาจ ซึ่งเราก็เคยมีรัฐบาลที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ประชาชนเขาก็เป็นห่วงตรงนี้ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรที่จะมาหาทางออกให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน แล้วจะไม่มีปัญหาในการที่จะบิดเบือนการใช้กฎหมาย ทุกวันนี้คนเป็นแอดมิน หรือแม้กระทั่งคนเล่นโซเชียลมีเดีย บางทีก็ยังไม่ค่อยแน่ใจเลยว่า ตกลงมันผิด หรือไม่ผิด เพราะเวลาเรารับข้อมูลมา เราไม่รู้ว่ามันถูกบิดเบือนมาหรือไม่” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

https://www.khaosod.co.th/politics/news_143980

11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คอลัมน์ ข่าวข้นคนเข้ม : ผ่านฉลุย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สนช.ลงมติ 168 ต่อ 0 ตรงความต้องการ รัฐบาล-คสช. ไม่สนเสียง 3 แสนรายชื่อคัดค้าน ทั้งที่สุ่มเสี่ยงละเมิดสิทธิประชาชน



คอลัมน์ ข่าวข้นคนเข้ม
ข้าวตอดแตก

หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ครบทุกรส สดทุกเรื่อง ฉบับนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 19 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2559 แรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย ปีวอก…
ได้ฤกษ์ดี เวลา 06.39-07.09 นาฬิกา วันที่ 20 ธันวาคม เคลื่อน ไม้จันทน์หอม ออกจากป่ากุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบพิธีบวงสรวง สักการะ จัดขบวนส่งมอบมายังสำนักช่าง สิบหมู่ กรมศิลปากร สร้าง พระโกศจันทน์ อีกขั้นตอนเตรียมการสำคัญสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สมพระเกียรติ ตามโบราณราชประเพณี…

อุแว้เรียบร้อย ครม. บิ๊กตู่ 4 ถือว่าปรับไม่เล็ก ไม่ใหญ่ เบาะๆ 12 เก้าอี้ หน้าเก่า 7 คนสลับเก้าอี้กัน หน้าใหม่ 5 คน วีระศักดิ์ ฟูตระกูล รมช.ต่างประเทศ ชุติมา บุณยประภัศร รมช.เกษตรและสหกรณ์ พิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ และ อุตตม สาวนายน ที่พ้นจาก รมว.ไอซีที กลับมานั่งแท่น รมว.อุตสาหกรรม…
ผิดจากที่กะเก็งไว้แต่แรก มีชื่อ 3 บิ๊กทหาร กลับเป็นสายพลเรือนล้วนๆ แต่ก็ ไม่บิ๊กเนม ไม่ตื่นเต้น เรียบๆ เช็กชื่อและประวัติแต่ละท่าน แต่ละกระทรวงที่ได้ลง ล้วนมือไม้ทีมรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ท่ามกลางปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจที่ดำดิ่งลงเรื่อยๆ…
ที่แน่ๆ ไม่ได้แตะต้องเก้าอี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และสายความมั่นคง ดังที่ตั้งหน้าตั้งตาโหมข่าวลือแต่อย่างใด…


ผ่านฉลุย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สนช.ลงมติวาระ 3 ด้วยคะแนน 168 ต่อ 0
ตรงตามความต้องการของ รัฐบาล-คสช. สมาชิกแต่ละท่านไม่สนเสียงท้วงติง
ไม่แยแสว่า 3 แสนรายชื่อคัดค้าน ทั้งที่เป็นกฎหมายสุ่มเสี่ยงละเมิดสิทธิประชาชน…

เอาเฉพาะคำว่า ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
กว้างเป็นมหาสมุทร ตีความได้หลากหลาย แล้วเอาเกณฑ์อะไรมาวัดศีลธรรมอันดี…


แต่ก็อย่างว่า สภาชุดนี้มาจากการแต่งตั้งของ คณะรัฐประหาร ไม่มีส่วนใดสักนิดเดียวเชื่อมโยงกับประชาชน ดังนั้นการกระทำ หรือลงมติใดๆ ย่อมไม่มีทางคำนึงถึงผลกระทบ ผลประโยชน์ประชาชน เพราะไม่ได้มาจากประชาชน แต่ต้องทำตามผู้ที่แต่งตั้งเข้ามา นี่คือภารกิจสำคัญ…
เฉียดคุกอีกรอบ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ธิดา โตจิราการ กับพวกรวม 19 นปช.เสื้อแดง ได้ประกันตัว ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ส่วน จตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ต้อง ยังถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำ…

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/in-the-news/news_149700

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
น่าจะออกกฎหมายให้มีหน่วยงานของภาคประชาชน

สามารถตรวจสอบข้อมูลของ

หน่วยงานราชการ นักการเมืองบางก็ เห็นว่า  ดี
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-19 06:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม : ทำใจ?



คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
รุก กลางกระดาน
น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับท่าทีประชาชนที่มีต่อร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เนื่องจากมีคนลงชื่อไม่เห็นด้วยในเว็บไซต์ www.change.org เพื่อขอให้สนช.ทบทวนกว่า 3 แสนคน
โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายฉบับนี้เข้าข่ายการคุกคามสิทธิเสรีภาพ และจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทำให้การ ใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่มีความเป็นส่วนตัว และไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
อาทิ การเพิ่มฐานความผิด “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน” หรือการโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ “การบริการสาธารณะ” ซึ่งกำกวม ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจอย่างกว้าง ทำให้ไม่มั่นใจในความยุติธรรม
ระบุให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ระงับหรือลบข้อมูลภายใน 3 วัน ไม่เช่นนั้นต้องรับโทษเท่าผู้โพสต์ โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบโดยศาล เท่ากับเปิดช่องให้ปิดเว็บไซต์ต่างๆ ได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้อำนาจศาล
ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศเรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส เท่ากับว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่เป็นความลับ และอาจตกอยู่ในอันตรายได้
ให้อำนาจเจ้าหน้าที่บล็อกเว็บไซต์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ สามารถระงับและลบข้อมูลได้ทันที โดยไม่มีหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจเหล่านี้อย่างเป็นธรรม
เปิดให้มีกบว.ออนไลน์ จากคณะกรรมการ 5 คน ซึ่งเป็นใครไม่รู้มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล แต่สามารถปิดเว็บไซต์ ที่อ้างว่าผิดศีลธรรม แม้ไม่ผิดกฎหมายก็ตามที
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อกังวลของประชาชน
อย่างไรก็ตามหากดูท่าทีของรัฐบาล ก็คงจะหวังไม่ได้มากสักเท่าใด ด้วยความที่เป็นรัฐบาลทหาร มาจากการรัฐประหาร
การมีส่วนร่วม หรือฟังเสียงประชาชนย่อมน้อยอยู่แล้ว
นี่จึงเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดว่าทำไมถึงต้องพร่ำบอกว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะหากกรณีนี้เกิดขึ้นในยุคอื่น การต่อต้านคัดค้าน แสดงความเห็นถกเถียงกันอย่างมีอารยะย่อมเกิดขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้คงได้แต่ทำใจ
เว้นแต่จะมีการแสดงออกให้เกิดการเปลี่ยนแปลง!??

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/relevant/news_146496

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-12-8 05:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2016-12-3 09:29
(1) SpokeDark TVสะใจ เรื่อง พรบ. คอม  ดึงมาได้แบบนี้ ใครเอามา ...


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2016-12-3 09:33

(1) SpokeDark TVสะใจ เรื่อง พรบ. คอม  ดึงมาได้แบบนี้ ใครเอามาลงเป็นช่วยที หรือ จะลิงค์ไปดูก็ได้ นะครับ ...สุดยอด
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-11-30 14:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2016-11-30 09:33
พรบ.ฉบับนี้ออกมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรรับรู้ ...

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้