ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 15459
ตอบกลับ: 67
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

คือตัวแทนคุณความดี

[คัดลอกลิงก์]
แขวนพระอย่างไรให้เกิดพุทธคุณ. ปกติคนไทยชาวพุทธทุกคนล้วนเคารพกราบไหว้พระพุทธรูปและพระเครื่อง เสมือนเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

โดยทุกคนที่แขวนพระล้วนเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเครื่องที่ตนแขวนว่าสามารถ คุ้มครองตนได้

บางคนจะเลือกแขวนพระตามโฉลกวันเกิด

บางคนเลือกแขวนพระตามความชอบส่วนตัวหรือฐานะ

บางคนเลือกแขวนพระตามความเชื่อส่วนตัวว่าพระเครื่ององค์นั้นมีพระพุทธคุณ ด้านที่ตนต้องการ

(ฟังจากเรื่องเล่าและความเชื่อต่อๆกันมาจากอดีต)

ซึ่งพระพุทธคุณในพระเครื่องนั้นมีอยู่จริง และไม่มีวันเสื่อมสลายไปได้

ประเด็นคือ ผู้ใช้หรือผู้แขวนพระแบบไหนถึงจะรับรู้และเห็นผลของพุทธคุณในพระเครื่องหรือวัตถุมงค
ลนั้นๆ

จริงๆ แล้ว ถ้าผู้สร้างหรือคณาจารย์ที่อธิษฐานจิตปลุกเสกมีพลังจิตแก่กล้าแล้ว ผู้ใช้อาจจะสัมผัสหรือมีประสบการณ์

จากวัตถุมงคลและพระเครื่องนั้นในเร็ววัน แต่พอแขวนไปนานๆ มักจะมีความรู้สึกว่า ไม่เหมือนเดิม เงียบไป ไม่เห็นผล

ลักษณะแบบนี้มักจะเกิดกับผู้ที่แขวนพระเครื่องประเภทที่ แสวงหาหรือตั้งใจหามาเพื่อหวังผลในพุทธคุณเป็นหลัก

ให้เกิดผลดลบันดาลด้านต่างๆ ตามที่ตนปราถนาโดยไม่ทราบประวัติการสร้างหรือปฎิปทาความน่าเลื่อมใสของท่าน

ผู้ปลุกเสก บางคนแขวนเพราะพ่อแม่ให้มา แขวนพระแบบเสียไม่ได้ ถ้าวันไหนถอดก็ลืมไปเลย

ลักษณะแบบนี้ถ้าพระเครื่องหรือวัตถุมงคลมีพุทธคุณที่ปลุกเสกมาอย่างแรงกล้า ก็จะส่งผลให้เห็นได้ในระยะแรกๆ

แต่นานวันไปมักเงียบเฉย เพราะจิตของผู้แขวนไม่มั่นคง โดยส่วนมากจะสนใจพระเครื่องเป็นพักๆ แล้วหันไปสนใจ

พระเครื่องใหม่ๆ พอใจเรีมถอยศรัทธาจากของเดิมแล้ว พุทธคุณที่เคยได้รับก็ย่อมไม่เหมือนเดิม

ทั้งนี้ผู้ที่แขวนพระประเภทนี้มักตั้งหน้าตั้งตารอว่า วันนี้พระเครื่องจะมีพุทธคุณช่วยเราอะไรบ้าง

สำหรับอีกกลุ่มหนึ่งนั้นแขวนพระ เพราะศรัทธาในองค์ผู้ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตมีความเลื่อมใสศรัทธาสุดจิตสุดใจ

แขวนพระเครื่องของหลวงพ่อวัดไหน ก็เพราะ เคารพศรัทธาหลวงพ่อวัดนั้นๆ อย่างไม่มีเสื่อมถอย

เหตุผลมีได้มากมาย เช่น

เป็นวัดใกล้บ้าน มีความคุ้นเคยกับท่านเห็นจริยาปฎิปทาท่านตั้งแต่เด็ก แล้วเลื่้อมใส

เคยบวชเรียนกับท่านมาเป็นศิษย์ของท่าน ได้รับการอบรมบ่มนิสัยด้วยดีมาตลอด

ศรัทธาเพราะศึกษาชีวประวัติและเกิดความเลื่อมใส ตรงกับความชอบของตนเอง

ท่านเคยเมตตาเลี้ยงดูหรือเคยประจักษ์ในพุทธคุณของท่านมาก่อน

บางคนก็ประทับใจ ในความเมตตาหรือคุณความดีของท่านอย่างหมดหัวใจ

จะด้วยเหตุผลใดข้างต้น กลุ่มที่แขวนพระเพราะศรัทธาและมีความรู้สึกว่า พระเครื่องที่แขวน

คือตัวแทนคุณความดีของหลวงพ่อที่เขารู้จักคุ้นเคย และเคยได้ไปกราบไหว้บ่อยๆ

ใจก็แขวนพระเพราะความศรัทธา ปลาบปลื้มที่มีหลวงพ่ออยู่เหนือหัว เหนือคอ อุ่นใจ เป็นกำลังใจ

แต่ไม่เคยคิดหวังว่า วันนี้หลวงพ่อจะช่วยให้รวย ให้มีเสน่ห์ หนังเหนียวอะไรทั้งนั้น

แขวนพระรักหลวงพ่อ แขวนพระศรัทธา แขวนพระแบบไม่หวังผลนี้ กลับมักจะได้ผล

จะทำการงานอะไรก็ไม่ติดขัด หรือถ้ามีติดขัดก็มีทางออกหรือมีคนคอยช่วยเหลือตลอด

ชีวิตมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ต้องอยู่ร้อน นอนทุกข์ ราบรื่่น ไม่สะดุด แคล้วคลาดเรื่องร้ายๆ ตลอดมา

ที่สำคัญ ผู้ที่แขวนพระด้วยเหตุผลเพราะ พระเครื่อง คือ ความดีของครูบาอาจารย์นั้นแล้ว

มักได้รับผลจากพุทธคุณของพระเครื่องนั้นๆ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่มีเงียบหรือนิ่ง

เพราะใจเขานึกถึงหลวงพ่อทุกเช้าค่ำ และมีเพียงหลวงพ่อที่เขานับถือเพียงองค์เดียว ไม่วอกแวกซัดส่ายไปที่อื่น

จะเห็นได้ชัดในหลายๆ ท่านที่แขวนพระเพียงองค์เดียวและยึดมั่น ในหลวงพ่อนั้นๆ ณ ขณะเวลานั้นก็จะเห็นผลชัดเจน

ไม่ใช่แขวนพระเพราะตื่นตมตามกระแส แขวนพระเพราะหวังปาฎิหาริย์ แต่แขวนเพราะศรัทธาในความดี

พลังพุทธคุณจะเปิดออกมาได้ ต้องอาศัยพลังศรัทธาในใจเป็นกุญแจ



ที่มาข้อมูล...หมู่บ้านศิษย์วัดชายนา
67#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-15 18:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
65#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-14 08:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
majoy ตอบกลับเมื่อ 2017-3-13 21:31
จะจดจำไว้ครับกัปตัน บางทีมันยากเย็นแสนเข็ญ รู้ทั้ง ...

Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2017-3-12 06:52
หิริโอตัปปะคืออะไร?

จะจดจำไว้ครับกัปตัน บางทีมันยากเย็นแสนเข็ญ รู้ทั้งรู้ ก็ยังอุตส่าห์เกเร ถึงไม่ถึงขั้นผิดแปดเปื้อน แต่ก็ด่างจนทั่ว
63#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-12 06:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
majoy ตอบกลับเมื่อ 2017-3-11 14:02
แขวนพระ เทพ หรือรูปครูบาอาจารย์ นึกถึงท่าน นึกถึงคุณธรรมของท่าน ก็จะละอายหากเราจะทำบาป

หิริโอตัปปะคืออะไร?




หิริ คือ ความละอายต่อบาป ถึงไม่มีใครรู้แต่นึกกินแหนงแคลงใจ ไม่สบายใจ เป็นความรู้สึกรังเกียจ เห็นบาปเป็นของสกปรก จะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป
โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้วบาปอาจจะส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป

สมมติว่าเราเห็นเหล็กชิ้นหนึ่งเปื้อนอุจจาระอยู่ เราไม่อยากจับต้องรังเกียจว่าอุจจาระมาเปื้อนมือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับหิริ คือความละอายต่อบาป สมมุติว่าเราเห็นเหล็กท่อนหนึ่งเผาไฟอยู่จนร้อนแดง เรามีความรู้สึกกลัวไม่กล้าจับต้อง เพราะเกรงว่าความร้อนจะลวกเผาไหม้มือเรา ความรู้สึกนี้เปรียบได้กับโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป

“สัตบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก” (ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๖/๓)

เหตุที่ทำให้เกิดหิริ

๑. คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล “เรานี่มีบุญอุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ ทำไมต้องมาขโมยเขากิน นั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน ทำไมต้องมาแย่งเมีย ไม่ใช่หมูหมากาไก่ในฤดูผสมพันธุ์นี่ เรานี่มันชาติคน เป็นมนุษย์สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว” พอคำนึงถึงชาติตระกูล หิริก็เกิดขึ้น
๒. คำนึงถึงอายุ “โธ่เอ๋ย เราก็แก่ปานนี้แล้ว จะมานั่งเกี้ยวเด็กสาวๆ คราวลูกคราวหลานอยู่ได้อย่างไร โธ่เอ๋ย เราก็แก่ปานนี้แล้วจะมานั่งขโมยของเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างไร” พอคำนึงถึงวัย หิริก็เกิดขึ้น
๓. คำนึงถึงความดีที่เคยทำ “ดูซิ เรามีความองอาจกล้าหาญ ทำความดีมาก็มากแล้ว ทำไมจะต้องมาทำความชั่วเสียตอนนี้ล่ะ ไม่เอาละ ไม่ยอมทำความชั่วละ” พอคำนึงถึงความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น
๔. คำนึงถึงความเป็นพหูสูต “ดูซิ เราก็มีความรู้ขนาดนี้แล้ว รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำ รู้สารพัดจะรู้แล้วจะมาทำความชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงความเป็นพหูสูต หิริก็เกิดขึ้น
๕. คำนึงถึงพระศาสดา “เราเองก็ลูกพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเหนื่อยยาก ตรัสรู้ธรรมแล้วทรงสั่งสอนอบรมพวกเราต่อๆ กันมา เราจะละเลยคำสอนของพระองค์ ไปทำความชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น
๖. คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษา “ฮึ เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกัน ครูอาจารย์สู้อบรมสั่งสอนมา ชื่อเสียงสถาบันของเราก็โด่งดังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญแล้วเราจะมาทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงครูอาจารย์ สำนักเรียน หิริก็เกิดขึ้น

เหตุที่ทำให้เกิดโอตตัปปะ

๑.กลัวคนอื่นติ “นี่ถ้าเราขืนไปขโมยของเขาเข้า คนอื่นรู้คงเอาไปพูดกันทั่ว ชื่อเสียงที่เราอุตส่าห์สร้างมาอย่างดี คงพังพินาศหมดคราวนี้เอง”เมื่อกลัวว่าคนอื่นเขาจะติเอา โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป
๒.กลัวการลงโทษ “อย่าดีกว่า ขืนไปฆ่าเขาเข้า บาปกรรมตามทัน ตำรวจจับได้ มีหวังติดคุกตลอดชีวิตแน่” เมื่อกลัวว่าบาปจะส่งผลให้ถูกลงโทษ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป
๓.กลัวการเกิดในทุคติ “ไม่เอาละ ขืนไปขโมยของเขาอีกหน่อย ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกายไม่ทำดีกว่า” เมื่อกลัวว่าจะต้องไปเกิดในทุคติ โอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป


แขวนพระ เทพ หรือรูปครูบาอาจารย์ นึกถึงท่าน นึกถึงคุณธรรมของท่าน ก็จะละอายหากเราจะทำบาป
61#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-3-11 07:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เมื่อใดที่นึกถึงครูบาอาจารย์ ให้นึกถึงคุณความดี ความเสียสละ อดทน อดกลั้น ที่ท่านสอนเราเสมอ โดยการทำให้ดูเป็นแบบอย่างให้ดำเนินตาม

ยิ่งเราอยู่ใกล้ชิด จนเห็นเป็นความเคยชิน ยิ่งต้องระวังไม่ให้เราพลาดและมองข้ามแนวทางที่ท่านทำไว้ให้เห็น ให้เรียนรู้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้