ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2772
ตอบกลับ: 14
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

รวมบารมีโพธิญาณ

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติหลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่น (บ้านแดง) อ.พิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี
หลวงปู่พิบูลย์  นามเดิมชื่อ  พิบูลย์  แซ่ตัน
เกิดที่บ้านพระเจ้า  ตำบลมะอึ  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด  
บิดาชื่อ  สา  มารดาชื่อ  โสภา  นามสกุลแซ่ตัน  



         บิดาเป็นคนจีน  มารดาเป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด  มีอาชีพทำร่ทำนาและค้าขายจนมีฐานะมั่นคง  ตามปกติหลวงปู่มีอุปนิสัยชอบทำบุญบำเพ็ญทานแก่พระภิกษุและคนทุกข์คนจนผู้ตกทุกข์ได้ยากเพราะหลวงปู่เห็นว่า ผลบุญกุศลที่ได้ทำแล้วจะทำให้เกิดบุญกุศลเกิดความสุขในภพนี้  และภพหน้า บุญกุศลเป็นความดีและเป็นเครื่องห้ามกั้นไม่ให้ไปสู่อบาย หลวงปู่เอาใจใส่ทั้งการบำเพ็ญทาน  รักษาศีล  เจริญเมตตา  ต่อมาได้แต่งงานกับหญิงชาวบ้านพระเจ้า  แต่ไม่ทราบชื่อ  อยู่ด้วยกันมาหลายปีไม่มีบุตร ส่วนภรรยาต้องการบุตรมาสืบสกุล จึงได้ปรึกษากับหลวงปู่พิบูลย์ จึงได้ตกลงกันไปขอบุตรของนางจันทีเพราะนางจันทีมีลูกหลายคน  นางจันทีก็ยินดียกให้เป็นเด็กผู้หญิงอายุประมาณ  ๕ ปี หลวงปู่พิบูลย์จึงได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
                หลวงปู่พิบูลย์ได้อบรมสั่งสอนให้เป็นคนมีอุปนิสัยดี  ขยัน  ซื่อสัตย์  ว่านอนสอนง่าย  เป็นที่รักของหลวงปู่พิบูลย์และภรรยา  พอเจริญวัยขึ้นมาอายุได้ประมาณ  16 ปี  หลวงปู่พิบูลย์ได้ให้เครื่องประดับ  เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามคนหนึ่งเป็นที่ชอบของหนุ่ม ๆ ต่อมาอายุได้  ๑๙  ปี หลวงปู่พิบูลย์จึงได้ให้แต่งงาน  พอเห็นว่าบุตรสาวของตนได้แต่งงานกับบุคคลผู้มีนิสัยดี  พอที่จะไว้เนื้อเชื่อใจได้ หลวงปู่พิบูลย์จึงบอกกล่าวกับลูกสาวและลูกเขยว่า  '' พ่อขอยกทรัพย์สมบัติทั้งปวงนี้ให้แก่พวกเจ้าเป็นผู้ดูแลกรักษา ส่วนพ่อจะขอลาออกบวช "                 ส่วนภรรยาเมื่อได้ยินหลวงปู่พิบูลย์กล่าวอย่างนั้น  ก็ออกปากว่าจะออกบวชชีหนีไปคนละทางตลอดชีวิต  ส่วนหลวงปู่พิบูลย์เมื่อตัดสินใจแล้ว  จึงได้ไปปรึกษากับพ่อจารย์ฮวดชักชวนให้ออกบวช  พอพ่อจารย์ฮวดได้ยินคำชักชวนของหลวงปู่พิบูลย์ก็ยินดีจะออกบวชด้วย  วันต่อมาจึงได้ปรึกษากับพระอุปัชฒฌาย์เรื่อจะบวง  อุปัชฌาย์ก็ยินดีอนุโมทนาด้วย  พออุปัชฌาย์ตกลงแล้ว  ก็ได้โกนหัวอุปสมบทในวันนั้นทั้งหลวงปู่พิบูลย์และอาจารย์ฮวด  แต่ไม่ปรากฎนามฉายาของหลวงปู่พิบูลย์    พอออกบวชแล้วอยู่ร่วมจำพรรษากับพระอุปัชาฌาย์และเหล่าภิกษุสามเณรวัดนั้นจนกระทั่ง  ถึงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม  หลวงปู่พิบูลย์จึงมีความประสงค์จะออกเดินรุกมูลเจริญกัมมัฏฐานในป่า  จึงได้ไปลาอุปัชฌาย์อาจารย์และเรียนกัมมัฏฐาน-ฐานอันเป็นข้อปฏิบัติ  และได้บอกกล่าวลาอุบาสก อุบสิกาที่มีอยู่ในหมู่บ้านญาติโยมก็อนุโมทนาสาธุพร้อมด้วยเตรียมเครื่องอัฐบริขารที่จำเป็นส่วนตัว  ก็เดินทางออกจากวัดมุ่งสู่ทิศตะวันออกโดยไม่ม่ใครติดตาม  ไปเฉพาะลำพังรูปเดียว  ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่นพอเดินทางมาถึงริมแม่น้ำโขง  ก็มีญาติโยมเอาเรือนำส่งไปถึงฝั่งประเทศลาว  หลวงปู่พิบูลย์ได้ไปอาศัยถ้ำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมถ้ำนั้นอยู่ที่  " ภูอาก" ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง

พอลงมาบิณฑบาตรได้ประมาณ  200 ร้อยเส้น  พอถึงเดือนแปดหลวงปู่พิบูลย์ก็จำพรรษา  ณ  ที่นั้น  พออกพรรษาแล้วหลวงปู่พิบูลย์ก็บอกลาญาติโยมหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนั้นว่า ถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาแวะอีก  และหลวงปู่พิบูลย์ได้แนะนำสั่งสอนญาติโยมให้ทำบุญบำเพ็ญทานจะมีบุญกุศลนำช่วยเมื่อตาย  และหลวงปู่พิบูลย์ก็เดินทางออกจากภูอากมุ่งหน้าสู้ถ้ำแถบภูเขาควายประเทศลาว  ต่อมาได้ไปพบกับอาจารย์ไม้เท้าหนักหมื่น( 12 กิโลกรัม) ได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกับลูกศิษย์อีก 7 รูป เป็นเวลาหลายปีจนอาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์แต่ละรูปประพฤติปฏิบัติในธรรมอย่างเคร่งครัด  เห็นว่าได้บรรลุธรรมเป็นส่วนมากแล้ว  อาจารย์จึงได้เรียกลูกศิษย์ทั้งเจ็ดออกมา  แล้วเอาลูกสมอให้คนละหนึ่งลูก  ให้เคี้ยวลูกสมอนั้นให้แตก  ปรากฎว่าหลวงปู่พิบูลย์ของเราเคี้ยวลูกสมอแตกละเอียดพร้อมทั้งอีก 5 รูป  ส่วนอีก 2 รูปนั้นไม่แตกแม้กระทั่งเปลือก  อาจารย์ก็รู้แล้วว่าผู้ใดบรรลุธรรม  และไม่บรรลุธรรมแตกต่างกันอย่างไร  ผู้ไม่บรรลุธรรมให้ปฏิบัติธรรมต่อไป  ส่วนหลวงปู่พิบูลย์อาจารย์แนะนำให้ไปสร้างวัดอยู่เขตอำเภอหนองหาน  เมื่อหลวงปู่พิบูลย์มาถึงเขตอำเภอกุมภวาปีแล้ว  ก็ได้สร้างวัดเกาะแก้วเกาะเกศอยู่ติดกับลำน้ำปาวอยู่ที่นั่นหลายปี

ในลำน้ำปาวนั้นเขที่วัดอยู่มีจระเข้ยักษ์ตัวหนึ่งเที่ยวกินวัวควายของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงได้ไปปรึกษากับหลวงปู่ หลวงปู่ได้แนะนำให้นำดอกไม้ธูปเทียนขันห้าขันแปด เทียนเวียนรอบหัวและยาวเท่าลำตัวให้นำมาจากทุกหลังคาเรือน พอมาถึงหลวงปู่ก็ฉันอาหารเช้าเสร็จ ก็เริ่มนั่งบริกรรมแล้ว หลวงปู่ก็นุ่งสบงจีวรรัดอกจุดเทียนคู่หนึ่งถือไว้ในกำมือ แล้วก็เดินลงสู่ลำน้ำปาว  ประมาณสองชั่วโมง น้ำเริ่มขุ่นขึ้นมา ชาวบ้านจ้องดูตามริมฝั่งทั้สองฟากพอประมาณ  แล้วหลวงปู่ก็ขึ้นมาพร้อมกับไม้เรียวและเทียน ข้อนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งเพราะสบงจีวรหลวงปู่ไม่เปียก และเทียนที่จุดก็ไม่ดับและไม่สั้นลงไปอีก หลวงปู่จึงบอกกับชาวบ้านว่า " ไอ้จระเข้มันยอมแพ้แล้วมันจะหนีภายใน 7 วัน " หลวงปู่ถามชาวบ้านว่า " อยากเห็นมันบ่พ่ออก แม่ออก อาตมาจะเอิ่นมันมาให้เบิ่ง (อยากจะเห็นหน้าไอ้จระเข้ไหม จะเรียกมันมาให้ดู) ญาติโยมเหล่านั้นบอกว่าอยากจะเห็น หลวงปู่จึงเรียกไอ้จระเข้ใหญ่ขึ้นมาจากน้ำอยู่ที่ริมฝั่ง
      ขณะนั้นหลวงปู่ถามชาวบ้านว่า " ญาติโยมกลัวไอ้จระเข้ไหม" ญาติโยมบอกว่ากลัวมาก ๆ เลยหลวงปู่ หลวงปู่บอกว่า " ไม่ต้องกลัวเพราะมันยอมเราแล้ว" หลวงปู่จึงเอามือตบหัวไอ้จระเข้และเอามือล้วงเข้าไปในปากของไอ้จระเข้ มันก็ไม่ทำอะไรหลวงปู่  แล้วหลวงปู่ก็บอกให้มันกลับลงสู่น้ำ ต่อมาภายหลังชาวบ้านเห็นจระเข้อยู่ในป่า  จึงได้นำเหล็กแหลมๆ ทั้งสองข้างเอาริ้วหนังติดกับไม้ยื่นไปหาไอ้จระเข้ๆ จึงอ้าปากขึ้น ชาวบ้านจึงเอาเหล็กยัดเข้าไปในปากไอ้จระเข้ในทางตั้ง  พอไอ้จระเข้งับปากลงเหล็กก็แทงปากจระเข้ทั้งด้านและด้านล่าง (ช่วงนั้นหลวงปู่ไม่อยู่แล้ว)

ต่อมาทีหลังได้นำกระดูกจระเข้มาทำเป็นตีนธัมมาสก์  ในสมัยก่อนวัดเกาะแก้วแห่งนี้มีอาถรรพ์มากคนไม่กล้าเข้าไปอยู่เพราะเป็นวัดร้าง  ท่านหลวงปู่พาสร้างแล้วชาวบ้านก็อยู่เย็นเป็นสุข  หลวงปู่จึงกลับมากราบอาจารย์ไม้เท้าหนักหมื่น  อาจารย์เลยบอกว่า  " วัดที่หลวงปู่ไปสร้างนั้นไม่ใช่วัดเดิมของหลวงปู่ที่บอกไปสร้างนั้นอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอหนองหาน ซึ่งอยู่ติดริมห้วยหลวง " หลวงปู่ได้อยู่พักกับอาจารย์ตามสมควร  แล้วก็ได้ลาอาจารย์กลับมายังฝั่งไทยและได้พักอยู่วัดเกาะแก้วเกาะเกศอีก ส่วลูกศิษย์คนอื่น ๆ นั้นอาจารย์ก็บอกให้ไปทางภาคเหนือ-ภาคใต้ ส่วนหลวงปู่เราให้อยู่ในภาคอีสาน

ต่อมาหลวงปู่ก็ได้ลาญาติโยมชาววัดเกาะแก้วเกาะเกศ  มุ่งหน้าสู่ทิศเหนือของอำเภอหนองหาน  พอมาถึงบ้านเชียงงามก็เลยไปพักอยู่ที่วัดร้าง (วัดไม่มีพระจำพรรษาอยู่) พ่อเวียงได้เห็นหลวงปู่เข้ามาอยู่ที่วัดจึงได้แต่งขันหมากขันพลู  บุหรี่ออกไปหาหลวงปู่ที่วัด เมื่อถวายท่านแล้วก็ถามถึงที่มาที่ไปของหลวงปู่ว่ามาจากที่ไหน  จะไปไหนหลวงปู่บอกว่า " จะไปบ้านไทย (บ้านแดงในปัจจุบัน)" ทีอยู่ติดกับริมห้วยหลวง  หลวงปู่เลยถามโยมเวียงว่า " ยังอีกไกลไหมกว่าจะถึงบ้านไทย " โยมเวียงบอกว่ายังอีกไกลอยู่ "  เพราะถึงวันเข้าพรรษาแล้ว  ข้าน้อย(กระผม) ขอนิมนต์ปู่อยู่จำพรรษาที่วัดนี้ก่อน

15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-13 05:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ่อท่านคล้าย  วัดสวนขัน​



11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"ญาครูขี้หอม หรือพระครูหลวงโพนสะเม็ก" ​


ใน ปี 2241 เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราช สวรรคตได้ 8 ปี ประเทศลาวที่กว้างใหญ่ไพศาลได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร เป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก

โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก มีความผูกพันกับพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก ซึ่งเป็นพระครูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาสูงสุดของชาวลาวตอนล่าง จนได้รับฉายาว่า "พระครูขี้หอม" หรือ "ญาคูขี้หอม" ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดซึ้ง ส่งผลให้ผู้คนเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของท่านพระครูมาบูชา แม้แต่อุจจาระของท่านก็ไม่รังเกียจ เนื่องจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กฉันอาหารมังสวิรัติประเภท เผือก มัน งา มะตูม จึงทำให้อุจจาระของท่านไม่มีกลิ่นเหม็น

อ่านเรื่องราวต่าง ๆ ของท่านได้ที่นี้ http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05110010655&srcday=&search=no
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่สีทัตถ์ คนชาวท่าอุเทน นครพนมเรียกท่านว่า “พ่อแม่สีทัตถ์” สร้างพระพุทธบาทบัวบก และพระธาตุอุเทน ไป ๆ มาๆ สองฝังไทย-ลาว หลวงปู่ทองทิพย์เล่าว่า พ่อแม่สีทัตถ์ท่านเป็นพระโพธิ์สัตว์ ลงมาให้ชาติสร้างบารมีเหมือนกันและจะเป็นพระพุทธเจ้า ๑ ใน ๑๐ องค์ข้างหน้า หลวงปู่ว่าอดีตท่านคือ

“อสุรินทราหูโพธิสัตว์”










เรื่องราวต่าง ๆ ของหลวงปู่สีทัตถ์ ลองเข้าชมดูครับ http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-seetud/lp-seetud-hist.htm
หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีสูงยิ่งจริง ๆ และท่านมีอภินิหารแก่กล้ามาก

ท่านสามารถก่อสร้างพระธาตุต่าง ๆ สำเร็จมาแล้วหลายแห่ง เช่น

๑. พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

๒. พระธาตุพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

๓. มณฑปโพนสัน ประเทศลาว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระธาตุท่าอุเทน นั้น หลวงปู่สีทัตถ์ท่านมีความสามารถสร้างเหมือนพระธาตุพนมสมัยก่อนได้ทั้ง ๆ ที่ฐานรองรับก็เพียงขุดหลุมแล้วใส่หินนางเรียง หรือหินแก้วนางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุซึ่งยังไม่ทรุดแต่ประการใด และมีอายุยาวนานมากว่า ๗๐ ปีแล้ว

นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มิใช่น้อยที่คนในสมัยนี้คงไม่มีบารมีก่อสร้างได้เช่นท่าน เพราะการนำเอาหินแก้วนางฝานมารองรับองค์พระธาตุได้นี้ นับว่าเป็นอภินิหารอันแก่กล้าของท่านเหนือโลกจริง ๆ

จากปากคำบอกเล่าในบันทึกของอดีตนายอำเภอซึ่งได้รับคำไขขานบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองท่าอุเทนเล่าให้ฟังว่า

หลวงปู่ท่านหายตัวได้และย่อแผ่นดินจากกว้างให้แคบได้

เช่นเมืองท่าอุเทนอยู่ฝั่งไทย เมืองปากหินปูนอยู่ฝั่งลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลางอยู่ แต่หลวงปู่ท่านก็มีความสามารถเดินข้ามได้อย่างสบาย

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นฝั่งลาวกับฝั่งไทยมีความรักใคร่กันดี เมื่อมีงานบุญก็จะบอกกล่าวถึงกันเป็นประจำ แม้จะมีแม่น้ำโขงขวางกั้นอยู่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด

พระเณรจะถูกนิมนต์ให้ไปร่วมทำบุญและไปกันเป็นคณะ ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านก็ถูกนิมนต์ไปด้วยเสมอ เพราะชาวฝั่งเมืองหินปูนต้องการชมบารมี และจะได้เห็นหน้าเห็นตาท่านชัด ๆ สักที

เมื่อญาติโยมได้นิมนต์พระสงฆ์องค์เณรเรียบร้อยแล้วก็ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังสั่งและควบคุมพวกช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนอยู่โดยขอนิมนต์ให้ท่านไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ รูปและหลายลำเรือและกล่าวกับท่านว่า

“ชาวเมืองปากหินปูนกำลังรออยู่ ขอให้หลวงปู่ลงเรือไปด้วยกันให้จงได้ เพราะที่เรือได้เตรียมปูเสื่อน้อยให้สำหรับหลวงปู่อยู่แล้ว เพื่อจะได้ไปทันเจริญพระพุทธมนต์ก่อนเพลในโบสถ์ วัดปากหินปูน

เสร็จแล้วก็จะได้ให้หลวงปู่ร่วมฉันเพลกับพระรูปอื่น ๆ ด้วย”

หลวงปู่ท่านกล่าวกับญาติโยมว่า

“ไปก่อนเถอะ จะสั่งเสียมอบหมายการงานให้ช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนเรียบร้อยแล้ว จะรีบตามไปให้ทันทีหลัง

พวกญาติโยมก็พากันคะยั้นคะยออยู่หลายครั้ง หลวงปู่จึงหันหน้ามาบอกว่า

“ไปเถอะ ไปก่อนเถอะ จะตามไปให้ทันทีหลัง ไม่ต้องห่วง”

จากนั้นญาติโยมก็พากันลงเรือข้ามไปปากหินปูน พอไปถึงฝั่งปากหินไน ที่วัดกำลังมีงานผู้คนก็มาก ญาติโยมได้พาพระเณรจากฝั่งไทยเข้าโบสถ์

แต่เมื่อทุกคนมองเข้าไปในโบสถ์ ก็เกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งเพราะพระเณรของเมืองปากหินปูน ต่างก็นั่งห้อมล้อมหลวงปู่สีทัตถ์อยู่อย่างเนืองแน่น สร้างความประหลาดใจไปตาม ๆ กัน

เพราะเรือที่ตามมาติด ๆ กันมิได้เห็นมีสักลำ จะเข้าไปถามดูว่าท่านมาได้อย่างไรก็ไม่มีโอกาส เพราะมีพระอยู่มาก และกำลังประกอบกิจทางศาสนาอยู่

เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ตอนบ่าย ๆ ญาติโยมก็พากันเดินทางกลับมายังเมืองท่าอุเทน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กลับมาด้วย

พอมาถึงวัด ญาติโยมที่ฉงนสนเท่ห์เป็นอย่างมาก เพื่อให้หายสงสัยจึงไปกราบนมัสการถามหลวงปู่ว่า

“หลวงปู่ไปถึงวัคปากหินปูนก่อนได้อย่างไร”

ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ตอบไปโดยเลี่ยง ๆ ว่า“ก็ตามกันไปนั่นแหละ ไม่เห็นหรือ ?”

จากนั้นหลวงปู่ท่านก็พูดคุยไปในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพระธาตุว่า

“งานของเรายังมีอีกมาก ช่วยกันเข้าจะได้เสร็จ ๆ ไป”
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กล่าวถึงพ่อครูคำพันธ์ เข็มพรหยิบ ตอนนั้นบวชเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านจัดสร้างเจดีย์ไว้บรรจุอัฐิของหลวงปู่ จึงได้ตกลงกันสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายปีกว่าจะเสร็จ เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงได้ทำพิธีถวายเพลิงศพหลวงปู่การจัดงานศพในครั้งนั้น ฝ่ายสงฆ์มีพระครูอาทรศิริรัตน์ หลวงปู่โชติ ธมฺมธโร เจ้าอธิการคำพันธ์ คนฺธโร พระครูวิลาศวิหารกิจ บ้านนาทราย หลวงพ่อชม พระครูอมรธัมโมภาส ใยมฆราวาสผู้เป็นสายธรรมของท่านคือ พ่อจารย์กุ้ม พร้อมด้วยข้าราชการ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ชาวบ้านทุกคนทำบุญบำเพ็ญอุทิศกุศลให้ท่านอยู่ ๒ คืน แล้วนำศพออกไปสู่เมรชั่วคราวที่สนามพิบูลย์รังสรรค์ ในพิธีปล่อยไฟด้วยตะไลม้าเข้าสู่เมรุ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู พ.ศ. ๒๕๐๔ บำเพ็ญกุศลต่อจนถึงเวลา ๑๙.๓๐ น. จึงได้ทำพร้อมเหรียญรุ่นแรกจำนวน ๔,๐๐๐ เหรียญ เป็ญเหรียญทองแดง ๒,๐๐๐ เหรียญ เป็นเหรียญทองเหลือง ๒,๐๐๐ เหรียญ
                                    ประวัติเหล่านี้ได้คัดลอกออกมาจากหนังสืออักษรธรรมจากใบลาน หลวงปู่หนูเป็นผู้เขียนไว้หลังจากที่หลวงปู่พิบูลย์ได้มรณภาพแล้ว ข้าพเจ้าผู้เขียนได้สอบถามข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่เคยได้อยู่ร่วมกับท่านมาเพิ่มเติมเนื้อหาพยัญชนะข้อความทุกประโยคเป็นความจริงไม่ได้เพิ่มเติมเสริมเนื้อหา ข้าพเจ้าพระครูมัญจาภิรักษ์ขอนอบน้อมกราบคารวะแต่หลวงปู่พิบูลย์ผู้เป็นครูอาจารย์ ถ้าผิดพลาดประการใดข้าพเจ้าขอขมาลาโทษแก่ท่าน ขอให้ผู้อ่านจงพิจารณาใคร่ด้วยปัญญาของตน เทอญฯ


คัดลอกมาจาก หนังสืออนุสรณ์ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูวิบูลคุณาทร  (หลวงปู่โชติ  ธมฺมธโร)  
เมื่อวันที่  13 -18 มีนาคม  พ.ศ.2546  ซึ่งจัดทำขึ้นโดยพระครูมัญจาภิรักษ์  เจ้าคณะอำเภอพิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี  

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสงฆ์จะเปรียบหระหนึ่งเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่ก่อนบ้านเมืองไม่เจริญยังเป็นบ้านป่าบ้านดงอยู่ แพทย์ หมออนามัยเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็วิ่งเข้าหาพระ โรงเรียนก็อยู่วั ด  พระเป็นทั้งผู้สอนผู้ให้ที่พักที่อาศัย ป่วยทางกายก็เข้าวัด ป่วยทางใจก็เข้าวัด พระสงฆ์ก็หายาให้กิน รดน้ำมนต์ผูกแขนให้เป่าให้ แตกร้าวสามัคคีกันพระก็เป็นผู้ช่วยประสานสามัคคีกัน เมื่อ้านเมืองเดือดร้อนพระสงฆ์ก็ก็ช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจ ทำให้หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุขทุกยุคทุกสมัยมาจนถึงปัจจุบันดังที่หลวงปู่ได้นำพาชาวบ้านแดงตั้งบ้านสร้างบ้านแดงมา
อีกเรื่อง พ่อจารย์คำตัน บุญพา เคยได้บวชร่วมกับหลวงปู่พิบูลย์ ได้เล่าให้ฟังว่าสมัยหลวงปู่พิบูลย์อยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ฝายห้วยยางมันขาด ชำรุดอุดอย่างไรก็ไม่อยู่ จึงได้ปรึกษากับหลวงปู่ๆจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่ตอสะแบงถึงก่อไผ่โจด (กอไผ่ชนิดหนึ่ง) อยู่ ทั้งที่หลวงปู่ไม่ได้เห็น แต่สามรถบอกได้ว่าให้กั้นเสริมจาก จุดนั้นให้ถึงจุดนั้นได้พอชาวบ้านได้ทำตามคำแนะนำของหลวงปู่แล้ว ฝายกั้นน้ำห้วยยางก็ใช้กักเก็บน้ำได้ และไม่มีการชำรุดอีกเป็นที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านแดงมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งใดชาวบ้านสงสัยก็ได้ไปปรึกษากับท่าน หลวงปู่จะให้คำแนะนำและบอกแนวทางในการปฏิบัติทุกอย่าง ถ้าเงินขาดเขินพ่อจารย์คำตันกับพรรคพวกก็ได้ไปรับเงินจากหลวงปู่มาสร้าง และพัฒนาหมู่บ้านตลอดการพัฒนาของหลวงปู่ทั้งวัดทั้งบ้าน ถนนหนทางห้วยหนองคลองบึง การจัดสรรที่ดิน สถานที่จัดตั้งหน่วยงานราชการในอนาคต เช่น ที่ตั้งอำเภอ โรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถม การไฟฟ้า อนามัย ตลาด โรงพยาบาล การประปา  เหล่านี้เป็นต้น หลวงปู่ได้จัดสรรไว้ให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ประมาณ ๗๐-๘๐ ปีมาแล้ว ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางชาวบ้านก็มีอยู่มีกิน ไม่มีภูตผีปีศาจเข้ามารบกวน แม้แต่บ่อน้ำทุกบ่อที่หลวงปู่ขุดไว้ หลวงปู่ก็เอาหินเสกหว่านลงไปไม่ให้ภูตผีปีศาจเข้ามาอยู่ได้ ทำลายวิชาอาคมพวกเดรัจฉานให้หมดไปหายไป
หลวงปู่อยู่วัดโพธิสมภรณ์เป็นเวลา ๑๕ ปี ในวันขึ้นื๑ ค่ำ เดือน ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เวลา ๐๖.๐๐ น. หลวงปู่ก็เริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคท้องร่วง เมื่อเสร็จกิจออกจากห้องน้ำแต่ก็ออกมาไม่ได้เนื่องจากแข้งขาไม่มีเรี่ยวแรง  หลวงปู่หนูซึ่งขณะนั้นเป็นโยมอุฐากหลวงปู่อยู่เป็นผู้เข้าไปพยุงหลวงปู่มาที่ห้องพัก เป็นอยู่อย่างนั้นหลายเที่ยวจนกระทั่งเวลา ๑๐.๐๐ น. หลวงปู่ก็ยังไม่ได้ฉันอาหารเช้าจนถึงเวลา ๑๑.๐๐ น.ถึงได้ฉันอาหารแต่ก็ฉันได้แค่สองสามคำเท่านั้น หลวงปู่หนูก็ได้ช่วยประคับประครองหลวงปู่อยู่อย่างนั้น บางวันก็ฉ้นข้าวได้บ้างไม่ได้บ้างจนกระทั่งอาการของหลวงปู่ทรุดลงไปเรื่อยๆ  พอถึงวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ตอนค่ำของวันนั้น หลวงปู่จึงได้บอกให้หลวงปู่หนูนำหลวงปู่เข้าไปในกุฏินุ่งสบงทรงจีวรรัดอกให้ดีแล้วนำหลวงปู่เข้าไปนอนในท่าสีหไสยาสน์ เอาผ้าห่มผืนหนึ่งห่มให้ หลวงปู่หนูจึงถามว่า “หลวงปู่อยากกลับบ้านแดงไหม” หลวงปู่จึงตอบว่า “ต้องกลับให้ได้ แม้จะเหลือแต่หัวก็จะกลิ้งกลับบ้าน” สุดท้ายก็สั่งให้หลวงปู่หนูปิดประตูให้แน่น อย่าใครเข้ามาจนกว่าจะมีสัญญาณบอก แล้วทุกคนก็ออกไปหมดรวมทั้งหลวงปู่หนูด้วย วันนั้นหลวงปู่โชติก็อยู่ข้างนอกพร้อมกับแม่ชีปุยดัวย เพื่อจะกันไม่ให้คนเข้าไปเพราะมีคนเป็นจำนวนมากคอยอยู่ข้างนอก จนกระทั่งถึงเวลา ๖ ทุ่ม ก็มีสัญญาณดังขึ้นบนหลังคากุฏิ คือ สังกะสีดังโครมและมีแสงสว่างพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าดุจพลุดอกไม้ไฟ หลวงปู่หนูก็เข้าใจว่าหลวงปู่ได้สิ้นลมหายใจแล้ว จึงได้เปิดประตูเข้าไปจับดูตัวหลวงปู่ก็เย็นไปหมดทั้งตัวแล้ว พอรู้ว่าหลวงปู่มรณภาพแล้วก็เลยออกมาจากห้องพูดอะไรไม่ออก และได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเมื่อรู้ว่าหลวงปู่มรณภาพก็กรูเข้าไปรื้อค้นสิ่งของที่สำคัญของท่าน ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นก็ว่าไม่ได้เงินในบัญชีของท่านที่แม่ชีปุยเก็บไว้จำนวน ๓,๐๕๘ บาท ก็เหลือแต่ตัวเลขจำนวนเงิน  พอช่วงเช้าก็จ้างช่างที่เป็นคนญวนมาทำหีบศพให้หลวงปู่ในราคา ๒๐๐ บาท ทำพิธีศพอยู่ที่นั่น ๕ คืน แล้วจึงนำศพของหลวงปู่บรรจุในเบ้า (ที่เก็บศพ) หลังจากนั้นชาวบ้านก็เลิกลากลับบ้าน หลังจากนั้นมาอีก ๔ ปี  ชาวบ้านแดงพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านก็ได้ปรึกษาหารือชักชวนกัน มีความประสงค์ที่จะนำศพของหลวงปู่กลับบ้านแดง การไปติดต่อปรสานงานกับทางวัดโพธิสมภรณ์มีปัญหายุ่งยากมากจนแทบจะไม่ได้ศพกลับมาแต่ชาวบ้านก็ไม่ท้อถอย จนในที่สุดก็สามารถนำศพของหลวงปู่กลับมาสู่บ้านแดง โดยได้นำคณะเกวียนร้อยเล่มนำขบวนศพของหลวงปู่ออกจากเมืองอุดรฯ เมื่อนิมนต์ศพหลวงปู่ขึ้นเกวียนแล้วจะเอาวัวไปเทียมเกวียนเอาวัวคู่ไหนเข้าไปก็ไม่สามารถเข้าเทียมเกวียนได้ จำเป็นต้องปลดแอกทิ้งหมด จึงได้จัดสรรวัวอยู่หลายคู่ และในที่สุดวัวก็ได้ของนายทราย สร้อยสนู บุตรชายของนายคำมี สร้อยสนู ซึ่งนายคำมีเคยบวชเป็นพระอยู่ร่วมกับหลวงปู่พอเอาวัวคู่ของนายทรายก็ไม่มีปัญหาอันใด ขบวนเกวียนจึงเริ่มเดินทางออกจากเมืองอุดรฯโดยไปทางทิศเหนือของอุดรฯทางบ้านบ่อน้ำ เลี้ยวมาทางทิศตะวันออกทางบ้านเหล่า บ้านหนองบุ บ้านสามพร้าว  บ้านหว้าน บ้านไท บ้านดอนกลอย และเลี้ยวมาทางบ้านแดงจนมาถึงทางทางกฐินของหลวงปู่ คณะชาวบ้านแดงจำนวนมากพากันออกไปต้อนรับอยู่หนองโพธิ์คำ ในตอนนั้นผู้คนจากบ้านใกล้เรือนเคียงเยอะมากมืดฟ้ามัวดินกันไปหมดเพื่อจะไปจัดตั้งขบวนแห่ศพของหลวงปู่เข้าบ้านแดง ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๒ ปี (บ้างก็ว่า พ.ศ. ๒๔๙๒ บ้าง พ.ศ. ๒๔๙๓ บ้าง) เมื่อมาถึงบ้านแดงแล้วได้นำศพของหลวงปู่พิบูลย์มาประกอบพิธีอยู่สนามพิบูลย์รังสรรค์ ตามที่พ่อเถิง ศรีเดช ซึ่งในขณะนั้นเป็นไวยากรณ์อยู่ ได้บอกว่าครบวัน (สมโภช) อยู่ทั้งหมด ๗ วัน ๗ คืน เสร็จแล้วจึงได้นำศพหลวงปู่เข้ามาไว้ในวัดพระแท่น ญาติโยมก็มีมาบำเพ็ญกุศลตามยุคสมัย

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-6-6 06:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จึงไปให้หลวงปู่ทำนายให้ว่าตนเองจะได้ควายกลับคืนมาหรือไม่ หลวงปู่จึงบอกกับผู้ใหญ่บ้านลอยว่า “มันไม่ได้หายไปไหน เวลาประมาณบ่ายโมงให้ไปรอที่บ่อน้ำทันจะมากินน้ำที่นั่น” และก็เป็นจริงตามที่หลวงปู่ทำนายไว้ สร้างความดีใจ และเลื่อมใสแก่ผู้ใหญ่ลอยมาก ภายหลังผู้ใหญ่ลอยกลับมา บวชพระอยู่วัดโพธิสมภรณ์ ได้ศึกษาประวัติหลวงปู่และบัญทึกไว้ที่กุฏิจำลอง บอกประวัติหลวงปู่ และสร้างรูปเหมือนหลวงปู่คล้ายกับก่อสร้างที่วัดพระแท่นตั้งอยู่ส่วนหลังของวัดโพธิสมภรณ์ ส่วนหลวงปู่ลอยผู้มีจิตศรัทธา และเลื่อมใสหลวงปู่ได้ตั้งมั่นที่จะอยู่กับหลวงปู่ตลอดไป จึงได้สร้างสถูปไว้เก็บอัฐิของหลวงปู่พิบูลย์ และรูปเมือนของหลวงปู่พิบูลย์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เมื่อหลวงปู่พิบูลย์มรณภาพแล้วศหลวงปู่พิบูลย์เก็บไว้ในสถูปเจดีย์ ตรงที่หลวงปู่ลอยได้หล่อรูปเหมือนประดิษฐานไว้ที่หลังวัดโพธิสมภรณ์ในปัจจุบันนี้
ต่อไปนี้ เป็นคำทำนายล่วงหน้าของหลวงปู่พิบูลย์ เพื่อให้เป็นแนวคิดแกอนุชนคนรุ่นหลัง มีหลายเรื่องที่บอกไว้แต่ผู้เขียนไม่สามารถจำได้หมด มีคำต่างๆดังนี้ ต่อไปในภายภาคหน้า“ม้าจะมีเขา” ในปัจจุบันก็คือจำพวกรถจักรยานยนต์ “เสาจะออกดอก” ปัจจุบันคือเสาไฟฟ้า“แม่มาร(ผู้ตั้งครรภ์)ออกลูกไม่มีบ้านเรือน” ปัจจุบันต้องไปออกลูกที่โรงพยาบาล  “จะไม่มีรอยเท้าของคนเดินดิน” ปัจจุบันคือคนจะไปไหนมาไหนต้องสวมรองเท้าขึ้นรถ “หญิงอายุมึ่ง ๑๕ จะผัวมีลูก” ข้อนี้ใจความปัจจุบันก็คือแต่งงานกันตั้งแต่อายุ ๑๒-๑๓-๑๔ ปี ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน “หญิงออกจากบ้านมารท้องกรองน้ำตา” ปัจจุบันคือผู้หญิงไปได้เสียกับผู้ชายพอได้แล้วผู้ชายไม่รับผิดชอบจึงต้องอุ้มท้องร้องไห้กลับมาหาพ่อแม่ “ต่อไปต้นกัลปพฤกษ์จะเกิดขึ้นกลางบ้าน กลางเมือง”  ปัจจุบันก็คือตลาดสด ตลาดนัดเคลื่อนที่มาลงตามหมู่บ้านทุกครึ่งเดือน “ต่อไปหญิงชายจะเหมือนกัน เมื่อมองดูแล้วจะไม่รู้ว่าหญิงหรือชายเมือนฝูงนกเขาไม่รู้ว่าตัวผู้ตัวเมีย” ปัจจุบันก็คือหญิงชายแต่งกายเหมือนกัน ไว้ผมสั้นผมยาวเหมือนกันหมด “แคนดวงเดียวหมอลำพอฮ้อย(ร้อยคน) นุ่งผ้าส่อย (ผ้าที่ถูกตัดทำเป็นริ้ว) ผ่าบ้านผ่าเมือง” ปัจจุบันคณะหมอลำใช้แคนอันเดียวแต่คนเป็นร้อย เช่น คณะหมอลำเรื่อง หมอลำซิ่ง และผู้คนจะใส่เสื้อผ้าแหวกหลังนุ่งน้อยห่มน้อย โชว์เนื้อโชว์ตัวสนามพิบูลย์รังสรรค์ที่หลวงปู่ได้ทำไว้นี้หลวงปู่บอกว่าเอาไว้ดูควายงาม วัวงาม หมายถึงเอาไว้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงต่างๆเช่น หมอลำ งานประจำปี “ทางสิบคืนชาว(ยี่สิบ) คืนหย่อ (ย่อ) เป็นคราวมื้อ สิบแม่น้ำซาว แม่น้ำหย่อ เป็นแผ่นดินเดียวแขนสั้นยาวคาวตาลึก” อธิบายได้ว่าจะหย่นระยะการเดินทาง เช่น ไปกรุงเทพฯ แต่เมื่อก่อนเดินเท้าใช้เวลาเป็นแรมเดือนแต่ปัจจุบันไปเช้าเย็นกลับก็ได้ คำว่าแขนสั้นยาวคาวตาลึก ได้แก่การสั่งของทางโทรศัพท์ ส่วนคาวตาลึก ได้แก่การดูข่าวสารทั่วโลกทางโทรทัศน์ ส่วนสิบแม่น้ำซาวแม่น้ำหน่อเป็นแผ่นดินเดียว คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน อำเภอกับอำเภอ จังหวัดกับจังหวัดจนถึงประเทศกับประเทศ หลวงปู่ยังทายต่อไปอีกว่า ถ้าบ้านเมืองไม่มีถนนหนทางเหมือนตาจีวรของพระภิกษุตราบนั้นบ้านเมืองยังไม่เจริญเต็มที่ ถ้าสร้างถนนหนทางเหมือนตาจีวรหรือดุจคันนาตามทุ่งนาเมื่อนั้นจึงจะเจิญเต็มที่ “เจ้าผู้เที่ยวทางเวิ้งเหิง(อ้อมไป)ไปมันสิค่ำ มัวแต่เก็บหมากหว้ามันสิซ่า (ช้า) ค่ำทาง” อธิบายได้ว่าการกิจการงานหน้าที่ต่างๆไม่อยู่ในกรอบศิลธรรม ทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่พอจะเป็นบุญหน้า ในยามหนุ่มสาวมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ ยามแก่เฒ่าเข้าวัดไม่ทันได้ทำบุญกุศลก็ตายก่อน อีกบทหนึ่งว่า “เจ้าผู้ควายบักเลเฒ่านอนซำบ่อฮู้ค่ำ บัดตะเวน(ตะวัน) คำต้อยตัวเจ้าซิอ่าวหา” บทนี้อธิบายว่าคนเกิดมาในเมื่อถึงวัยเป็นหนุ่มเป็นสาวหลงมัวเมาสนุกสนานรื่นเริง ลุ่มหลงอยู่กับรูป รส แสง สี ลืมวันเดือนปี ไม่ได้บำเพ็ญกุศลคุณงามความดี พออายุแก่เฒ่ามาแล้วจะไปบำเพ็ญประโยชน์ก็ไม่ทันให้นั่งคิดคอยความตายเพียงอย่างเดียว
“เจ้าผู้ใช้หลังหล่าบ่หมานปลาน่ำเพิ่น(คนไปหาปลามาท้ายเพื่อนแต่ไม่ได้ปลาเหมือนเพื่อน)ยามฝนถืก(ถูก) แต่น้ำ ยามแล้งถืกแต่ลม” บทนี้อธิบายว่าเมื่อเกิดขึ้นมาเป็นคนไม่ได้บำเพ็ญกุศลคุณงามความดี อันเป็นที่พึ่งของตนเองในภายหน้า เมื่อเขาจัดงานบุญงานกุศลมัวเที่ยวเล่นสนุกสนานอย่างเดียวไม่หาบุญหากุศลใส่ตนเอง อันนี้ท่านบอกไว้ว่าเป็น“โมฆะบุรุษ” หมายถึงผู้ว่างเปล่าจากประโยชน์เกิดขึ้นมาเสียชาติเกิด อีกประการหนึ่งหลวงปู่ท่านได้แนะนำชาวบ้านญาติโดยมว่าบุคคลใดได้บวชลูกบวชหลานเข้ามาในพุทธศาสนาบุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นเครือญาติกับพระพุทธเจ้าถ้าใครไม่ได้บวชลูกบวชหลานเข้ามาไว้ในพุทธศานาย่อมไม่ได้เป็นเครือญาติกับพระพุทธเจ้า บทอีกต่อไปว่าให้ญาติโยมทั้งหลายดูรอยมือรอยและจดจำรอยมือรอยเท้าของหลวงปู่ไว้ให้ดี ญาติโยมบางคนก็ขอดูรอยมือรอยเท้าของท่าน บางคนก็เห็นว่าเป็นดอกจันทร์หรืรูปจักรและมีรอยแดงๆฝังอยู่ หลวงปู่บอกว่า ถ้าจำอย่างนี้เมื่อนานไปคงจะไม่เห็นให้จำลงไปลึกซึ้งกว่านี้อีก ที่จริงรอยมือของท่านก็คือสถานที่ที่ท่านสร้างและพัฒนาไว้ เช่น กุฏิ วิหาร ห้วยหนองคลองบึง คำว่ารอยเท้าก็คือถนนหนทางที่หลวงปู่พาชาวบ้านตัดไว้ให้ช่วยกันดูแลรักษาให้ยั่งยืนสืบถึงลูกถึงหลาน กับอีกคำหนึ่งว่า “ต่อไปผ้าเหลืองแต่งครองบ้านครองเมืองเด้อ” อันนี้เป็นคำพูดของหลวงปู่อย่างหนึ่งที่เคยพูดกับพระภิกษุและญาติโยมอยู่เสมอ ข้อนี้คงจะหมายความว่าพระสงฆ์จะเป็นผู้นำในการพัฒนาหมู่บ้านและวัด เป็น้ว่าแบบแปลนแผนผังทุกอย่างในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นหรือตายก็ต้องมีพระนำหน้า พึงให้เห็นว่าชีวิตคนเราเกี่ยวเนื่องกับพระสงฆ์ตั้งแต่แรกเกิดกระทั่งตาย พระสงฆ์แป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน จะตั้งบ้านตั้งเมืองที่ไหนก็ต้องมีพระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางใจมาตลอด

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้