Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน" [สั่งพิมพ์]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:34
ชื่อกระทู้: ร้อยเรื่อง"ศรีชัยวรมัน"
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:22

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต





พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระนาม
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระนามเต็ม
Jayavarthon
พระอิสริยยศ
กษัตริย์
ครองราชย์
จักรวรรดิขแมร์: 1181-1218
รัชกาลก่อนหน้า
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2
รัชกาลถัดไป
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต
1218
พระราชบิดา
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2
พระอัครมเหสีพระมเหสี
พระนางอินทรเทวีพระนางชายาราชเทวี (พระขนิษฐาของพระอัครมเหสี)


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762?) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 1150 - 1160) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้วย


พระราชประวัติ


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ.1663 หรือ พ.ศ.1668 พระนามเดิมคือเจ้าชายวรมัน ทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี สตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ กองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธปุระครั้งนั้น เจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปี จนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบ ในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ


พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนครหลวง” หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่” และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมา ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม


พระองค์ทรงสถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขึ้นมา ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เอง คือพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ในหลายปราสาทที่ทรงสร้างขึ้น เชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง


หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้ นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน


พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทเขาพนมรุ้ง
ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน


นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร .. เข้าใจว่าอาจารย์เจี๊ยบ ค้นพบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง
จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย





พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ในประมาณปี พ.ศ. 1758 หรือ พ.ศ.1762 เชื่อกันว่าทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวถึง 94 ปี ด้ฉลองพระนามหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่








ปราสาทพระขรรค์





• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1734)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:35
• พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับว่าเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ นอกจากจะทรงสร้างปราสาทต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาแล้วพระองค์ยังทรงให้ความ สำคัญกับด้านสาธารณสุขด้วย ด้วยการสร้างอโรคยศาลาถึง 102 แห่ง ในบรรดาปราสาทต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ต้องยกให้ปราสาทพระขรรค์เป็นโครงการที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด ในรัชสมัยของพระองค์มีราชครูกว่าหนึ่งพันคนปราสาทแห่งนี้จึงใช้เป็น มหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ เช่นเดียวกับปราสาทตาพรหมก็เป็นปราสาทที่สร้างให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเช่น กัน
• บริเวณที่สร้างปราสาทพระขรรค์ ถูกขนาดนามว่าเป็นทะเลแห่งเลือด เพราะในบริเวณนี้เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างพวกขอมที่อยู่ในเมืองพระนครและพวกจาม ศึกสงครามครั้งนั้นทำให้ขอมชนะจาม จึงเรียกปราสาทแห่งนี้ว่าปราสาทชัยศรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในจารึกในปราสาทพระขรรค์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระขรรค์ อันหมายถึงพระแสงดาบที่ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชนะอริราชศัตรู

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์นี้เพื่ออุทิศให้แก่พระราชบิดา โดยสร้างหลังจากที่พระองค์ทรงสร้างปราสาทตาพรหมเพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาแล้ว 5 ปี
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:36
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:17



• เสานางเรียง ทางเข้าปราสาททั้งด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของปราสาทพระขรรค์ สองฟากฝั่งมีเสานางเรียงเป็นแถวยาว ระยะทางประมาณ 300 เมตร
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:37
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:17


• สะพานนาคราช - สุดเสานางเรียง จะเป็นสะพานข้ามคู คือสะพานนาคราช คือ จากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรค์ ราวสะพานเป็นรูปเทวดา และยักษ์ยุดนาค กวนเกษียรสมุทรเพื่อนทำน้ำอมฤต



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:16



• รูปสลักนูนสูงครุฑที่กำแพง กำแพงทางเข้าปราสาทมีประติมากรรมที่สวยงาม ได้แก่รูปสลักนูนสูงเป็นรูปครุฑขนาดสูงเท่าตัวกำแพงศิลาแลงหรือประมาณ 3 เมตร ทำด้วยศิลาแลง ครุฑใช้มือทั้งสองจับหางนาค ส่วนขาของครุฑทั้งสองข้าง ก็จับลำตัวของนาค ประติมากรรมนี้จะพบเห็นได้ที่ด้านข้างโคปุระที่กำแพงปราสาททั้งสี่ทิศ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-1 07:16


• ต้นสะปง ที่โคปุระด้านทิศตะวันออกของระเบียงคต มีรากของต้นสะปงขนาดใหญ่ปกคลุมตั้งแต่หลังคาของระเบียงคต รากของมันจะชอนไชมายังเสาหินค้ำยันก่อนลงสู่พื้นดิน ลำตัวมีความสูงกว่า 20 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาแตกแขนงออกไปทั่ว เป็นที่นิยมถ่ายภาพของนักท่องเที่ยว ลักษณะคล้ายกับปราสาทตาพรหม
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:39
• อาคารโรมัน ถัดมาจากด้านซ้ายของโคปุระทางด้านทิศตะวันออก มีอาคาร 2 ชั้น ลักษณะของเสาทั้งหมดเป็นเสากลม คล้ายทรงโรมัน ความสูงของเสานี้ประมาณ 3 เมตร ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ใด
• ภาพสลักต่างๆ ที่หน้าบันและทับหลัง เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู มีให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาพการกวนเกษียรสมุทร ภาพการรบระหว่างทัพลิงกับยักษ์ ส่วนรูปีวนางอัปสรตามกรอบประตูและกำแพงด้านในก็มีให้เห็นทั่วไป ส่วนภาพสลักที่เป็นคติธรรมทางพุทธศาสนาถูกสกัดดัดแปลงหรือกระเทาะทิ้งออกไป เป็นส่วนใหญ่ ภาพพระพุทธรูปที่ยังคงพบเห็นเหลืออยู่เพียงที่เดียว ได้แก้ เสานางเรียงหน้าโคปุระกำแพงทิศตะวันออกของปราสาท ซึ่งไม่ได้ถูกกระเทาะออกไป เชื่อว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ทรงเป็นผู้บัญชาให้ดัดแปปลงปราสาทแห่งนี้เข้ากับศาสนาฮินดู ซึ่งพระองค์ทรงนับถือแทนสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:40
ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถาน ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "โยคาสนะ" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว
นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ยังกล่าวถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" (ที่พักคนเดินทาง) และ "อโรคยศาล" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไป ยังเมืองต่างๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7




โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:42




โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 07:56
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:22

~ ราชมรรคา ถนนแห่งศรัทธาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ~





นักวิชาการทั้งไทยและกัมพูชากลุ่มหนึ่งกำลังร่วมกันสืบค้นเส้นทางอารยธรรมที่สูญหายไปเป็นเวลาเกือบ1,000 ปี เส้นทางปราสาทขอมสายประวัติศาสตร์ ที่ในอดีตเคยเป็นถนนมิตรภาพที่ไทยและกัมพูชาใช้สัญจรสานไมตรีต่อกัน

ในช่วงยุคเมืองพระนคร(พ.ศ.1333-1974) ซึ่งครอบคลุมระยะเวลายาวนานถึงหกร้อยกว่าปี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ 1724-1762) นับได้ว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองพระนคร เป็นผู้สร้างนครธม (แปลว่าเมืองใหญ่หรือมหานคร)ที่ใหญ่โตมโหฬารและมีความคงทนแข็งแรงจนสามารถอวดโฉมแก่สายตาของชนรุ่นหลังมาจนกระทั่งทุกวันนี้
      
       เมืองนครธมถูกสร้างให้ยิ่งใหญ่ตระการตาและตั้งอยู่บริเวณที่ขยับขึ้นมาทางเหนือของนครวัดเล็กน้อย(นครวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2) แต่มีการแยกเป็นสัดส่วนต่างหากด้วยกำแพงรอบพระนคร มีความยาว 13 กิโลเมตร และมีประตู 5 ประตู (ทิศตะวันออกมี 2 ประตูคือประตูตะวันออกกับประตูชัย) มีกำแพงเมืองที่แต่ละด้านยาวประมาณเกือบ 3 กิโลเมตร ส่วนตัวกำแพงสูง 6 เมตร และเมืองนครธมมีรูปทรงเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตตุรัส โดยมีศูนย์กลางคือปราสาทบายน ที่มีหินสลักพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือยิ้มบายนอันลือลั่น
      
       นอกจากนครธม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว อาณาจักรขอมในช่วงนั้นยังถือได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองจนสามารถแผ่ขยายอารยธรรมครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดินแดนอีสานใต้ของไทยในปัจจุบัน
      
       จากจารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกไว้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางควบคู่ไปกับอโรคยาศาลา ( สถานพยาบาล )จำนวน 102 แห่ง โดยระบุว่ามีจำนวน 17 แห่งอยู่ตามรายทางจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมายที่เรียกกันว่าเส้นทางปราสาทขอม สันนิษฐานว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างปราสาทเหล่านี้เพื่อเป็นทานแก่ผู้เดินทาง ส่วนผู้เดินทางจะมีวัตถุประสงค์อย่างไรนั้นยังเป็นประเด็นที่ผู้สนใจสืบค้นกันอยู่
      



       เส้นทางที่เชื่อกันว่าคนสมัยก่อนใช้สัญจรกันนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนในฝั่งกัมพูชาเป็นแนวคันดินสูง มีความกว้างราว 2 – 3 เมตร และยังคงเป็นถนนที่ชาวกัมพูชาใช้กันในปัจจุบัน แต่แนวถนนเดียวกันนี้กลับไม่พบในฝั่งไทย เส้นทางสายโบราณที่หายไป ร่องรอยชุมชนที่เคยมีชีวิตและวัฒนธรรมรุ่งเรืองหากแต่สูญสิ้น เหล่านี้เป็นคำถามที่นักวิจัย“โครงการค้นหาและพัฒนาสารสนเทศของราชมรรคาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำลังหาคำตอบ
      
       การศึกษาวิจัยทำโดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังพอมีเหลืออยู่ เช่น ถนนโบราณ สะพานหิน ธรรมศาลา อโรคยาศาลา ปราสาทหินต่างๆ ร่วมกับหลักฐานที่อาจมองไม่เห็นเมื่ออยู่บนพื้นดินแต่จะมีร่องรอยให้สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทั่วโลกใช้ในการค้นหาแหล่งอารยธรรมหรือแหล่งโบราณคดีที่สามารถนำมาพัฒนาต่อ การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่เริ่มจากเมืองพระนคร ( นครวัด ) จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และในพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทยต่อเนื่องไปจนถึงพิมายจังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลจาก www.manager.co.th


โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:00



ตลอด ราชมรรคา ได้ทรงสร้าง“บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ถูกเรียกว่า“ธรรมศาลา”

จากจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงธรรมศาลาว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ
ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนคร(นครธม)ไปยังเมืองพิมาย เท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร
และมีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย

ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:01
ก่อนที่เราจะร่วมเดินทางสำรวจและท่องเที่ยวตามเส้นทางสาย ราชมรรคา
เรามาดูรายละเอียดของ ธรรมศาลา กันก่อนครับ


"วหนิคฤหะ" ในจารึกปราสาทพระขรรค์แปลว่า "บ้านมีไฟ" นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เรียกบ้านมีไฟว่า "ธรรมศาลา" ลักษณะเป็นห้องยาวหันหน้าทางด้านตะวันออก มียอดทรงปราสาทด้านตะวันตก ผนังด้านทิศใต้มีหน้าต่าง ส่วนทิศเหนือเป็นหน้าต่างหลอก หรือเป็นผนังเปล่า มีบารายหรือสระน้ำประจำธรรมศาลา



จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุว่า “ธรรมศาลา” จะสร้างอยู่ตามเส้นทางสายราชมรรคทั้งหมด แต่ดันมีธรรมศาลาหลังหนึ่ง ไปปรากฏอยู่นอกเส้นทางราชมรรคาคือ ที่ปราสาทบันทายฉมาร์



จารึกยังระบุว่า มี "ธรรมศาลา" จากเมืองพระนคร(นครธม)ไปยังเมืองวิมายะปุระ(พิมาย) จำนวน 17 หลัง บนถนนที่มีเส้นทางไปยังเมืองต่างๆ อีก 44 หลัง แต่ละหลังสร้างห่างกันประมาณ 12 - 15 กิโลเมตร


อ้างอิงจาก: http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/10/02/entry-1
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:02
คราวนี้ เรามาดูรายละเอียดของ อโรคยศาลา กันบ้างครับ

อโรคยศาลา หรือ สถานพยาบาลชุมชน”  ได้ถูกสร้างขึ้นมาตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  เพื่อการบำบัดทุกข์บำรุงแก่ประชาชน การสร้างอโรคยาศาลอาจเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองและเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายาน ขณะเดียวกันก็รวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง หลักฐานสิ่งก่อสร้างที่พบเหล่านี้อาจเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับเมืองพระนครอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการปกครองและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

รูปแบบสถาปัตยกรรมของอโรคยศาลา

       จากจำนวนอโรคยศาลากว่า 30 แห่ง ที่มีการสำรวจและขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร พบว่าอาคารดังกล่าวคือศาสนสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญประจำอโรคยศาลา รูปแบบของอโรคยศาลาอาจสร้างขึ้นจากไม้ โดยอยู่ในบริเวณใกล้กับศาสนสถานที่สร้างขึ้นจากศิลาแลงที่พบหลักฐานในปัจจุบัน  แผนผังของศาสนสถานประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างหันไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และมีโคปุระเป็นทางเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก มักพบอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสันนิษฐานว่าเป็นบรรณาลัย อยู่ติดริมกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันเข้าหาปราสาทประธาน และมีสระน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยมักอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณภายในหรือภายนอกกำแพงแก้ว รูปแบบดังกล่าวเป็นผังของศาสนสถานประจำอโรคยศาลาที่พบทั่วไปในประเทศไทยซึ่ง เป็นอโรคยศาลขนาดเล็กประจำท้องถิ่น และสร้างขึ้นคล้ายคลึงกันในแต่ละชุมชน โดยมีรายละเอียดบางประการที่ต่างกันเล็กน้อยตามลักษณะพื้นที่ และวิธีการก่อสร้าง

[attach]2699[/attach]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:03
งค์ประกอบสถาปัตยกรรม ของ อโรคยศาลา

       ปราสาทประธานของศาสนสถานในอโรคยศาลาโดยทั่วไป เป็นปราสาทหลังเดี่ยวขนาดเล็ก สร้างจากศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก และมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสลักจากหินทราย ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุมทั้ง 4 ด้าน เรือนธาตุเป็นมุข 4 ด้าน ด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้า พบภาพสลักหน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูสลักจากหินทราย ส่วนอีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก มักพบการประดับทับหลังหินทราย ส่วนยอดเป็นชั้นหลังคาซ้อนกัน 5 ชั้น ประดับด้วยรูปสลักเทพประจำทิศต่างๆ และส่วนยอดบนสุดประดับด้วยรูปดอกบัวสลักจากหินทราย

[attach]2700[/attach]



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:04

โลกปัจจุบันต้องทึ่งกับภูมิปัญญาของนายช่างขอมโบราณในการสร้างปราสาทหินเพราะแม้แต่เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้โดยง่าย การก่อสร้างปราสาทต้องใช้ทั้งเวลาและแรงงานคนมหาศาล ทั้งยังมีกรรมวิธียุ่งยากซับซ้อน เริ่มตั้งแต่หาแหล่งตัดหิน เคลื่อนย้าย ก่อสร้างไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือสลักลวดลาย หินแต่ละก้อนที่เรียงต่อกันไม่มีตัวประสานแต่สามารถคงตัวอยู่ได้เนื่องจากใช้น้ำหนักของหินเป็นตัวกดทับ ส่วนที่ง่ายต่อการพังทลายจะทำการเบิกหินเป็นร่องแล้วนำเหล็กรูปตัว I หรือใกล้เคียงวางเชื่อม มักพบว่ามีการเจาะรูหินก้อนใหญ่ไว้ทั้งสองด้าน สำหรับตอกลิ่มไม้แล้วใช้เชือกผูกคล้องเพื่อยกหิน เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงสร้างหลักจึงเริ่มขั้นตอนแกะสลักลวดลาย ปราสาทใหญ่หลายหลังมักสร้างไม่เสร็จภายในรัชกาลเดียวมีการแกะสลักลายค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนครวัด พนมรุ้ง เขาพระวิหาร

[attach]2701[/attach]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:07
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:24

ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์















โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:09














โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:11















โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:12
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:24

พระนางศรีชัยราชเทวี สตรีที่อาจอยู่เบื้องหลังพระเจ้าชัยวรมันที7เปลี่ยนมานับถือพุทธมหายาน





     เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมายหรือ วิมายปุระที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทจากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัดซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธมหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พิมายน่าจะมีความสัมพันธ์ทางด้านสายตระกูลของบรรพบุรุษอาทิเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา หรือ ภรรยา )














http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=809

รูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ที่คงเหลือรอดมาจากอดีตรูปที่สอง พบที่ปราสาทหินพิมาย (PhimaiPr.)เป็นชิ้นส่วนแตกหักกองอยู่ภายในปรางค์พรหมทัต เมื่อมาปฏิสังขรณ์แล้วมีความสูงนับรวมฐานประมาณ 1.4 เมตรมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปเหมือนที่พบที่โกรลโรมัส



ปรางค์พรหมทัต อยู่ทางด้านช้ายปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์นี้ก่อด้วยศิลาแลง พระเจ้าชัยวรมันที่7 โปรดให้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ 1724-1763 อาจารย์ มานิต วัลลิโภดม  มีความเห็นว่าที่ทรงบูรณะเพราะบรรพบุรุษของพระองค์เคยประทับอยู่ในถิ่นฐานแถบนี้ เมื่อครั้งอาจารย์ ฯ ควบคุมการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทหินพิมายเมื่อ พ.ศ 2497 ได้บันทึกไว้ว่าที่นี่เคยเป็นที่ตั้งรูปประติมากรรมหินจำหลัก3รูป เรียกชื่อสืบกันมาว่า รูปท้าวพรหมทัติหรือชัยวรมันที่7  รูปพระปาจิตต์ และรูปนางอรพิมท์    (อ่านเพิ่มเติม เมืองพิมาย โดย ดร.ธิดา สาระยา 2535)




โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:14
พุทธศาสนามหายานในสุวรรณภูมิ


    เมื่อประมาณ พ.ศ.600เกิดพุทธศาสนามหายานในแถบอินเดียเหนือได้แพร่จากประเทศอินเดียเข้าสู่อาณาจักรศรีวิชัย สุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติขอม มอญ ละว้า และไทย ตามเส้นทางการค้าในยุคนั้น


ใน ราว พ.ศ.1200สมัยศรีวิชัยพุทธศาสนา มหายานที่รุ่งเรืองสูงสุดได้แพร่หลายจากเกาะสุมาตราเข้า สู่เมืองไชยาทางภาคใต้แห่งประเทศไทยทั้งนี้ได้ความจากประวัติศาสตร์และวัตถุที่ขุดได้ในเมืองไชยาและเผยแพร่สู่ภาคกลางประเทศไทย เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี


ในราว พ.ศ.1300 อาณาจักรศรีวิชัยยึดครองอาณาจักรขอมและนำเจ้าชายชัยวรมันที2 ไปเป็นตัวประกันได้รับการศึกษาพุทธศาสนามหายานและฮินดู ที่ชวากลาง ทีมี พุทธสถาน บุโรบูโดร์เป็นศูนย์กลางเผยแพร่เมื่อกลับมาได้ควบรวมอำนาจกับชุมชนเทือกเขาพนมดงเร็ก แต่งงานกับ ปราณ หรือกัมพุชลักษมีที่มีต้นตระกูลเป็นผู้ปกครองชุมชนแถบปราสาทเขาพระวิหาร


ในราว พ.ศ. 1400 เรียกว่า สมัยลพบุรี พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือที่เรียกว่าอาจาริยวาทได้แพร่ขยายเข้าสู่เมืองลพบุรีทั้งนี้ได้ความจากศิลาจารึกที่ขุดได้ในเมืองลพบุรี


ในราวพ.ศ1700 เมืองวิมายปุระมีปราสาทหินพิมายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พุทธศาสนามหายานโดยมีตำนานท้าวพรหมทัตหรือชัยวรมันที7- น่าจะมีสายตระกูลมาจากชัยวรมันที2  และพระมเหสีเอก นางอรพิมท์หรือพระนางศรีชัยราชเทวี -น่าจะเป็นสายตระ    กูลพิมาย (น่าแปลกทีเมืองพิมายเป็นศูนย์กลางพุทธมหายานแทนทีจะเป็นลพบุรีอาจจะเป็นเนื่องจากราชวงค์ขอมทีมีอิทธิพลขณะนั้นมีสายตระกูลหรือเป็นบ้านเกิดพระมเหสีเหมือนประวัติการสร้างทัชมาฮาลในอินเดียทีมีประวัติว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้พระมเหสี)




        ย้อนประวัติศาสน์กลับไปในราว พ.ศ1500-1700 คติศาสนาความเชื่อของเขมรโบราณจากสมัยศิลปะพนมดามาจนถึงศิลปะแบบบาปวนนิยมบูชาลัทธิไศวะนิกายหรือลัทธิการบูชาพระศิวะมายาวนานจากอิทธิพลเริ่มแรกของอินเดียที่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 10 ปราสาทในยุคสมัยนี้จึงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะเสียเป็นส่วนมากเลยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่2 จึงได้เริ่มฟื้นฟูลัทธิไวษณพขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นการสร้าง “บรมวิษณุโลก” God King หรือ "มหาปราสาทนครวัด"สุดอลังการนั่นเอง หลังจากสมัยนครวัดบ้านเมืองของเขมรพระนครหลวง เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากครับ ภายหลังจากสวรรคตของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ ในช่วงปลายรัชกาล พระองค์กลับมอบราชบัลลังก์แห่งพระนครหลวง ให้กับพระเจ้ายโศวรมันที่2ที่มิใช่ญาติพี่น้องโดยสายเลือดแต่อย่างใด

       วัชรยานตันตระมีส่วนผสมของฮินดูตันตระในรายละเอียดการบำเพ็ญภาวนาและท่องสวดมนตราเหล่ามานุษิพุทธะและโพธิสัตว์พุทธะ ล้วนมีอำนาจเหนือเทพเจ้าฮินดู เช่นพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัยต้องคอยกำหราบพระศิวะ พระหริหริวาหนะอยู่เหนือพระนารายณ์พระโพธิสัตว์มาริจี มีอำนาจขนาดสามารถทำลายล้างพระพรหมได้!!!
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-1 08:16
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:19

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ได้สถาปนาพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดเหนือเหล่าพระโพธิสัตว์ และธยานิพุทธ ทั้ง 5 พระองค์(หนึ่งในนั้นคือพระพุทธเจ้าในมหายานในนาม พระอมิตาภะ) นั่นคือพระองค์ทรงเป็นดั่ง

“พระมหาไวโรจนะ” หรือพระ ”อาทิพุทธ”





พระพุทธเจ้าสูงสุดแห่งจักรวาลสากลนั่นเอง

และใบหน้าของเหล่ารูปเคารพพระโพธิสัตว์วัชยานทุกองค์

ก็คือใบหน้าของพระองค์เช่นกันพระองค์จึงสถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง!!!





         วัชรยานตันตระให้ความสำคัญกับพลังแห่งเพศหญิงที่เป็นพลังเบื้องหลังของบุรุษเช่นเดียวกับฮินดูตันตระ จึงเกิดรูปเคารพหญิงขึ้นมาแทนมโนภาพ " ติ้งต่าง "  หรือ " บุคคลาฐิษฐาน " ในพิธีกรรมการสวดภาวนามนตรา พลังหรือศักติของเพศหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ “พระนางปรัชญาปารมิตา” พระนางศรีชัยราชเทวีมโนคติในเรื่องของปัญญาอันเลิศล้ำ

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พลังแห่งหญิง เป็นเกื่อหนุนอำนาจแห่งเพศชายเสมอ !!!

       การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของพระเจ้าชัยวรมันที่7ได้ส่งผลมาถึงศิลปวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั่นคือการรับเอาคติที่พระมหากษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้เข้ามาสู่คติพื้นฐานทางพุทธศาสนา

แต่พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทลังกาหรือหินยานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ยอมให้ใครยิ่งใหญ่ไปกว่าพระศากยมุนีเจ้าอีกแล้ว ในสมัยต้นอยุธยา รัฐต่าง ๆในภูมิภาคสุวรรณภูมิจึงได้สร้างเรื่องพุทธประวัติตอนปราบ "ท้าวชมพูบดี" ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับรูปเคารพและคติพระทรงเครื่องกษัตริย์ของวัชรยานตันตระที่กระจายตัวอยู่ทั่วดินแดนที่เคยอยู่ในอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่7 เดิม


credit : http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/02/03/entry-2



      เมื่อ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองแผ่นดินพระองค์จึงได้เลือกพุทธศาสนานิกาย "วัชรยานตันตระ"ที่มีเรื่องราวของเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลังอำนาจเหนือเหล่าเทพเจ้าหรือ Buddhist King มาใช้เป็นระบอบการปกครองใหม่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ แสดงว่ากลุ่มพันธมิตรและพระมเหเสีของพระองค์นับถือพุทธมหายานและทำให้พระองค์รบชนะ-ขยายอาณาจักรสู่ดินแดนประเทศไทย(ที่นับถือพุทธศาสนากันกว้างขวางตั้งแต่พ.ศ300 และรุ่งเรืองชัดเจนใน     พ.ศ 1200ในยุคพระนางจามเทวี )  ในขณะกลุ่มที่ทรยศพระองค์และร่วมมือกับจามปาที่นับถือฮินดูพราหมณ์และใด้ยึดครองอาณาจักรมายาวนานนั้นประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายและหมดมนต์ขลังและในการทำสงครามกอบกู้เอกราชอันยาวนานนั้นได้ทำให้พลเมืองล้มตายไปอันมากพระองค์คงระลึกสติได้ นึกถึงบาปกรรม-การไถ่ถอนบาปเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่เปลี่ยนจากฮินดูเป็นพุทธและคาดว่าชุมชนในภาคอีสานคือกองกำลังพันธมิตรหลักในการทำสงครามกับจามปาเช่นเดียวกับชัยวรมันที่2กอบกู้เอกราชจากการยึดครองของชวาโดยอาศัยการแต่งงานและควบรวมอำนาจกับชุมชนแถบปราสาทเขาพระวิหาร.


ที่มา..http://www.bloggang.com..


โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-5-4 09:01
[youtube]Uk-uudhk4pc[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:37
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 17:20

นวพรรณ ภัทรมูล
กลุ่มงานวิชาการ
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑


“เมื่อประชาชนมีโรคถึงความหายนะ ตามภาวะแห่ง

กรรมด้วยการสิ้นไปแห่งอายุเพราะบุญ

พระองค์ผู้เป็นราชา ได้กระทำโคที่สมบูรณ์

ทั้งสาม เพื่อประกาศยุคอันประเสริฐ”




ข้อความข้างต้นนี้ เป็นข้อความส่วนหนึ่งของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่อบอก
ถึงความมุ่งหมายในการสร้างสถานพยาบาล หรือ ที่เรียกว่า “อโรคยาศาล” (คำๆ นี้ปรากฏอยู่ในจารึก
บรรทัดที่ ๗ ด้านที่ ๒ ของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและภาร
กิจของอโรคยาศาลที่ได้ระบุไว้ในจารึกนั้น ก็เทียบได้กับ “โรงพยาบาล” ในปัจจุบันนั่นเอง
จารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่าที่พบในประเทศไทย ณ ตอนนี้ มีทั้งหมด ๖ หลัก
ทั้งนี้ข้อมูลกี่ยวกับจารึกดังกล่าว ได้รับการรวบรวมและเผยแพร่ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นในหนังสือ
จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘) และหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม
๔ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) ตลอดจน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ที่จัดทำโดย ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) การที่ได้จัดกลุ่มจารึกเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหา
ที่จารึกนั้นมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันมาก จะต่างกันบ้างก็แต่จำนวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุใน
จารึก อีกทั้งจารึกทุกหลักได้ระบุอย่างชัดเจนถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่า
เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ดังนั้น พระนาม

"ศรีชัยวรมัน" ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง





พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑



พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑)

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระโดยทางพระราชบิดา (พระเจ้า
ธรณินธรวรมันที่ ๒) ส่วนพระราชมารดานั้นก็ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ พระ
องค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๒๔


และอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชัยราชเทวี แต่พระนางสวรรคต
เมื่อพระชนม์ยังน้อย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอินทรเทวี ซึ่งเป็นพระพี่นาง
ของพระนางชัยราชเทวีอีกครั้งหนึ่ง พระนางอินทรเทวีทรงมีความรู้หลากหลาย ทรงรอบรู้ในปรัชญา
และทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน


พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงมีพระเมตตาต่ออาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้สร้าง
สิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งการก่อสร้างนี้เอง เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง
ราชอาณาจักรทรุดโทรมลงในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทรงโปรดให้สร้างสถานพยาบาล
หรือที่เราจะเรียกกันต่อไปนี้ว่า “โรงพยาบาล” นั้นถึง ๑๐๒ แห่ง ทั่วทั้งราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่รักษา
คนป่วย อีกทั้งยังพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรคนั้น ทำให้สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์
ไปเป็นอันมาก


“อโรคยาศาล” หรือ “โรงพยาบาล” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗







อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล ประกอบด้วยปรางค์ประธาน มีอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย
สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ตำแหน่งของบรรณาลัย
มักจะอยู่ค่อนไปที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เสมอ มีซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้า
เพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดกึ่งกลางของกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกกำแพงแก้ว
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือที่เรียกว่า บาราย หรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์
กรุด้วยศิลาแลง





อโรคยาศาล เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตามรายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระ
นคร จะเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แผ่พระราชอำนาจไป
ถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:39
“โรงพยาบาล” ในจารึก


ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลคำอ่าน – คำแปลของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งหมด
๖ หลัก ได้แก่ จารึกพบที่จังหวัดสุรินทร์ ๓ หลัก คือ จารึกปราสาท (สร. ๔), จารึกตาเมียนโตจ (สร. ๑),
จารึกสุรินทร์ ๒ (สร. ๖) จารึกพบที่จังหวัดนครราชสีมา ๑ หลัก คือ จารึกเมืองพิมาย (นม. ๑๗) จารึก
พบที่จังหวัดบุรีรัมย์ ๑ หลัก คือ จารึกด่านประคำ (บร. ๒) และจารึกพบที่จังหวัดชัยภูมิ ๑ หลัก คือ
จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว (ชย. ๖) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบในส่วนของเนื้อหาแล้วพบว่า ทุก
หลักมีเนื้อหาและการเรียงลำดับข้อมูลเหมือนกัน กล่าวคือ จารึกด้านที่ ๑ จะขึ้นต้นด้วยการกล่าว


นมัสการเทพประจำโรงพยาบาล ตามด้วยสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และพระเทวี พร้อมกล่าวถึง
มูลเหตุที่สร้าง “โรงพยาบาล” จารึกด้านที่ ๒ กล่าวถึงจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลตลอดจน
หน้าที่ของแต่ละคน จารึกด้านที่ ๓ กล่าวถึงจำนวนสิ่งของเครื่องใช้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้อุทิศ
ไว้เพื่อใช้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และจารึกด้านที่ ๔ กล่าวสรรเสริญและอำนวยพรแก่พระราชาผู้ได้


กระทำกุศล อีกทั้งประกาศข้อห้ามต่างๆ ในโรงพยาบาล

ข้อแตกต่างของจารึกแต่ละหลักมีเพียงส่วนของจำนวนเจ้าหน้าที่ และจำนวนสิ่งของที่ได้รับมา
จากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อตัดข้อแตกต่างปลีกย่อยเหล่านี้ไป ก็พบว่าเนื้อหา
จารึกโดยรวมนั้น ได้ระบุถึงส่วนประกอบสำคัญที่ประกอบกันขึ้นเป็น “โรงพยาบาล” อันมีอยู่ ๓ ส่วน
ด้วยกัน ได้แก่

- เทพประจำโรงพยาบาล

- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล

- สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล




โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:43
- เทพประจำโรงพยาบาล


เทพประจำโรงพยาบาล มี ๓ องค์ด้วยกัน ได้แก่ พระไภสัชครุไวทูรย์ (พระโพธิสัตว์ไภษัชย
สุคต) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระชินะ ถือเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งผู้ประสาท “ความไม่มีโรค”
แก่ประชาชน เทพอีกสององค์เป็นพระชิโนรส ได้แก่ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และ พระศรีจันทรไวโร
จนโรหินีศะ ผู้ขจัดซึ่งโรคของประชาชน


- เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล



เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลมีหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีจำนวนบุคคลไม่เท่ากันในแต่
ละโรงพยาบาล ในที่นี้จึงขอแสดงจำนวนไว้คร่าวๆ ดังนี้
(๑) แพทย์ จำนวน ๒ คน
(๒) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของโรงพยาบาล ธุรการ หาข้าวเปลือก หาฟืน
และจ่ายยา จำนวน ๒ คน
(๓) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่จัดพลีทาน ทำบัตร จ่ายสลากยา หาฟืนเพื่อต้มยา จำนวน ๒
คน
(๔) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่หุงต้ม ดูแลรักษาและจ่ายน้ำ หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญ
ตลอดจนทำความสะอาดเทวสถาน จำนวน ๑ ถึง ๒ คน
(๕) เจ้าหน้าที่ (ชาย) ทำหน้าที่ดูแลรักษาโรงพยาบาล และส่งยาแก่แพทย์ จำนวน ๑๔ คน
(๖) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ให้สถิติ จำนวน ๒ ถึง ๓ คน
(๗) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ดูแลทั่วไป จำนวน ๔ คน
(๘) เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่โม่ยา จำนวน ๒ ถึง ๖ คน
(๙) เจ้าหน้าที่ (หญิง) ทำหน้าที่ตำข้าว จำนวน ๒ คน
(๑๐) เจ้าหน้าที่ (คละกันหญิงชาย) ทำหน้าที่ประกอบพิธีบูชายัญ จำนวน ๒ คน
(๑๑) โหราจารย์ จำนวน ๑ คน


ยังมีตำแหน่งผู้ดูแล, ธุรการ และผู้ให้สถิติอีกหลายคน ซึ่งระบุจำนวนไว้ไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม


จารึกปราสาท และจารึกสุรินทร์ ๒ ได้ระบุไว้ว่าจำนวน

เจ้าหน้าที่ทั้งหมดในโรงพยาบาลมีถึง ๙๘ คน


- สิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล



เช่นเดียวกับจำนวนเจ้าหน้าที่ รายการจำนวนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ได้รับมาไว้ใช้ในโรง
พยาบาลนั้นมีจำนวนไม่เท่ากันในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จำนวนที่กล่าวถึงในที่นี้จึงเป็นจำนวนที่พอจะ
ทราบโดยประมาณ บางรายการไม่ได้ระบุจำนวนไว้ก็มี





โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:44

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:48
ความเป็นไปของ “โรงพยาบาล” หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗


อาจารย์รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล จากคณะศิลปศาสตร์และวิทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์ ได้ให้ความเห็นไว้ใน เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ


เรื่อง อโรคยาศาล โรงพยาบาลแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ว่า..


“เมื่อการอุปถัมภ์ลดน้อยลง ในช่วงต้นอโรคยศาลเหล่านี้ก็อาจไม่ได้รับความ

กระทบกระเทือนเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะทรัพย์สินสิ่งของ โดยเฉพาะตัวยาสมุนไพร ข้าทาสบริวาร

(และบางทีก็รวมถึงการกัลปนาส่วยสาอากรจากท้องที่ที่ตั้งของอโรคยศาล)



ได้รับตั้งแต่ในรัชกาลก่อนนั้น ก็หาใช่ว่าจะหมดไปในทันทีทันใดตามอายุขัยของพระราชาไม่


ดังนั้น..


อโรคยศาลแต่ละแห่งจึงน่าจะพอดำเนินกิจกรรมการรักษาโรค
ให้แก่ผู้ที่เข้ามารับการรักษาต่อมาได้อีก อย่างน้อยก็ระยะเวลาหนึ่ง
จนกว่าของที่ได้รับอุทิศไว้จะหมดลง ...”


โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:50

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:52
ถึงตรงนี้แล้ว


อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราได้พบเห็น


ซากปรักหักพังของอโรคยาศาล หรือ


“โรงพยาบาล”


ในครั้งนั้น ข้อมูลที่คนก่อนเก่าได้จารจารึกไว้

ก็อาจจะทำให้เราได้ย้อนเห็นภาพของความรุ่ง

เรืองในอดีต และภาคภูมิใจกับความเจริญรุ่งเรือง

เหล่านั้น แม้มันจะผ่านมานานเนิ่นแล้วก็ตามที




โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-7-28 16:53
เอกสารอ้างอิง
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกด่านประคำ.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกตาเมียนโตจ.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกปราสาท.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ
ไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕ สิงหาคม
๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกเมืองพิมาย.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว.” ใน ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล. “จารึกสุรินทร์ ๒.” ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศ
ไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๗ (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕ สิงหาคม
๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก http://www.sac.or.th/jaruk/
ชะเอม แก้วคล้าย. จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,
๒๕๒๘.
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี. ประชุมอรรถบทเขมร :
รวมบทความทางวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อุไรศรี วรศะริน.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยฯ, ๒๕๔๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมี
บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกุล. อโรคยศาล โรงพยาบาลแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗. กรุงเทพฯ : งาน
การศึกษา ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ๒๕๔๖)
บุหลง ศรีกนก. “อโรคยาศาล.” ใน ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (online). เปิดข้อมูลเมื่อ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๑ หาข้อมูลจาก
http://www.pharmacy.msu.ac.th/ex ... n=com_content&t
ask=view&id=14&Itemid=28
MacDonell, Arthur Anthony. A practical Sanskrit Dictionary : with transliteration,
accentuation, and etymological analysis throughout. New Delhi : Munshiram
Manoharlal Publishers, ๑๙๙๖.
POU, Saveros. Dictionnaire Vieux Khmer - Français - Anglais an Old Khmer –
French – English Dictionary. Paris (FRANCE) : Centre de Documentation et
de Recherche sur la Civilisation Khmère, ๑๙๙๒.


ที่มาของเนื้อหา..http://www.sac.or.th/main/articl ... &category_id=19

โดย: Guinanga    เวลา: 2013-7-28 17:40
แน่นมากๆครับ
โดย: matmee2550    เวลา: 2013-7-28 18:54
เยี่ยม
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-9-26 08:30
ปราสาทอังกอร์ธม หรือปราสาทนครธม เป็นมหาปราสาทขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในกลุ่มปราสาทของเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครหลวง สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชาอันเกรียงไกรในภูมิภาคสุวรรณภูมิ แห่งอาณาจักรกัมพุชเทศโบราณ หรือจะเรียกว่า เจนละ, เขมร, ขอม ก็ไม่แตกต่างกันนัก
.
.
       ในยุคเริ่มแรกของการค้นพบปราสาทกลางป่ารกชัฏ  ชาวตะวันตกได้จัดให้มหาปราสาทอังกอร์ธม เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาปราสาททั้งหลายของเมืองเขมร ก็ด้วยเพราะศิลปะการแกะสลักและรูปแบบการก่อสร้างที่ดูหยาบ ไม่ละเอียดลออ ต่างไปจากปราสาทในยุคหลังเช่นนครวัด ที่มีพัฒนาการลวดลายสวยงามในระดับคลาสลิคแล้ว (ตามความเข้าใจเดิม)
.
       จนเมื่อฝรั่งเศสได้เข้ามาครอบครองแหลมอินโดไชน่า และได้ตั้ง " สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ " ขึ้น เพื่อทำการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศในอาณานิคม จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจังและลำดับการคลี่คลายรูปแบบศิลปะจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง ให้สอดรับกับเรื่องราวในจารึกต่าง ๆ ที่ค้นพบ
.
           

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-9-26 08:31
ศิลปะบายนที่เคยเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด จึงหล่นมาอยู่ในยุคเกือบสุดท้าย !!!
.
.
ยุคก่อนเมืองพระนคร
ศิลปะแบบพนมดา (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11
ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (ตามชื่อกลุ่มโบราณสถาน) ในพุทธศตวรรษที่ 11 -12
ศิลปะแบบไพรกเมง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 10 -11
ศิลปะแบบกำแพงพระ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 12 – 13
สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
ศิลปะแบบกุเลน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14
สมัยเมืองพระนคร
ศิลปะแบบพระโค (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบบาแค็ง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบเกาะแกร์ (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบแปรรูป (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 14
ศิลปะแบบบันทายสรี (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15
ศิลปะแบบคลังหรือเกลียง (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16
ศิลปะแบบบาปวน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16
ศิลปะแบบนครวัด (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ศิลปะแบบบายน (ตามชื่อปราสาท) ในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18
ศิลปะสมัยหลังบายน
.
        คติศาสนาความเชื่อของเขมรโบราณจากสมัยศิลปะพนมดามาจนถึงศิลปะแบบบาปวน นิยมบูชาลัทธิไศวะนิกายหรือลัทธิการบูชาพระศิวะมายาวนาน จากอิทธิพลเริ่มแรกของอินเดียที่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 10  ปราสาทในยุคสมัยนี้จึงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะเสียเป็นส่วนมาก
.
        เลยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2  จึงได้เริ่มฟื้นฟูลัทธิไวษณพขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ กลายมาเป็นการสร้าง “บรมวิษณุโลก” หรือ "มหาปราสาทนครวัด" สุดอลังการนั่นเอง
.
        หลังจากสมัยนครวัด บ้านเมืองของเขมรพระนครหลวง เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากครับ   ภายหลังจากสวรรคตของพระเจ้าสูรยวรมันที่  2 พระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2  ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ
.
        ในช่วงปลายรัชกาล พระองค์กลับมอบราชบัลลังก์แห่งพระนครหลวง ให้กับพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ที่มิใช่ญาติพี่น้องโดยสายเลือดแต่อย่างใด โดยที่เจ้าชายหนุ่มขุนศึกวรมันผู้เป็นพระโอรสก็เห็นดีเห็นงามด้วย !!!!
.
        อาจเป็นเพราะความสนิทสนม หรือความเป็น "พี่น้องร่วมสาบาน" ในรุ่นราวคราวเคียงกัน และพระเจ้าธรณิทรวรมันก็คงเห็นว่า เพื่อนคนนี้มีความเหมาะสมกว่าลูกของตนซึ่งยังเยาว์ปัญญานัก ซึ่งก็น่าจะมีการตกลงถวายสัตย์กันไว้แล้วในระดับหนึ่งว่า จะให้พระโอรสหนุ่มของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ
.
       แต่เหตุการณ์กลับมิใช่เป็นเช่นนั้น วันหนึ่งในขณะที่ขุนศึกหนุ่มวรมันกำลังทำสงครามกับอาณาจักรจามปาทางทิศตะวันออก ก็ได้รับข่าวร้ายว่าขุนนางเฒ่าผู้หนึ่งได้รวบรวมเหล่าขุนทหารก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจ สังหารพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกัตริย์พระนามว่า " พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน "
.
       ขุนศึกวรมันในวัยหนุ่ม จึงรีบนำทัพกลับมาหมายแก้วิกฤตการณ์ปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายเกินแก้ พระองค์ไม่สามารถนำกองทัพเข้าเมืองได้ พระนครหลวงยโศธรปุระตกอยู่ในอิทธิพลของกษัตริย์องค์ใหม่เสียแล้ว พระองค์จึงจำต้องถอยทัพไปตั้งหลักที่แถบเมืองกำปงสวาย !!!
.
       ความอ่อนแอและความแตกแยกของชนชั้นปกครองแห่งยโศธรปุระเป็นมูลเหตุสำคัญที่นำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ เมื่อกองทัพจามปาได้ยกไพร่พลเรือล่องเข้ามาตามทะเลสาบเขมรหรือ " โตนเลสาป " จากการนำทางโดยพ่อค้าชาวจีน ดอดเข้ามาตีเมืองพระนครตามเส้นทางแม่น้ำเสียมเรียบ โดยที่ชาวเจนละยังมิทันได้ตั้งตัว
.
       พระนครหลวงยโศธรปุระในวันนั้นกลายเป็นทะเลเพลิง ผู้คนล้มตายมากมาย อำนาจแห่งกษัตริย์สมมุติเทพในประวัติศาสตร์อันยาวนานสูญสลายไป !!!
.
       Gossip กันว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นี่เองแหละที่ได้ทรง ”ทำสัญญาลับ”ปล่อยให้ศัตรูของเจนละอย่างจามปา สามารถนำกองทัพเข้ามาโค่นล้มศัตรูที่พระองค์ชิงชัง ศัตรูที่บังอาจตั้งตนเป็นกษัตริย์เทวราชาในเมืองพระนคร !!!
.            
     ซึ่งก็ไปสอดรับกับการที่จามปาได้สถาปนากษัตริย์ขึ้นปกครองเมืองพระนครพระนามว่า " อินทรวรมันที่ 4 "  อยู่ยาวนานกว่า 10 ปี และกลับเปิดโอกาสให้ขุนศึกวรมัน ที่ควรเป็น "หอกข้างแคร่" ได้มีโอกาสซ่องสุมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ไว้โดยไม่ได้มีการปราบปรามหรือกวาดล้างให้สิ้นซากแต่อย่างใด
.
     การปล่อยปะละเลยในครั้งนี้  ชะรอยจะเป็นหลักฐานการ " ยืมมือศัตรู ฆ่าศัตรู " อย่างที่  " อู๋ซานกุ้ย "  แม่ทัพราชวงศ์หมิงแห่งด่านซังไห่กวาน เคยปล่อยให้กองทัพแมนจูรุกเข้าตีปักกิ่งเพื่อปราบโจรกบฏที่เข้ามายึดพระราชวัง และบังอาจมาทำร้ายนางอันเป็นที่รัก!!!
.
       แต่ครั้งนี้มันแตกต่างกัน เมื่อขุนศึกหนุ่มวรมัน ได้ทราบถึงความเดือดร้อนและความทารุณโหดร้ายที่ประชาชนชาวเจนละในเมืองพระนครได้รับ ภายใต้การปกครองของชาวจาม จึงทรงตัดสินใจนำกองทัพเข้าตีเมืองพระนครในช่วงเวลาอ่อนแอที่สุดของจามปา และทรงได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่เหนือสมรภูมิทางน้ำที่ปราสาทพระขรรค์
.
      ในยามนี้พระองค์ทรงรังเกียจระบอบเทวราชาของฮินดูเสียแล้ว เพราะมันเปื้อนด้วยเลือด”พสกนิกร”ของพระองค์เอง !!!
.
      ระบอบการปกครองที่ทั้งศัตรูกบฏและพวกจามได้มาสวมรอยใช้ปกครองผู้คนในอาณาจักรที่ควรจะเป็นของพระองค์โดยชอบธรรม
.
     ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกา มหายานและวัชรยานตันตระ จึงเป็นตัวเลือกใหม่ ตัวเลือกที่จะต้องเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ ที่สามารถแทนความหมายการแผ่พระราชอำนาจแห่งองค์กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และไม่เคยพ่ายแพ้เช่นพระองค์

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-9-26 08:31
.
       กษัตริย์ต้องยิ่งใหญ่กว่าเทพเจ้าใด ๆ ในศาสนาฮินดูเดิม แต่เถรวาทและมหายาน ไม่อาจตอบสนองความต้องการของพระองค์ได้
.
       เมื่อ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองแผ่นดิน พระองค์จึงได้เลือกพุทธศาสนานิกาย "วัชรยานตันตระ" ที่มีเรื่องราวของเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลังอำนาจเหนือเหล่าเทพเจ้า มาใช้เป็นระบอบการปกครองใหม่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์
.
       อาณาจักรใหม่ ที่ไม่เคยโดนช่วงชิงหรือเคยพ่ายแพ้แก่จามปา อาณาจักรแห่งพระโพธิสัตว์สูงสุด และพระองค์ก็คือพระโพธิสัตว์พระองค์นั้น!!!
.
     ด้วยปรัชญาของนิกายวัชรยานตันตระเปิดโอกาสให้คนธรรมดาสามารถบำเพ็ญบารมีขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์สูงสุดเหนือพระศากยมุนีได้  ในขณะที่พระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายานนั้นจะอยู่ใต้พระสมณโคดม ยิ่งเป็นศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทลังกาแล้ว ไม่มีใครยิ่งใหญ่เท่าพระศากยมุนีเจ้าในโลกมนุษย์ได้อีกแล้ว
.
       วัชรยานตันตระมีส่วนผสมของฮินดูตันตระในรายละเอียดการบำเพ็ญภาวนาและท่องสวดมนตรา เหล่ามานุษิพุทธะและโพธิสัตว์พุทธะ ล้วนมีอำนาจเหนือเทพเจ้าฮินดู  เช่นพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัยต้องคอยกำหราบพระศิวะ  พระหริหริวาหนะอยู่เหนือพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์มาริจี มีอำนาจขนาดสามารถทำลายล้างพระพรหมได้!!!
.
      เมื่อมองกลับมาที่ปราสาทหน้าบุคคล 4 ทิศ จำนวนกว่า 29 ยอด อันเป็นเอกลักษณ์ของอังกอร์ธม ที่มัคคุเทศก์ส่วนมากจะอธิบายกันว่า เป็นภาพ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" และเป็นเค้าพระพักตรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
.
.
       พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สถาปนาพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดเหนือเหล่าพระโพธิสัตว์ และธยานิพุทธ ทั้ง 5 พระองค์ (หนึ่งในนั้นคือพระพุทธเจ้าในมหายานในนาม พระอมิตาภะ)   นั่นคือพระองค์ทรงเป็นดั่ง “พระมหาไวโรจนะ” หรือพระ ”อาทิพุทธ” พระพุทธเจ้าสูงสุดแห่งจักรวาลสากลนั่นเอง
.
       และใบหน้าของเหล่ารูปเคารพพระโพธิสัตว์วัชยานทุกองค์ก็คือใบหน้าของพระองค์เช่นกัน พระองค์จึงสถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง!!!
.
.
      วัชรยานตันตระ ให้ความสำคัญกับพลังแห่งเพศหญิงที่เป็นพลังเบื้องหลังของบุรุษ เช่นเดียวกับฮินดูตันตระ  จึงเกิดรูปเคารพหญิงขึ้นมาแทนมโนภาพ " ติ้งต่าง "  หรือ " บุคคลาฐิษฐาน "  ในพิธีกรรมการสวดภาวนามนตรา  พลังหรือศักติของเพศหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ “พระนางปรัชญาปารมิตา”มโนคติในเรื่องของปัญญาอันเลิศล้ำ
.
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พลังแห่งหญิงเป็นเกื่อหนุนอำนาจแห่งเพศชายเสมอ !!!
.
      รูปเคารพของวัชรยาน ไม่ใช่รูปเคารพเพื่อการกราบไหว้บูชาครับ เป็นเพียงมโนภาพบุคคลาฐิษฐาน เพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายพระธรรม  รูปเคารพแต่ละรูปจะทำหน้าที่แค่เป็นองค์ประกอบในการ " เพ่งมอง " สวดมนตรา การใช้ท่ามุทราและมณฑลบูชา ซึ่งเป็นวิถีศาสนกิจของวัชรยานตันตระ
.
      วัชรยานตันตระยังบัญญัติให้มีการใช้เวทย์มนตร์ เรียกว่า “ธารณี” ประจำหรือเฉพาะองค์พระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าองค์ต่าง ๆ  ซึ่งมนตรานั้นจะเป็นภาษาลับที่เรียกว่า “ตันตระ” แตกต่างกันไปในแต่ละองค์
.
       ซึ่งในทางชั่วร้าย มนตราอาถรรพ์เวทย์ก็ถูกนำมาใช้เพื่อการ "สาปแช่ง" ดังปรากฏเป็นหลักฐานจารึกสาปแช่งข้าราชการที่คิดคดทรยศและศัตรู อยู่หลายแห่ง
.
      อีกทั้งยังมีการบัญญัติ “มุทรา” หรือการกรีดนิ้วแสดงท่ายกมือดุจปางของพระพุทธรูป ซึ่งมีมากกว่า 250 มุทรา เป็นการเครื่องหมายหรือท่วงท่าแห่งอำนาจลี้ลับ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมีท่ามุทราผสมกันต่อเนื่องหลายมุทรา เป็นภาษาลับเฉพาะองค์ ท่ากรีดนิ้วมุทราที่สำคัญคือ สมาธิมุทรา อภัยมุทรา วิตรรกะมุทรา ฯลฯ
.
     นอกจากนี้ วัชรยานตันตระยังมีการบัญญัติ "มณฑลบูชา" หรือ "มนตรเวที " เพื่อการบูชาพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่ง มีกฎเกณฑ์แบบแผนของเครื่องบูชา การจัดบริเวณพิธี อุปกรณ์และ การใช้ " ยันต์มันดารา " (Mandala)
.

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-9-26 08:32
มหาปราสาทอังกอร์ "ธม" ก็คือมณฑลมันดารายักษ์ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นมุดตอกมหึมาบนพื้นพิภพเพื่อจุดประสงค์ในการปกครองพระราชอาณาจักรของพระองค์ เฉกเช่นผู้ครอบครองจักรวาลสูงสุด ครับ !!!!
.
.
       ผังของปราสาท "ประธาน"  มีการสร้างเป็นอาคารรูปวงกลมเป็นครั้งแรกในศิลปะแบบเขมร ตามแบบมณฑลตันตระ เช่นเดียวกับที่ ปราสาทนาคพันที่มีปราสาทรูปวงกลมอยู่กลางมหาสมุทร รายล้อมด้วยสระสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ทิศ
.
.
      มณฑลบูชาขนาดใหญ่นี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบูชา "พระมหาไวโรจนะ" โดยตรง ยอดปราสาทคือใบหน้าของพระองค์อันหมายถึงทรงเป็นพระมหาไวโรจนะผู้ยิ่งใหญ่เหนือเหล่าเทพเจ้าดั่งเดิม เหนือพระพุทธเจ้า มานุษิพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งมวลในคติศาสนานั่นเอง
.
      ยันต์มันดาราขนาดใหญ่ของวัชรยานตันตระนอกจากที่นครธมแล้ว ยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่มีการใช้คติปรัชญาของวัรยานตันตระในการสร้างยันต์ยักษ์ขนาดใหญ่ เพื่อประกาศอำนาจแห่งอาณาจักร
.
     นั่นคือมหามันดารา " บุโรพุทโธ " ในเกาะชวากลางของประเทศอินโดนิเชียครับ !!!
.
.  
    วัชรยานแบบชวา ในพุทธศตวรรษที่ 15 ดูจะคงแบบแผนดั่งเดิมตามบัญญัติและหลักคำสอนของวัชรยานตันตระจากนาลันทาหรือโอริสาในอินเดียมากกว่าวัชรยานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18
.
     ในขณะที่วัชรยานแบบของเขมร ซึ่งอยู่ในสมัยหลังกว่า มีการประยุกต์สร้างรูปโพธิสัตว์มีอำนาจเพิ่มเติมหลายองค์ เช่น พระโลเกศวรเปล่งรัศมี  นางปรัชญาปารมิตา พระวัชรสัตว์พุทธะ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระวัชรธร ฯลฯ แต่ในบุโรพุทโธของชวากลาง กลับนิยมสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธยานิพุทธะและให้พระอาทิพุทธะอยู่ในฐานะพระพุทธเจ้าสูงสุดของมณฑลมันดารา แผนผังจักรวาลที่ชวาจึงคล้ายคลึงกับนิกายวัชรยานสายที่แพร่ไปทางธิเบตและเนปาลมากกว่าของกัมพูชา
.
     แผนผังมณฑลมันดาราของปราสาทนครธมมีแบบแผนมาจากการก่อสร้างปราสาทแบบฮินดูเพื่อบูชาเทพเจ้าในยุคก่อนหน้า จึงเกิดการผสมผสานการวางผังมณฑลของจักรวาลรูปผังสี่เหลี่ยมกับรูปวงกลมได้อย่างลงตัว
.
      หากจะบอกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศรัทธาในพุทธศาสนาลัทธิมหายานอย่างที่พูดกันบ่อยครั้ง ก็เห็นจะผิดจากความเป็นจริงไปมาก เพราะพระองค์นิยมในคติวัชรยานตันตระเพื่อนำมาใช้กำหราบลัทธิการปกครองแบบเทวราชเดิมที่พวกจามเอาไปใช้ในช่วงที่ยึดครองเมืองพระนครของพระองค์
.
      ปราสาทที่สร้างในสมัยของพระองค์จะมีก็แต่รูปในศิลปะเทพเจ้าฮินดูที่ถูกนำมาใช้ตกแต่งเป็นเทพชั้นรอง และเหล่าพระโพธิสัตว์รวมทั้งพระพุทธเจ้าพระอมิตาภะปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้วและปางนาคปรก  แต่ไม่เคยพบรูปสลักพระสงฆ์ในชีวิตประจำวันโกนศีรษะ ทั้งที่ก็มีรูปสลักแสดงชีวิตประจำวันของชาวเขมรอยู่ในระเบียงของปราสาทใด ๆ

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-9-26 08:33
.
     หรือพระสงฆ์ในอาณาจักรของพระองค์ก็คือเหล่าพราหมณ์ตันตระที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นผู้ทำพิธีไสยศาสตร์และเวทมนตร์ในพิธีกรรมเร้นลับของวัชรยานตันตระมากกว่าจะเป็นพระสงฆ์แบบที่เราเห็นในปัจจุบัน
.
      พระสงฆ์มีผมแบบพราหมณ์ ถือวัชระสามง่ามและกระดิ่ง !!!
.
      พิธีกรรมลี้ลับแห่งตันตระจะช่วยให้อำนาจของพระองค์บรรลุเป้าหมาย ในทางโลก คือได้ครอบครองพระราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ตลอดกาล
.
.     
      เมื่อสิ้นสมัยของพระองค์ คติศาสนาฮินดูก็กลับมามีอิทธิพลต่อราชสำนักเช่นเดิม เพราะพระมหาไวโรจนะได้ดับสูญไปพร้อมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว
.
      แสดงให้เห็นว่าคติความเชื่ออันเป็นรากฐานของเมืองพระนครไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากลัทธิฮินดู ไศวะนิกายหรือไวษณพนิกายมาเป็นพุทธศาสนามหายานอย่างที่อธิบายกันในทางวิชาการ
.
       เพียงแต่ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์แค่นำเอาปรัชญาของวัชรยานตันตระมาใช้เป็น "ระบอบ" ในการปกครอง ในการสร้างพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมเท่านั้น
.           
        ถึงแม้จะมีการทุบทำลายรูปเคารพที่เป็นพระมหาไวโรจนะหรือที่เรามองเป็นรูปสลักพระพุทธเจ้าปรากฏกระจายตัวไปทั่วในเขตเมืองพระนครธม แต่ก็มีลักษณะของการเลือกทุบทำลาย เพราะไม่ได้มีการทำลายพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ
.
.
       นั่นก็แสดงให้เห็นว่า  การเลือกทุบทำลายรูปสลักพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีความขัดแย้งรุนแรงในคติความเชื่อศาสนา อย่างที่เคยเข้าใจกัน
.
      แต่เพราะกษัตริย์พระองค์ต่อมาที่เป็นพระราชโอรส คงต้องการแก้ไขหรือถอดมนตราอำนาจลี้ลับตันตระ และคงไม่อยากให้พระมหาไวโรจนะของพระราชบิดา มายิ่งใหญ่กว่าพระศิวะหรือพระวิษณุ อันเป็นระบอบการปกครอง
เทวราชรากฐานของพระราชอาณาจักรนั่นเอง !!!!   
.
      การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุดของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ส่งผลมาถึงศิลปวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นั่นคือการรับเอาคติที่พระมหากษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้เข้ามาสู่คติพื้นฐานทางพุทธศาสนา
.
       แต่พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทลังกาหรือหินยานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ยอมให้ใครยิ่งใหญ่ไปกว่าพระศากยมุนีเจ้าอีกแล้ว  ในสมัยต้นอยุธยา รัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคสุวรรณภูมิจึงได้สร้างเรื่องพุทธประวัติตอนปราบ "ท้าวชมพูบดี" ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับรูปเคารพและคติพระทรงเครื่องกษัตริย์ของวัชรยานตันตระที่กระจายตัวอยู่ทั่วดินแดนที่เคยอยู่ในอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เดิม
.
.
        ถึงจะไม่ให้พระมหากษัตริย์ยิ่งใหญ่ไปกว่าพระพุทธเจ้าศากยมุนี แต่เถรวาทก็มี "กลบท" อันแยบยล ให้กษัตริย์สามารถเลี่ยงบาลีมา "เทียบเท่า" พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ในทางโลกได้ ในรูปแบบพระทรงเครื่องกษัตริย์ หรือพระพุทธจักรพรรดิราช !!!!

ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=92513

โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-10-1 07:18

โดย: bigbird    เวลา: 2013-10-1 11:47
ไปอีกซักกะทีดีมั้ยก๊าบเปิดพาสปอร์ทดูแล้วหมดต้นปีหน้า
โดย: รามเทพ    เวลา: 2013-10-28 08:10



โดย: Nujeab    เวลา: 2013-10-28 10:16
กราบสักการะองค์เสด็จพ่อ สาธุ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:24
“พระชัยพุทธมหานาถ”
พระพุทธปฏิมากรนาคปรก
พลานุภาพแห่งจักรวรรดิบายน


โดย คุณศุภศรุต
http://www.oknation.net/blog/voranai





         คติความเชื่อของการสร้างรูปเคารพพระศากยมุนี ที่มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอยู่ด้านบนนั้นแรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ได้มีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมของเขมรโบราณนะครับ แต่มีพื้นฐานสำคัญมาวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในอินเดีย ที่เกิดขึ้นมาจาก “พุทธประวัติในตอนตรัสรู้”  ที่มีการกล่าวถึงพญานาค “มุจลินท์”  (Mucalinda Serpent) ผู้เป็นราชาแห่งเหล่านาคราช ที่ขึ้นมาแผ่พังพานเสมือนดั่งเป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น ปกคลุมเบื้องบน แล้วม้วนตัวทำเป็นขนดนาคล้อมพระวรกายอีก 7 ชั้น มิให้ลมพายุฝน แมลงร้ายและลมหนาวถูกต้องพระวรกายองค์พระศากยมุนีเจ้า






         สอดรับเข้ากันกับตำนานเก่าแก่ของชาวกัมพุชเทศโบราณ ที่ถือว่า “นาค” หรือ “นาคราช” เป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ปกปักษ์รักษาอาณาจักรเขมรมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังนิทานพื้นบ้านที่กล่าวถึงเรื่องราวของ “นางโสมะ” ผู้เป็นธิดานาคราช ได้อภิเษกสมรสกับ “โกญฑัญญะ” (แปลว่า ผู้มีเกาทัณฑ์วิเศษ) วรรณะพราหมณ์จากอินเดีย และพญานาคราชผู้เป็นพระราชบิดาของนางโสมะก็ได้ช่วยสร้างอาณาจักรกัมโพชขึ้นให้กับทั้งสอง




         การวางองค์ประกอบของรูปประติมากรรมพระนาคปรกแบบลอยตัวในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ที่ถือเป็นช่วงแรกของการ “เคลื่อนย้าย” (Movements) หรือ “ลอกเลียน” (Imitates) ประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนาจากวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสู่ภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นครั้งแรก ๆ จะวางรูปของพระศากยมุนีในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับนั่งบนบัลลังก์ขนดนาค ด้านบนวางเป็นรูปของพญานาคามุจลินท์ 7 เศียร (Seven-headed serpent) แผ่พังพานแยกออกเป็นร่มฉัตร ที่ด้านข้างทั้งสองฝั่งวางเป็นรูปของยอดพระสถูป

         รูปประติมากรรมพระนาคปรกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค น่าจะเป็นรูปพระนาคปรกที่พบที่เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี  กับพระพุทธรูปนาคปรกที่พบจากบ้านเมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่  11 และพระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12



โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:26



         ส่วนในอาณาจักรกัมพุชเทศะโบราณ เริ่มปรากฏรูปของประติมากรรมพระนาคปรกครั้งแรก ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 โดยอิทธิพลของราชวงศ์มหิธระปุระ ที่มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมเถรวาทแบบทวารวดี เป็นพระนาคปรกในช่วงศิลปะแบบบาปวน (Baphuon Style) มีลักษณะของพระศากยมุนีนั่งขัดสมาธิราบในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับบนบัลลังก์ขนดนาค 3 ชั้น ที่ขยายขนดให้ใหญ่ขึ้นทีละชั้น ที่พระวรกายยังไม่มีการประดับอาภรณ์แบบพระทรงเครื่อง แต่ละรูปสลักจะมีรูปใบพักตร์ (หน้า)แตกต่างไม่คล้ายคลึงกัน อุษณีษะ (อุณหิส – พระเกตุมาลา )เหนือพระเศียรบางรูปทำคล้ายเป็นรัดเกล้ารูปกรวยแหลม บ้างก็เป็นขมวดพระเกศาต่อขึ้นไปจากพระเศียร หรืออาจอาจทำเป็นรัดเกล้ารูปกลีบบัวซ้อนขึ้นไปหลายชั้น  




ลักษณะของพญานาค 7 เศียร จะทำดูเหมือนยกตัวขึ้นมาจากด้านหลังของพระวรกาย แผ่พังพานคล้ายรูปใบโพธิ์ยอดแหลม เริ่มแผ่ตัวจากส่วนต้นแขนขึ้นไปเหนือพระเศียร เศียรนาคไม่มีรัศมีหรือกะบังหน้าประกอบ เศียรนาคตรงกลางเงยหน้าเชิดตรง หรือมองมาทางข้างหน้า ส่วนเศียรนาคด้านข้างทั้งหกเศียรก็หันหน้าสอบขึ้นไปตามแนวแผ่ข้าง มองขึ้นไปยังเศียรกลาง หรือบางรูปก็จะเอียงเศียรออกมาทางด้านหน้าในแนวสอบเข้าอย่างเดียวกัน




        ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 รูปประติมากรรมพระนาคปรก เริ่มได้รับอิทธิพลทางคติความเชื่อในลัทธิมหายาน นิกายวัชรยานตันตระ (Vajrayana Tantra) ที่มีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 14 เกิดเป็นความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปของ “พุทธราชา” หรือ “พระอาทิพุทธเจ้า” ที่มีการประดับรูปเครื่องอาภรณ์แบบกษัตริย์หรือที่เรียกว่า “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” (Crowned Buddha) ขึ้นเป็นครั้งแรกของศิลปะเขมร โดยมีการใส่เครื่องประดับศิราภรณ์ทั้งกะบังหน้า มงกุฎรูปกรวยครอบพระเศียรที่เคยเป็นเพียงขวดพระเกศา สลักรูปของกุณฑล (ตุ้มหู) ที่ปลายพระกรรณทั้งสองข้าง ส่วนของพระวรกาย ก็สลักเป็นรูปแผงกรองพระศอประดับด้วยลายดอกไม้ตรงกลางและมีพู่อุบะห้อยอยู่ด้านล่าง ที่พระพาหา (แขน) ยังสลักเป็นรูปพาหุรัด ที่ต้นแขน และรูปทองพระกร ที่ข้อมือ

         รูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องในยุคนครวัด (Angkor Wat Stayle) แทนความหมายถึง “ชินพุทธะ – มหาไวโรจนะ” พระพุทธเจ้าสูงสุดผู้เป็นราชาแห่งเหล่าตถาคตหรือเหล่าพระพุทธเจ้าทั้งมวล หรืออาจเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า “พระวัชรสัตว์พุทธะ” ครับ




         รูปลักษณ์ทางศิลปะในยุคบาปวนจนถึงนครวัด ก็ยังได้ถูกส่งต่อมายังพระพุทธรูปนาคปรกในยุคจักรวรรดิบายน ที่มีการสร้างรูปประติมากรรมของพระนาคปรกขึ้นอย่างมากมายจนดูเหมือนว่าจะเป็น "แบบแผนพุทธลักษณะ"หลักของการสร้างรูปประติมากรรมทั้งหมดครับ

        ลักษณะของพระปฏิมานาคปรกในรูปแบบของศิลปะบายน กลับไม่ค่อยจะนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องมากนัก จะมีให้เห็นบ้างก็ประปราย รูปพระนาคปรกในยุคบายนนี้ยังคงนิยมที่จะสลักกุณฑล (ตุ้มหู) ที่ปลายพระกรรณเช่นเดียวกับในยุคก่อนหน้า รูปประติมากรรมพระนาคปรกแบบบายนจะแยกออกได้ 2 แบบใหญ่ นับจากส่วนของพระเศียรเป็นหลัก คือแบบที่มีอุษณีษะ หรือพระเกตุมาลาเป็นมวยพระเกศารูปรัดเกล้ายอดแหลม ประดับด้วยกลีบบัว คล้ายเอาดอกบัวบานมาวางซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้น  มีขมวดพระเกศาทั้งแบบม้วนก้นหอยหรือแบบเกล็ดซ้อนไล่ไปตามแนว บางรูปสลักที่มีอุษณีษะลักษณะนี้ก็อาจสวมศิราภรณ์มีกะบังหน้าแต่ก็จะไม่กว้างมากนัก




         ประติมากรรมรูปพระนาคปรกแบบที่สอง ขมวดพระเกศาจะเป็นก้นหอยเรียงตัวเป็นตาราง ที่พระเศียรจะไม่มีมวยพระเกศาหรืออุษณีษะ จะเป็นเพียงแต่ยอดแหลมเล็ก ๆ ยื่นขึ้นมาจากยอดกระหม่อมคล้ายกับปลายของ “ขนมโมทกะ”  (Modak) ของโปรดขององค์พระคเณศ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:27



       ลักษณะพระพักตร์ของรูปประติมากรรมพระนาคปรกในยุคบายนนี้ มีเค้าหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีสีพระพักตร์ดูอ่อนโยน มีรอยยิ้มมุมปากแสดงความเมตตากรุณา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยิ้มบายน” (Bayon Smile) เป็นแบบแผนสำคัญ คล้ายคลึงกันไปทั่วทั้งจักรวรรดิบายน แต่ถึงแม้ว่ารูปสลักที่สร้างขึ้นในดินแดนที่ห่างไกลจากเมืองพระนครธม หรือรูปสลักพระพุทธรูปในยุคหลัง จะมีความแตกต่างของเค้าโครงพระพักตร์ไปอยู่บ้าง หรือแตกต่างมาก แต่ทั้งหมดก็ยังล้วนแสดงให้เห็นร่องรอยของการสืบทอดรูปของพระพักตร์ที่นิ่งสงบ ดูเคร่งขรึม มีรอยยิ้มเล็ก ๆ ที่ตรงมุมปาก ส่งต่อจากจักรวรรดิบายนมาสู่แว่นแคว้นโบราณในภาคกลางของประเทศไทยอย่างชัดเจนครับ

        ในช่วงสมัยอันรุ่งเรืองของจักรวรรดิบายนที่ยิ่งใหญ่ มีการสร้างพระพุทธปฏิมา(นาคปรก) ขึ้นจำนวนมาก ดังหลักฐานที่ปรากฏในข้อความของจารึกปราสาทพระขรรค์ (Preah Khan Inscription) ที่กล่าวถึงการสร้างประติมากรรมรูปเคารพเพื่อนำไปถวายประดิษฐานทั้งในปราสาทพระขรรค์ ราชวิหารประจำหัวเมืองต่าง ๆ  ของจักรวรรดิ โดยได้ทรงสร้างรูปพระโพธิสัตว์โลเกศวร ถวายพระนามว่า “ศรีชยวรเมศวร” (ซึ่งก็อาจจะเป็นรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีที่พบในปราสาทพระขรรค์ ที่มีเค้าใบพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7)  อีกทั้งรูปของ “ชยมังคลารถจูฑามณี” (ซึ่งอาจเป็นรูปของพระนางปรัชญาปารมิตา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมนต์ ประเทศฝรั่งเศส) รูปของ “พระสุคต ศรีวีรศักดิ์" รูปของ “พระสุคต ศรีราชปตีศวร” และรูปของ “พระปราศยมุนีนทร” หรือพระพุทธเจ้าแห่งบูรพาทิศ (ซึ่งทั้งหมดควรเป็นรูปของพระปฏิมานาคปรกแบบไม่มีอุษณีษะอย่างที่พบที่เมืองพิมาย)

ในจารึกยังกล่าวถึงการถวายรูปประติมากรรมประจำอโรคยศาลา 3 องค์ (คือรูปบุคลาธิษฐานของพระไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต พระ(โพธิสัตว์)ศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และพระ(โพธิสัตว์)ศรีจันทรไวโรจนโรหินีศะ) พระรัตนตรัยในดินแดนสามแห่ง คือ ศรีชยันตปุระ วินธยปรรวต และมรคัลปุระ และทรงถวายรูป ”พระชัยพุทธมหานาถ” (พระผู้เป็นใหญ่ ชนะเหนือทุกสรรพสิ่ง - โลภะ โทสะ โมหะ) จำนวน 23 องค์เพื่อการสักการบูชาซึ่งน่าจะเป็นรูปของพระปฏิมานาคปรกตามแบบศิลปะของพระนาคปรกประธานแห่งปราสาทบายน ให้ไปประดิษฐานไว้ในราชวิหารของเมือง รวมทั้งยังทรงให้ส่งพระ “สุคต วิมายะ” ไปยังเมืองพิมาย อีกด้วย

         “พระชัยพุทธมหานาถ” (Jaya Buddha mahanart) ที่กล่าวถึงในจารึก จะมีรูปลักษณะหน้าตาอย่างไร ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนนัก ที่พอจะเข้าใจกันในปัจจุบันก็คือ ได้เคยมีการค้นพบรูปของพระนาคปรกในยุคจักรวรรดิบายนทั้งสองแบบ (แบบอุษณีษะและแบบโมทกะ) ตามหัวเมืองที่ปรากฏชื่อเมืองในจารึกปราสาทพระขรรค์ เทียบเคียงกับร่องรอยเมืองโบราณในยุคเดียวกัน ทั้งชื่อของ “ชยวัชรปุระ” ที่อาจมีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี “ชยราชปุรี” มีราชวิหารเป็นศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุราชบุรี  “ชยสิงหปุระ” หรือปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี  “สุวรรณปุระ” ที่เมืองโบราณเนินทางพระ จังหวัดสุพรรณบุรี “ลโวทยปุระ” หรือเมืองโบราณลพบุรีและ”ศัมพูกปัฏฏนะ” เมืองโบราณข้างสระโกสินารายณ์ ในจังหวัดราชบุรี

         และเมื่อดูจากหลักฐานรูปพระนาคที่พบในทั้ง 6 เมืองโบราณในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ลพบุรี แทบทั้งหมดจะเป็นพระนาคปรกในรูปแบบที่มีอุษณีษะรัดเกล้ากลีบบัวยอดแหลมแทบทั้งสิ้น ส่วนพระพุทธรูปแบบที่มียอดมวยพระเกศาแหลมแบบขนมโมทกะ พบเป็นจำนวนน้อยมาก เฉพาะในเขตเมืองพิมายออกไปทางอีสานใต้ (หรือไปพบที่ทรายฟอง ในเขตเวียงจันทน์) เท่านั้น   

และเมื่อคิดถึงคติความเชื่อ รูปลักษณะทางศิลปะและ “ความหมาย”  (Meaning) ที่เป็นเหตุผลกำกับการส่งรูปพระชัยพุทธมหานาถให้ไปเป็นพระประธานหลักในราชวิหารของเมืองต่าง ๆ กลุ่มชายขอบของจักรวรรดิบายน เชื่อมต่อกับการประดิษฐานรูปประติมากรรมพระนาคปรกขนาดใหญ่คู่จักรวรรดิที่ปราสาทบายน รวมทั้งรูปพระนาคปรกจำนวนมากที่ปราสาทบันทายกุฎี และปราสาทตาพรหม ก็น่าจะหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รูปลักษณะทางศิลปะของพระพุทธรูปนาคปรกทั้ง 23 องค์ ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับรูปศิลปะของพระประธานใหญ่แห่งจักรวรรดิ นั่นคือเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่ที่มีอุษณีษะ (พระเกตุมาลา) ยอดแหลม ในแบบของฝีมือช่างหลวง ที่ถูกแกะสลักขึ้นที่เมืองพระนครธมแล้วค่อยส่งออกไปตามหัวเมืองดังชื่อที่ปรากฏในจารึก ซึ่งก็คงไม่ได้มีเพียงพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คงมีพระพุทธรูปนาคปรกขนาดเล็กใหญ่ฝีมือช่างหลวงอีกหลายแบบที่ถูกจัดส่งออกไปพร้อม ๆ กันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่การจัดส่งนั้นจะถึงที่หมายปลายทางหรือไม่ หรือได้ไปประดิษฐานที่ในวิหารประจำ (สรุก)เมืองตามที่สลักจารไว้บนจารึกหรือเปล่า ตรงนี้ก็คงต้องอาศัย “จินตนาการ” มาช่วยคิดกันต่อเติมกันบ้างแล้วครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:28



        เมื่อพระพุทธรูปนาคปรกในความหมาย “เสาหลักแห่งนครา” ในรูปแบบของพระพุทธเจ้าสูงสุดผู้ทรง “มหาพลานุภาพ” ที่ถูกเชื่อมโยงกันและกันไปจาก “ศูนย์กลาง”แห่งจักรวรรดิ ถูกแกะสลักด้วยฝีมืออันประณีต ส่งออกไปยังหัวเมืองชั้นนอกของจักรวรรดิ อันได้แก่บ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ลพบุรี เรื่อยขึ้นไปจนถึงสุโขทัย ที่ล้วนถูกผนวกรวมเข้ามาภายใต้การปกครองเดียวกันของราชวงศ์มหิธระปุระ รูปประติมากรรมพระนาคปรกจำนวนมากอาจถูกสร้างขึ้นที่เมืองลวปุระ เลียนแบบรูปสลักฝีมือช่างหลวงที่ส่งมาถึงแต่มีจำนวนไม่เพียงพอ ให้กับบ้านเมืองสรุกย่อยในกลุ่มของแว่นแคว้น  เช่นเดียวกับกลุ่มบ้านเมืองสุวรรณปุระที่เนินทางพระก็อาจเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับรูปพระนาคปรกฝีมือช่างหลวงมาอย่างล่าช้าและมีจำนวนน้อย จึงได้แกะสลักเลียนแบบฝีมือช่างหลวง (Master) ทั้งแบบองค์ใหญ่และองค์เล็กขึ้นอีกเพื่อส่งต่อไปยังชุมชนใหญ่น้อยในการปกครองอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งรูปสลักเลียนแบบนี้ก็อาจมีความเหมือนบ้างไม่เหมือนบ้าง แต่กระนั้นก็ยังคงรักษารายละเอียดรูปลักษณะแบบบายน ที่มีเค้าโครงพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไว้ในคราวแรก ๆ  แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานนัก ช่างท้องถิ่นก็ได้เริ่มนำเอารายละเอียดของพระพุทธรูปในศิลปะแบบเถรวาท – มหายานของวัฒนธรรมทวารวดีเข้ามาผสมผสานมากขึ้น

          และเมื่อแก่กาลเสื่อมสลายของจักรวรรดิบายนที่มีอายุรวมแล้วยังไม่ถึง 70 ปี ขนาดรูปพระปฏิมานาคปรกแห่งจักรวรรดิในเขตชั้นในทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกือบทั้งหมดก็ยังถูกทุบทำลาย รื้อถอนเคลื่อนย้ายแล้วยังนำไปฝังทิ้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายราชโอการแล้ว รูปเคารพประธานแห่งนคราที่แสดงอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในความหมายของบ้านเมืองที่อยู่ภาย “ใต้” การปกครองเดียวกัน จะไปเหลืออะไร นอกจากจะประสบชะตากรรมเดี่ยวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือถูกทุบทำลาย เคลื่อนย้ายออกจากศาสนสถานศูนย์กลางของบ้านเมืองแว่นแคว้น ไม่แตกต่างไปจากโศกนาฏกรรมที่เมืองพระนครธม

         แต่การเคลื่อนย้ายและทุบทำลายในหัวเมืองตะวันตกที่แยกตัวปลดแอกออกจากจักรวรรดิที่เสื่อมสลาย ไม่ได้มีความรุนแรงแบบขุดรากถอนโคนเช่นที่พบตามปราสาทราชวิหารในเขตอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8  รูปประติมากรรมพระนาคปรกจำนวนมาก ถูกเคลื่อนย้ายจากศาสนสถานในยุคบายนนำมาใช้ประโยชน์ต่อโดยการดัดแปลงรูปลักษณ์ทางศิลปะตามแบบช่างหลวงของแว่นแคว้น หลายรูปถูกลงรักปิดทอง หลายรูปก็ถูกเพียรแกะสลักขึ้นมาใหม่ โดยยังคงร่องรอยของพระพักตร์แบบพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ดูเคร่งขรึม แสดงความมีเมตตากรุณา และ “รอยยิ้ม”แบบบายนที่มุมปากรวมทั้งยังคงรักษาพุทธลักษณะสำคัญสืบทอดต่อมาจาก “ต้นแบบ” ของพระปฏิมานาคปรกแบบบายนแต่ใส่รายละเอียดของพระพุทธรูปแบบเถรวาทพุกามอันเป็นคติความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อแว่นแคว้นบ้านเมืองในภูมิภาคเพิ่มเติมเข้าไปอีก

        จึงน่าจะเป็นที่แน่ชัดในระดับหนึ่งว่า รูปของ “พระชัยพุทธมหานาถ” หรือ “พระผู้ชนะทุกสรรพสิ่ง” ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์นั้น ก็คือรูปประติมากรรม “พระพุทธรูปนาคปรกในรูปแบบที่มีอุษณีษะเป็นรัดเกล้ารูปกลีบบัวเป็นชั้นซ้อน” ไม่มีเครื่องประดับแบบพระทรงเครื่องยกเว้นกุณฑลที่ปลายพระกรรณ มีพระพักตร์ที่เพียงจะคล้ายคลึงกับรูปหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีพุทธศิลป์แบบเดียวหรือใกล้เคียงกันกับ “พระพุทธปฏิมากรนาคปรกขนาดใหญ่” องค์ประธานหลักแห่งมหาปราสาทบายน พระพุทธเจ้าสูงสุดผู้ทรงอำนาจ พลานุภาพคู่จักรวรรดิบายน

         ส่วนรูปประติมากรรมพระนาคปรก ในรูปแบบที่มีมวยพระเกศาเป็นแบบก้นหอยใหญ่ ยอดพระเศียรไม่มีอุษณีษะ เป็นเพียงยอดปลายแหลมคล้ายรูปขนมโมทกะ และมีเค้าโครงของใบพระพักตร์เหมือนกับพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อยู่ในรูปของพระพุทธรูปปางนาคปรกนั้น ก็ควรจะเป็นรูปประติมากรรมของ “พระสุคต” ตามพระนามที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ สอดรับกับพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในเมื่อหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตบท” ที่มีความหมายถึง “พระผู้บรรลุ(สู่ธรรม)อย่างสูงสุด – อย่างถ่องแท้” อันอาจเป็นรูปลักษณ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในฐานะของ “พระมานุษิพุทธะ” หรือ “มนุษย์ผู้ผู้บรรลุสู่ธรรมเฉกเช่นเดียวกับพระศากยมุนี” หรืออาจแสดงว่าพระองค์นั่นเองนั่นแหละก็คือพระศากยมุนีในเวลานั้น
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:29



         ประติมากรรมรูปเคารพที่มีเค้าหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงมีหลายรูปแบบ ทั้งรูปเคารพทางคติความเชื่อและรูปเหมือนจริง รูปเคารพแบบงแรกคือรูป “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” ที่มีความหมายว่าพระองค์ก็เป็นดั่งพระโพธิสัตว์ “สมันตมุข” ผู้โปรดช่วยเหลือแก่มวลมนุษย์ทั้งปวง รูปประติมากรรม “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี”  มีความหมายว่าพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลานุภาพ เหนือทวยเทพในสกลจักรวาลและสรรพสัตว์ทั้งมวล




          รูปแบบที่สองที่มีเพียง “เค้าพระพักตร์” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เพียง “คล้ายคลึง” คือรูปประติมากรรมของพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดน้อยใหญ่ ตามแบบที่มีอุษณีษะหรือพระเกตุมาลา ในความหมายว่า พระองค์คือส่วนหนึ่งในภาคของพระศากยมุนีผู้เป็นใหญ่และทรงพลานุภาพในทางธรรม




        ส่วนรูปแบบที่สามเป็นรูปเคารพที่มีความคล้ายคลึงกับพระศากยมุนีแบบเถรวาท แต่ไม่ “อาจหาญ” กล้าพอที่จะใส่มวยพระเกศาหรืออุษณีษะไว้ที่กลางกระหม่อม ตามแบบ “มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ” จึงทำเพียงรูป “เหมือน” ของพระพักตร์ ในรูปแบบของพระพุทธรูปปลายมวยผมแบบขนมโมทกะ นั่งขัดสมาธิราบในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับบนบัลลังก์ขนดนาค 3 ชั้น อย่างที่พบจำนวนมากในเขตชั้นใน และที่ปราสาทหินเมืองพิมาย และลพบุรี  รวมทั้งรูปที่ไม่มีนาคปรกอย่างที่พบที่เมืองทรายฟอง แขวงนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตามที่ปรากฏพระนามในจารึกว่า “พระสุคต” ในจารึกของปราสาทพระขรรค์ รูปเคารพนี้น่าจะมีความหมายถึง  “พระองค์ทรงบรรลุสู่พระนิพพาน บรรลุสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า” ดังพระนาม “มหาบรมสุคตบท” ภายหลังการสวรรคตของพระองค์




         และแบบสุดท้าย เป็น “รูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แบบลอยตัวโดยตรง” ในท่าประทับนั่งสมาธิ เอียงตัวก้มพระเศียรลงมาทางด้านหน้าเล็กน้อย พระเกศาหวีเรียบผูกเป็นมวยรัดเกล้าอย่างนักบวช นุ่งกางเกงขาสั้นรัดเข็มขัด พระเพลา (แขน) และพระหัตถ์ยกวางซ้อนกันอยู่ในมุทธาสมาธิ บางรูปสลักก็อาจอยู่ในท่าของ “อัญชลีมุทรา” (พนมมือ) ในระดับพระอุระ (อก) เพื่อถวายการเคารพพระชัยพุทธมหานาถ และบางรูปก็อาจอยู่ในท่าของการยกพระคัมภีร์ขึ้นอ่านหรือสวดมนตรา ในความหมายของการปฏิบัติโพธิญาณบารมี ซึ่งทั้งแบบรูปพนมมือและแบบรูปยกคัมภีร์ขึ้นอ่านนั้น ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการสายฝรั่งเศส ที่ยังคงไม่พบหลักฐานของส่วนแขนที่ (ถูกทุบทำลาย) หักหายไปอย่างชัดเจนนักในในปัจจุบันครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-11-13 07:31




        จากวันที่รุ่งเรืองของจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งของอุษาคเนย์ สู่กาลเวลาที่เสื่อมสลายทั้งจากอำนาจภายในที่ยอมลดขนาดของจักรวรรดิแห่งพระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเป็นอาณาจักรแห่งทวยเทพ เปิดโอกาสให้เหล่าพระญาติพระวงศ์และผู้ปกครองแว่นแคว้นแดนไกลนอกแดนกัมพุชเทศะแยกตัวออกไปจนหมดสิ้น  และโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญผ่านเรื่องราวการทำลายล้างพระพุทธปฏิมากรนาคปรกศิลปะแห่งบายน




         อำนาจแลพลานุภาพมากมายทั้งทางโลกและทางธรรมที่เพียรถูก “สมมุติ” สร้างขึ้นในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เพียงภายหลังจากการสวรรคตในเวลาไม่นาน ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงเหลือแต่เพียง “ความว่างเปล่า”

       รูปลักษณ์ของวัตถุและคำลวงที่ช่วยสร้างเสริมให้ดูยิ่งใหญ่ เป็นเสมือน “หัวโขนแห่งอคติ” ที่ทุกคนแสวงหาและภาคภูมิ ในวันหนึ่งของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามก็ย่อมจะเดินทางจากลาไปสู่กาลแห่งความเสื่อมสลายและดับสูญ

        ที่อาจจะคงเหลืออยู่บ้าง ก็คงเพียงว่า “มนุษย์” ผู้นั้นได้เคยสร้างสิ่งใดไว้ให้กับโลก ได้สมตามตำแหน่งของมายา “หัวโขน” ที่หลงใหลได้ปลื้ม ยึดติดเมื่อครั้งตอนอยู่มีชีวิตอยู่บนโลกกันอย่างไรบ้าง

         และเมื่อสิ้นสุด “กายสมมุติ” ลงไปสู่โลกนิรันดร์ที่ปลายภพ ผู้คนในรุ่นต่อไปจะเล่าขานเรื่องราวของมนุษย์ที่เคยมี “ชีวิต” อยู่ผู้นั้นอย่างไร

         ดังเช่นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เคยถูกสาปแช่งและทำลายล้างรูปเคารพอย่างรุนแรงในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8  ในวันนี้ ผู้คนจะเลือก “จดจำ” และ “เล่าขาน” สิ่งใดของเรื่องราวในอดีต

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1
โดย: Sornpraram    เวลา: 2013-12-29 08:45
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-29 08:49

ศิลาจารึกหลักศิลาจารึกปราสาทจอมพระ


คำแปลด้านที่ ๑


ผู้มีรูปเป็นธรรมกายและสัมโภคกายผู้มีอาตมันเป็นสองผู้หาอาตมันมิได้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระชินะผู้เป็นราชาแห่งรัศมี

แก่ประชาชนผู้อยู่แม้เพียงพระนาม พระศรีจันทรวโร- จนโรหิณีศะ ขอจงชนะที่เชิงเขาคือพระพุทธเจ้า

พระศรีชยะ วรมเทวะ พระศรีชยะวรมเทวะผู้เป็นโอรส (ของพระเจ้าธรณินทรวรมัน) ผู้ได้รับราชสมบัติ

เพราะพระจันทร์อันเยี่ยมยอด พระองค์ผู้มีพระบาท เหมือนดอกบัวเป็นเครื่องประดับ ผู้มีศัตรูอันพระองค์ทรงชนะแล้ว


คำแปลด้านที่ ๒


โรคทางร่างกายของปวงชนนี้เป็นโรคทางจิตเจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ของราษฎร
แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความ….ของเจ้าเมือง


พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้า และคงแก่เรียน ในอายุรเวท และอัสรเวท ได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธคือเภสัช เมื่อพระองค์ได้ชำระโทษของประชาชนทั้งปวง โดยรอบแล้ว ได้ชำระโทษแห่งโรคทั้งหลาย เพราะโทษแห่งยุค

พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ ไภษ์ชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองพระองค์โดยรอบเพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลหลังนี้

และรูป พระโพธิสัตว์ไภษ์ชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระสุคตด้วยดวงจันทร์คือพระหฤทัยในท้องฟ้า คือพระวรกายอันละเอียดอ่อนเป็นผู้ทำลายโรค คำแปลด้านที่ ๓ ส่วนสตรีสองคนเป็นผู้ตำข้าว บรรดาสตรีเหล่านี้เป็นผู้ให้สถิติ ส่วนบุรุษเหล่านั้น นับรวมกันอีก

รวมคนทั้งหมดเป็นเก้าสิบแปดคน ข้าวสารสำหรับเป็นเครื่องบูชาเทวรูป เครื่องพลีทานที่เหลือพึงให้ (แก่คนป่วย) ทุกปีสิ่งนี้ควรถือเอา (เบิกจาก) แต่ละอย่างในวันเพ็ญเดือนไจตระ เครื่องนุ่งห่มที่มีชายสีแดงอาหารโค ๒ ปละ (เทียนไข) ๕ ปละ เทียนสีผึ้ง ๗ ปละ คำแปลด้านที่ ๔ ชำรุดเสียหายมากไม่สามารถแปลได้

ที่มา....http://www.m-culture.in.th/album/96085
โดย: taka_jipata    เวลา: 2014-9-27 23:24

โดย: LightGuardian    เวลา: 2015-6-16 11:25
สาธุครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-9-3 05:40

โดย: นาคปรก    เวลา: 2015-9-4 13:00

โดย: Nujeab    เวลา: 2015-9-4 16:48

โดย: Metha    เวลา: 2016-8-9 20:43
ชัยยวรมัน สาธุ สาธุ สาธุ
โดย: Nujeab    เวลา: 2016-8-10 10:56
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-8-16 07:04

โดย: Nujeab    เวลา: 2016-8-16 11:23





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2