Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ~ ยกพานครอบครู แล้ว " มึงอย่ากบฏกูนะ " ~ [สั่งพิมพ์]

โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:51
ชื่อกระทู้: ~ ยกพานครอบครู แล้ว " มึงอย่ากบฏกูนะ " ~
ขออนุญาติคัดลอกกระทู้ของคุณ petch มาลงนะครับ

ยกพานครู / ขึ้นขันตั้ง(ล้านนา)

    คือพิธีแสดงคารวะแก่ครูของอาจารย ์ผู้ ประกอบพิธีการต่าง ๆ เพื่อบอกกล่าวแก่ครูในการที่จะใช้วิชาการที่เรียนมา หรืออาจเชิญครูมาสถิตอยู่ด้วยเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์แก่การประกอบพิธี นั้น ขันตั้งสำหรับอาจารย์ดังกล่าวนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่เครื่องบูชาในพิธีกรรมนั้น ๆ ขันตั้งมีหลายแบบ เครื่องที่ใช้บรรจุในขันตั้งหรือพานครูนั้นก็มีหลายแบบเช่นกัน ในพิธีบางแห่ง อาจทำเครื่องสังเวยขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กแล้วแต่ผู้ทำพิธี ซึ่งมักจะเป็นพระสงฆ์หรืออาจารย์ สำหรับเครื่องขึ้นขันตั้งสังเวยขนาดเล็ก ทำกันทั่วไปสำหรับในครอบครัว โดยทั่วไปมี พานหรือโตก กรวยดอกไม้ เทียนกรวยเบี้ย ผ้าขาว ผ้าแดง หมาก ช่อ กล้วย อ้อย มะพร้าว ข้าวเปลือก ข้าวสาร เป็นต้น

    เครื่องสังเวยนี้ไว้ในพานเตรียมให้อาจารย์ผู้ประกอบพิธี ซึ่งท่านก็จะได้กล่าวคำไหว้ครู ขึ้นขันตั้งครูต่อไป การขึ้นครูมี  ๒ ประเภท
ประเภท ที่ ๑ เรียกว่าขึ้นขันตั้งเพื่อทำพิธีให้ผู้อื่น เพื่อผู้อื่นหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น และตัวเองเรียกว่า ยกครู เป็นการเรียกครูหรือเชิญครูมาช่วย
ประเภทที่ ๒ ได้แก่ขึ้นขันตั้ง เพื่อตัวเอง  เป็นต้นว่าจะเล่าเรียนวิชาอาคมเวทมนต์จากครูบาอาจารย์  ตั้งขันเพื่อขอเรียนขอวิชา หรือถ้าเรียนมาแล้วครบรอบปีหนึ่ง ๆ จะต้องจัดบูชาครู ทบทวนมนต์ต่าง ๆ วิชาต่าง ๆ ที่เคยได้ร่ำเรียนมา

    สมัย ก่อนวิชาอาคมต่างๆถือว่าเป็นของสูงหาค่ามิได้  ไม่มีค่าเรียนค่าวิชา ผู้ที่จะได้วิชาความรู้แต่ละแขนงมาต้องบูชามาด้วยการขึ้นขันตั้งขันตั้งนั้น เมื่อเรียนจบมาแล้ว อาจารย์จะแบ่งเครื่องอุปกรณ์ขันตั้งไว้ครึ่งหนึ่งมอบให้ศิษย์ครึ่งหนึ่ง เพื่อนำติดตัวไปสักการะบูชา แม้นว่าจะไปประกอบพิธีใดๆ   ที่ตนได้เรียนมาก็ต้องน้อมระลึกถึงครูเสียก่อนทุกครั้ง   พอครบรอบปีมาถึง ก็จะต้องมาขึ้นขันตั้งใหม่ ทบทวนความจำและบูชาครูประเภทนี้เรียกว่า  ขึ้นครูไหว้ครู สระสรงครู  ดำหัวครู เสร็จพิธีแล้วจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยนั้นนำไปอาบชำระร่างกาย   การขึ้นขันตั้งประเภทนี้ต้องใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยมาก ๆ มีทั้งน้ำอบน้ำหอมด้วย มีเวทมนต์คาถาอาคมอะไรที่เคยเล่าเรียนมาก็จะสาธยาย มนต์เป่าลงน้ำส้มป่อยจนหมด   แม้แต่เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่มีอยู่ก็จะนำแช่ลงน้ำส้มป่อยนั้น สุดท้ายจะได้น้ำมนต์นั้นมาอาบเพื่อตัวเอง จะแจกให้ลูกหลานไปดำหัวด้วยก็ได้

http://www.lannaworld.com/believe/khkhan.htm

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:51
พิธีครอบครู

ต่าง กับพิธีไหว้ครูทั่วไป เป็นพิธีการยกย่องและอนุรักษ์ไว้เพราะครูเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ความเฉลียวฉลาดในด้านศิลปวิทยาแก่ศิษย์ ครูจึงเป็นผู้ควรแก่การคารวะบูชา พิธี ไหว้ครูได้ถูกกำหนดระเบียบและบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์ อันดี เพื่อก่อให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้เรียน

พิธีการไหว้ครูโขนและ ละครในปัจจุบันส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณก็แต่บางส่วน แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมจุดประสงค์ในบางส่วนก็เพื่อการสร้างศรัทธายิ่งขึ้น

จาก การสันนิษฐานของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่าการฟ้อนรำของไทยนั้นมีที่มาเป็น ๒ ทาง ทางที่ ๑ เกิดจากการที่มนุษย์ดัดแปลงการร่ายรำจากธรรมชาติ จนเป็นศิลปะที่สืบทอด กันมา ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งบูชาเทพเจ้า

ดังนั้นศิษย์ นาฏศิลป์โขน ละคร จึงถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นประเพณี คือ ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์ โขน ละคร จะต้องจัดพิธีไหว้ครูขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู
๑.๑ ทำพิธีอัญเชิญครูมาในพิธี เพื่อให้ศิษย์กราบไหว้เป็นศิริมงคล
๑.๒ ตอบแทนพระคุณครู ด้วยการจัดหาเครื่องสังเวย เครื่องกระยาบวช เครื่องเซ่นตามลักษณะของครู
๑.๓ ให้ความบันเทิงแก่ครู เสมือนเป็นการทดสอบฝีมือ ด้วยการรำถวายมือ
๑.๔ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ส่งครูเมื่อเสร็จพิธี

๒. เป็นการแสดงความเคารพครูด้วยการหาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาครูเพื่อขอบารมีครูช่วยคุ้มครองศิษย์

๓. เป็นการมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ ขอเป็นผู้สืบทอดศิลปะ

๔. เป็นพิธีประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จการศึกษาชั้นสูงของการศึกษาวิชานาฏศิลป์ โขน ละคร

๕. เป็นวันรวมพลังความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์นาฏศิลป์ทุกรุ่น ทุกระดับชั้น ที่พร้อมใจกันจัดพิธีเพื่ออัญเชิญครูมาให้ศิษย์คารวะและแสดงกตเวทิตา เป็นการน้อมจิตรำลึกพระคุณของครู

๖. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามให้คงอยู่

๗. เป็นการประกวดความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง
พิธี ไหว้ครูโขน ละคร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๔ ส่วน คือ ครูผู้กระทำพิธีไหว้ครู (ตัวแทนพระภรตฤษี) ศีรษะโขน (ตัวแทนครูโขน ละคร ) เครื่องสังเวย เครื่องเซ่น เครื่องกระยาบวช เครื่องบูชา และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือ ปี่พาทย์เครื่องคู่ การไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละครนั้น มีพิธีถึง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู และพิธีรับมอบ ทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้ เป็นพิธีที่บูรพาจารย์ได้กำหนดระเบียบและบัญญัติแบบแผนให้ปฏิบัติด้วยหลัก เกณฑ์อันดี สืบเนื่องมาแต่โบราณ โดยกำหนดว่า ครูผู้ใหญ่จะทำพิธีไหว้ครู พิธีครอบและพิธีมอบ ก็ต่อเมื่อศิษย์รำเพลงช้า เพลงเร็วได้แล้ว ถ้าศิษย์ศึกษาและปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ มีความรู้แตกฉาน หมายถึงรำหน้าพาทย์ชั้นสูง ได้อย่างแม่นยำ สมควรที่จะเป็นตัวแทนของครู สืบทอดการอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังได้เข้าร่วมพิธีมอบอันเป็นพิธีต่อจากพิธี ครอบ

โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:51
พิธีมอบนี้ เป็นพิธีที่ประกาศให้ศิษย์ทุกคนรู้ว่า ศิษย์ผู้นั้นมีความรู้ความสามารถสมควรเป็นครูโขนละครได้ เหมือนกับเป็นการเรียนจบหลักสูตรรับประทานปริญญาบัตรในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ครูมอบความเป็นครูให้ก็คือ อาวุธที่ใช้ในการแสดงละคร โขน ทุกชนิด และบทละครมัดรวมกันส่งให้ศิษย์ และถ้าศิษย์คนใดมีความสามารถเหนือขึ้นไปอีก จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญและต้องเป็นศิลปินชายที่แสดงเป็นตัวพระคือ พระราม ต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เสพของมึนเมาเป็นอาจิณ บวชเรียนแล้ว และเป็นที่ ยกย่องของคนทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่ศิลปินด้วยกัน ครูผู้ใหญ่ก็จะมอบ และประสิทธิ์ประสาท ให้เป็นตัวแทนของครู หมายถึงเป็นผู้ ที่สามารถกระทำพิธีไหว้ครูได้ ครอบครู และพิธีมอบ ได้ ศิลปินที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กระทำพีไหว้ครู จะได้รับมอบตำราไหว้ครู ถึงแม้ว่าจะมีตำราไหว้ครูไว้ในครอบครองก็จะกระทำได้เพียงพิธีไหว้ครู เท่านั้น จะทำพิธีครอบและพิธีรับมอบไม่ได้

หลักเกณฑ์แต่โบราณไม่ นิยมให้ลิง ยักษ์ นาง เป็นผู้ประกอบพิธี เหตุที่ไม่นิยมเพราะ ถ้าแสดงเป็นตัวลิง เขาถือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าแสดงเป็นตัวยักษ์ ถือว่าเป็นมาร ถ้าเป็นตัวนางถือว่าเป็นอิตถีเพศ ถ้าเป็นตัวพระถือว่าเป็นเทพเจ้า ดังนั้นการรับถ่ายทอดวิชาไหว้ครูนี้ตั้งแต่โบราณมาก็มักจะตกอยู่กับผู้แสดง เป็นตัวพระทั้งนั้น ระเบียบของการจัดพิธีไหว้ครูนั้นมีข้อกำหนดว่า ให้กระทำพิธีขึ้นได้เฉพาะในวันพฤหัสบดี เที่ยงวันเท่านั้น เพราะนับถือกันว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู เดือนซึ่งนิยมประกอบพิธีตามโบราณ นิยมก็กำหนดให้ประกอบพีธีในเดือนคู่ เช่นเดือน ๖,๘,๑๐,๑๒,๒ และเดือน ๔ แต่มีข้อยกเว้น เดือนคี่อยู่เดือนเดียวคือเดือน ๙ เช่นเดียวกับกำหนด เดือนมงคลสมรสแต่งงานอนุโลมให้จัดพิธีได้ เหตุที่ใช้เดือนคู่นั้น เพราะถือว่าเดือนคู่เป็นเดือนมงคล ส่วนเดือนคี่นั้นเป็นเศษที่อนุโลมให้ทำพีในเดือน ๙ ได้นั้น ถือว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา
ในบางครั้งโบราณ ยังนิยมว่าจะต้องระบุทางจันทรคติเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น เมื่อเลือกได้วันพฤหัสบดีแล้ว จะต้องพิจารณาอีกว่า ตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด ถ้าได้เป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้นก็นับว่าเป็นมงคลยิ่งเพราะข้างขึ้นถือว่าเป็น ? วันฟู ? ข้างแรมเป็น ? วันจม ? การประกอบพิธีนิยมวันข้างขึ้นซึ่งเป็นวันฟูเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ รุ่งเรืองนั่นเอง

เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ในการประกอบพิธีจะต้องเริ่มพิธีสงฆ์ก่อนเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าก่อนทุก ครั้ง ดังนั้นการจัดสถานที่จึงนิยมตั้งที่บูชาพระพุทธรูปไว้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งรวม ก็ให้ตั้งพระพุทธไว้สูงสุดในมณฑลพิธีแม้ว่าจะไม่ อัญเชิญพระพุทธรูปออกตั้งเป็นประธานในการประกอบพิธี ก็จะต้องเริ่มต้นกล่าวนมัสการคุณพระรัตนตรัยก่อนเสมอ

โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:52
สำหรับ เครื่องสังเวยจัดเป็นคู่ มีทั้งของสุกและดิบ ของดิบตั้งไว้ทางที่บูชาฝ่ายอสูร (ด้านซ้าย) ส่วนของสุกเป็นของเทพและฝ่ายมนุษย์(ด้านขวา) การจัดสถานที่จัดเป็น ๒ เขต คือ สำหรับ ประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป ฯลฯ ส่วนที่ประกอบพิธีไหว้ครู จะจัดโต๊ะหมู่เป็น ๓ หมู่ คือ โต๊ะครูฝ่ายเทพอยู่กลาง ครูฝ่ายมนุษย์อยู่ทางขวา ครูฝ่ายยักษ์อยู่ ทางซ้าย ส่วนเครื่องดนตรีจะจัดโต๊ะต่ำ ๆ ปูผ้าขาววางเครื่องดนตรีทุกชิ้น ตั้งที่นั่งผู้ประกอบพิธี (เจ้าพิธี) ปูลาดด้วยผ้าหรือหนังสือ วางพานข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน กระแจะจันทร์ มาลัย วางพาน ตำรับโองการ บาตรน้ำมนต์ ไม้เท้า จัดที่สำหรับวงดนตรีปี่พาทย์ให้ไว้ทางขวาหรือทางซ้ายของครูก็ได้แล้วแต่ความ เหมาะสม

วงปี่พากย์ตั้งอยู่ทางซ้ายมือหรือขวามือก็ได้ เพื่อบรรเลงหน้าพาทย์สำคัญ ตามที่ครูผู้ประกอบพิธีเรียกให้บรรเลง หน้าตะโพนในวงปี่พาทย์จะลาดผ้าขาววางขันกำนล ๘ ขัน (ในขันกำนล ประกอบด้วยเงิน ๑๒ บาท ดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าขาว) ครบตามจำนวนผู้บรรเลงและมีผ้าขาวยาว ๓ เมตร

เริ่มพิธีไหว้ครู ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ผู้ทรงศีลถือสังข์เดินถอยออกไปอยู่ที่ปลายผ้าขาวที่ปูลาด หันหน้าเข้าหาที่บูชาเรียกหน้าพาทย์เพลง พราหมณ์เข้ามารำเข้ามาในพิธีท้ายเพลงหมุนตัวไปโดยรอบรดน้ำสังข์ (มีความหมายว่าพราหมณ์ผู้ทรงศีล เป็นผู้เข้ามามาประกอบพิธี ส่วนการรดน้ำสังข์ไปโดยรอบนั้น เท่ากับเป็นการอธิษฐานกำหนดใช้สถานที่นี้ประกอบ จากนั้นขึ้นไปนั่งบนตั่งที่หน้าบูชา)

ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ ผู้ทรงศีลถือสังข์เดินถอยออกไปอยู่ที่ปลายผ้าขาวที่ปูลาดหันหน้าเข้าหาที่ บูชาเรียกหน้าพาทย์เพลง พราหมณ์เข้ามารำเข้ามาในพิธีท้ายเพลงหมุนตัวไปโดยรอบรดน้ำสังข์ (มีความหมายว่าพราหมณ์ผู้ทรงศีล เป็นผู้เข้ามามาประกอบพิธี ส่วนการรดน้ำสังข์ไปโดยรอบนั้น เท่ากับเป็นการอธิษฐานกำหนดใช้สถานที่นี้ประกอบ จากนั้นขึ้นไปนั่งบนตั่งที่หน้าบูชา)

ประธานในงาน เชิญเข้ามาจุดเทียนทอง (ด้านขวา) เทียน (ด้านซ้าย) และเทียนชัยที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเทียนทอง ? เงิน จุดธูปบูชา ๙ ดอกแล้วเชิญกลับไปที่พักในที่สมควร

ประธานผู้ประกอบพิธี จุดธูป ๙ ดอก (บางครั้งใช้ ๓๖ ดอก เท่าจำนวนกำนล) กราบ ๓ หน เริ่มบูชาพระรัตนตรัยแล้วชุมนุมเทวดา

สำหรับ คาถาสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าพิธีจะใช้ท่องในพิธีครอบครู ตอนที่นำเศ๊ยรของครูคือ พ่อแก่ เทริด พระพิราพ มาครอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ เพื่อเป็นศิริมงคล

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=57315

โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:53
ก่อนที่จะลงน้ำมันกับหลวงปู่ชื่น

จะต้องมีการยกพานก่อนเพื่อเป็นการขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์

โดย สิ่งที่ใช้
ก็จะมี

1. บายศรีปากชาม 1 คู่
2. ผ้าขาว 1 เมตร
3. พาน
4. ธูป เทียน 1 ชุด
5. กรวยดอกไม้ ธูป เทียน จำนวน 5 ชุด  ประกอบด้วย กรวยจากใบตอง ดอกไม้ 2 ดอก เทียนขาว 2 แท่ง ธูป 2 ดอก
6. เหรียญ เป็นจำนวนเงิน 32 บาท
7. ดอกบัว 10 ดอก
8. พวงมาลัย เพื่อถวายรูปหล่อหลวงปู่ซักพวง (optionเสริม)
9. เงินค่าครู 299 บาท

[attach]1670[/attach]



โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:54
ต่อครับต่อ....

[attach]1671[/attach]


[attach]1672[/attach]


[attach]1673[/attach]



โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:55
เพิ่มเติมข้อความของคุณ petch ครับ

ขอลงบทความเก่าของอาจารย์รายุทธอีกทีนะครับ

จากคอลัมแรกพบประสบพักตร์

เมื่อคราวที่หลวงปู่   " ครอบครู "  ให้ผม  ท่านกล่าวกับผมว่า   " มึงอย่ากบฏกูนะ "   ( และท่านมักจะใช้คำนี้กับลูกศิษย์ทุกคนที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ )

......... แล้วมาหาหลวงปู่วันนี้อยากได้อะไร ?   อยากได้บุญกับวิชา ครับผม..!   ผมกราบเรียนจุดประสงค์ ให้หลวงปู่ท่านรับทราบ..! หลวงปู่ชื่นท่านนิ่งพร้อมกับมองหน้า  ผม  เหมือนกำลัง  เค้นหาอะไรบ้างอย่าง..!  ก่อนที่ท่านจะกล่าวขึ้นมาว่า..   หมายความว่าจะมาเป็นศิษย์..นี่ ?   ครับ..!   ผมตอบเสียงดังฟังชัดด้วยความมั่นใจ.. หลวงปู่ชื่นท่านได้กล่าวเป็นคำเตือนและคำสอนต่อไปว่า..  ก่อนที่...เอ็ง  จะฝากตัวเป็นศิษย์ใครต่อใคร... เอ็ง...รู้ความหมายของคำว่า  " ศิษย์กับอาจารย์ "  ดีแล้วหรือยัง..?  การเป็นศิษย์มันไม่ยาก... ดอก..!  แต่การปฏิบัติ   " ศรัทธาครู "   ด้วยใจมั่นคง.. ซิ..มันยากกว่า  ถ้าวันหนึ่งครู อาจรรย์ ที่เอ็งนับถือตกต่ำ..เอ็งจะ..กล้ายอมรับ..ม่ะ  ว่านี่..ไง  อาจารย์ของกู    หรือถ้าเป็นอาจารย์เขา  วันหนึ่ง  ลูกศิษย์ชะตาตกต่ำ   เป็นโจร  เป็นคนไม่ดี  หรือเป็น ผู้หญิงขายตัว  อาจารย์..จะกล้ายืด อก รับ และกล้าบอกใครเขา ไหมว่า.. นั่น..ลูกศิษย์ของกู   หลวงปู่  น่ะ... ปราถนาอยากให้ ลูกศิษย์มันได้ดีกันทุกคน ไม่อยากให้เจ็บ ไม่อยากให้อด และไม่อยากให้ใครมารังแก  อยากให้มันเป็นเจ้าฅนนายฅน  แต่ชะตาชีวิตฅนมันสูงต่ำไม่เท่า กัน  "ถ้าเขาศรัทธาจริงมาบูชากราบไหว้น้อบจิตยอมรับเราเป็นอาจารย์เขาแล้ว"   เราก็ต้องเป็นอาจารย์จริง  จะชั่วจะดี ด้วยแรงแห่งกรรมก็ต้องดูแลสั่งสอนกันไป  ด้วยอยากให้ศิษย์ได้ดี นั่น...ล่ะ  ความหมายของคำว่า อาจารย์ที่ดี  เขียนมาถึงตรงนี้ ทำให้คิดถึง ความเป็นแบบอย่างอาจารย์ที่ดีของหลวงปู่ชื่น  อย่างเช่น
      ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ชื่นท่านหนึ่ง ไปทำผิดอะไรผมก็ไม่จำไม่ได้เสียแล้ว  โดนตำรวจจับ หลวงปู่ชื่นท่านทราบ ท่านได้เดินทางมาดูที่โรงพัก หลวงปู่ท่าน โดนตำรวจกล่าวติเตียนต่างๆ นาๆ หาว่าดูแลสั่งสอนลูกศิษย์ไม่ดี ทำเช่นนี้ มันติดคุกยาวแน่ หลวงปู่ท่านก็ก้มหน้ารับฟัง ก่อนที่จะย้อนถามตำรวจ ท่านนั้นไปว่า  "ถ้าเป็นลูกโยม โดนอย่างนี้ โยมจะมาดูไหม"  พร้อมกับชี้นิ้วไปที่ลูกศิษย์ที่อยู่ในกรงทองว่า  "ไอ้...นั่นมันลูกศิษย์กู จะให้กูทิ้งมันได้อย่างไร มันเป็นลูกศิษย์กู กูว่าวันพรุ่งนี้มันต้องออกว่ะ  มึงเชื่อกูไหม?"   เมื่อลูกศิษย์ ได้ยินหลวงปู่กล่าวเช่นนั้น  ปล่อยโฮ....ออกมาจนน้ำตาแทบท่วมกรงทอง และร้องตะโกนบอกหลวงปู่ว่า  "หลวงปู่ครับ ช่วยผมด้วย ผมผิดไปแล้วครับ"  หลวงปู่จ้องมองลูกศิษย์ด้วยความเวทนา    หลังจากนั้น หลวงปู่ได้เดินทางกลับวัด
     รุ่งเช้าวันใหม่   อยู่ๆ คู่กรณีเห็นว่าเป็นเด็ก ใจอ่อนอย่างไงไม่ทราบ เกิดยอมความกันเสียเฉยๆ เสียอย่างไง!  ลองเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดังๆ สมัยนี้  ถ้าลูกศิษย์ป็นเช่นนี้  คงจะพูดว่า "มันไม่ใช่ศิษย์กู! กูไม่ได้รู้จักมัน!  และจะกล้าไปเยี่ยมลูกศิษย์อย่างหลวงปู่ชื่น หรือปล่าว.....หนอ..!   ในโลกนี้....อาจารย์ที่รักลูกศิษย์อย่างหลวงปู่ชื่น จะมีสักกี่คน?  เคยถามหลวงปู่ว่า  "หลวงปู่ครับ หลวงปู่ช่วยลูกศิษย์ที่ถูกจองจำด้วยวิธีไหนครับ ?"  ท่านบอกว่า ก็ใช้คาถาบท   "พระออกพรรษา แล้วแผ่เมตตาทับ"   การที่จะสำเร็จช้าหรือเร็ว อยู่ที่กรรมหนัก หรือเบา
ภาพหลวงปู่

[attach]1674[/attach]



โดย: kit007    เวลา: 2013-4-15 07:57
Sarayut
ทำไม่ดี เที่ยวด่าครูบาอาจารย์ที่ครอบครูให้_
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่.  สถิตย์ลงสู่ผ้าขาวท่านจะเสด็จกลับ
มาหาผู้ครอบเอง ของดีที่ไหนจะอยู่กับคนอกตัณณู
พานครูที่ผู้ครอบตั้งใจทำให้อย่างดีเลิศ
มันกลับกลายเป็นแค่........
ผ้าขาวธรรมดาๆ
ขอให้พึ่งใช้สติพิจารณาในการกระทำว่าควรหรือไม่ควร



โดย: sriyan3    เวลา: 2013-4-15 08:57
ขอบคุณครับ
โดย: majoy    เวลา: 2013-4-15 10:31
ขอบคุณครับผม
โดย: Metha    เวลา: 2013-4-15 23:49

ขอบคุณครับ
โดย: AUD    เวลา: 2013-4-18 18:01
ขอบคุณครับ
โดย: รามเทพ    เวลา: 2014-1-17 19:03
เตือนความจำ
โดย: Agaligo    เวลา: 2014-1-17 23:11

โดย: morntanti    เวลา: 2014-1-18 09:39
เป็นแค่ ศิษย์รุ่นหลังที่ไม่ทันได้กราบหลวงปู่ชื่น ติคญาโณ แต่แอบดีใจที่กล้าพูดว่าตัวเองเป็น ศิษย์ คศช.พอ ช่วยเหลืองานต่างๆได้เท่าที่พอมีเวลาน้อยนิดแต่ก็ไม่เคย " คิดกบฎครูบาอาจารย์ "
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-4-29 12:27


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-4-29 12:48

โดย: bigbird    เวลา: 2014-5-2 10:26

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-3 07:40

โดย: Metha    เวลา: 2014-5-5 03:06

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-8 22:42

โดย: Metha    เวลา: 2014-11-25 14:26

โดย: majoy    เวลา: 2014-11-25 15:21

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-18 08:16
ยกพานครู


     คือพิธีแสดงคารวะแก่ครูของอาจารย์   ผู้ประกอบพิธีการต่าง ๆ เพื่อบอกกล่าวแก่ครูในการที่จะใช้วิชาการที่เรียนมา หรืออาจเชิญครูมาสถิตอยู่ด้วยเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์แก่การประกอบพิธี นั้น ขันตั้งสำหรับอาจารย์ดังกล่าวนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก



มิใช่เครื่องบูชาในพิธีกรรมนั้น ๆ ขันตั้งมีหลายแบบ เครื่องที่ใช้บรรจุในขันตั้งหรือพานครูนั้นก็มีหลายแบบเช่นกัน ในพิธีบางแห่ง อาจทำเครื่องสังเวยขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กแล้วแต่ผู้ทำพิธี ซึ่งมักจะเป็นพระสงฆ์หรืออาจารย์ สำหรับเครื่องขึ้นขันตั้งสังเวยขนาดเล็ก ทำกันทั่วไปสำหรับในครอบครัว โดยทั่วไปมี พานหรือโตก กรวยดอกไม้ เทียนกรวยเบี้ย ผ้าขาว ผ้าแดง หมาก ช่อ กล้วย อ้อย มะพร้าว ข้าวเปลือก ข้าวสาร เป็นต้น

    เครื่องสังเวยนี้ไว้ในพานเตรียมให้อาจารย์ผู้ประกอบพิธี ซึ่งท่านก็จะได้กล่าวคำไหว้ครู ขึ้นขันตั้งครูต่อไป การขึ้นครูมี  ๒ ประเภท



ประเภท ที่ ๑ เรียกว่าขึ้นขันตั้งเพื่อทำพิธีให้ผู้อื่น เพื่อผู้อื่นหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น และตัวเองเรียกว่า ยกครู เป็นการเรียกครูหรือเชิญครูมาช่วย


ประเภทที่ ๒ ได้แก่ขึ้นขันตั้ง เพื่อตัวเอง  เป็นต้นว่าจะเล่าเรียนวิชาอาคมเวทมนต์จากครูบาอาจารย์  ตั้งขันเพื่อขอเรียนขอวิชา หรือถ้าเรียนมาแล้วครบรอบปีหนึ่ง ๆ จะต้องจัดบูชาครู ทบทวนมนต์ต่าง ๆ วิชาต่าง ๆ ที่เคยได้ร่ำเรียนมา



    สมัย ก่อนวิชาอาคมต่างๆถือว่าเป็นของ " สูงหาค่ามิได้  ไม่มีค่าเรียนค่าวิชา"



ผู้ที่จะได้วิชาความรู้แต่ละแขนงมาต้องบูชามาด้วยการขึ้นขันตั้งขันตั้งนั้น เมื่อเรียนจบมาแล้ว อาจารย์จะแบ่งเครื่องอุปกรณ์ขันตั้งไว้ครึ่งหนึ่งมอบให้ศิษย์ครึ่งหนึ่ง เพื่อนำติดตัวไปสักการะบูชา แม้นว่าจะไปประกอบพิธีใดๆ   ที่ตนได้เรียนมาก็ต้องน้อมระลึกถึงครูเสียก่อนทุกครั้ง


  พอครบรอบปีมาถึง ก็จะต้องมาขึ้นขันตั้งใหม่


ทบทวนความจำและบูชาครูประเภทนี้เรียกว่า  ขึ้นครูไหว้ครู สระสรงครู  ดำหัวครู เสร็จพิธีแล้วจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยนั้นนำไปอาบชำระร่างกาย



  การขึ้นขันตั้งประเภทนี้ต้องใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยมาก ๆ มีทั้งน้ำอบน้ำหอมด้วย มีเวทมนต์คาถาอาคมอะไรที่เคยเล่าเรียนมาก็จะสาธยาย มนต์เป่าลงน้ำส้มป่อยจนหมด   แม้แต่เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่มีอยู่ก็จะนำแช่ลงน้ำส้มป่อยนั้น สุดท้ายจะได้น้ำมนต์นั้นมาอาบเพื่อตัวเอง จะแจกให้ลูกหลานไปดำหัวด้วยก็ได้

โดย: รามเทพ    เวลา: 2015-6-3 13:17

[youtube]yhRj5JSzfvc[/youtube]
โดย: ธี    เวลา: 2015-6-3 18:25

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-3 18:30
สมัย ก่อนวิชาอาคมต่างๆถือว่าเป็นของ " สูงหาค่ามิได้  ไม่มีค่าเรียนค่าวิชา"



ผู้ที่จะได้วิชาความรู้แต่ละแขนงมาต้องบูชามาด้วยการขึ้นขันตั้งขันตั้งนั้น เมื่อเรียนจบมาแล้ว อาจารย์จะแบ่งเครื่องอุปกรณ์ขันตั้งไว้ครึ่งหนึ่งมอบให้ศิษย์ครึ่งหนึ่ง เพื่อนำติดตัวไปสักการะบูชา แม้นว่าจะไปประกอบพิธีใดๆ   ที่ตนได้เรียนมาก็ต้องน้อมระลึกถึงครูเสียก่อนทุกครั้ง


  พอครบรอบปีมาถึง ก็จะต้องมาขึ้นขันตั้งใหม่


ทบทวนความจำและบูชาครูประเภทนี้เรียกว่า  ขึ้นครูไหว้ครู สระสรงครู  ดำหัวครู เสร็จพิธีแล้วจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยนั้นนำไปอาบชำระร่างกาย







โดย: Nujeab    เวลา: 2015-6-3 18:43

โดย: majoy    เวลา: 2015-6-4 00:44
  
โดย: Metha    เวลา: 2015-6-6 19:18

โดย: padiphatbeer    เวลา: 2015-6-6 19:29

โดย: Admin    เวลา: 2015-6-13 07:23
" มึงอย่ากบฏกูนะ " ก่อนที่...เอ็ง  จะฝากตัวเป็นศิษย์ใครต่อใคร... เอ็ง...รู้ความหมายของคำว่า  " ศิษย์กับอาจารย์ "  ดีแล้วหรือยัง..?  การเป็นศิษย์มันไม่ยาก... ดอก..!  แต่การปฏิบัติ   " ศรัทธาครู "   ด้วยใจมั่นคง.. ซิ..มันยากกว่า  ถ้าวันหนึ่งครู อาจรรย์ ที่เอ็งนับถือตกต่ำ..เอ็งจะ..กล้ายอมรับ..ม่ะ  ว่านี่..ไง  อาจารย์ของกู    หรือถ้าเป็นอาจารย์เขา  วันหนึ่ง  ลูกศิษย์ชะตาตกต่ำ   เป็นโจร  เป็นคนไม่ดี  หรือเป็น ผู้หญิงขายตัว  อาจารย์..จะกล้ายืด อก รับ และกล้าบอกใครเขา ไหมว่า.. นั่น..ลูกศิษย์ของกู   หลวงปู่  น่ะ... ปราถนาอยากให้ ลูกศิษย์มันได้ดีกันทุกคน ไม่อยากให้เจ็บ ไม่อยากให้อด และไม่อยากให้ใครมารังแก  อยากให้มันเป็นเจ้าฅนนายฅน  แต่ชะตาชีวิตฅนมันสูงต่ำไม่เท่า กัน  "ถ้าเขาศรัทธาจริงมาบูชากราบไหว้น้อบจิตยอมรับเราเป็นอาจารย์เขาแล้ว"   เราก็ต้องเป็นอาจารย์จริง  จะชั่วจะดี ด้วยแรงแห่งกรรมก็ต้องดูแลสั่งสอนกันไป  ด้วยอยากให้ศิษย์ได้ดี นั่น...ล่ะ  ความหมายของคำว่า อาจารย์ที่ดี





โดย: morntanti    เวลา: 2015-6-13 09:33
วันไหว้ครูปีนี้ใครได้รับ พานครู ไปแล้วอย่าลืมนำชุดที่อยู่บนพานหลับมาร่วมพิธีเหมือนปีก่อนๆด้วยนะครับ...เพื่อเป็นสิริมงคล....และเพื่อเป็นการบูชาครู ....สาธุ  
ปล. น่าจะเหมือนทุกๆปีที่ทำกัน....
โดย: Metha    เวลา: 2015-6-13 11:43
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2015-6-13 09:33
วันไหว้ครูปีนี้ใครได้รับ พานครู ไปแล้วอย่าลืมนำชุดท ...

ใช่เลยครับ
โดย: majoy    เวลา: 2015-6-14 06:27
อดเอาพานครูไปร่วมพิธีเลย
โดย: kruangbin    เวลา: 2015-6-14 07:51

โดย: sritoy    เวลา: 2015-6-22 16:46
ปีนี้ไม่พลาดครับ...

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-24 10:50

โดย: majoy    เวลา: 2015-6-24 16:09
เลยอดเอาพานครูเข้าร่วมพิธีเลย ยังดีที่ทันเข้าครอบเศียรเพราะอาจารย์เมตตารอ
โดย: sritoy    เวลา: 2015-6-24 17:10
ใจมาก่อนแล้วครับ
โดย: Nujeab    เวลา: 2015-6-25 17:06

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-28 06:00
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2015-6-28 06:07






ดังนั้นศิษย์  จึงถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด


และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นประเพณี คือ


  จะต้องจัดพิธีไหว้ครูขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้


๑. เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู
๑.๑ ทำพิธีอัญเชิญครูมาในพิธี เพื่อให้ศิษย์กราบไหว้เป็นศิริมงคล
๑.๒ ตอบแทนพระคุณครู ด้วยการจัดหาเครื่องสังเวย เครื่องกระยาบวช เครื่องเซ่นตามลักษณะของครู
๑.๓ ให้ความบันเทิงแก่ครู
๑.๔ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ส่งครูเมื่อเสร็จพิธี

๒. เป็นการแสดงความเคารพครูด้วยการหาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาครูเพื่อขอบารมีครูช่วยคุ้มครองศิษย์

๓. เป็นการมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ ขอเป็นผู้สืบทอดศิลปะ

๔. เป็นพิธีประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จการศึกษาชั้นสูงของการศึกษาวิชา

๕. เป็นวันรวมพลังความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์ทุกรุ่น ทุกระดับชั้น
ที่พร้อมใจกันจัดพิธีเพื่ออัญเชิญครูมาให้ศิษย์คารวะและแสดงกตเวทิตา เป็นการน้อมจิตรำลึกพระคุณของครู

๖. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามให้คงอยู่

๗. เป็นการประกวดความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง





โดย: Nujeab    เวลา: 2015-6-29 13:00

โดย: Metha    เวลา: 2015-7-1 23:13

โดย: majoy    เวลา: 2015-7-4 09:44
ครอบครูหรือยกพานครูกันแล้ว อย่าอกตัญญู

คำนี้อาจารย์ท่านเน้นเป็นนักหนา
โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-6-10 06:18

โดย: majoy    เวลา: 2016-6-11 21:26

โดย: majoy    เวลา: 2016-7-25 22:16

โดย: Nujeab    เวลา: 2016-7-27 10:30

โดย: majoy    เวลา: 2016-7-27 23:05
อย่ากบฎกันเด้อท่านๆ
โดย: Nujeab    เวลา: 2016-8-1 11:16

โดย: sritoy    เวลา: 2016-8-1 16:19

โดย: majoy    เวลา: 2016-8-13 08:16
ห่างหายด้วยหน้าที่และความลำบาก แต่ไม่เคยคิดคกกบฎครู


โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-10-1 17:47

โดย: majoy    เวลา: 2016-10-19 08:00

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-10-21 07:25

โดย: Nujeab    เวลา: 2016-10-26 12:12

โดย: นาคปรก    เวลา: 2016-11-1 13:47
~ ยกพานครอบครู แล้ว " มึงอย่ากบฏกูนะ " ~



โดย: majoy    เวลา: 2016-11-2 08:46
การได้มาเป็นศิษย์อาจารย์กัน มันไม่ได้หมายถึงชาตินี้ชาติเดียวนะ.......

ยังจำคำนี้ได้ดีครับ
โดย: Nujeab    เวลา: 2016-11-2 11:07
majoy ตอบกลับเมื่อ 2016-11-2 08:46
การได้มาเป็นศิษย์อาจารย์กัน มันไม่ได้หมายถึงชาตินี้ชาติเดียวนะ.......

ยังจำคำนี้ได้ดีครับ


โดย: Metha    เวลา: 2016-11-4 08:52

โดย: majoy    เวลา: 2016-11-7 07:48
วันนี้วันพระ อย่าลืมเปลี่ยนดอกไม้
โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-11-13 06:57
~ ยกพานครอบครู แล้ว

" มึงอย่ากบฏกูนะ "~



โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-11-13 06:59












โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-1-12 08:58
~ ยกพานครอบครู แล้ว

" มึงอย่ากบฏกูนะ "~



โดย: Nujeab    เวลา: 2017-1-12 12:01

โดย: majoy    เวลา: 2017-1-13 08:51

โดย: kit007    เวลา: 2017-1-16 11:58

โดย: Metha    เวลา: 2017-1-17 18:31

โดย: majoy    เวลา: 2017-1-23 08:52
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย majoy เมื่อ 2017-1-23 08:54

ครูบาอาจารย์สายของตนเอง ย่อมสำคัญกว่าสิ่งอื่น

ก็เปรียบเหมือนกับพ่อแม่ ถ้าเราเจอพ่อแม่คนอื่น ที่เขารวย เขาเด่นกว่า เราจะเปลี่ยนพ่อแม่ไหม ถ้าวันที่เราล้ม เขาจะฉุดเราลุกขึ้นด้วยแรงทั้งหมดที่มีเหมือนพ่อแม่เราไหม

หลายครั้งเราหลงลืมกันไปว่า คนที่รักเราที่สุดคือใคร ท่านอาจไม่ได้ให้เราได้ ดั่งที่เราหวังไปเสียทุกอย่าง ทั้งนี้ก็ด้วยวาสนาของแต่ละคน ในระยะยาว แต่อย่าลืมว่า ท่านทำเพื่อเราทุกอย่าง
โดย: Metha    เวลา: 2017-2-3 23:06

โดย: kruangbin    เวลา: 2017-2-13 18:01

โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-3-14 08:32

โดย: Nujeab    เวลา: 2017-3-14 13:05

โดย: Metha    เวลา: 2017-3-14 21:36

โดย: majoy    เวลา: 2017-3-14 22:55
'มึงอย่ากบฎกูเด้อ'

ท่านเตือนด้วยรักจริงๆ นะครับ
โดย: Nujeab    เวลา: 2017-3-15 09:26
พึงระลึกและเตือนตนไว้เสมอ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-3-21 07:45
majoy ตอบกลับเมื่อ 2017-3-14 22:55
'มึงอย่ากบฎกูเด้อ'

ท่านเตือนด้วยรักจริงๆ นะครับ


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-3-21 07:47
ยกพานครอบครู แล้ว



" มึงอย่ากบฏกู ..เด้อ "

โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-3-22 06:51
กฎระเบียบคืออะไร?
คำว่า "กฎ" คือคื


ข้อบังคับ ที่อยู่ในความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและ ชีวิต  ระเบียบวินัย นั้นเป็นสิ่งซึ่งมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะกับนักเรียนหรือเยาวชน อันจะเป็นกำลังอย่างมากในการพัฒนา เพื่อที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความรุ่งเรืองได้

        " ระเบียบวินัย" คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง ให้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง โดยเกิดจากการสำนึก ซึ่งต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นผลทำให้เกิดความยุ่งยากแก่ตนเองในอนาคต หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและไม่ขัดต่อสิทธิของผู้อื่น



ความมีวินัยในตนเอง สามารถควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนตามระเบียบข้อตกลงของสังคมส่วนรวมด้วยความสมัครใจของผู้ปฏิบัติเอง


เพื่อความสงบสุขในชีวิตและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม



โดย: Nujeab    เวลา: 2017-3-22 09:24

โดย: majoy    เวลา: 2017-3-23 08:57
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2017-3-22 06:51
กฎระเบียบคืออะไร?


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-8 08:18

โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-10 06:46
ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก
ท่านเปรียบไว้ นัก...




โดย: Metha    เวลา: 2017-4-14 11:23


โดย: majoy    เวลา: 2017-4-16 09:10

โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:40
majoy ตอบกลับเมื่อ 2017-4-16 09:10

กวนน้ำให้ขุ่น
         สำนวนนี้โบราณต้องการบอกถึงนิสัยของคนที่ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่นเปรียบเหมือนคนที่ชอบยุแยงตะแคงแซะ ทำเรื่องสงบให้กลายเป็นวุ่นวาย มีคำหนึ่งที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจคือคำว่า “กวน” คือการคนให้เข้ากัน เมื่อเรากวนน้ำ ตะกอนจะนอนก้นทำให้น้ำใส แต่เมื่อใดเรากวนน้ำนั้นอีก ตะกอนที่นอนก้นอยู่ก็จะขุ่นข้นขึ้นมา น้ำก็จะขุ่นดื่มไม่ได้


กินบนเรือนขี้บนหลังคา


         สำนวนนี้เกิดจากเรื่องราวระหว่างคนกับแมว ในสมัยโบราณนั้นผู้คนชอบเลี้ยงแมวไว้ในบ้านด้วยความประสงค์สองอย่างคือ เอาไว้เป็นเพื่อน และเอาไว้จับหนูที่ชอบเข้ามากินข้าวเปลือกที่ใส่กระพ้อม (ที่เก็บข้าวเปลือกไว้ใช้ทำพันธ์สานด้วยไม้ไผ่) เอาไว้ แมวนั้นมีนิสัยแปลก (บางตัว) คือชอบไปถ่ายบนหลังคาบ้าน เวลาฝนตกมาน้ำฝนก็สกปรกใช้ดื่มไม่ได้ จึงเกิดสำนวน “กินบนเรือนขี้บนหลังคา” ขึ้น ความหมายของสำนวนนี้กล่าวเปรียบเทียบกับคนที่เนรคุณ ให้ที่อาศัยพึ่งพิงแล้ว ยังมาสร้างความเดือดร้อนให้อีก


แกว่งเท้าหาเสี้ยน


         สำนวนนี้ มีคำที่จะต้องอธิบายขยายความอยู่คำกนึ่งคือคำว่า “เสี้ยน” หมายถึงเนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็กๆ ส่วนปลายจะแหลมเหมือนหนาม เมื่อตำมือหรือเท้าจะมีความเจ็บปวดต้องบ่ง (แคะหรืองัด) ออกจึงจะหาย สำนวนนี้หมายถึงคนที่ชอบรนหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว







โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:45


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:46


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:46


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:47


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-17 07:49




โดย: majoy    เวลา: 2017-4-17 09:14
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2017-4-17 07:40
กวนน้ำให้ขุ่น
         สำนวนนี้โบราณต้องการบอกถึ ...


โดย: Metha    เวลา: 2017-4-25 10:54
อย่า..อกตัญญู
โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-25 13:58


โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-4-25 14:13
"น้ำขี้โคลน มองไม่เห็นตัวปลาฉันใด


คนที่ทำกรรมกิเลสมาก ไม่มีปัญญา


ใครจะตักเตือนชี้เหตุผลให้ฟังสักเท่าใดๆ


ก็ย่อมรู้ตามไม่ได้ ...


เพราะเอาแต่ใจของตัวถ่ายเดียว"



....หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี







โดย: Metha    เวลา: 2017-4-25 21:51

โดย: majoy    เวลา: 2017-4-26 09:25
ส่วนตัวของจอยเองนั้น การที่เราจัดดอกไม้ขันธ์ห้า ถวายครูบาอาจารย์ในวันพระนั้น มีอานิสงค์คือ

ได้รำลึกถึงครูบาอาจารย์เป็นอนุสติ ได้เตือนตนเสมอว่าเป็นศิษย์มีครู
ได้ระลึกถึงคุณธรรมของครูบาอาจารย์ ที่ท่านเมตตาทำไว้ให้ดูเป็นแนวทาง
ได้รำลึกถึงข้อศีลที่รับปากกับอาจารย์กับหลวงปู่ไว้ ยามยกพานครู
ได้พิจารณาความพร่องไปแห่งศีลของดังกล่าวเพื่อปรับปรุง
ได้ขอขมาครูบาอาจารย์ ในเหตุอันก้าวล่วงครูบาอาจารย์ ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เพื่อความสำรวมระวังของเราในกาลต่อไป

เป็นไงครับ อานิสงค์เหล่านี้ ได้แก่ใครครับ ได้แก่ตัวเราเองทั้งสิ้น อย่าได้ประมาทในครูบาอาจารย์กันนะครับ


โดย: morntanti    เวลา: 2017-4-27 00:45
เห็นด้วยกับคุณ majoy ทุกประการการระลึกถึงครูบาอาจารย์การจัดดอกไม้ธูปเทียนเปลี่ยนกรวยพานครูทุกวันพระนั้นมิใช้แค่เพื่อบูชาครูบาอาจารย์แต่เพื่อตัวศิษย์เองทั้งสิ้น...มิควรละเลย
โดย: Metha    เวลา: 2017-5-1 15:10
majoy ตอบกลับเมื่อ 2017-4-26 09:25
ส่วนตัวของจอยเองนั้น การที่เราจัดดอกไม้ขันธ์ห้า ถวา ...






ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2