ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4433
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พันท้ายนรสิงห์

[คัดลอกลิงก์]




พันท้ายนรสิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ แต่ก่อนท่านก็เป็นนักมวยที่เก่งมากและก็เคยขึ้นชกกับพระเจ้าเสือมาแล้ว แต่ว่าเสมอกัน พระเจ้าเสือรู้สึกประทับใจจึงให้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก แล้วเลื่อนขึ้นมาเป็นราชองครักษ์
พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตจงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต
เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๒สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทองการเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ
พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณีซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณีสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน
แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาลแล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง เมื่อขุดเสร็จจึงได้รับพระราชทานนามว่า "คลองสนามไชย" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "คลองมหาชัย"ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณีกรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้
ที่มา  http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=15654.0
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-2-12 15:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องราวที่น่ายกย่องของ นายทหารที่ซื่อสัตย์ “พันท้ายนรสิงห์”
เรื่องราวที่น่ายกย่องของ นายทหารที่ซื่อสัตย์ “พันท้ายนรสิงห์”




ตามที่ได้มีการบันทึกเรื่องราวของพระราชพงศาวดารในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆและหนึ่งในนั้นก็มีเรื่องราวของ พันท้ายนรสิงห์ ทหารผู้กล้าหาญ
พันท้ายนรสิงห์นั้นมีชื่อเดิมว่า สิน เป็นคนธรรมดาๆที่มีฝีไม้ลายมือเก่งในเรื่องชกมวย ครั้งหนึ่งได้มีการแข่งขันชกมวยเหมือนกับที่ผ่านๆมาแต่ในครั้งนี้ นายสิน ได้ชกกับ พระเจ้าเสือ ที่ได้ปลอมตัวมาขึ้นสังเวียน โดยที่ นายสินเองไม่รู้ว่าเป็น พระเจ้าเสือ ภายหลังจากการต่อยมวยจบลง พระเจ้าเสือได้เรียกตัว นายสินมารับราชการ ในตอนนั้นเองที่ทำให้ นายสินได้รู้ว่าคู่ชกในวันนั้นคือ พระเจ้าเสือ นั้นเอง


ต่อมาก็มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พันท้ายนรสิงห์ เนื่องจาก นายสิน ได้เป็นทหารของ พระเจ้าเสือ คอยคัดท้ายเรือให้กับ พระเจ้าเสือ นั้นเอง
มีอยู่วันหนึ่ง พระเจ้าเสือได้ทรงเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย โดยจะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ต ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรีหรือที่รู้จักกันดีของคนในสมัยนี้ก็คือปากน้ำจังหวัดสมุทรสาครนั้นเอง เมื่อเรือพระที่นั่งเอกชัยได้ล่องไปตามลำธารน้ำจนมาถึงคลองที่มีชื่อคลองว่าคลองโคกขาม ตำบล โคกขามซึ่งมีความขดเคี้ยวเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุที่ทำให้ พันท้ายนรสิงห์ ที่มีหน้าที่คัดท้ายเรือนั้นไม่สามารถควบคุมเรือพระที่นั่งเอกชัยได้ จนทำให้เรือพระที่นั่งเอกชัยชนเข้ากับกิ่งไม้และเป็นเหตุที่ทำให้หัวเรือต้องหัก ในทันใดนั้น พันท้ายนรสิงห์ ได้กระโดดขึ้นฝั่งและกราบทูลทรงลงพระอาญาทันที ตามพระกำหนดถึงสามครั้งแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้มาแล้ว 2 ครั้ง แต่ใน 2 ครั้งนั้นเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้มีการลงโทษแต่อย่างไร


เช่นเดียวกันกับในเหตุการณ์ในครั้งนี้ที่เป็นอุบัติเหตุแต่ทว่า เรือพระที่นั่งเอกชัยได้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก พันท้ายนรสิงห์ จึงทูลต่อ พระเจ้าเสือ ให้ทำการลงโทษทันที พระเจ้าเสือเห็นว่าเป็นเพียงอุบัติเหตุจึงกล่าวว่าให้ลงโทษโดยการ “ตัดรูปแทนพ่อ”หมาความว่าให้ปันรูปปัน พันท้ายนรสิงห์ เพื่อลงโทษแทน แต่ พันท้ายนรสิงห์ ไม่ยอมให้ลงโทษที่ตัวของเขาเองเพราะถือว่าตัวเองมีความผิดและจะไม่ได้เป็นแบบอย่างคนอื่นๆ เมื่อพระเจ้าเสือได้ฟังเช่นนั้นแล้วก็สั่งให้ลงโทษโดยการประหารตามคำขอร้องของ พันท้ายนรสิงห์ และได้สั่งให้จัดตั้งศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น จนศาลแห่งนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเอง
ถือได้ว่า นายพันท้ายนรสิงห์ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นหลังๆในการกระทำที่กล้าหาญและซื่อสัตย์จึงเป็นที่เคารพนับถือของคนในสมัยนั้นมาจนถึงปัจจุบันกันเลยที่เดียว

http://www.unobserver.com


ท่านศักดิ์ศงสิทธิ์จริงครับ มากด้วย

โอ้ เหรียญเจ้าอาถรรพ์เพิ่งผ่านพิธีใหญ่ที่ศาลนี้เมื่อวานครับ สุดยอดมากๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้