ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5068
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี

[คัดลอกลิงก์]


พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี


พุทธสถานพระแท่นดงรัง

วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๑ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ในเขตเทศบาลตำบลพระแท่น เดิมมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ อาณาบริเวณภายในวัดกว้างขวางมาก พื้นที่เป็นรูปวงกลมรี มีเนื้อที่ประมาณ ๕๑๕๐ ไร่ ทิศเหนือ จดถนนสายกำแพงแสน-พนมทวน, ทิศใต้ จดหมู่บ้านท่าโป่ง, ทิศตะวันออก จดหมู่บ้านบ้านโป่ง และทิศตะวันตก จดทุ่งนา โดยตั้งอยู่บนเนินเขาป่าไม้เต็งรังและไม้เบญจพรรณอื่นๆ อันเป็นบริเวณเดียวกันกับ “พุทธสถานพระแท่นดงรัง” ที่ประดิษฐาน “พระแท่นดงรัง” ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ในปัจจุบันนี้การคมนาคมสะดวกสบายเพราะมีเส้นทางรถยนต์ผ่านวัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ๒ เส้นทาง คือแยกจากถนนสายบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ใกล้หลักกิโลเมตรที่ ๑๐๑ ตรงตลาดท่าเรือ ระยะทางจากตลาดท่าเรือถึงวัด ๑๐ กิโลเมตร อีกสายหนึ่งแยกจากถนนสายกำแพงแสน-พนมทวน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๒ เป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร   

พระแท่นดงรัง นับว่าเป็นเจดียฐานประการหนึ่ง คือถือว่าเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และนับว่าเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่งในสี่แห่งของพระพุทธเจ้า คือสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน

ตามตำนานอันเป็นคติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแว่นแคว้นต่างๆ ภายนอกประเทศอินเดีย ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์หรือ ตรัสพยากรณ์เรื่องราวต่างๆ ไว้ในแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยากรณ์ที่อ้างว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์วัตถุไว้

ในประเทศไทยมีตำนานเกี่ยวกับการประทับรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งพระแท่นและพระพุทธฉาย สำหรับพระแท่นที่มีอยู่ในพงศาวดารคือ พระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่ พระแท่นดงรัง ไม่ได้มีกล่าวไว้ในพงศาวดาร จึงสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ความอัศจรรย์ของพระแท่นดงรังนั้นผิดกับเจดีย์วัตถุอื่น เนื่องจากมีผู้เชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรังนี้จริงๆ ซึ่งเท่ากับว่าเมืองไทยนี้เป็นมัชฌิมประเทศ อันเป็นสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

พระแท่นบรรทม พระแท่นเป็นหินแท่งทึบหน้าลาดคล้ายแท่น หรือเตียงนอน ต่ำข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่ง ขนาดยาว ๑๑ ศอก ๑ คืบ กว้าง ๔ ศอกเศษ ด้านล่างป็นปูนปั้นรองแท่น มีหินวางทับซ้อนกันอยู่ มองดูคล้าย พระเขนย (หมอน) พระแท่นนี้อยู่ภายในวิหารพระแท่น เดิมมีต้นรังข้างละหนึ่งต้นโน้มยอดเข้าหากัน

ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม
แต่ไม้รังยังรักพระศาสดา
ชวนกันไปไหว้พระแท่นแผ่นศิลา
คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา
อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์

           
ปัจจุบันมีวิหารสร้างครอบพระแท่นไว้ ซึ่งคงสร้างไว้นานแล้ว เพราะเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖ สามเณรกลั่นได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังกับสุนทรภู่ ได้แต่งนิราศไว้มีความตอนหนึ่งว่า

"ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี
กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม
ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา
เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นดัง
ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา
ดูยอดน้อมเข้ามาข้างแท่นที่แผ่นผา
ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี
เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี

            
ส่วนที่เป็นพระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่ยื่นออกมา มีลักษณะเป็นศิลาแท่งสูงข้างหนึ่ง ต่ำข้างหนึ่ง ข้างสูงวัดได้ศอกคืบ และยังมีส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเหมือนเป็นหมอน กว้างประมาณคืบเศษ สูงประมาณหนึ่งคืบ ปลายพระแท่นสูง ๑๖ นิ้ว พระแท่นยา ๑๑ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอก เศษ ส่วนล่างกว้าง ๓ ศอกเศษ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
   ประวัติความเป็นมา

วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร หรือพระแท่นดงรัง สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา เนื่องจากในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้นำพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์มาจากเกาะลังกา และเกิดมีรอยพระพุทธบาทขึ้นที่เมืองสระบุรี และพระแท่นดงรังในแขวงเมืองราชบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี) ซึ่งจัดเป็นบริโภคเจดีย์ตามพระบรมพุทธานุญาต

พุทธเจดีย์ เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๔ ประเภท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43001

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ จากนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น ที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมสุนทรภู่ เมื่อเดือนสี่ ปีมะเส็ง ปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ว่า

ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี
ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา
กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม
ดูยอดน้อมมาข้างแท่นที่แผ่นผา
ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา
ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี
เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นตั้ง
เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี

            
และจากนิราศของนายมี ซึ่งเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อปีวอก นักษัตรอัฐศก พ.ศ ๒๓๗๘ ภายหลังสามเณรกลั่น ๓ ปี นายมีได้พรรณนาถึงพระแท่นดงรังว่า

เอาธูปเทียนบุปผาสุมาลัย
ชวนกันไหว้พระแท่นแผ่นศิลา
ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม
คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา
แต่ไม้รังรักพระศาสดา
อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์

            
จากนิราศทั้งสองนี้ทำให้ทราบว่ามีวัดพระแท่นดงรังและมีการสร้างวิหารคลุมพระแท่นอยู่ก่อนแล้ว จึงสันนิษฐานว่าพระแท่นนี้คงจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและอาจจะร้างไป เพราะอยู่ในช่วงสงครามกับพม่า ต่อมาจึงมีการบูรณะขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ หรือต้นรัชกาลที่ ๒ ต่อมาวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมไป

สมัยรัชกาลที่ ๓

พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้บอกบุญปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ตามจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ ๓ เลขที่ ๓๑๖ เรื่อง บัญชีรายนามผู้ปฏิสังขรณ์พระแท่น จ.ศ. ๑๒๐๑ (พ.ศ. ๒๓๘๒)

   สมัยรัชกาลที่ ๔

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล่าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อเดือน ๖ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๒ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ตามปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "เมื่อปีกุน เบญจศก (พ.ศ. ๒๔๐๕) ที่พระแท่นดงรังก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองราชบุรี ทำวิหารและพระราชอุโบสถที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ จำนวนเงินไม่ปรากฎ และให้สร้างเจดีย์ขึ้นที่หลังพระแท่น ๑ องค์

   สมัยรัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค ปีฉลู จ.ศ. ๑๒๓๙ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ได้กล่าวถึงค่ายหลวงพระแท่นดงรัง ได้ทรงเขียนอธิบายถึงพระแท่นดงรังอย่างละเอียดว่า "จนเวลาบ่ายโมงครึ่งไปที่พระแท่น ขี้เกียจจะแวะที่พระแท่นเป็น ๒ หน ๓ หน จึงขึ้นไปที่เขาถวายพระเพลิงเสียทีเดียว ระยะทางที่มาประมาณว่า ๑๒ เส้นนั้น เย็นวันนี้ ถามพันจันทร์ได้ความว่า ตั้งแต่พลับพลาไปจนถึงวิหารพระแท่น ทาง ๑๖ เส้น ๑๓ วา แต่วิหารไปถึงเชิงเขา๑๐ เส้น ๗ วา แต่เชิงบันไดถึงเชิงมณฑป ๓ เส้น ๘ วา...ตรงหน้าที่สูงขึ้นบันไดขึ้นไป ยังเป็นยอดสูงขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่งเป็นที่ตั้งมณฑป ๑๒ เหลี่ยม กว้างประมาณ ๓ วา มีเสาข้างใน ๔ เสา ทำเป็นเมรุกลายๆ  ยอดแหลม มีประตู ๒ ประตู ในนั้นมีพระบาทอยู่เชิงตะกอน...ที่วิหารพระแท่นตั้งอยู่ที่นั้นเป็นเขาเทือกเดียวกันกับเขาถวายพระเพลิง เชิงเขานั้นตกราบลงมาสูงกว่าพื้นดินข้างล่างอยู่หน่อยหนึ่ง มาถึงที่พระแท่นจึงเป็นเขาศิลากองยาวออกไป ที่ข้างหลังวิหารมีช่องศิลายาวประมาณ ๖ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว หยั่งดูลึกสักสองศอก ว่าเป็นที่บ้วนพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ที่พระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่เขานั้นยื่นออกมาก่อผนังทับคงเป็นศิลาเป็นแท่งสูง ข้างหนึ่งต่ำข้างหนึ่งสูงนั้น วัดได้ศอกคืบ ยังมีสูงขึ้นไปเหมือนหนึ่งเป็นหมอน กว้างสักคืบเศษ สูงคืบหนึ่ง ข้างปลายสูง ๑๖ นิ้ว ยาว ๑๑ ศอกคืบ ข้างบนกว้าง ๔ ศอกเศษ เป็นพื้นขรุขระอยู่ แต่เจ้าของปิดทองทำปั้นเป็นบัวรองไว้..."

   สมัยรัชกาลที่ ๖

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินไปซ้อมรบเสือป่า ณ ค่ายหลวงบ้านโป่ง ภายหลังการซ้อมรบเสือป่าแล้วได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปตามถนนและทางเกวียนมาทรงสักการะพระแท่นดงรัง แต่เสด็จเพียงวันเดียวไม่ได้ประทับแรม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์เล่าเรื่องพระแท่นดงรังถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาส์นสมเด็จ ภาค ๓๗ ฉบับลงวันที่ ๑๙ และ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ว่า "...ถึงพระแท่นดงรัง หม่อมฉันเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์สำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวพระแท่น เท่ากับผ้าเหลืองที่เขาเอาซ้อนกองไว้บนพระแท่นเป็นรูปคล้ายกับศพคลุมผ้านอนอยู่บนนั้น ผู้ที่ไปพระแท่นดงรังครั้งแรก ล้วนนึกว่าจะไปดูพระแท่น ครั้นไปถึงแต่พอโผล่ประตูวิหารเข้าไป เห็นรูปกองผ้าเหลืองเหมือนอย่าง "พระพุทธศพ" วางบนพระแท่นก่อนสิ่งอื่นก็จับใจในทันที บางคนก็สะดุ้งกลัว บางคนยิ่งรู้สึกเลื่อมใส พระแท่นดงรังอัศจรรย์ด้วยผ้าเหลืองกองนั้นเป็นสำคัญ จึงมักกล่าวกันว่าพระแท่นศิลาอาสน์ไม่น่าเลื่อมใสเหมือนพระแท่นดงรัง..."
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
   สมัยรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระแท่นดงรัง ๒ ครั้งคือ

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๑๒ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา วางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นโพธิ์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นรัง

เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถและเททองหล่อพระประธานและพระพุทธบาทจำลอง

   พระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมานมัสการพระแท่นดงรัง

พระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ๒๙ เมษายน ๒๕๑๒ เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๓ และ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ทรงประกอบพิธีเปิดงานนมัสการและทรงทอดผ้ากฐิน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ นมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๕

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จรวม ๒ ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ และเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดหวายลูกนิมิต

   กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ

กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียนพระแท่นดงรัง เป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจนุเบกษา เล่น ๗๒ ตอนที่ ๒ ลงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ่งสำคัญมีตัวพระแท่นและขอบเขตเนื้อที่รวมทั้งสิ้น ๕,๑๕๒ ไร่

   สถาปนาเป็นพระอารามหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ยกพระแท่นดงรังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถานปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




“พระประธานในพระอุโบสถ” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




“พระอุโบสถ” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร                                        
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้






“พระแท่นดงรัง” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


“หลวงพ่อพระแท่น” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง





“วิหารพระแท่น” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระมณฑป





รอยพระพุทธบาทจำลองไม้ประดับมุก ภายในพระมณฑป


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้






พระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ในพระวิหาร
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-24 08:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธรูปปางต่างๆ



รูปหล่อเหมือนครูบาอาจารย์

ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ
http://katin.bu.ac.th/katin08.html
https://www.facebook.com/media/set/?set ... 667&type=3
http://kri.onab.go.th/index.php?option= ... Itemid=136

...................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46256

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้