ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2032
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระกริ่งนวราชบพิตร’วัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o

[คัดลอกลิงก์]
[url=][/url]
‘พระกริ่งนวราชบพิตร’วัดตรีทศเทพฯ ปี ๒๕๓o :  ปกิณกะพระเครื่องโดยฐกร บึงสว่าง                                                                
              พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ “นวราชบพิตร” วัดตรีทศเทพฯ ปี ๒๕๓o หรือ พระกริ่ง วัดตรีทศเทพฯ รุ่น ๒ ชุดนี้ถือว่าเป็น “สุดยอดพระเครื่อง” อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสะสมไว้สักการบูชามาก เพราะเป็นพระเครื่องแห่งองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างแท้จริง โดยได้รวบรวมสิ่งอันเป็นมหามงคลวาร อันหาสิ่งใดเปรียบได้ยาก กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หล่อ พระพุทธนวราชบพิตร เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพฯ รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์นวราชบพิตร อย่างละ ๙๙๙ องค์
              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็น “นวราชบพิตร” ซึ่งถือเป็นพระนามของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ดังนั้น พระนามของพระชุดนี้จึงถือเป็นสิ่งมงคลยิ่ง อีกประการหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร เมื่อวันพุธที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๐ ในมหามงคลสมัยอันเป็นมิ่งมงคลยิ่ง ที่ล้นเกล้าฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบพระนักษัตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พิธีนี้
              ชนวนมวลสารสำคัญที่ใช้ในการหล่อพระชุดนี้ ประกอบด้วยชนวน พระพุทธนวราชบพิตร ปี ๒๕๐๐ (พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่ให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ), ชนวนพระกริ่งปวเรศ (รุ่นแรก), ผงสมเด็จจิตรลดา, เส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว), ทองคำ, เงิน, นาก และเครื่องยศของนายทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมในพิธีฯ
              สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์), สมเด็จพระญาณสังวร, พระวัชรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร และคณะสงฆ์ ได้เข้าร่วมพิธีมหามงคลนี้จำนวนมาก พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษก ๓ แห่ง คือ วัดตรีทศเทพวรวิหาร, วัดบวรนิเวศวิหาร และ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
                      พระพุทธนวราชบพิตร มีพุทธลักษณ์เช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตร ปี ๒๕๐๙ ส่วนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้นำรูปแบบของ พระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ปี ๒๔๙๑ และ พระกริ่งวัดสุทัศนฯ มาปรับปรุงให้ได้พุทธลักษณ์ที่งดงามและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของวัดตรีทศเทพฯ
              พระกริ่งนวราชบพิตร ฐานกว้าง ๑.๙ ซม. สูง ๓.๓ ซม. ใต้ฐานคว้านใหญ่แล้วบรรจุผงพระสมเด็จจิตรลดา เส้นพระเจ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเม็ดกริ่ง ปิดด้วยแผ่นโลหะ พร้อมกับตอกโค้ดตัว “อุ” (ขอม) ที่ฐานด้านหลังองค์พระ
              พระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ฐานกว้าง ๑ ซม. สูง ๑.๘ ซม. ตอกโค้ดตัว “อุ” (ขอม) ใต้ฐาน (เท่าที่พบเห็นไม่มีการอุดเม็ดกริ่ง)
                      ลักษณะกล่องที่บรรจุ “พระกริ่ง” และ “พระชัยวัฒน์นวราชบพิตร” เป็นกล่องกำมะหยี่ มีน้ำเงิน มีตรา ภปร (คล้ายกล่องบรรจุพระกริ่งปวเรศ ปี ๒๕๓๐) มีข้อความจารึกไว้ที่ฝากล่องด้านในว่า “พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร มหามงคลวาร เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบนักษัตร ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐” พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร หล่ออย่างละ ๙๙๙ องค์ (ไม่มีเผื่อเสียและทำลายเบ้าทิ้งทั้งหมด)
                      พระชุดนี้แบ่งออกเป็น ๒ เนื้อ (อย่างละใกล้เคียงกัน) คือ เนื้อนวโลหะ (กลับดำคล้ายพระกริ่งปวเรศ) และเนื้อทองล่ำอู่ (กลับน้ำตาลอมแดง คล้ายพระพุทธนวราชบพิตร ปี ๒๕๐๙)
                      ทั้งนี้ในจำนวนพระกริ่งที่หล่อทั้งหมด มีอยู่ประมาณ ๙๙ องค์ ได้ทาชาดแดงไว้ที่ใต้ฐานองค์พระกริ่ง ขนาดรูปทรงและประเภทของเนื้อโลหะ พระพุทธนวราชบพิตร มีพุทธลักษณ์เช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตร ปี ๒๕๐๙
              ส่วน พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้นำแบบของ พระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ปี ๒๔๙๑ และพระกริ่งวัดสุทัศนฯ มาปรับปรุงแบบให้ได้พุทธลักษณ์ที่งดงามและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของวัดตรีทศเทพฯ
              การครอบครองและการเช่าบูชา...สำหรับผู้มีจิตศรัทธาที่ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลในการหล่อพระพทุธนวราชบพิตร พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร จำนวน ๑๐ ราย (ส่วนใหญ่เป็นบุคคลในตระกูล “นพวงษ์” โดยบริจาครายละไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านบาท) ได้รับพระราชทานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร จำนวน ๑ ชุด - พระราชทานให้กับผู้มีจิตศรัทธาที่ถวายเงินทำบุญ (ทอดกฐิน-ผ้าป่า) และผู้มีจิตศรัทธาทำบุญบูชา ชุดละ ๒๐,๐๐๐ บาท (ตามรายชื่อมีประมาณ 200 ราย)
ต่อมาไม่นานนัก พระวัชรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร ได้มรณภาพ ทำให้หยุดการทำบุญบูชาพระชุดนี้ ดังนั้นพระชุดนี้จึงพบเห็นน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่กับนายทหาร และนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่
              พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ “นวราชบพิตร” วัดตรีทศเทพฯ ปี ๒๕๓o รุ่นนี้เมื่อเทียบกับ พระกริ่งปวเรศ ปี ๒๕๓o จะหายากกว่ากันมาก เนื่องจากมีจำนวนสร้างน้อยมากนั่นเอง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้