ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2292
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่โส ธมฺมปาโล วัดราษีไศล จ.ร้อยเอ็ด

[คัดลอกลิงก์]
พระมหาเถราจารย์แห่งแดนอิสาน  ถิ่นเมืองร้อยเอ็ด  
นามเดิมชื่อ โส เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2405 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 วันพฤหัสบดี บิดาชื่อแย้ม มารดาชื่อตู้

หลวงปู่โสเป็นคนแรก มีน้อง 3 คน เป็นผู้หญิงหมด ชีวิตแต่ยังเยาว์ชอบชก ชอบต่อยกับเพื่อนฝูงอยู่เสมอ เมื่ออายุ

ได้ 16-17 ปีท่านได้ขออนุญาติพ่อ-แม่ไปเรียนเวทมนตร์คงกระพันคาดแก้วทุกแขนงจากพระอาจารย์เหม ซึ้งอยู่ใน

เขตจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อกลับมาจากพระอาจารย์เหม ก็เริ่มออกตัวเป็นนักเลง เก่งกาจไม่กลัวใคร และไม่กลัว

อะไรทั้งสิ้นจะเป็นปืน มีด หอก ประเภทอาวุธท่านไม่กลัวทั้งนั้น เมื่อถึงฤดูการว่างงาน ท่านก็เที่ยวเตร่ไปบุญบ้าน

นั้นบ้านนี้ อยู่อย่างนั้นเสมอทำตัวเองเป็นนักเลงกับพวกหนุ่มๆด้วยกัน เมื่อไปเที่ยวบุญบางวันก็เห็นกลับบางวันก็ไม่

เห็นกลับเป็นอย่างนี้อยู่ประจำถึงพ่อแม่แนะนำในทางที่ดีกว่านั้นก็ไม่เคยได้ผลเท่าที่ควร เมื่ออายุจวนจะครบ 20 ปี

ท่านเองได้ยินกิติศัพท์มาว่าพระอาจารย์สนเป็นผู้เก่งกาจในด้านเวทมนตร์เหมือนกับพระอาจารย์เหม แต่พระ

อาจารย์สนธิ์นั้นท่านอยู่ทางจังหวัดมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิพิสัย เมื่อท่านรู้ชัดอย่างนั้นแล้ว ท่านก็มุ่งหน้าไป

ทางเมืองโกสุมพิสัย เมื่อไปถึงพระอาจารย์สนธิ์แล้ว ท่านก็ขอเรียนเวทมนตร์ คาถาอาคม แต่อาจารย์สนธิ์ไม่ให้

เรียน เมื่อจะเรียนต้องบวชก่อนจึงจะได้เรียน เมื่อจะบวชก็ต้องไปขออนุญาติพ่อ-แม่ก่อนท่านจึงจะบวชให้เมื่อบวช

แล้วท่านจึงจะสอนคาถาอาคมให้ พระอาจารย์สนธิ์นั้นท่านแนะนำไปในด้านศิลและธรรมด้วยเมื่อได้ฟังเช่นนั้น

ท่านก็สนใจเป็นพิเศษจึงกลับมาขออนุญาติจาดพ่อและแม่ พ่อและแม่ก็อนุญาตให้ตามความประสงค์ แล้วท่านก็ได้

กลับไปหาพระอาจารย์สนธิ์ และเล่าความเป็นจริงให้พระอาจารย์สนฟังพระอาจารย์สนนั้นท่านก็เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่แล้วท่านจึงจัดหาเครื่องอัฎฐบริขารบวชให้ในปี พ.ศ. 2425เมื่อบวชแล้วก็ได้ร่ำเรียนเจ็ดตำนาน และเรียนคาถา

อาคมควบกันไปด้วย เมื่อเรียนจบเจ็ดตำนานแล้วก็เรียนสิบสองตำนานต่อไปจนจบและได้จำพรรษาอยู่กับพระ

อาจารย์สนธิ์ 3 ปี ต่อ

มาท่านก็หวนรำลึกถึงพระอาจารย์เหม เมื่อมาถึงพระอาจารย์เหมแล้วท่านก็แนะนำให้ไปเรียนมูลกัจจายน์ในสำนัก

พระอาจารย์นิ่ว ชึ่งอยู่ที่บ้านไผ่สร้างช้าง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเรียนมูลกัจจายน์จบก็ได้เรียน

พระคำภีร์ทั้ง 5 ก้จบเช่นเดียวกัน จากนั้นมาท่านได้กราบลาพระอาจารย์นิ่วเพื่อจะมาอยู่จำพรรษาที่บ้านฟ้าเลื่อม

เพราะนานหลายปีนับตั้งแต่วันที่ท่านได้ออกจากบ้านไปเมื่อมาถึงยโสธรชาวเมืองยโสธรก็ขอนิมนต์อยู่จำพรรษา

อยู่ที่วัดสร้างโศรก 1 ปี ในระยะนั้นในระยะนั้นทางบ้านฟ้าเลื่อมก็ไม่มีพระอยู่จำพรรษาจึงได้พร้อมใจกันไปนิมนต์

ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านฟ้าเลื่อม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก

และเป็นพระที่ถือคันถธุระเป็นส่วนใหญ่ เป็นผู้มีความรู้และวิชาอาคมเวทมนต์เก่งกาจมาก จำพวกไสยศาสตร์นั้น

เป็นอันว่าท่านไม่หวาดกลัวอะไร หรือจำพวกปืนผาหน้าไม้ หอก ดาบ ท่านไม่หวั่นเสียเลย ปู่ ย่า ตา ยาย เคยเล่าให้

ฟังว่าท่านปัสสาวะใส่ตอไม้ไว้ แล้วบอกให้คนเอาปืนไปยิง ปืนนั้นก็ไม่ติดไม่ออกเสียงเลย  อีกประการหนึ่งมีความ

ว่า ท่านเอามีดดาบ ยาวประมาณ 1 เมตร เอามือพับให้เหลือแค่ 1 ฟุต เมื่อท่างจะให้ดาบตรงเช่นเดิมก็เอาปากคาบ

ตัวดาบแล้วเอามือดึงด้ามดาบแล้วดาบนั้นก็จะเหยียดตรงเหมือนเดิม นี้ก็เป็นความเก่งกาจของท่านตามที่ปู่ยาตา

ยายเล่าให้ฟังส่วนด้นตำแหน่งในคณะสงฆ์นั้น ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. 2445ท้ายสุดท่านก็

ได้พาญาติโยมิสร้างกุฎิสามมุข และศาลาแบหลังคา 3 ชั้น ไว้เป็นการศร้างวัถุครั้งสุดท้าย และท่านได้สร้างสะพาน

ข้ามห้วยใส้ไก่ ระหว่างบ้านฟ้าเลื่อมไปบ้านจ้อก้อ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร (ปัจจุบันชำรุดแล้ว) เมื่อปี พ.ศ. 2465

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มีพระราชทินนามว่า " พระธัมมโสภติ (หลวงปู่โส ธมฺมปาโล ) และท่านเป็นผู้มีลูกศิษย์

ลูกหามากมาย

นอกจากการก่อสร้างแล้วท่านยังเป็นผู้ที่ได้จารหนังสือ หรือเขียนหนังสือ พระคัมภีร์ และวรรณคดีต่างๆ และตำรา

ต่างๆอีกหลายอย่าง ด้วยตัวอักษรขอมบ้าง , อักษรลาวบ้าง , ไทยน้อยบ้าง , ไทยสือบ้าง และท่านมีลูกศิษย์ผู้ทรง

คุณวิทยาคุณอยู่ 4 องค์ คือ

1. พระครูนิเทศธัมวินัย (หลวงปู่ชม)

2 พระครูรังษิสุทธิคุณ (หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จำปา)

ซึ่งต่อมาตำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็น (อดีตเจ้าคณะตำบลหน่อม) เจ้าคณะอำเภออาจสามารถ จังหวัด

ร้อยเอ็ด

3.พระครูกุลณไพศาล (หลวงพ่อทองดำ)

ซึ่งดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์ (อดีตเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่) จังหวัดขอนแก่น

4.พระครูธีรสารสุนทร (หลวงปู่ธีร์ เขมจารี พระเกจิดังภูเวียง) อดีตดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภูเวียง จังหวัด

ขอนแก่น ท่านได้ละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 24.00 น. ของวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2549 ณ โรงพยาบาล

ศูนย์ขอนแก่น หลังเข้ารับการรักษาอาการโรคปอดติดเชื้อ มาตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ.2549

พระครูบูรพาภิวัวัฒน์ หลวงปู่สุข ยโสธโร วัดบูรพา จ.ร้อยเอ็ด   (ศิษย์ผู้พี่หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่)

ท่านได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา 19.30 น. อายุ 69 พรรษา

หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ฯลฯ  




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-7-21 23:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และยังมี เกจิฯอาจารย์ดังๆอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม
ส่วนพระครูรังษีสุทธิคุณนั้นท่านไม่ได้ไปไหนเหมือนองค์อื่นๆ ท่านนั้นอยู่เพื่อคอยดูแลปรนนิบัติหลวงปู่อยู่เสมอและ
หลวงปู่เองก็ไม่ให้ท่านหนีไปด้วย คือท่านเอาไว้เพื่อเป็นพระกรรมาวาจารย์ในเมื่อมีการอุปสมบทและในเวลาต่อ
มาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาแทนท่าน และเป็นผู้ลงคาถาตะกรุด ประหรอด ผ้ายัญ และเสื้อยัญ ทุกอย่าง
ท่านให้ทำช่วยอยู่เสมอ  เมืออยู่มาถึงปี พ. ศ. 2480 หลวงปู่โสนั้นท่านก็ได้ป่วยด้วยโรคชรา และก็ได้ถึงแก่มรณะ
ภาพในเวลาต่อมา เมื่อท่านถึงมรณะภาพแล้ว หลวงพ่อพระครูรังษีสุทธิคุณนี้ เป้นผู้ได้รับมรดกของท่านทุกๆ แขนง
มากกว่าบรรดาศิษย์ทั้งหมด จะเป็นตำราอะไรต่อมิอะไรนั้น หลวงพ่อพระครูรังษีสุทธิคุณก็เป็นผู้เก็บไว้หมด เมื่อตก
มาถึงปี พ.ศ. 2521 หลวงพ่อพระครูรังษีก็ได้เกิดป่วยอาพาธลง ท่านหลวงพ่อพระครูรังษีสุทธิคุณ จึงได้มอบตำรับ
ตำรา ซึ่งท่านได้รับมาจากหลวงปู่โสนั้น มอบให้แก่จารย์พรมมา ซึ่งเป็นหลานผู้ใกล้ชิดสนิดสนม และเป็นผู้ไว้เนื้อ
เชื่อใจของท่านมากที่สุด เมื่อจารย์พรมมารับเอาไว้แล้ว ไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน อ่านก็อ่านไม่ออก เพราะเป็นตัว
ขอมบ้าง ตัวไทยบ้าง ตัวไทยสือบ้าง ตัวไทยน้อยบ้าง ตัวลาวบ้าง ตัวกลางบ้าง  ประสมประสานกัน จารย์พรมมาก็
ก็เอาไปซ่อนไว้ในตู้พระคำภีร์ ปะปนกันกับหนังสือคำภีร์อื่นๆ ส่วนหนังสือในตู้นั้นก็ไม่มีใครเอามาอ่านเอามาเรียน
อีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครเปิดดู เพราะถือว่าเป็นตู้พระคัมภีร์แล้ว ก็จะไม่มีใครไปแตะต้องศึกษา เพราะไม่มี
ความรู้นั้นเอง ฉะนั้น มรดกชิ้นนี้จึงหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่มีใครมีความรู้พอที่จะแปลคัมภีร์เหล่านั้นได้เพราะมีความ
ประสมประสานกันหลายภาษา ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ข้อมูลทั้งหมดคัดลออกมาจากหนังสือ " ที่ระลึกในงานฉลองศาลาการเปรียญ"  วันที่ 19 เมษายน 2540 เรียบเรียงโดย พระมหาสัมฤทธิ์ ยสินธโร
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-7-21 23:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2020-7-21 23:04

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้