ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2477
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่ทอง อินทสุวณโณ วัดละมุด นครชัยศรี นครปฐม

[คัดลอกลิงก์]
หลวงปู่ทอง  อินทสุวณโณ วัดละมุด นครชัยศรี  นครปฐม
เขียนโดย วิศัลย์
หลวงปู่ทอง  อินทสุวณโณ วัดละมุด นครชัยศรี  นครปฐม (๒๓๙๑- ๒๔๖๙)

วัดละมุด   เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ไม่สามารถสรุปได้ว่าสร้างมาในสมัยใด   สันนิษฐานว่าชาวบ้านสมัยโบราณที่อยู่ในละแวกนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อ ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนของตน   เล่ากันว่าพื้นที่ในละแวกวัดสมัยโบราณ เป็นร่องสวน  ปลูกต้นละมุด   ได้มีชาวบ้านทำการไถพรวนดินแล้วไปพบ  เศียรพระพุทธรูป   จึงได้รวมตัวกันสละแรงกายและแรงเงินสร้างวัดขึ้นมาในบริเวณร่องสวนที่พบเศียรพระพุทธรูปนั่นเอง   แล้วเรียกชื่อกันติดปากมาแต่โบราณตามลักษณะของพื้นที่ว่า   วัดละมุด
ปัจจุบัน   วัดละมุด  ตั้งอยู่ที่  ต.ละมุด  อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม  พื้นที่ปัจจุบัน  ๒๙ไร่เศษ  อยู่ติดกับคลองบางพระทางทิศตะวันตก  ถ้าเดินทางโดยรถยนต์วัดละมุดจะอยู่เลยวัดบางพระไปประมาณ ๒ กม.   คลองบางพระเป็นคลองเก่าแก่มาแต่สมัยโบราณ  เป็นเส้นทางการเดินทางที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองที่มาจาก จ.กาญจนบุรี  กับแม่น้ำท่าจีน ที่เชื่อมต่อกับ จ.นครปฐม
หลวงปู่ทอง อินทสุวณโณ  อดีตเจ้าอาวาสวัดละมุด  เกิดเมื่อวันอาทิตย์  เดือน ๖  ปีระกา  ตรงกับ พ.ศ.๒๓๙๑  ที่ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม  ในช่วงวัยเด็ก บิดา มารดาท่าน  ได้นำท่านไปฝาก  ไว้กับหลวงปู่แจ้ง  วัดธรรมศาลา  เพื่อรับใช้และศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับอักขระบาลี  สันสกฤต  จนอายุครบบวช  ท่านได้เข้ารับบรรชาเป็นพระภิกษุ  ที่วัดธรรมศาลา  เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑  โดยมี  หลวงปู่แจ้ง  วัดธรรมศาลา  เป็นพระอุปัชฌาย์  ได้รับฉายาทางธรรมว่า   อินทสุวัณโณ   หลังจากบรรพชา  ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม  กับหลวงปู่แจ้ง  อุปัชฌาย์ ของท่าน    อันหลวงปู่แจ้งนี้  ในยุคสมัยของท่าน  ถือเป็นเกจิที่มีชื่อเสียงมากในนครปฐม  ท่านมีชื่อเสียงควบคู่มากับ  หลวงปู่นาค  และหลวงพ่อทา
หลวงปู่ทอง  ได้ศึกษาพุทธาคมกับหลวงปู่แจ้ง ได้ประมาณ ๕ พรรษา  จากนั้นท่านได้เข้ามาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมตามคำแนะนำของหลวงปู่แจ้ง  ที่วัดบางสะแก  กรุงเทพฯ  พร้อมกับได้ออกธุดงค์เพื่อฝึกวิปัสสนา และศึกษาพุทธาคมเพิ่มเติม   หลังจากนั้นท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดธรรมศาลา  ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคู่สวด  โดยที่ส่วนมากท่านมักได้รับนิมนต์ให้เป็นพระคู่สวดคู่กับ  หลวงพ่อนวม  วัดธรรมศาลา   อันหลวงพ่อนวมนี้  ท่านเป็นน้องชายแท้ๆของหลวงปู่แจ้ง  ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา  และได้รับการแต่งตั้งจากในหลวง ร.๔ ให้ดำรงค์ตำแหน่งเป็นหนึ่งในสี่พระครูผู้พิทักษ์องค์พระปฐมเจดีย์  ที่   พระครูปุริมานุรักษ์   คู่กับหลวงปู่แจ้งที่ดำรงค์ตำแหน่ง  พระครูทักษิณานุกิจ
ในปี พ.ศ.๒๔๓๓  วัดละมุดได้ว่างเจ้าอาวาส  ทายก และทายิกา  ตลอดจนชาวบ้าน ต.ละมุด  ได้มาปรึกษากับหลวงปู่แจ้ง  ถึงตำแหน่งเจ้าอาวาส   หลวงปู่แจ้ง ท่านได้ให้ หลวงปู่ทอง ไปดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดละมุด  ในปีนั้นเอง   หลังจากที่หลวงปู่ทองได้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาส  ท่านได้พัฒนาจนวัดละมุด  เจริญสูงสุดในสมัยท่าน   พร้อมกับได้ช่วยเหลือชาวบ้าน ต.ละมุดและบริเวณใกล้เคียง  ทั้งทางด้านพุทธาคมและด้านการแพทย์แผนโบราณ  จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘  ท่านได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระอุปัชฌาย์  บวชกุลบุตรในเขต ต.ละมุดและใกล้เคียง  
ทางด้านวัตถุมงคล  นอกจากพระเครื่องที่สร้างจากเนื้อตะกั่ว  เนื้อดิน  และเนื้อผงใบลาน  พิมพ์พระคง  กับพิมพ์นาคปรกแล้ว  ท่านยังได้สร้าง ตะกรุด  ผ้าประเจียด  พิรอด  แจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ไว้ใช้คุ้มครองป้องกันเพทภัย   จนปรากฎพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือกันมาก เป็นทีกล่าวขานกันมาจนถึงปัจจุบัน   พระเครื่องที่ท่านสร้างในยุคของท่านนับได้ว่า  หายากกว่าพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วมากนัก
ตลอดชีวิตท่าน  ที่ได้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดละมุด  ท่านได้สร้างคุณูปการเป็นอย่างมากต่อวัดละมุด ตลอดจนชาวบ้าน ต.ละมุดและใกล้เคียง   วัดละมุดเจริญสูงสุดในยุคของท่าน  จนกระทั่ง วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙  ตรงกับ  วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล  ท่านได้ละสังขาร เมื่ออายุได้  ๗๘ ปี  สร้างความโศกเศร้าเป็นอย่างมากต่อบรรดาลูกศิษย์   ทิ้งไว้แต่คุณงามความดีและความเจริญของวัดละมุด  ตราบจนปัจจุบัน




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-15 06:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่ทอง  เป็นพระเกจิที่ทรงพุทธาคมสูงมากยากที่จะหาพระเกจิองค์ใดที่จะมา  เสมอเหมือนท่านในนครปฐม   ในยุคของท่าน ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๙ หลังจากสิ้นหลวงพ่อทา   จึงจ้องนับว่าหลวงปู่ทองเป็นหนึ่งในนครปฐม  ท่านเป็นพระเกจิที่มีอายุไล่เลี่ยอยู่ในยุคเดียวกับ  หลวงปู่บุญ  วัดกลางบางแก้ว  หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  หลวงปู่ยิ้ม  วัดหนองบัว  ลูกศิษย์ที่ศึกษาพุทธาคมกับท่าน  ล้วนแล้วก็เป็นสุดยอดเกจิในยุคของต่อๆมา อาทิ  หลวงพ่อหิ่ม  วัดบางพระ (อาจารย์หลวงพ่อเปิ่น)  หลวงพ่อเบี้ยว  วัดใหม่สุคนธาราม และ หลวงพ่อน้อย  วัดธรรมศาลา  
ใครมีพระเครื่องของหลวงปู่ทองไว้บูชา  ต้องนับว่าโชคดีสุดๆครับ
พระจุฬามณี ที่วัดละมุด

ครั้นถึงปีขาล พ.ศ. ๔๔๓๓ ทายกทายิกาได้อาราธนา หลวงพ่อทอง อินทสุวณโณ วัดธรรมศาลา อำเถอเมือง จังหวัดนครปฐม มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดละมุด ท่านได้เริ่มปฏิสังขรณ์อุโบสถ ฉาบทาสีผนังและประดับดาวเพดาน ปูพื้นถมโคกอุโบสถ ก่อทำซุ้มปรางค์ ตลอดถึงกำแพงอุโบสถ จากนั้นก็ได้ทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญอยู่เคียงคู่กับศาลาหลังเดิมอีกหลังหนึ่ง เพื่อพอบรรจุคนที่มาทำบุญบำเพ็ญกุศลเป็นระยะเวลา ๕ ปี ลุล่วงถึงปีมะแม สัปตะศก พุทธศักราช ๒๔๓๘ หลวงพ่อทองท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์วัดละมุด จึงมีพระบวชเพิ่มขึ้นปีละมาก ๆ ต้องปรับปรุงและสร้างกุฏิที่อาศัยของพระสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
กาลต่อมาอุโบสถวัดโบสถ์ร้าง ได้พังทะลายลง หลวงพ่อเห็นว่า ควรจะได้นำเอาพระพุทธศิลามาเก็บรักษาไว้ ท่านจึงได้เริ่มสร้างวิหารขึ้นเคียงคู่กับอุโบสถที่วัดละมุด เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๔๕๘ มีขนาดความกว้าง ๘ วา ยาว ๑๒ วา สูง ๑๐ วาเศษ ก่ออิฐถือปูนโดยช่างจีน
พระจุฬามณีเป็นเจดียสถาน ซึ่งประดิษฐานอยู่บนดาวดึงส์เทวโลกเน้นตามตำนานพุทธนิบาตและมาลัยสูตรกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะพร้อมกับนายฉันทะ เสด็จหนีออกบรรพชาวันเพ็ญอาสาฬหะ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานทีทรงประทับยังยั้งอยู่ที่นั้น แล้วทรงจำพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงจับพระขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา ตัดพระเมาลีแล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าการบรรพชาของเราจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ จอให้พระเมาลีของเราลอยประดิษฐานอยู่บนอากาศ จึงโยนขึ้นไปในภากาศพร้อมด้วยผ้าโพกพระเศียรครั้งนั้นท้าวศักรินทร์เทวราช จึงเสด็จลงมาเอาผอบทองเข้ารองรับไว้ แล้วก้อนำไปประดิษฐานในเจดีย์แก้วอินทนิลบนดาวดึงส์สวรรค์
ดังนั้นหลวงพ่อทอง อินทสุวณโณ  ท่านจึงหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สร้างขึ้นเป็นพระจุฬามณีเจดีย์สถานรูปทรงเจดีย์ ไม้สิบสอง ขนาดกว้าง ๓ ศอก สูง ๖ ศอก  เพื่อบรรจุพระธาตุไว้ให้บุคคลทั้งหลายได้สักการบูชาและปิดทองเป็นประจำทุกปี

อีกเรื่องหนึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน นครกุสินารา วันเพ็ญวิสาขมาส ครั้งถึงวันอัฏฐมีดิถีแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ พวกมัลละกษัตริย์ทั้งหลาย ได้ประชุมกันนำพระบรมศพของสมเด็จพระบรมศาสดา ไปถวายเพลิงที่มกุฏพันธนเจดีย์มงคลสถานแล้วได้นำพระสารีริกธาตุพร้อมด้วยผ้าสิงคีวรรณที่ห่อพระบรมธาตุนั้น มาประดิษฐาน ณ ภายในสัณฐาคารกระทำการสักการบูชาสมโภชตลอด ๗ วัน และมีทหารพลช้าง พลม้า พลรถ พลบทจรทั้ง ๔ เหล่าเฝ้ารักษา ครั้งนั้นมีกษัตริย์ต่างพระนคร เช่นกรุงราชคฤห์เป็นต้น ได้ส่งทูตมาสู่ของแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อสักการบูชา แต่ทว่าพวกมัลละกษัตริย์มิยอมแบ่งปันให้แก่กษัตริย์ทั้งหลาย จนเกือบจะเกิดสัมปหารทำสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุกันขึ้นในครั้งนั้น จนโทณพราหมณ์ต้องประกาศด้วยอภิสวาจาว่า “ ข้าแต่คณิกรเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องขันติธรรม คือความอดกลั้นไว้มาก การที่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ จะมาลาขันติธรรม เพราะแย่งพระบรมสารีริธาตุกันเป็นการผิดพระประสงค์มาก ไม่เป็นการสมควรเลย” และย้ำให้กษัตริย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม เพื่อให้มีพระทัยเป็นเอกฉันท์แบ่งปัน พระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน พวกกษัตริย์ทั้งหลายจึงพร้อมใจกัน ให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อพรมหมณ์เอาทะนานทองตวงพระบรมสารีริกธาตุอยู่นั้นก็บังเกิดโลภมูลจิตคิดอยากจะได้เขี้ยวแก้วแล้วซ่อนไว้ในมวยผมของตน ครั้งนั้นท้าวอมรินทร์เล็งทิพยเนตรเห็นพระเขี้ยวแก้วไม่สมควรอยู่กับโทณพราหมณ์ จึงเสด็จลงมานำไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดียสถานบนดาวดึงส์ ฉะนั้นพระจุฬามณีจึงเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเมาลีกับพระเขี้ยวแก้งของพระพุทธเจ้า ครั้งถึงวันธรรมสวนะ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายจึงพาบริวารของตน ไปนมัสการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์สถานเป็นการเพิ่มพูนกุศลของเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้มนุษย์ทั้งหลายผู้ที่จะถึงแก่กรรม (ตาย) บรรดาพวกญาติทั้งหลายจึงนำดอกไม้ธูปเทียนใส่ไว้ในมือแล้วบอกว่า “ พระอะระหัง พระอะระหัง พระอะระหัง” เพื่อให้คนนั้นระลึกถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะได้นำดอกไม้ไปไหว้พระจุฬามณี

http://www.wisonin.com/index.php/section-table/215-2012-04-22-01-40-38
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้