ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6249
ตอบกลับ: 24
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ~

[คัดลอกลิงก์]


ข้อมูลประวัติ
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม

เกิด                ประมาณปี 2397

บรรพชา           อายุ 15 ปี  ประมาณปี 2394 ณ วัดโพธาราม

อุปสมบท         ณ วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง)

มรณภาพ          ปี 2463

รวมสิริอายุ        84 ปี


หลวงพ่อทาท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย อาทิ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก , หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด , หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม , หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อทา   วัดพะเนียงแตก  ตำบลมาบแค   อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม   ตามประวัติกล่าวเอาไว้ว่า     บรรพบุรุษได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวเวียงจันทร์     มาตั้งถิ่นฐานอยู่ราชบุรี      แต่บางกระแสก็กล่าวว่าบรรพบุรุษของท่านมีเชื้อสายเป็นชาวมอญ ท่านถือกำเนิดเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๓๖๖   ในรัชสมัยรัชกาลที่  ๓  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์    เมื่ออายุได้  ๖  ขวบ  บิดามารดา    ได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดอยู่วัดโพธารามนั่นเอง   เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักษรขอม    และอบรมบ่มนิสัยตามประเพณีไทยแต่โบราณ    เมื่ออายุได้  ๑๕  ปี  ตรงกับปี  พ.ศ. ๒๓๘๑   ได้บรรพชาเป็นสามเณร   ณ   วัดโพธารามนั่นเอง   โดยมีหลวงพ่อทาน   เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น     จนกระทั่งมีอายุครบบวช     จึงได้อุปสมบทเมื่อปี   พ.ศ. ๒๓๘๖      ที่วัดบ้านฆ้อง  ( วัดฆ้อง   )  อำเภอโพธาราม   จังหวัดราชบุรี    วัดบ้านฆ้อง ( วัดฆ้อง ) ในอดีตเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและพระกัมมัฏฐาน  ที่มีชื่อเสียงมาก   สมัยนั้นหากใครได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน  ณ  สำนักแห่งนี้แล้วถือว่าไม่ธรรมดา  แม้ลาสิกขาบทออกไป   ก็จะได้รับการยกย่องเชิดชู   เป็นหน้าตาแก่วงศ์ตระกูล   ที่มีชื่อเสียงและได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลโดยทั่วไป       สำหรับหลวงพ่อทานั้น ภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทั้งภาษาไทย   ภาษาบาลี   และภาษาขอม  จนเป็นที่แตกฉาน   เมื่อเห็นสมควรแล้ว        จึงได้หันมาศึกษาและฝึกปฏิบัติพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน   อีกทั้งยังศึกษาทางด้านพุทธาอาคมต่าง ๆ อีกมากมาย      จนชำนาญและเชี่ยวชาญ     จึงกราบลาพระอาจารย์       ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ  หาสถานที่สงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม      ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ   เพื่อให้พ้นบ่วงแห่งอาสวะกิเลสทั้งปวง     สถานที่ต่าง ๆ  ที่ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านไปนั้นมีหลายที่เช่น   ไปเมืองสระบุรี   เพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท   ไปเมืองพิษณุโลก  เพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราช   หลังจากนั้นก็รอนแรมในแถบภาคอีสาน      ข้ามไปยังฝั่งเขมร   เมื่อกลับเข้ามาแล้วจึงวกไปภาคตะวันตก    สู่จังหวัดกาญจนบุรีผ่านไปยังพม่า   แวะกราบนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง      กาลเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี    ที่หลวงพ่อทาได้ธุดงค์จาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ใช้ชีวิตอยู่ในป่าดงพงไพร   ฝึกฝนสมาธิทางจิต   และขัดเกลากิเลสตัณหา   ด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจังในระหว่างนั้นเมื่อท่านได้มีโอกาสพบปะกับพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม   ก็จะขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาสรรพวิชาต่าง ๆ  อยู่เสมอไม่เคยขาด    ทำให้ท่านมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์หลายแขนง    ที่ยากจะหาใครมาเสมอเหมือนโดยง่าย
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จนกระทั่งเมื่อประมาณ  ปี  พ.ศ. ๒๔๑๗    ขณะนั้นท่านมีอายุได้  ๕๑  ปี    หลวงพ่อทาได้ธุดงค์ผ่านมาทางตำบลพะเนียงแตก     ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลมาบแค   ซึ่งในตำบลนี้มีวัดเล็ก ๆ ซึ่งหลวงปู่สุขเป็นผู้สร้าง   ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นป่ารกชัฏนอกเมือง      เมื่อท่านเห็นว่าเป็นสถานที่วิเวก   เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรมท่านจึงได้ตัดสินใจปักกลดพักแรม     และได้ทราบด้วยญาณว่า        ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดมาก่อน   จึงได้จำวัดอยู่   ณ  บริเวณวัดนี้  ซึ่งพอดีที่วัดพะเนียงแตกไม่มีเจ้าอาวาส     เนื่องจากหลวงปู่สุขได้มรณภาพมานานแล้ว  จึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างกลายสภาพเป็นป่ารกชัฏดังกล่าว    ประชาชนเห็นว่าหลวงพ่อทาได้ธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่วัดนี้และมีความเลื่อมใสศรัทธา      จึงได้นิมนต์ให้หลวงพ่อทาอยู่ประจำวัดและให้เป็นเจ้าอาวาสของวัดพะเนียงแตกแทนหลวงปู่สุข   เมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๓๐    หลวงพ่อทาได้ปกครองวัดพะเนียงแตกมาเป็นเวลานานพอสมควร ท่านจึงเริ่มลงมือสร้างเป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง    พร้อมทั้งสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นมามากมายรวมทั้งอุโบสถ   ในช่วงระหว่างการสร้างวัดแห่งนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่น ๆ ขึ้นมาอีกในคราเดียวกัน  เช่นวัดบางหลวง    วัดดอนเตาอิฐ  วัดสองห้อง  เป็นต้น    หลวงพ่อทา    แห่งวัดพะเนียงแตก    ในช่วงนั้นท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก   ได้ รับการยอมรับนับถือว่าเป็นพระนักปฏิบัติเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนา กัมมัฏฐานอย่างยิ่งยวดมีพลังจิตแก่กล้าและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก    ทั้งบรรพชิตและฆราวาส

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่  ๕  (  พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓ ) ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว   จึงมีรับสั่งโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอ ๆ ด้วยพระองค์ท่านทรงโปรดปรานพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก   และหลวงพ่อทาก็เป็นพระเถราจารย์องค์หนึ่งที่พระองค์ท่านทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก   ดังนั้นพระราชพิธีหลวงต่าง ๆ  ท่านจะรับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อทา     วัดพะเนียงแตก  เสมอ ๆ เช่น  พิธีหลวงการพระศพ  สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริศยาลงกรณ์   ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย  และได้รับถวายพัด  เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว   ซึ่งมีขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๕ (  ร.ศ.๑๑๑ ) โดยพยานหลักฐานยืนยันก็คือ   ภาพถ่ายของท่าน   และมีระบุในภาพถ่ายดังกล่าว  ว่าถ่าย ร.ศ.๑๒๗  ตรงกับปีพ.ศ. ๒๔๕๑ พัดที่ตั้งอยู่ด้านขวามือของท่านคือ  พัดยศ  ส่วนพัดทางด้านซ้ายมือ   คือ  พัดที่ได้รับถวายเนื่องในพิธีหลวงการพระศพ   ข้อความที่ระบุในพัดคือ  การพระศพสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า   รัตนโกสินทร์ศก  ๑๑๑
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กล่าวได้ว่า    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อทา    วัดพะเนียงแตก   ท่านได้ดำรงชีวิตในสมณะเพศอย่างคุ้มค่า   มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง    เมื่อท่านได้บรรพชา – อุปสมบท   ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลทุกด้าน   นำสิ่งที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ     มาอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์    ให้ยึดถือปฏิบัติแนวทางอย่างถูกต้องตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาอย่างเต็มกำลังความสามารถตราบถึงกระทั่งแม้ท่านมีอายุมากแล้ว   ก็ยังปฏิบัติศาสนกิจอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง     จนเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

             ปี  พ.ศ. ๒๔๖๒ (ร.ศ.๑๓๘ ) ตรงกับปีมะแม    หลวงพ่อทาได้ชราภาพมากจึงถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ รวมสิริอายุได้  ๙๖  ปี  พรรษาที่  ๗๖    สิ่งที่หลงเหลือ    เป็นอนุสรณ์ให้ร่ำลือนึกถึงท่านก็คือเกียรติคุณ    คุณงามความดี    และบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน    ที่จะทำให้เราจดจำไว้

อย่างไม่มีวันลืม    สมดั่งเป็นพระอุปัชฌาย์พระารย์ผู้เข้มขลัง     แห่งจังหวัดนครปฐม      ตราบชั่วกาลนาน
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อวัตรปฏิบัติ

ข้อวัตรปฏิบัติ หรือปฏิปทาอันทรงเปี่ยมเยี่ยมยอดของหลวงพ่อทา   แห่งวัดพะเนียงแตกองค์นี้   ในครั้งอดีต  เป็นที่รู้จักโด่งดังมาก    จน เป็นที่กล่าวขวัญชื่นชมของชาวบ้านที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐมเป็นอันมาก ปัจจุบันกาลเวลาได้ล่วงเลยไปทีละน้อย ๆ กิตติคุณท่านก็รู้สึกว่ายิ่งจะรุ่งเรืองขึ้นเพราะในสมัยนั้นสภาวะอันปั่น ป่วนดิ้รนของประชาชนทั้งหลาย    ย่อมมองหาสิ่งที่ดีมาคอยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดมีที่พึ่งในตนเอง   ซึ่งเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดเป็นอย่างดีที่สุด   อภิญญาฌานที่ไม่เคยเสื่อมคลายของหลวงพ่อทา   แห่งวัดพะเนียงแตก    ก็ยิ่งเป็นศูนย์ดึงดูดจิตใจชาวพุทธ   ให้เดินทางไปกราบไหว้ขอพรจากท่านอยู่อย่างเนืองแน่น

            เมื่อหลายปีก่อน   ผู้เขียนเคยมายืนทบทวนความทรงจำเก่าๆ  ก่อนจะเริ่มเขียนประวัติและปฏิปทาของหลวงพ่อ    มาวันนี้ผู้เขียนก็มายืนอยู่  ณ  จุดๆ เดิมมองไปรอบๆบริเวณวัด    ก็เห็นผู้คนเดินทางกันมากราบขอพรจากหลวงพ่อทาหนาตามากขึ้น       บ้างก็มีรถเก๋งส่วนตัวและรถบัสขนาดใหญ่หลายๆคัน    ทำให้บรรดาแม่ค้า   พ่อค้ามาจับจอง   หาที่ทำมาหากินทำให้บรรยากาศครึกครื้นไม่เงียบเหงาเหมือนสมัยก่อน ๆ  โน้น    ภายในวัด   ปรากฏสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่หลายต่อหลายอย่าง    แต่สิ่งที่สำคัญเปรียบด้วยหัวใจในการเดินทางมาที่วัดพะเนียงแตกแห่งนี้ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ     แผ่นทองอันเหลืองอร่าม   ติดถวายบูชารูปหล่อหลวงพ่อทาภายในมณฑป  และพระพุทธปฏิมากรที่ศักดิ์สิทธิ์พระองค์นั้น    ย่อมเป็นสักขีพยาน   ความเคารพบูชาที่ไม่เคยเสื่อมคลายของพุทธบริษัทอย่างแน่แท้   

            จากประวัติอันยาวนานของหลวงพ่อทาแห่งวัดพะเนียงแตก   จ.นครปฐม   เท่าที่พอจะสืบทราบนำมาลงเผยแผ่   เป็นเกียรติคุณมีดังนี้คือ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อทา  วัดพะเนียงแตก  ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความสำคัญต่อชุมชน   พระศาสนา   และบ้านเมืองพอสมควรในสมัยนั้น  ซึ่งจะสังเกตได้ด้วยการสืบประวัติของท่าน   เล่ากันสืบๆ  ต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้   ก็ให้พิจารณาดูง่ายๆ  ว่า   คนรุ่นเก่าในสมัยของท่าน   กาลเวลาอันยาวนานแค่ไหน    ทำไมยังมีผู้คนกล่าวขวัญถึง     และยังมีหนังสือพระศาสนา    ตลอดจนครูอาจารย์ยุคเก่าคอยอ้างอิงให้เป็นช่วง ๆ อยู่เสมอ ๆ  นี่แหละพอเป็นหลักฐานว่า   หลวงพ่อทาหรือหลวงพ่อเสือ  หรืออีกนามคือพระครูอุตตรการบดี พระครูโสอุดร   หรือ หลวงพ่อวัดพะเนียงแตก   ต้องมีความสำคัญในข้อวัตรปฏิบัติ   จนเป็นที่ยอมรับยกย่องอย่างมากทีเดียว

            หากจะนับย้อนยุคนับแต่วันมรณภาพของท่านลงไป  ๙๖   ปี   คือพ.ศ. ๒๔๖๒  ปีมะแมนั้นก็หมายความว่าท่านเกิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  ๓  ปีกุน  พ.ศ. ๒๓๖๖

            หลวงพ่อทามีประวัติกล่าวเอาไว้ว่า    บิดามารดาท่านผู้เป็นบรรพบุรุษ   ได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวลาวเวียงจันทน์   ได้มาตั้งหลักปักฐานในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้   ฝ่ายชาวมอญได้ยินเข้าก็ปฏิเสธสวนทันทีว่า.......หลวงพ่อทา   เป็นชาวมอญ    บิดามารดาของท่าน   เป็นชาวบ้านหนองเสือ   ท่านก็เกิดที่บ้านหนองเสืออำเภอโพธาราม   จังหวัดราชบุรี   เมื่อได้บวชแล้วใคร ๆ ก็เรียกนามท่านว่า “ หลวงพ่อเสือ ” จะเป็นอื่นไปไม่ได้   นอกจากคนมอญชัด ๆเมื่อเติบโตขึ้นมา   ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย   ภาษาขอม  ภาษามอญ  จนมีความสามารถรู้ดีในท้องถิ่นนั้นคนหนึ่งทีเดียว

            ฝ่ายชาวนครปฐม สรุปลงด้วยการที่ว่าจะเป็นคนลาว  จะเป็นคนมอญ   แต่เมื่อมาอยู่วัดพะเนียงแตกก็ต้องเป็นพระไทยและเป็นมิ่งขวัญของชาวนครปฐมอีกด้วย

            สมัยเด็ก  หลวงพ่อทาเป็นคนใจกล้า  พูดจริงทำจริง  ไม่ผิดแล้วละก็เป็นหัวชนฝาเลยทีเดียว  สติปัญญาก็ดี   มีความเฉลียวฉลาดเอามากๆ   มีนิสัยเป็นผู้นำน่ายำเกรงยิ่งนัก

            ครั้นอายุได้  ๖  ขวบ  บิดามารดาก็นำมาฝากเป็นเด็กวัด   ที่วัดโพธาราม   จ.ราชบุรี   ทั้งนี้    การมาเป็นเด็กวัด   ก็เพื่อเข้ามาดัดนิสัยเด็ก ๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง    รู้จักปฏิบัติตนรู้จักการเข้ามาอยู่กับคนหมู่มาก   เป็นที่ที่จะได้อบรมบ่มนิสัยจากคนบ้านมาเป็นคนวัดที่มีกรอบระเบียบวินัย    ทั้งยังเรียนรู้   ดู  เห็นพระภิกษุ – สามเณร   เป็นแบบอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งนานวันเข้าจิตใจก็จะบังเกิดความโอนอ่อนมีเหตุผลของความเป็นผู้ใหญ่ได้ในที่สุด
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บรรพชาศึกษาธรรมะ

        เมื่อเจริญวัยอันควร   บิดามารดาและญาติมิตรได้พร้อมใจกันถวายบุตรชายของท่านให้ท่านเจ้าอาวาสวัดโพธาราม    จัดการบรรพชาเป็นสามเณร  เมื่ออายุครบ  ๑๕   ปี  คือราวพ.ศ. ๒๓๘๑   ปีขาล   หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว     สามเณรทาได้อยู่ปรนนิบัติครูอาจารย์ด้วยดีตลอดมานอกจากนั้นยังได้ศึกษาพระธรรมวินัย  เล่าเรียนอักขระธรรมสมัย    สืบวิสัยของผู้อยู่ในขอบเขตแห่งศีลธรรมว่า  “ อันใดควรปฏิบัติ    และอันใดควรละเว้น ”  อย่างไรก็ตาม   การปฏิบัติตนของสามเณรสมัยก่อนนั้น (  หลวงพ่อเต๋   คงทอง  วัดสามง่าม  ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อทาสมัยก่อน เล่าไว้ว่า   การเป็นสามเณรสมัยก่อน    ต้องทำงานหนักแต่หนักในทางที่ดี  คือ...  ต้องเรียนรู้จดจำเอาอย่างปฏิปทาของพระสงฆ์    สามเณรต้องขยัน   ออกบิณฑบาตนี่ขาดไม่ได้เว้นแต่เจ็บป่วย    กลับมาต้องตระเตรียมอาหารให้ครูอาจารย์  พระภิกษุ   แล้วก็หมู่พวกสามเณร   สามเณรต้องผลัดเวรกันทำความสะอาด    เช็ดถูกุฏิ   ศาลา    หอฉัน    ร่วมกับเด็กวัด   แม้แต่ลานหลังวัด   ก็ต้องไปทำความสะอาดเตรียมไม้กระดาษให้พรั่งพร้อม    กลางคืนต้องปรนนิบัติครูอาจารย์    บีบนวดพระอาจารย์ผู้เฒ่าชรา    ส่วนการทำวัตรสวดมนต์นั้นไม่ขาดได้ก็จะดีมาก   แม้แต่การซ่อมแซมพื้นกุฏิ   ฝาห้อง  ประตูหน้าต่าง     จะต้องเรียนรู้จนได้เป็นนายช่างฝีมือดี    มีฐานะมั่นคงก็ไม่น้อย     ต้องมีจิตใจ   มานะพยายามสูง    ส่วนมากจะเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ทั้งนั้นแหละ     สามเณรทา    วัดโพธารามก็เช่นกัน   ท่านมีความมานะพยายามสูง     มีความจำเป็นเลิศ   ประกอบด้วยตัวของท่าน     มีจิตใจแน่วแน่    ทำจริงพูดจริง    ขยันหมั่นเพียร   ครูอาจารย์จึงรักใคร่คอยดูแลสั่งสอนด้วยดี   ตลอด   ๕   ปี   ในการบรรพชาเป็นสามเณร
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อุปสมบท

            ต่อมาอายุครบบวช พ.ศ.๒๓๘๖  ท่านเจ้าอาวาสได้ร่วมกับบิดามารดาโยมญาติทั้งหลาย   ไปทำการอุปสมบท   ณ  พัทธสีมาวัดฆ้อง  (  ปัจจุบันเรียกวัดบ้านฆ้อง )  อำเภอโพธาราม    จังหวัดราชบุรี   โดยมีหลวงพ่อทานเป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อทา    สมัยยังเป็นพระหนุ่มๆ ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย   ตลอดถึงบาลี   ไวยากรณ์   มากขึ้น     ปรากฏว่ามีความแตกฉานมากและได้ข้อคิดที่ต้องนำมาอบรมสั่งสอนศิษย์ในกาลต่อมาดังนี้   คือ

๑.               ท่านมีสติเป็นเพื่อน

๒.               ท่านมีขันติเป็นเครื่องป้องกันตัว

๓.               ท่านมีความพากเพียรเป็นพาหนะ

๔.               ท่านมีปัญญาเป็นเครื่องมือดำเนินชีวิต

๕.               ท่านมีวิชาเป็นทุนของผู้นำ

๖.               ท่านมีความดีเป็นเครื่องประดับ

๗.               ท่านมีศัตรู ( กิเลสภายใน ) เป็นครูสอน

๘.               ท่านเป็นผู้ชนะใจของท่านเอง


(  ด้วยเหตุนี้เอง   หลวงพ่อทาจึงชนะใจของผู้คนทั้งหลาย )

หลวงพ่อทา      มีความรอบรู้ในด้านคันถธุระศึกษาพระปริยัติธรรม     เป็นครูสอนศิษย์ให้เกิดความรู้ในหลักธรรมจนเป็นที่เลื่องลือ   กิตติคุณของท่านได้แผ่ออกไปไกล   เช่นเมืองราชบุรี , เมืองเพชรบุรี,เมืองกาญจนบุรี , เมืองนครปฐม  รวมไปถึงจังหวัดชัยนาท ( ซึ่งสังเกตได้ว่าท่านเป็นเพื่อสหธรรมมิกกับหลวงปู่สุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า  จ.ชัยนาท ) รวมไปถึงเป็นที่เคารพศรัทธาของเจ้านายชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร  อีกด้วย
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิปัสสนากรรมฐาน

        ณ วัดบ้านฆ้อง  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี  ในอดีตเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน  เพราะมีพระผู้รอบรู้ในหลักปฏิบัติถึง  ๒   องค์  คือ

๑.         ท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านฆ้อง   ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ผู้ชำนาญในด้าน   สมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

๒.        พระคณาจารย์    ที่มีเชื้อสายรามัญมีวิชาอาคมแก่กล้า     จิตใจสงบราบเรียบ   คอยอบรมฝึกฝนให้หลวงพ่อทา  (  สมัยเป็นพระหนุ่ม  )  โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาอาคม    ซึ่งเป็นวิชามนต์อันเป็นเอกแห่งยุคนั้น

            ด้วยครูอาจารย์ทั้งสององค์นี้    มีความรักใคร่ในศิษย์  คือ  หลวงพ่อทา   จึง พยายามฝากฝังวิชาต่าง ๆ ที่ตนเองมีฝึกให้กับหลวงพ่อทาผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่และได้พิจารณาแล้วว่า ศิษย์ของท่านคนนี้ไม่ทำให้ท่านต้องผิดหวัง  

            สำหรับหลวงพ่อทานั้น      หลังจากศึกษาในหลักสูตรพระวินัยจนมีความรู้ความสามารถและสมควรแก่เวลาแล้ว    ท่านจึงเริ่มชีวิตในการฝึกปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน    อันเป็นวิชาธรรมขั้นสุดยอดต่อไป

            สำนักปฏิบัติวัดฆ้องแห่งนี้   หากนับตั้งแต่ปี  พ . ศ. ๒๔๐๓ – ๒๔๐๕  ย้อนลงไปเมื่อ ๑๔๘  ปีที่แล้ววัดฆ้องเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงมาก   ในสมัยนั้นถ้าบุตรชายของใครได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนหากลาสิกขาออกไป   ก็จะเป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแก่วงศ์ตระกูล    มีชื่อเสียง   มีประชาชนให้ความเคารพนับถือและอาจได้เป็นผู้นำของท้องถิ่นในนั้นด้วย     หากบวชเข้ามาแล้วไม่ลาสิกขาออกไปถือดำเนินชีวิตไปในเพศสมณะ      ก็จะเป็นครูอาจารย์ผู้ใหญ่เป็นพระเถระผู้กระทำคุณแก่พระศาสนาอย่างกว้างขวาง

            หลวงพ่อทา     ได้เริ่มฝึกฝนอบรมพระกรรมฐานในช่วงที่พระพุทธศาสนากำลังเฟื่องฟู  ซึ่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร. ๔ ) พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระศาสนาอย่างจริงจัง   ทรงวางพื้นฐานปรับปรุงระเบียบวินัยแก่นักบวช   และพระองค์ทรงสนับสนุนฟื้นฟูพระสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน

            บุคคลในยุคก่อน      มีจิตใจอันแน่วแน่    มีสัจจะเป็นเยี่ยม     ศีลธรรมภายในก็เต็มเปี่ยม    มีความเคารพเชื่อฟังในองค์ครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่เป็นพิเศษ    เมื่อรับคำสั่งแล้วจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-20 10:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

               หลวงพ่อทา      ท่านจึงได้รับประสิทธิ์วิชาต่างๆ ให้อีกหลายอย่าง   หลายประการ    นับว่ามีความสามารถอันเป็นยอดจริง ๆ    ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้    หลวงพ่อทาจึงมีแต่ความเจริญก้าวหน้า     ได้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีความมุ่งมั่น   ดำเนินเจตนารมณ์ของครูอาจารย์และได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตลอดมา ในหลักธรรมที่หลวงพ่อทานำไปปฏิบัติตนและสั่งสอนแก่ลูกศิษย์     พอค้นคว้าหามาเป็นหลักฐานได้มีอยู่   ๘   ประการคือ

๑.         ต้องเคารพในครูอาจารย์

๒.         ต้อง     หมั่นฟังธรรมจากครูบาอาจารย์    แล้วปฏิบัติตาม

๓.         ต้อง     หมั่นไต่ถามสิ่งอันที่ตนสงสัย

๔.         ต้อง     สำรวมระวังในฐานะผู้ทรงศีล

๕.         ต้อง     หมั่นนั่งสมาธิเจริญภาวนา      ทำใจให้สงบ

๖.         ต้อง     ต้องมีสติสัมปชัญญะ   รู้ตัวทั่วพร้อมมั่นคงยิ่งขึ้น

๗.         ต้อง     ปรารถนาความเพียรให้เกิดสติ     ให้เกิดปัญญา

๘.         ต้อง     พิจารณาความเกิด    และความตายอยู่เสมอๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้