ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3539
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วิจิกิจฉา,สักกายทิฏฐิ ,สีลัพพตปรามาส

[คัดลอกลิงก์]
วิจิกิจฉา
ความสงสัยในธรรม ๘ ประการ
๑. สงสัยในพระพุทธเจ้า (ว่าพระพุทธเจ้ามีตัวตนจริงหรือ พระพุทธเจ้ามีพระพุทธคุณจริงหรือ)

๒. สงสัยในพระธรรม (ว่ามัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือ พระธรรมนี้จะนำให้ออกจากทุกข์ได้จริงหรือ)
๓. สงสัยในพระอริยะสงฆ์ (ว่ามีจริงหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์มีจริงหรือ)
๔. สงสัยในสิกขาบท คือ สีล สมาธิ ปัญญา ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ
๕. สงสัยชาติที่แล้วมีจริงหรือ
๖. สงสัยว่าชาติหน้ามีจริงหรือ
๗. สงสัยว่าชาติที่แล้วและชาติหน้ามีจริงหรือ
๘. สงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้นมีจริงหรือ





2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-28 15:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สีลัพพตปรามาส
(บาลี: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น[1]
สีลัพพตปรามาสจัดเป็นความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง[2] จัดเข้าในกลุ่มสังโยชน์ขั้นต้นที่พระอริยบุคคลระดับโสดาบันจะละความยึดมั่นเช่นนี้ได้[3]
สีลัพพตปรามาสในพระไตรปิฎก ปรากฏทั้งในคัมภีร์สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก โดยความหมายหลักของคำว่าศีลและพรตในศัพท์นี้ หมายถึงการปฏิบัติตามความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อในอำนาจบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระผู้เป็นเจ้า, ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อว่าการบำเพ็ญทุกกรกิริยาจะสามารถทำให้ผู้บำเพ็ญหลุดพ้นจากความทุกข์หรือหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ หรือความเชื่อของลัทธิตันตระที่เชื่อว่าการมั่วสุมอยู่ในกามารมณ์จะสามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้[4] เป็นต้น
นอกจากนี้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาก็อาจถือว่าเป็นศีลพรตในสีลัพพตปรามาสได้ กล่าวคือความยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญศีลในทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ของตนว่าเป็นสิ่งประเสริฐจนละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจ และความเชื่ออย่างยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญเพียงแต่ศีลในพระพุทธศาสนาตามที่ตนยึดถือเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้ เช่น ความเชื่อว่าการถือศีลจะช่วยให้คนบริสุทธิ์ ซึ่งรวมไปถึงความเชื่อในการทานเจ หรือการปิดวาจา หรือความเชื่อในอำนาจอิทธิฤทธิ์บันดาลของพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์เป็นต้น
โดยสรุป สีลัพพตปรามาส คือความเชื่ออย่างเห็นผิดในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกตัว, ความยึดมั่นในความดีเพียงขั้นศีลของตน และความเชื่อว่าการบำเพ็ญทางกายวาจาเท่านั้นที่จะสามารถทำให้คนบริสุทธิ์จากกิเลสหรือหลุดพ้นได้ ความเห็นเหล่านี้ถูกจัดเป็นความเห็นที่ผิดพลาดในทางพระพุทธศาสนาเพราะเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องภายในจิตใจคือการหลุดพ้นด้วยปัญญาภายในเป็นสำคัญ[5] นอกจากนี้พระพุทธเจ้าตรัสหลักสีลัพพตปรามาสไว้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติหลงผิดจากแนวทางหลักในพระพุทธศาสนา กล่าวคือไม่ให้มัวแต่หลงยึดมั่นแค่เพียงความบริสุทธิ์ของศีลที่มีเฉพาะด้านกายและวาจา โดยละเลยความบริสุทธิ์ด้านจิตใจไป ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเช่นนี้จัดเป็นอัสมิมานะซึ่งจัดเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-28 15:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สักกายทิฏฐิ
ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)
www.84000.org

๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
จากพระสุตตันตปิฏก

คำแปลย่อๆ ก็เหมาะสำเร็จคนรู้เร็วเข้าใจเร็ว แต่ท่านจขกท.ยังสงสัยอยู่เลยถามไม่เป็นขั้นเป็นตอนครับ
(ถามเองตอบเองจะว่าถูกก็ถูกครับ แต่มันต้องขยายความเป็นชั้นเป็นตอนครับ)

ทีนี้เห็นเป็นผู้หญิงคงเหมาะกันผู้หญิงคุยกับสามีนะครับ

เรื่องสักกายทิฏฐิ
[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.
วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้
แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกาย
สมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ
โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ
ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.
        [๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น
สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
สักกายทิฏฐิจึงมีได้.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
         ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.


http://www.84000.org...2&A=9420&Z=9601
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้