ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4077
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ธนุรเพท เทพแห่งสงครามและชัยชนะ

[คัดลอกลิงก์]

นำมาจากที่นี่ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=pimonracha&topic=455
ธนุรเพท เทพแห่งสงครามและชัยชนะ

       เทพเจ้าที่ชาวฮินดูในวรรณะกษัตริย์นับถือว่าเป็นผู้ประทานชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรูนั้นนอกจากตรีมูรติทั้งสามพระองค์แล้วก็ยังนับถือเทพเจ้าอีกพระองค์หนึ่งว่าทรงเป็นที่รวบรวมศาสตร์หรือวิถีทางแห่งชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู ถึงกับให้ความสำคัญปรากฏในคัมภีร์พิไชยสงครามของชมพูทวีปอยู่หลายแห่ง ทั้งปรากฏในคัมภีร์ย่อยและคัมภีร์หลัก โดยถือว่าความรู้หรือพระเวทย์เรื่องนี้เป็นเทพวิญญาณ คือธนุรเพทนั่นเอง ที่นำมากล่าวในเทพปกรณัมนี้เป็นเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของความรู้โบราณที่จัด เป็นศาสตร์ชั้นสูงแม้จะนำมาเล่าใน "อุณมิลิต" ฉบับก่อนๆแล้วก็ตามแต่ที่นำมาเล่านี้เป็นเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับเทพแห่งการรบพระองค์นี้ในรูปลักษณ์ที่ปรากฏเป็นตัวตน ที่นักเทวะวิทยาฮินดูมักผูกเรื่องราวเทพเจ้าให้ประกอบด้วยเทวลักษณะต่างๆ อันมีที่มาจากนามธรรมที่ เป็นคุณสมบัติประจำตัวของเทพองค์นั้นๆด้วยเช่นกัน  

       ความรู้เรื่องธนุรเพทปรากฏในคัมภีร์โบราณฉบับหนึ่งที่ชื่อว่า "นิติประกาศิกา" กล่าวกันว่าคัมภีร์นี้เป็นของท้าวมหาพรหมและมีเพียงคัมภีร์เดียว เท่านั้นแปลว่าความรู้หรือวิชาธนู หากจะดูความหมายก็เห็นจะเป็นแค่ความรู้อย่างหนึ่ง แต่ความรู้ที่ว่านี้จัดว่าสำคัญเพราะเป็นที่มาของความสำเร็จในกิจการที่สำคัญอย่างการ ทำการรบหรือสงครามซึ่งเป็นเรื่องราวระดับเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เลยทีเดียวจึงเชื่อว่า ความรู้นี้มีจิตวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานอยู่ เรื่องคัมภีร์ธนุรเพทนี้จัดเป็นองค์หนึ่งในคัมภีร์ อุปเพทซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รองจากคัมภีร์ไตรเพทของพราหมณ์เท่านั้นมีอยู่ ๔ คัมภีร์ย่อย  

       กล่าวกันว่าหากผู้ใดรอบรู้เข้าถึงคัมภีร์ธนุรเวทนี้แล้ว หากมนสิการทำความเข้าใจให้ชำนาญ จะสามารถมีชัยชนะแก่ข้าศึกได้ ทุกสถานมีคำกล่าวว่า แต่ปางก่อนมาอย่าว่าแต่มนุษย์ฝ่ายเดียวเลย ถึงเทพยดาทั้งหลายก็ยังไม่สามารถรู้ซึ้งถึงคัมภีร์ธนุรเพทนี้ได้ตลอด และเพราะเหตุที่เทพยดามี ความรู้ที่พร่องในเรื่องนี้เองจึงต้องพ่ายแพ้แก่อสูร ซึ่งเรื่องนี้ก็คงจับความจากเทวาสุรสงคราม ที่ทางฮินดูมักนำมาประกอบกับเรื่องราวต่างๆเสมอ ครั้นต่อมาเมื่อเทพยดาเหล่านั้นมีโอกาสได้ ร่ำเรียนเนื้อหาของคัมภีร์ธนุรเพท ได้ตลอดจนมีความลึกซึ้งจึงรบชนะอสูรได้ด้วยเหตุที่ ท้าวมหาพรหมได้ประสาทความรู้นี้แก่ทวยเทพนั่นเอง  

      ชาวฮินดูได้กำหนดเรื่องราวของธนุรเพทเป็นเทพวิญญาณที่ที่มีลักษณะหน้าเกรงขามแสดงถึง คุณสมบัติต่างๆที่ควรจะมี โดยกำหนดให้เป็นเทพที่มีอยู่สี่พระบาท แปดพระกรและมีจักษุถึงสาม เเบบเดียวกับพระศิวะมหาเทพ หนึ่งในตรีมูรติที่สูงสุดในศาสนาฮินดู และยังกล่าวว่าท้าวสางขยายะนะ เป็นต้นวงศ์ของธนุรเพทด้วยพระกรทั้งแปดนั้นจะ ทรงเทพศาสตราต่างๆดังได้บรรยายไว้ดังนี้  

       กรทั้งสี่เบื้องขวาทรงเทพอาวุธสี่อย่างคือ วชิราวุธ พระขรรค์ ธนู จักร ส่วนอีกสี่พระกรข้างซ้าย ทรงเทพศาสตราอีกสี่อย่างคือ ศะตัฆนี (อาวุธที่ฆ่าได้ครั้งละร้อย) กระบองทิพย์เรียก คทา ตรีศูร(สามง่าม) ขวานรบหรือ ปัฏ ฏิษะ ส่วนอื่นๆเช่นเกี้ยวบนศีรษะ ประดับด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีฤทธิ์มากต่างๆนานา บนร่างกายจะเป็น นิติศาสตร์และราชศาสตร์ เครื่องป้องกันร่างกาย ล้วนเป็นเวทมนตร์คาถา กุฑลทั้งสองข้างเป็นอาวุธต่างที่ครบทั้ง สับ ฟัน แทง แลพุ่ง ยิง ทิ้ง โยน ซัด ขว้าง ต่างๆ บรรดาเครื่องประดับก็เป็นกระบวนท่าต่างๆที่มาจากกระบวนรบพุ่งทั้งสิ้น ดวงจักษุเป็นสีเหลือง(คงหมายถึงเปลวเพลิง) ที่รอบกายคาดสังวาลย์อันเป็นไชยมงคล และทรงโคผู้เป็นพาหนะ ซึ่งมองดูรูปลักษณ์ก็อาจเข้าใจไป ได้ว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาเทพศิวะ แต่ตำราต่างๆไม่ได้ระบุเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน  

     มีความเชื่อในหมู่นักเทววิทยาฮินดูที่ศึกษาศาสตร์ทางจิตโบราณว่า หากบูชาเทพเจ้าองค์นี้ จะทำให้เป็นผู้มีเดชอำนาจมากหาผู้ใดที่จะปราบลงได้ทั้งข้าศึกหรือศัตรูก็จะมีอันคร้ามเกรง และอาจถึงวิบัติสิ้นไปด้วยอำนาจการบูชาเทพเจ้าองค์นี้ ถึงกับมีเวทมนตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการล้างผลาญศัตรู ไว้สาธยายเช่น โอม นะโมภะคะวะเตทัง…….ฯ และบทสวด(มนตร์)ทำนองนี้อีกหลากหลายมีการแปลมนตร์ ออกมาก็มีเนื้อความน่ากลัวสยดสยองดังมนตร์บทหนึ่งแปลความได้ว่า "ข้าขอนอบน้อมแก่ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์คือธนุรเวท ขอจงป้องกันรักษาข้าพเจ้า ขอจงขบกินศัตรูของข้าพเจ้าเสีย" ในทำนองนี้ซึ่งทำให้เห็นภาพเทพเจ้าองค์นี้ที่ดูดุดันน่ากลัวทีเดียว  

    ภาพที่นำมาลงประกอบเรื่องนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยก็ว่าได้ที่มีการกล้าเขียนรูปเทพเจ้าองค์นี้ขึ้นจึงรับรองได้ว่าท่านไม่สามารถหาดูได้จากที่ใด โดยอาศัยเค้าโครงจากตำราพิไชยสงครามฮินดูซึ่งในเมืองไทยมีเพียงฉบับเดียว เป็นหลักในการให้ศิลปินสร้างภาพของเทพเจ้าองค์นี้มาให้ได้ทัศนากันโดยปกติ รูปเทพเจ้าต่างๆที่นำมาลงเผยแพร่ในเทพปกรณัมนั้นจะวาดขึ้น โดยการสื่อจิตถึงภาวะเทพเจ้าองค์นั้นโดยตรงแล้วถ่ายทอดซึ่งศิลปินคือคุณเอนก ทองรอด ศิลปินที่เราคัดเลือกเเล้วว่ามีความสามารถพอ ที่จะสื่อความเป็นทิพยภาวะของเรื่องราวศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับเทพเจ้าออกมาได้การสร้างงานจิตกรรมจึงต้องถือ ศีลพรต ตลอดในการวาดรูปในแต่ละครั้งดังนั้นรูปที่พิมพ์เผยแพร่ ในเทพปกรณัมของอุณมิลิตจึงมีเทวลักษณะที่ค่อนข้างเหมือนจริง โดยสื่ออารมณ์ได้ ถึงทิพยภาวะของเทพองค์นั้นๆได้ แต่ในคราวที่วาดรูปธนุรเพทนี้ ต้องยอมรับว่ายาก และมีอาถรรพ์ค่อนข้างสูงงานนี้ถึงกับเล่นเอาศิลปินเดี่ยวของเรา ป่วยไปหลายวันทีเดียว  

      การบูชาธนุรเพทเป็นศาสตร์ขั้นสูงในระดับผู้นำที่ต้องการเดช อำนาจในการหยุดหรือห้ามอุปสรรคภยัน อันตรายต่างๆเพื่อเอาชนะข้าศึกศัตรูหรือคู่แข่งขัน ทั้งมีอานุภาพข่มนามศัตรูให้แพ้ภัยตัวเองไปได้ ทำนองเดียวกับ "พระกาฬ" ที่เป็นศาสตร์อิงอำนาจเทพแห่งความตายนั่นเอง  


(สามารถติดตามละเอียดเพิ่มเติมได้ในนิตยสารอุณมิลิต ฉบับที่ ๗ เดือนธันวาคม ๒๕๔๖)

http://www.ounamilit.com/b07_tep.htm


น่าสนใจทีเดียวนะครับ
ชอบ ชอบ ชอบ
majoy ตอบกลับเมื่อ 2015-7-11 07:46
น่าสนใจทีเดียวนะครับ

สนใจอะไร ขอรับ  

ท่านเปี่ยมด้วยอำนาจและการขจัดอุปสรรคครับ
majoy ตอบกลับเมื่อ 2016-10-5 09:03
ท่านเปี่ยมด้วยอำนาจและการขจัดอุปสรรคครับ

พูดถึงเมีย ป่าว ???

ท่านเปี่ยมด้วยอำนาจและการขจัดอุปสรรคครับ
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2016-10-6 07:09
พูดถึงเมีย ป่าว ???

ท่านเปี่ยมด้วยอำนาจและการขจัดอุปสรรคครับ

อันนั้น ท่านเปี่ยมด้วยสิทธิ์ขาดและการเผด็จการ ครับกัปตัน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้