ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5084
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วิธีฝึกโคจรลมปราณ

[คัดลอกลิงก์]

วิธีฝึกโคจรลมปราณ





การฝึกลมปราณไม่ใช่การจดจำท่าแล้วทำตามแต่ภายนอกเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุด จิตของผู้ฝึกต้องมีการฝึกด้วย จิตต้องเป็นส่วนที่ควบคุมลมปราณ แล้วให้ลมปราณนำทางร่างกายไป จิตเฝ้าระวังมีสติประคองตลอด ปรับสภาวะของตนตามธรรมชาติ รักษาสมดุลธรรมชาติในตน แล้วคู่ปะทะที่ขาดการดูแลสมดุลธรรมชาติ จะถึงแก่การพ่ายแพ้เอง การฝึกลมปราณที่ดี เมื่อได้ปลุกลมปราณแล้ว ทะลวงลมปราณแล้ว ขั้นต่อไปคือการฝึกโคจรลมปราณ ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะการโคจรลมปราณ ช่วยชำระล้างภายในร่างกายของเราให้บริสุทธิ์ สุขภาพของผู้ฝึกจะดีขึ้นมาก การฝึกโคจรลมปราณ มักใช้ควบคู่กับท่าร่ายรำต่างๆ อย่างสอดคล้องต่อเนื่องกลมกลืนดุจการร่ายรำ มีวิธีฝึกดังนี้






พื้นฐานก่อนเข้าสู่การฝึกโคจรลมปราณ





กำลังภายใน



เป็นพลังชีวิตอยู่ภายในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ในทางวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดได้ด้วยการวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในร่างกายมนุษย์ และสามารถถ่ายและแปลงค่าความถี่ออกมาในรูปภาพได้ ที่เรียกว่า “ออร่า” (Aura) หรือพลังชีวิต หรือพลังคลื่นแม่เหล็กของสิ่งมีชีวิตก็ได้ พลังเหล่านี้ เป็นสิ่งธรรมดาของร่างกาย ที่ร่างกายมนุษย์จะเผาผลาญอาหารแล้วเกิดพลังงานขึ้น หรือมีกระแสประสาทสื่อสารภายในร่างกายขึ้น หรือมีระบบพลังงานในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งอยู่อย่างไม่ใช่แบบสุ่ม แต่มีระบบอย่างสมดุล มีรูปแบบที่สามารถอธิบายได้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถคาดการณ์และพยากรณ์ได้ว่าร่างกายมีสภาวะอย่างไร โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของออร่าและสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่สถิติ พลังเหล่านี้ควบคุมสมดุลต่างๆ ในร่างกาย สัมพันธ์กับการทำงานของร่างกายทั้งในเชิง สารเคมีและในเชิงชีวภาพ ทำให้สามารถฝึกเพื่อควรคุมและปรับสภาวะร่างกายได้




กำลังภายนอก



เป็นพลังชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์และสัตว์ อุปมาเหมือนน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิตย่อมระเหยออกสู่ภายนอก และน้ำภายนอกนั้น ก็มีประโยชน์ต่อภายในของสิ่งมีชีวิต พลังชีวิตภายนอกสิ่งมีชีวิตนี้ สิ่งมีชีวิตสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้ โดยหาได้จากแหล่งต่างๆ และนำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน พลังชีวิตภายนอกร่างกายก็ได้มาจากร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ก็จะเกิดการรั่วไหลของพลังชีวิต หรือแม้แต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็มีการระบายถ่ายเทพลังงานชีวิตนี้ระหว่างร่างกายและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจากร่างกายเป็นระบบเปิด ไม่ได้ปิดแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้แต่อย่างใด พลังภายนอกมีมากมาย เมื่อสัตว์เกิดขึ้นมาบนโลกเป็นเซลอ่อนๆ อยู่ ก็อาศัยพลังเหล่านี้ในการหล่อเลี้ยงตัวเอง และเมื่อเติบโตขึ้นมาก็อาศัยพลังงานเหล่านี้ในการเติบโตเช่นกัน ตราบจนกระทั่งตายลงก็จะคืนพลังเหล่านี้สู่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้เป็นพลังงานสากลกำเนิดชีวิตต่างๆ ต่อไป พลังภายนอกมีทั้งที่เป็นผลดีต่อร่างกาย และทั้งที่เป็นผลลบ ไม่ใช่แปลว่าพลังทุกอย่างจะดีต่อสิ่งมีชีวิตไปหมดก็หาไม่ จำต้องทำการศึกษาให้เข้าใจและแยกแยะเลือกรับเอาเฉพาะพลังงานด้านดี ด้านบวก เป็นสำคัญ หากฝึกผิดทางจะเข้าทางมาร ที่เรียกว่า “วิชชามาร”




ตัวอย่างแหล่งพลังชีวิตภายนอกร่างกายประเภทต่างๆ



๑)    ลมปราณ ฟ้า-ดิน       คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากฟ้าและดิน


๒)    ลมปราณ หยิน-หยาง  คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากหญิงและชาย


๓)    ลมปราณ อิม-เอี๊ยง    คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากการตายและการเกิด


๔)   ลมปราณ จักรวาล      คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากจักรวาลทุกชนิด


๕)   ลมปราณ อาทิตย์-จันทร์ คือ ลมปราณจากดวงอาทิตย์ยามเช้า, จันทร์เต็มดวง


๖)    ลมปราณ อื่นๆ          เช่น ลมปราณจากต้นไม้, ลมปราณจากไฟ ฯลฯ




ความสัมพันธ์ระหว่างลมปราณภายในและภายนอก



การฝึกลมปราณจะเริ่มจากกำลังภายในก่อน จากนั้นจึงทะลวงลมปราณจากภายในออกภายนอก แล้วจึงประสานลมปราณภายนอกและในเป็นหนึ่งเดียวกัน หลอมรวมเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือขั้นสูงสุดของการฝึกลมปราณ ซึ่งจะต้องเปิดจิตเปิดใจ เปิดทวารร่างกาย ในการเปิดรับและถ่ายออก หมุนเวียนลมปราณภายในและภายนอกเพื่อปรับให้ร่างกายให้สมดุล ซึ่งการฝึกมีหลายขั้น จำต้องศึกษาให้ถูกต้องเป็นขั้นๆ ไป






2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-9 04:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แหล่งกำลังภายในจากจักระทั้งเจ็ด (แหล่งสะสมพลังวัตร)





จักระทั้งเจ็ด เป็นแหล่งพลังวัตรที่สำคัญในร่างกาย และแหล่งสะสมพลังวัตรต่างๆ ดังนี้




๑)จักระที่หนึ่ง (บริเวณก้นกบ) เป็นแหล่งพลังกุณฑาริณี จะตื่นเมื่อกรณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น ตกใจสุดขีด, มีเพศสัมพันธ์ถึงสุดยอด, หนาวถึงที่สุด ฯลฯ เป็นพลังที่มีปริมาณมาก และเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่พลังต่อเนื่องระยะยาวนัก


๒)จักระที่สอง (บริเวณท้องน้อย) เป็นแหล่งพลังสำคัญ แบบเส้าหลินมักฝึกกัน ปลุกให้ตื่นได้ง่ายกว่า เก็บง่าย และใช้ได้บ่อย ต่อเนื่อง แต่พลังจะไม่พุ่งทะยานในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณมากๆ แบบกุณฑาริณี ใช้ในการต่อสู้ส่งพลังทางขามาก


๓)จักระที่สาม (บริเวณใต้ลิ้นปี่) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการต่อสู้ อยู่ศูนย์กลางกาย สำหรับผู้ฝึกธรรมกาย จะใช้ในการสะสมพลังวัตร ที่เรียกว่าลูกแก้วธรรมกาย จนพร้อมเต็มที่ก็จะได้เป็น “ธรรมกาย” อยู่ในจักระนี้


๔)จักระที่สี่ (บริเวณหัวใจ) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ใช้ในการต่อสู้ ส่งพลังทางแขนมาก สอดคล้องกับชีพจรทั่วร่าง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ


๕)จักระที่ห้า (บริเวณลูกกระเดือก) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่มักไม่ได้ใช้ในการต่อสู้ ยกเว้นในกลุ่มที่ต่อสู้ด้วยเสียงจะใช้มาก นักร้องจะใช้พลังจากจักระนี้ด้วย ร่วมกับพลังจากจักระที่สอง (ท้องน้อย) เพื่อให้เสียงมีพลังกึกก้องกังวาน


๖)จักระที่หก (บริเวณตาที่สาม) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากควบคุมการรับรู้และสติปัญญา เป็นทางเปิดตาทิพย์ เพื่อการรับรู้ที่เหนือปกติ


๗)จักระที่เจ็ด (บริเวณกระหม่อม) เป็นแหล่งรับพลังงานจากภายนอก เรียกว่าพลังจักรวาล หรือองค์เทพที่จะประทับทรง หรือมอบพลังให้ จะส่งผ่านมาทางจักระนี้




ตานเถียน จักระที่รวมแห่งพลังวัตรที่นิยมใช้ในการต่อสู้ (ผู้ฝึกกำลังภายใน)





๑)ตานเถียนบน คือ จักระที่ ๖ หรือตรงตำแหน่งตาที่สาม เวลาเราหลับตาแล้วยังไม่หลับไป เราเพ่งภาพขณะหลับตาอยู่ จะเสมือนมีตาเดียวตรงกลางดูภาพนั้นอยู่ หรือให้จินตนาการว่ามีลูกตาทั้งสองเปิดอยู่ตามปกติ แล้วเพ่งมารวมตรงกลางเป็นตาเดียว นั่นคือ ตำแหน่งของตานเถียนบน เป็นศูนย์กลางบริเวณหัว




๒)ตานเถียนกลาง คือ จักระที่ ๔ หรือตรงตำแหน่งหัวใจ เวลาหลับตาไม่ได้ลืมตามองกระจก หรือไม่ได้เอามือคลำดู จะกะประมาณตำแหน่งไม่ถูก ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น ตุ้บๆ เป็นตำแหน่งของหัวใจ เวลากำหนดจิต สามารถใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะในการเคลื่อนลมปราณได้ เป็นศูนย์รวมพลังวัตรร่างกายท่อนบน และแขนทั้งสองข้างเป็นสำคัญ จักระนี้ ฝึกเพ่งเสียงชีพจรได้ผลดี




๓)ตานเถียนล่าง คือ จักระที่ ๒ หรือตรงตำแหน่งท้องน้อย เวลาหลับตาไม่ได้ใช้มือคลำและดูกระจก กะระยะไม่ได้ ให้นั่งสมาธิหย่อนลำตัวท่อนบนลงมาหน่อย ท้องน้อยจะป่องขึ้นเล็กน้อย กะเอาบริเวณศูนย์กลางที่ท้องป่องเป็นตานเถียน (หากไม่มีทิพยจักษุ มองไม่เห็นอวัยวะในร่างกาย จึงต้องจับความรู้สึกแทน)




การปลุกพลังวัตรในตานเถียนให้เป็นลมปราณไหลเวียน





๑)นั่งสมาธิเพชรจะดี (หากทำไม่ได้ ให้ขัดสมาธิธรรมดาก็ได้) หลับตา ผ่อนคลายร่างกาย จิตใจทั่วร่าง ให้รู้สึกเบาสบาย ไม่อึดอัด โล่งโปร่ง สงบระงับ ละเอียดนิ่ง


๒)หายใจเข้า รวมจิตสู่ศูนย์กลางตานเถียน บน, กลาง หรือล่าง จุดใดจุดหนึ่งที่ต้องการปลุกพลังวัตรให้เคลื่อนไหวเป็นลมปราณ จากนั้นค่อยๆ จับความรู้สึกถึงลมปราณที่เคลื่อนตัวจากตานเถียนนั้นๆ ไปยังจุดต่างๆ ตามการโคจรแบบต่างๆ


๓)หายใจออก ขับเคลื่อนลมปราณออกจากตานเถียนนั้นๆ ไปตามเส้นทางการโคจรลมปราณแบบต่างๆ ตรวจดูแต่ละจุดในร่างกายด้วยความรู้สึกว่าตรงไหนติดขัด หากมีจุดที่ติดขัด ก็ใช้ลมปราณทะลวงจนลมปราณไหลเวียนผ่านได้สะดวก


๔)โคจรลมปราณเป็นวงจร ให้ครบรอบ จากตานเถียนที่สะสมพลังวัตร กลับยังตานเถียนที่สะสมพลังวัตรเดิม ไม่ควรทำขาดวงจร หรือไม่ครบรอบ จนรู้สึกสบาย


๕)เส้นทางโคจรลมปราณของแต่ละแบบแตกต่างกันไป ซึ่งจะแสดงรายละเอียดบางแบบต่อไป การโคจรลมปราณระยะแรก ควรสอดคล้องกับลมหายใจเข้าออกก่อน


๖)หากมีการปลุกลมปราณจากแหล่งไหนมา ควรเคลื่อนลมปราณให้ครบวงจรแล้วเก็บเข้าที่ ที่แหล่งนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลมปราณตกค้างในอวัยวะต่างๆ




ในบางกรณีจะมีเคล็ดการหายใจเพื่อเคลื่อนลมปราณ แตกต่างจากนี้เล็กน้อยเช่น หายใจเข้าโคจรลมปราณครึ่งรอบ ไปไว้ตานเถียนบน จากนั้นหายใจออกขับจากตานเถียนบนมาล่าง แบบนี้ก็ได้เช่นกัน เมื่อชำนาญแต่ละแบบแล้วจะสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสม






3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-9 04:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การโคจรลมปราณแบบต่างๆ





๑) โคจรลมปราณพลังกุณฑาริณี (จักระหนึ่ง – จักระเจ็ด)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณด้วยวิธีลับเฉพาะแบบกุณฑาริณี (ยังไม่ขอเผยแพร่ทางนี้) แล้วเคลื่อนลมปราณผ่านทุกจักระไล่ขึ้นไปสู่จักระที่เจ็ด ทะลวงทุกจักระที่มีลมปราณติดค้างหรือติดขัดให้โปร่งโล่งสบายทั่วร่าง




จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่มากครั้ง พลังก็จะลดลงจนสัมผัสไม่ได้ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และเป็นพื้นฐานในการทะลวงชีพจรของกังฟู ข้อควรระวัง กุณฑาริณีที่ตื่นแล้วแต่ทะลวงออกจักระเจ็ดไม่ได้ จะดันศีรษะเหมือนงูไชหัว ทำให้ปวดหัวอย่างหนักคล้ายจะเป็นบ้า เหมือนคนกำลังจะประสาทเสียได้ ให้พึงระวังด้วย




๒) โคจรลมปราณพลังจักรวาล (จักระเจ็ด - จักระหก – จักระหนึ่ง)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณจากจักระที่หนึ่งออกไปสู่จักระที่เจ็ด แล้วดึงจากจักระที่เจ็ดลงไปอาบทั่วร่าง จากจักระเจ็ดลงไปหนึ่ง หมุนเวียนให้ครบวงจร การโคจรพลังจักรวาล จำต้องผ่านการเดินลมปราณกุณฑาริณีให้ได้ก่อน เมื่อได้กุณฑาริณีแล้ว จึงอาศัยจังหวะที่ระบายกุณฑาริณีออก เพื่อเปิดรับพลังจักรวาลเข้ามาแทน แล้วควบคุมปราณจากจักรวาลให้อาบลงทั่วร่าง เรียกว่า “อาบน้ำทิพย์” บางท่านจะใช้หลักพลังพีรามิดมาช่วยในการฝึกลมปราณจักรวาล ด้วยการใช้พีรามิดวางไว้รอบตัวตามจุดต่างๆ กัน เพื่อเหนี่ยวนำพลังปราณจักรวาลเข้ามาขณะทำสมาธิ แล้วให้ปราณจักรวาลเข้าทางจักระเจ็ด ถ่ายลงอาบไปทั่วร่าง (แบบนี้ขอไม่แสดงรายละเอียด)




จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ทำหลายๆ ครั้ง จนรู้สึกเบาสบายกายใจ กระชุ่มกระชวยดี การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และเป็นพื้นฐานการรับถ่ายพลังภายนอก ข้อควรระวังในการเปิดรับพลังจักรวาล คือ ต้องเลือกรับพลังเฉพาะที่ดีต่อร่างกาย เป็นพลังด้านบวกไม่ใช่พลังด้านลบ จิตผู้ฝึกพึงระวังให้มีแต่กุศลแต่ส่วนเดียว เพื่อป้องกันพลังด้านลบ




๓) โคจรลมปราณธรรมจักร (ได้ทุกจักระ โดยเฉพาะเจ็ด)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระใดจักระหนึ่งก็ได้ โดยปกติแล้วให้เริ่มฝึกจากจักระเจ็ด แล้วค่อยๆ หมุนลงไปยังจักระอื่นๆ ต่อไป หรือบางท่านจะเริ่มจากจักระหก ไปเจ็ด แล้วลงหนึ่ง เวลาฝึกให้ระลึกว่ามีอะไรบางอย่างหมุนวนรอบศูนย์กลางจักระนั้นๆ ให้ระลึกเป็นภาพเหมือนจักรจริงๆ ก็ได้ โดยหมุนเวียนขวาเท่านั้น (ซ้ายไปหน้า ขวาไปหลัง) ในการหมุนจักรสามารถใช้ท่า “กวนสมุทร” โดยเอาจุดศูนย์กลางคือท้องน้อยเป็นหลักได้




การนับวงจรเมื่อครบหนึ่งรอบนับ ๑ วงจร ทำจนรู้สึกสบายในแต่ละจักระ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย ในจักระที่โคจรลมปราณ ซึ่งแต่ละจักระจะทำหน้าที่ดูแลร่างกายแตกต่างกันไป ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ ห้ามหมุนซ้าย




๔) โคจรลมปราณจักรวาลน้อยแบบเต๋า (ตานเถียนล่าง - ตานเถียนบน)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง เดินลมปราณไปสู่จักระหนึ่งทางด้านหน้า แล้ววนไปด้านหลัง จากจักระหนึ่ง ไปสอง ไปสาม ไปสี่ ไปห้า ไปหก ไปเจ็ด แล้ววนกลับมาด้านหน้าจากจักระเจ็ด ไปหก ไปห้า ไปสี่ ไปสาม ไปสอง ครบหนึ่งรอบ




จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ จากตานเถียนล่าง (จักระสอง) ในวงจรเดิม การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย ทั่วทุกระบบโดยรวม ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ เพราะจะเกิดผลร้ายต่อชีวิตร่างกายได้อย่างคาดไม่ถึง มีอาการที่ตรวจแล้วไม่รู้โรคได้




๕) โคจรลมปราณพลังสิงโตคำราม (ตานเถียนล่าง – จักระห้า - จักระเจ็ด)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง หายใจเข้าสั้นๆ แล้วผ่อนหายใจยาวๆ ไปสู่จักระห้า (กล่องเสียง) แล้วออกเป็นเสียง “โอม” ยาวๆ ให้คำว่า “โอม” เหมือนออกจากจักระที่เจ็ด แผ่ออกไร้ประมาณ เกิดคลื่นเสียงทั่วกระหม่อม สร้างพลังความสั่นสะเทือนให้มากที่สุด จนกระทั่งทุกสิ่งด้านหน้าสั่นตามคลื่นเสียงของเรา นับเป็นหนึ่งรอบโคจร




จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ลองเปลี่ยนเป็นว่า “อา” หรือ ไล่เสียงตามตัวโน๊ตก็ได้ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่พลังเสียง เหมาะสำหรับผู้ต้องใช้เสียงต่างๆ ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้พลังมากเกินไป เพราะจะทำลายกล่องเสียงได้ ควรฝึกในระดับที่พอดีในแต่ละครั้ง




๖) โคจรลมปราณฟ้าดิน – หยินหยาง (ฝ่ามือสองข้าง - จักระสี่)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ) ยกฝ่ามือขึ้นขนานพื้น ฝ่ามือหงายขึ้นไว้ระดับหน้าอก หายใจเข้ารวมปราณที่ฝ่ามือและหัวใจ หายใจออกแผ่ปราณออกทางฝ่ามือสองข้าง พร้อมดันฝ่ามือข้างหนึ่งขึ้นบน ข้างหนึ่งลงล่าง สลับกันไปมา เมื่อยืดฝ่ามือไปสุดแล้ว ปลายนิ้วทั้งสิบจะพุ่งชี้ฟ้ากับชี้ลงดิน จังหวะหายใจเข้าให้ดึงลมปราณฟ้าและดิน (บนและล่าง) เข้ามารวมที่หัวใจ แล้วหมุนสลับดันลมปราณออก พร้อมสลับมือซ้ายขวา ดังนั้น จะมีวงจรพลังฟ้าดินสองวงจร คือ วงจรฝ่ามือซ้ายและขวา คือ เมื่อขวาขึ้นบนดึงด้านบน ขวาลงล่างปล่อยลงล่าง ซ้ายลงล่างดึงด้านล่าง ซ้ายขึ้นบนปล่อยขึ้นบน เวลาดึงลมปราณฟ้าดิน ดึงเข้ามาพร้อมกันทั้งสองฝ่ามือ มารวมตรงกลาง แล้วเวลาปล่อยก็ปล่อยพร้อมกันสองฝ่ามือ ออกจากกลางกายไปไกลสุดแสนไกลไร้ประมาณ




จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่ครั้ง ก็จะรู้สึกลมระบาย (ผายลม) ได้ทันที การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และในด้านการถ่ายปราณเข้าออกของกังฟู




๗) โคจรลมปราณเก้าอิม – เก้าเอี๊ยง (กงเล็บกระดูกขาว)



ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ) ยกฝ่ามือขึ้นกางออกขนานพื้น กางกงเล็บออก ท่านี้ผู้หญิงสามารถฝึกเก้าอิมได้ แต่ผู้ชายให้ฝึกเก้าเอี๊ยง ในที่นี้จะเผยแพร่เฉพาะเก้าเอี๊ยง โดยก่อนโคจรพลังเก้าอี๊ยงให้โคจรพลังฟ้า-ดินก่อน เพื่อปรับสภาพและกระตุ้น หยินหยาง เราจะใช้พลังเก้าอิม สร้างเก้าเอี๊ยง โดยดูดพลังอิมเข้าทางกงเล็บ จนรู้สึกแขนเยือกเย็นแข็งทื่อ (จะรู้สึกปวดท่อนแขนนิดหน่อย เหมือนมีอะไรมาอัดแน่น) จากนั้น โคจรพลังเก้าอิมไม่นาน ผู้ชายจะเกิดพลังเก้าเอี๊ยงขึ้นเองโดยธรรมชาติ จะรู้สึกอุ่นๆ ที่กลางลำตัว เช่น ท้องน้อย แล้วจะกระชุ่มกระชวย ร่างกายจะเริ่มอบอุ่นหายหนาว ไม่หนาวไม่ร้อน เมื่อโคจรพลังด้วยการคว้าจับดึงดูดพลังเก้าอิมจากพื้นดินรอบตัวได้มาก เก้าเอี๊ยงก็ถูกกระตุ้นออกมามาก เมื่อพอสมควรแล้ว ให้ถ่ายเก้าอิมออกจากแขนสองข้างให้หมด จึงจะรู้สึกเบาแขน และหายปวดแขน เวลาถ่ายออกให้รำฝ่ามือแทน เพราะกงเล็บจะมีพลังดึงดูด ไม่ใช่พลังผลักดันออก โดยเพ่งกระแสปราณออกทางนิ้วทั้งสิบ




ให้ทดลองใช้กงเล็บกระดูกขาว ดูดพลังเอี๊ยงจากฟ้าในช่วงท้องฟ้ามืดครึ้มเหมือนฝนจะตก หากฝึกช่วงฟ้าแลบฟ้าร้องด้วยจะดี ด้วยการฝึกคล้ายเดิม แต่เปลี่ยนเป็นการดูดปราณจากฟ้า แทนที่จะดูดปราณจากดิน โดยเพ่งระลึกไปที่ประจุไฟฟ้าบนฟ้าแทน ข้อควรระวังในการฝึกเก้าอิม คือ ช่วงแรกกระดูกฝ่ามือจะมีอาการแปลกๆ และอาจกระทบต่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ชายจึงไม่ควรฝึกเก้าอิม ให้ฝึกเฉพาะเก้าเอี๊ยงเท่านั้น
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-9 04:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ฝึกพลังลมปราณพิชิตโรคร้าย ธรรมชาติบำบัดสู่การฟื้นฟูสุขภาพ

แม้จะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า แพทย์แผนปัจจุบันดูแลแก้ปัญหาสุขภาพของมนุษย์ แต่การแพทย์แผนปัจจุบันก็ยังมีข้ออ่อนอยู่หลายจุด โดยเฉพาะไม่สามารถเอาชนะโรคเรื้อรังหลายชนิดที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วยไปจนตลอดชีวิต อาทิ ภูมิแพ้ หอบหืด เบาหวาน ความดัน นอนกรน ฯลฯ ที่ต้องพกพายาไปทุกแห่งทุกที่ที่ไป ยิ่งอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างบ้านเราด้วยแล้ว ยิ่งทำให้อาการของโรคยิ่งกำเริบและหนักขึ้น และแม้ว่าจะสามารถบำบัดได้ด้วยยาที่เห็นผลในระยะสั้น แต่สนนราคาค่ารักษาก็สูงเสียจนผู้ป่วยบางคนไม่สามารถเข้าถึง

    การฟื้นฟูสุขภาพด้วยการใช้ธรรมชาติบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในระยะนี้ เพราะได้พิสูจน์จากหลายชั่วอายุคนแล้วว่าได้ผลจริง แม้แต่แพทย์แผนปัจจุบันเองก็ยังยอมรับขนาดว่าเปิดพื้นที่ในโรงพยาบาลให้ผู้ป่วยได้เลือกวิธีรักษาตัวว่าจะเลือกศาสตร์ปัจจุบันหรือศาสตร์ทางเลือกกันเลยทีเดียว
      

       อาจารย์ศุภกิจ นิมมานนรเทพ อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ก็เป็นอีกคนที่จัดอยู่ในประเภทขี้โรคและขี้เกียจออกกำลังกาย สารพันโรคร้ายเลยเข้ามารุมเร้าสร้างความทุกข์ทรมานและรำคาญไปในเวลาเดียวกันทั้ง ภูมิแพ้ หอบหืด นอนกรน ลิ้นหัวใจรั่วจนเกือบจะเป็นอัมพฤกษ์ ได้หันเข้าหาธรรมชาติฝึกพลังลมปราณรักษาโรค ซึ่ง อ.ศุภกิจ บอกว่าเหมาะมากสำหรับคนยุคปัจจุบัน
      

ผมว่าคนลักษณะอย่างผมคือขี้โรคขี้เกียจออกกำลังกายอย่างมาก จะเป็นคนกลุ่มใหญ่ในบ้านเราอาจจะถึง 90% ด้วยซ้ำ และยิ่งในกรุงเทพทุกคนต้องเร่งรีบกว่าจะออกจากบ้านถึงที่ทำงาน และกว่าจะตะเกียกตะกายออกจากที่ทำงานไปถึงบ้านโอกาสที่จะแวะออกกำลังกายยิ่งน้อย ขณะเดียวกันก็ต้องดูดควันพิษมากกว่าคนจังหวัดอื่น ๆ หลายเท่ายิ่งทำให้โอกาสที่จะกลายเป็นคนอมโรคจึงมากกกว่า การฝึกพลังลมปราณสามารถล้างสารพิษในตัว และใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อครั้งพอได้เหงื่อ และไม่ต้องทำทุกวันแค่ 3 วันต่อสัปดาห์ก็เพียงพอ” อ.ศุภกิจ เล่า
      
       อ.ศุภกิจ บอกอีกว่า ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งทางราชการมีความคร่ำเครียดอย่างหนักกับการทำงานอาการลิ้นหัวใจรั่วก็รุมเร้าขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่โรคภูมิแพ้ก็ยังไม่หายขาด กระทั่งอาการกำเริบหนักแพทย์ที่โรงพยาบาลราชวิถีคือคุณหมอพูลชัย จิตอนันต์ วิทยา ผู้ดูแลได้ไปปรึกษากับ พญ.วิไล พัววิไล เห็นว่าอาการขณะนั้นสมควรต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แต่เมื่อไปฉีดสีเข้าไปปรากฏว่าอาการหนักกว่าลิ้นหัวใจรั่ว หมอเกรงว่าอาจจะเกิดหัวใจวายกระทันหัน จึงได้ส่งตัวไปยังโรงพยาบาลทรวงอกเพื่อทำบอลลูน และเสริมใยเหล็กในเส้นเลือดหลังจากนั้นก็ต้องกินยาละลายเลือดต่ออีกหลายเดือน ตอนนั้นสภาพร่างกายเหมือนคนพิการ เดินเซซุนเหมือนคนเมาเหล้าอย่างหนัก บังคับการทรงตัวไม่ได้เลยถ้าใครไม่รู้จักต้องคิดว่าเมาเหล้าแน่นอนตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่าต้องเป็นอัมพฤกษ์แน่นอน


       “หมอก็เลยแนะนำให้ผมบริหารแบบง่าย ๆ คือ ก่อนอาบน้ำเช้าและก่อนอาบน้ำตอนเย็นให้ใช้มือ 2 ข้างสอดประสานนิ้วและยกขึ้น ดึงหน้าผากไปข้างหลัง แต่เราต้องเกร็งคอขืนเอาไว้ดึง 10 ครั้งขืนคอไว้ทั้ง 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไปดึงท้ายทอยให้ไปข้างหน้า พร้อมกันนั้นเราก็ขืนท้ายทอย ให้ตั้งตรงไว้ทั้ง 10 ครั้ง มืออีกข้างหนึ่งเท้าสะเอวไว้ด้านซ้ายกับขวารวม 20 ครั้ง ด้านหน้าผากกับท้ายทอยอีกรวม 4 ด้าน 40 ครั้งวันละ 2 เซ็ท 80 ครั้ง ไม่น่าเชื่อครับว่าจากท่ากายภาพบำบัดง่ายแค่วันละ 2 หน ๆ ละไม่เกิน 10 นาทีจะสามารถบำบัดรักษาคนไข้ที่ใกล้จะเป็นอัมพฤกษ์อยู่รอมร่อให้กลับฟื้นเป็นปกติได้ ”
      
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-9 04:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อ.ศุภกิจ ยังได้เล่าถึงความสนใจและเข้าสู่การฝึกพลังลมปราณว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก ศ.จางฉี แห่งภาควิชาพลศึกษาของมหาวิทยาลัย
มณฑลเหลียวหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาบรรยายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และได้สอนท่ากายภาพบำบัดหรือการบริหารง่าย ๆ ให้บางท่าจนแม้ท่านอนหลับ “แบบกบจำศีล” และการถ่ายอุจจาระที่ถูกลักษณะ อีกทั้งผู้บรรยายมีอายุ 63 ปีแล้วยังสปริงตัวแผล็วขึ้นไปสาธิตท่าบริหารกายอยู่บนโต๊ะให้เห็นชัด วินาทีนั้นตัดสินใจกลับไปจะต้องฝึกบ้างจึงได้เริ่มบริหารตามตำรับบู๊ตึ๊งตั้งแต่นั้น
      
       ท่าฝึกบู๊ตึ๊ง-เสี้ยวลิ้มยี่ ดูเหมือนง่ายแต่ไม่หมู
       อ.ศุภกิจ ได้สาธิตถึงการบริหารร่างกายด้วยกายฝึกพลังลมปราน ตามตำรับบู๊ตึ๊งคือ 1.ยืนตัวตรงแยกเท้าเล็กน้อย มือกำแนบลำตัว หายใจลึก ๆ 3 ครั้ง แล้วค่อย ๆ กางแขนช้า ๆ และกำหนดใจให้รู้สึกเหมือนว่ากำลังยกตุ้มเหล็กหนัก ๆ ขึ้นมา จนยกกำปั้นขึ้นมาเสมอไหล่แล้วแบมือออกหายใจลึก ๆ 3 ครั้งขณะนั้นฝ่ามือคว่ำลง 2. เกร็งกล้ามเนื้อแขนและค่อย ๆ หงายฝ่ามือขึ้นมาช้า ๆ ให้รู้สึกเหมือนว่ากำลังออกแรงผลักบานประตูหนัก ๆ อยู่ หมุนข้อมือจนกระทั่งฝ่ามือหงายขึ้นเต็มที่เหยียดตรงขนานพื้นตลอดเวลา หายใจลึก ๆ และกางแขนยืดอกเต็มที่ 3 ครั้ง 3.แขนดึงตลอดเวลา และค่อย ๆ ยกฝ่ามือหรุบขึ้นช้า ๆ จนกระทั่งแขนเหยียดตรงสูงขึ้นไปหายใจลึก ๆ 3 ครั้ง
      
       4.เกร็งกล้ามเนื้อย่อแขนทั้งคู่ลงมาช้า ๆ กำหนดใจให้รู้สึกเหมือนเรากำลังยกสิ่งของหนัก ๆ ค่อย ๆ ชะลอลงมาจนกระทั่งฝ่ามือขนานกันอยู่ตรงระดับใบหน้าของเราค่อย ๆ ย่อตัวลงไปจนนั่งยอง ๆ เท้าราบ หายใจเต็มพุง 3 ครั้ง แต่มือทั้งสองข้างยังคงอยู่ในท่าเดิม ข้อศอกตั้งบนเข่า แล้วค่อย ๆ ยืนขึ้นช้า ๆ จนตัวตรง
      
       5.เกร็งกล้ามเนื้อค่อย ๆ ขยายฝ่ามือออกเหมือนว่ามีสปริงดันฝ่ามือออก แต่มีสปริงอีกชุดกดอยู่หลังมือไม่ให้ขยายออกง่าย ๆ หายใจเฉพาะทางจมูกเร็ว ๆ แรง ๆ เหมือนปล้ำอยู่กับผู้ร้าย 6.แผ่ฝ่ามือขยายออกจนที่สุดฝ่ามือของเรากางออกไปจนสุดแขนเหยียดตรง ฝ่ามือคว่ำลงยืดอกเต็มที่และหายใจลึก ๆ 3 ครั้ง ค่อยลดแขนทั้งสองลงช้า ๆ จนแนบลำตัว ครบท่าบริหารเพียงแค่นี้ไม่มีอะไรยาก แต่ต้องกลับไปเริ่มที่ขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง ทำกลับไป-มา 10 เที่ยวพอให้ได้เหงื่อ

       อ.ศุภกิจ บอกว่า ครั้งแรกที่ลองทำกายภาพบำบัดรู้สึกดีมาก เพราะเสมหะที่อัดแน่นอยู่ในหลอดลมหลุดออกมาเรื่อย ๆ ต้องหยุดบ้วนลงกระโถนเป็นระยะ รู้สึกโล่งอกหายใจได้เต็มปอดเป็นครั้งแรก จนถึงวันนี้ไม่มีเสมหะอีกเลยและอาการนอนกรน อาการหอบหืด ก็หายไปโดยไม่ต้องพึ่งยา
      
      
แม้ท่าบู๊ตึ๊งจะดูเหมือนง่ายแต่ซินแสเฉินท่านหนึ่งทักว่า เป็นท่าบริหารที่เน้นการเกร็งกำลังมากจึงเหมาะสำหรับคนหนุ่มสาวที่ต้องการแข็งแรงเร็ว แต่อาจไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงหรือคนแก่หรือคนที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงต้องฟื้นฟูก่อน ท่านจึงแนะท่าบริหารกายอย่างง่ายแบบสำนักเส้าหลิน หรือท่าเสี้ยวลิ้มยี่ ซึ่งมีท่าบริหารดังนี้ คือ 1.ยืนตรงแยกเท้าเล็กน้อย สะบัดมือ 2-3 ที ยืดอกหายใจเข้าลึก ๆ ระบายลมออกทางปาก 3 ครั้ง 2.กางแขนขึ้นช้า ๆ ฝ่ามือคว่ำจนแขนกางตรงระดับไหล่ ยืดอกหายใจลึก ๆ 3 ครั้ง
      
       3.ค่อย ๆ พลิกฝ่ามือช้า ๆ จนหงายขึ้นเต็มที่ (แขนตรง) แล้วยกแขนทั้งสองหุบขึ้นไปช้า ๆ จนฝ่ามือทั้งสองขนานกันอยู่เหนือศีรษะ แขนเหยียดตรงยืดอกหายใจลึก ๆ 3 ครั้ง 4.ค่อย ๆ งอข้อศอกให้ปลายมือจรดกันอยู่เกือบแตะศรีษะแบะอกเต็มที่ข้อศอกกางในแนวตรงกับลำตัวหายใจลึก ๆ 3 ครั้ง 5.ค่อย ๆ พลิกเฉพาะฝ่ามือให้หงายขึ้นช้า ๆ จนหงายขึ้นเต็มที่แล้วจึงค่อย ๆ ยกฝ่ามือดันขึ้นฟ้าอย่างช้า ๆ (ถ้าโคนแขน เทอะทะก็เกร็งกล้ามในช่วงนี้ด้วย) จนฝ่ามือชูสูงสุด (คล้ายคนยอมแพ้)
      


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-9 04:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6.ค่อย ๆ กวักฝ่ามือลงมาช้า ๆ แขนตรงตลอดเวลา ครั้นฝ่ามือลงมาถึงระดับไหล่ให้เราค่อย ๆ ก้มตัวลงช้า ๆ ตามจังหวะฝ่ามือที่กวักลงมาถึงระดับไหล่ขาตรงไม่งอเข่า (ปลายมือแตะปลายเท้ายิ่งดี) ฝ่ามือผ่านลำตัวม้วนขึ้นโผล่กลางลำตัว 7.เมื่อก้มสุดเท่าที่เราจะทำได้แล้ว ให้ค่อย ๆ ยืนขึ้นจนตัวตรงหายใจลึก ๆ 3 ครั้งแล้วค่อย ๆ ย่อตัวลง นั่งยอง ๆ เท้าราบ เอื้อมมือโอบเข่า หงายฝ่ามือจรดปลายนิ้วเข้าหากันหายใจเต็มพุง 3 ครั้ง 8. คลายมือออกแล้วค่อย ๆ ทรงตัวขึ้นยืนโดยหงายฝ่ามือปลายนิ้วเข้าหากันหายใจเต็มพุง 3 ครั้ง
      
       9.คลายมือออกแล้วค่อย ๆ ทรงตัวขึ้นยืนโดยหงายฝ่ามือปลายนิ้วจรดกันค่อยยกฝ่ามือขึ้นตามจังหวะการทรงตัวขึ้นจนตัวตรงและฝ่ามือขึ้นมาถึงระดับอก ค่อยพลิกฝ่ามือคว่ำลงปลายนิ้วจรดกันอยู่ค่อย ๆ ลดลงไปจนฝ่ามือสุดแล้ววกมาแนบข้างลำตัว จบ 1 รอบให้กลับไปเริ่มรอบใหม่ที่จังหวะ 9.2 วนกลับมาถึง 9.8 กลับไปกลับมาอย่างต่ำ 5 รอบ หรือจนกว่าเหงื่อจะออกวันเวลใดก็ได้ที่สะดวก
      
       อ.ศุภกิจ ยังได้โชว์จดหมายขอบคุณจากผู้ที่ได้ลองฝึกพลังลมปราณหลังจากได้รับคำแนะนำจากอ.ศุภกิจไป อาทิ คุณกฤติกา รุจิรวิริญภิญโญ จากแคลิฟอร์เนีย บอกว่าสามีเคยนอนกรนและบางครั้งหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเวลานอน หลังจากฝึกลมปราณ ไปได้ 2 อาทิตย์อาการดีขึ้น อาการกรนน้อยลงไปเรื่อย ๆ รายที่ 2 คือ คุณสมพร ทัดดอกไม้ บอกว่าพบคำแนะนำจากหนังสือคู่มือฝึกพลังลมปราณพิชิตโรค ได้ลองทำดู อาการไซนัส ภูมิแพ้ หายเป็นปลิดทิ้ง

คุณบรรจง ศรีเจริญ เขียนมาจากสหรัฐอเมริกา บอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้แต่หลังจากปฏิบัติอาการดีขึ้นจากนั้นได้แนะนำเพื่อนอีกหลาย ๆ คนให้ทำตาม คุณทัศนีย์ จากลาดพร้าวเป็นโรคหอบหืดเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยมาก ได้ฝึกพลังลมปราณตามคำแนะนำของอ.ศุภกิจ ตอนนี้สบายดีแล้วไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลอีก และบอกว่าดีจนต้องบอกต่อ คุณ อภิชัย ป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง หลังฝึกพลังลมปราณแล้วอาการดีเกือบเป็นปกติ ฟอกไตมีของเสียเพียง 400-500 กรัมเท่านั้น คุณระวิวรรณ ชลสิทธิ์ จากพังงา ป่วยเป็นอัมพฤกษ์แขนและขาข้างขวา ฝึกพลังลมปราณ อยู่ 15 วัน ตอนนี้อาการเกือบเป็นปกติแล้วสามารถเดินเหินได้
      
       นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ที่อ.ศุภกิจบอกว่า ต้องหลุดพ้นจากโรคร้ายด้วยปรัชญาตะวันออก ที่ใครก็สามารถฝึกได้ และฝากบอกถึงคุณผู้หญิงที่ชอบไปตบนม เสริมเต้า นวดเคล้าคลึงทั้งหลาย แค่เพียงฝึกหายใจให้ถูกต้อง หน้าอกก็จะพองขึ้นมาได้เอง
      
       สำหรับศาสตร์ตะวันออกนี้ ผศ.นพ.วิศาล คันทธารัตนกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยแล้วว่าได้ผลจริง หลังจากฝึกพลังลมปราณทั้งจากสำนักบู๊ตึ๊งและเส้าหลินพบว่า เส้นรอบวงต้นแขนสองด้านกระชับขึ้น ความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่ท้องแขนลดลง กำลังขาเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น การเต้นของหัวใจดีขึ้น สมรรถภาพระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ฯลฯ ซึ่งเป็นเก็บข้อมูลในช่วง 3 เดือน และหลังจากนี้อีก 3 เดือนจะเก็บข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่ฝึกพลังลมปราณ


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000033873


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้