ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1884
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จิตใฝ่งาม...จิตใฝ่ดี กุศลจิตจะเกิดตามได้ทุกที่ทุกเวลา

[คัดลอกลิงก์]
จิตใฝ่งาม...จิตใฝ่ดี  กุศลจิตจะเกิดตามได้ทุกที่ทุกเวลา




บุญเกิดที่ไหน
คำตอบคือ บุญเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาที่เราเกิดกุศลจิต


ในทางพระอภิธรรม ท่านได้กล่าวไว้ว่าดังนี้


กุศลจิต เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็น จิตที่ดีงาม
ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข มี

อรรถ ๕ ประการ คือ

๑. อาโรคยตฺถ

ไม่มีโรค คือไม่มีราคะเป็นต้น ราคะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่า
โรคเพราะเสียดแทงจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย

๒. สุนฺทรตฺถ

ดีงาม คือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย

๓. เฉกตฺถ

ฉลาด เรียบร้อย คือผู้ที่มีจิตใจเป็นกุศลย่อมมีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย

๔. อนวชฺชตฺถ

ไม่มีโทษอันพึงติเตียนได้

๕. สุขวิปากตฺถ

ให้ผลอันเป็นสุขพึงปรารถนา


เหตุให้เกิดกุศล

เหตุให้กุศลจิตเกิดขึ้นก็ได้แก่

โยนิโสมนสิการ

คือการพิจารณาโดยแยบคาย
พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความเป็นจริงในอารมณ์นั้นๆ
โยนิโสมนสิการนี้ย่อมเกิดโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ

๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน

๒. ปฏิรูปเทสวาส

อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ

๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย

คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ

๔. สทฺธมฺมสฺสวน

ฟังธรรมของสัปบุรุษ

๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ

ตั้งตนไว้ชอบ

เหตุให้เกิดโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ได้แก่

ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรม ส่วนอีก ๔ ประการที่เหลือ เป็นปัจจุบันกรรม

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า ความดีที่ควรกระทำ
เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ให้บุญเป็นกุศล
บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. ทานมัย

บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน คือการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ

๒. สีลมัย

บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล คือรักษากายวาจาใจให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น

๓. ภาวนามัย

บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คือการอบรมจิตใจให้กุศลอันประเสริฐ

เกิดขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย

๔. อปจายนมัย

บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
คือการแสดงคารวะและอ่อนน้อม แก่ผู้ที่เจริญด้วย ชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ

๕. เวยยาวัจจมัย

บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบคือสงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการ
ที่เกี่ยวแก่ปริยัติ และปฏิบัติ

๖. ปัตติทานมัย

บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนบุญให้แก่ผู้อื่น
คือ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีคุณตลอด จนสรรพสัตว์ทั้งหลาย

๗. ปัตตานุโมทนามัย

บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญของผู้อื่น
คือ การเห็นดีเห็น ชอบและคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น

๘. ธัมมัสสวนมัย

บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
คือ ตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา
แม้ฟังการสั่งสอนวิชาทางโลกที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เข้าข้อนี้

๙. ธัมมเทสนามัย

บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง
คือ การแสดงธรรมแก่ผู้ที่ ประสงค์ฟังธรรม
แม้การสั่งสอนวิชาทางโลกที่ไม่มีโทษก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม

การทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
อย่างน้อยก็ต้องถึง กัมมัสสกตาปัญญา
คือรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ เมื่อสงเคระห์ลงในประเภท ทาน ศีล ภาวนา
แล้ว ก็สามารถจำแนกได้ดังนี้

ปัตติทานมัย กับปัตตานุโมทนามัย สงเคราะห์ลงใน ทานมัย
อปจายนมัย กับ เวยยาวัจจมัย สงเคราะห์ลงใน สีลมัย
ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย และ ทิฏฐุชุกัมม สงเคราะห์ลงใน ภาวนามัย

อีกนัยหนึ่ง ตามนัยแห่งพุทธภาษิตอรรถกถาแสดงว่า
ธัมมัสสวนมัย กับธัมมเทศนามัย สงเคราะห์ลงในทานก็ได้
ดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมย่อมชำนะการให้ทั้งปวง



ที่มา : http://www.budpage.com


สาธุครับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-8-29 11:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จิตใฝ่งาม...จิตใฝ่ดี  กุศลจิตจะเกิดตามได้ทุกที่ทุกเวลา



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้