ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2162
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระอู่ทองออกศึก ปี ๒๕๑๐ วัดพระธาตุฯรุ่นแจกทหาร "จงอางศึก"

[คัดลอกลิงก์]


พระอู่ทองออกศึก ปี ๒๕๑๐ วัดพระธาตุฯรุ่นแจกทหาร "จงอางศึก"
       เมื่อพูดถึงจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากพระเกจิอาจารย์ดังที่มีอยู่ทั่วทุกอำเภอแล้ว หากนึกถึงพระเครื่องก็ต้องมองหา " พระผงสุพรรณ " เป็นอันดับแรก ซึ่งต้นกำเนิดนั้นอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นอกจากนั้นที่วัดแห่งนี้ยังมีพระเครื่องประเภท " ของดี-ราคาเบา-พุทธคุณสูง " ที่น่าสนใจอีกหนึ่งรุ่นคือ " พระอู่ทองออกศึก รุ่นจงอางศึก " ปี ๒๕๑๐ ซึ่งไม่ค่อยได้มีการบอกเล่า จึงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ทั้ง ๆ ที่มีอายุการสร้างถึง ๔๗ ปี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี รู้จักกันในหมู่ชาวสุพรรณว่า " วัดพระธาตุฯ " เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่มีอายุยาวนานไม่ต่ำกว่า ๖๐๐ ปี ซึ่งแสดงถึงความรุ่งเรืองของเมืองสุพรรณบุรีในอดีต เนื่องจากมีพระมหาธาตุอันเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามธรรมเนียมแห่งการสร้างเมืองใหญ่ในครั้งอดีต เช่น กรุงสุโขทัย กำแพงเพชร หรือกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ความเป็นมาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา องค์พระปรางค์ประธานนั้นรูปแบบศิลปะอู่ทองสุพรรณภูมิ ซึ่งก่อขึ้นด้วยอิฐสอดิน ผิวรอบนอกจากฐานล่างไปถึงยอดนภศูลฉาบปูนเกลี้ยง ดูยิ่งใหญ่อลังการ และคาดว่าได้รับการบูรณะโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงรัชสมัยของพระนครินทราธิราช และรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยา นอกจากองค์พระปรางค์ประธานจะเป็นที่ประดิษ ฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังบรรจุพระเครื่องและพระบูชา ซึ่งถือเป็นวัตถุมงคล ๑ ใน ๕ ของพระเบญจภาคี ที่ได้รับความนิยมและนับถือศรัทธาในพระพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์อย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบันด้วย รู้จักในนาม "พระผงสุพรรณ" อันเลื่องลือ และมีการค้นพบภายหลังจากที่กรุแตกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ โดยกล่าวว่าชาวจีนที่มาทำสวนอยู่ใกล้เคียงกับวัด ได้ลักลอบขุดกรุพระปรางค์ประธานนี้ และได้ทรัพย์สินมีค่ามากมาย เมื่อข่าวกรุแตกแพร่สะพัดทำให้มีผู้คนมากมายมาขุดค้นและมีการค้นพบพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก, พระมเหศวร, พระสุพรรณยอดโถ, พระสุพรรณหลังผาล ตลอดจนพระเนื้อชินต่าง ๆ


       สำหรับความเป็นมาของ " พระอู่ทองออกศึก " สืบเนื่องจากเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๐ ประเทศไทยได้ส่งกองกำลังทหารรุ่นจงอางศึก เข้าร่วมรบสมทบกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเวียดนาม ช่วงนั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงปู่โพธิ์" เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดสร้าง "พระอู่ทองออกศึก" แจกแก่ทหารที่ไปรบในครั้งนี้มีจำนวนการสร้าง ๑๖๘,๐๐๐ องค์ โดย " จอม พลถนอม กิตติขจร " นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้นำไปจ่ายแจกให้กับทหารรุ่นจงอางศึกที่ไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ ที่เหลือทางวัดนำเข้าพิธีอีก ๒ ครั้งคือเมื่อวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ๒๕๑๑ และเมื่อวันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ ก่อนที่จะแจกจ่ายออกไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ และนำพระที่เหลือทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๒






2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-8-4 14:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติพิธีการสร้าง " พระอู่ทองออกศึก " โดยละเอียด        พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก ปี ๑๐ สร้างที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระธาตุ จ.สุพรรณบุรี อันเป็นสถานที่พบ " พระผงสุพรรณ " ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของพระชุดเบญจภาคี ที่เล่นหากันองค์เป็นแสน และบางองค์ราคาเป็นล้าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ประเทศไทยได้จัดส่งกองกำลังทหาร " รุ่นจงอางศึก " เข้าร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเวียดนาม ที่ประเทศเวียดนามใต้ และในการนี้เอง หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ได้จัดสร้าง " พระอู่ทองออกศึก " แจกแก่ทหาร " รุ่นจงอางศึก " นี้โดยเฉพาะ

       โดยนำเนื้อดินพระชำรุดแตกหักกรุต่าง ๆ เป็นส่วนผสมหลัก เช่น พระผงสุพรรณ กรุวัดพระธาตุ, พระกรุวัดพระรูป, พระกรุวัดสำปะซิว, พระกรุวัดบ้านกร่าง, พระกรุถ้ำเสือ, พระกรุวัดบางยี่หน และพระเนื้อดินชำรุดแตกหักของพระเกจิอาจารย์ เท่าที่จัดหาได้อีกมากมาย พุทธลักษณะคล้ายพระผงสุพรรณ แต่เป็นพระปางสมาธิ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระปรางค์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำวัด และเป็นสถานที่พบพระผงสุพรรณ และพระเนื้อชินพิมพ์ต่าง ๆ ยอดนิยมของวงการฯ เนื้อพระมีทั้งสีดำ สีเทา และสีแดง ครั้งแรก นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังนั่งปรกปลุกเสก ๖๙ รูป ดังมีรายพระนามต่อไปนี้

๑. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
๒. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
๓. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
๔. หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี
๕. หลวงพ่อใจ วัดวังยายหุ่น จ.สุพรรณบุรี
๖. หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี
๗. หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๘. หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
๙. หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี
๑๐. หลวงพ่อเจริญ วัดธัญเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๑. หลวงพ่อบุญ วัดโคกโคเฒ่า  จ.สุพรรณบุรี
๑๒. หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๓. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๔. หลวงพ่อดี วัดท่าเจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๕. หลวงพ่อเหมือน วัดไทรย์ จ.สุพรรณบุรี
๑๖. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์เจริญ จ.สุพรรณบุรี
๑๗. หลวงพ่อเจิม วัดกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี
๑๘. หลวงพ่อเลียบ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี
๑๙. หลวงพ่อวิจิตร วัดบ้านทึง จ.สุพรรณบุรี
๒๐. หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
๒๑. หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง  จ.สุพรรณบุรี
๒๒. หลวงพ่อนาถ วัดศรีโลหะ จ.กาญจนบุรี
๒๓. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๒๔. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
๒๕. หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ จ.อ่างทอง
๒๖. หลวงพ่อสนิท วัดศิลาขันธ์ จ.อ่างทอง
๒๗. หลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง จ.อ่างทอง
๒๘. หลวงพ่อไวย์ วัดบรม จ.อยุธยา
๒๙. หลวงพ่อต่วน วัดกล้วย จ.อยุธยา
๓๐. หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา
๓๑. หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
๓๒. หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
๓๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา
๓๔. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
๓๕. หลวงพ่อนก วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
๓๖. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๓๗. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
๓๘. หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชญ จ.นครปฐม
๓๙. หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
๔๐. พระอารย์เจียม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
๔๑. หลวงพ่อสุด วัดกาหลวง จ.สมุทรสาคร
๔๒. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
๔๓. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๔๔. หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
๔๕. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร
๔๖. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
๔๗. หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๔๘. หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
๔๙. หลวงพ่อทูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ
๕๐. หลวงปู่เพิ่ม วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ
๕๑. หลวงพ่อผ่อง วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ
๕๒. หลวงพ่อหวล วัดพิกุล กรุงเทพฯ
๕๓. หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
๕๔. หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
๕๕. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๕๖. หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๕๗. หลวงพ่อบุญมี วัดกลางอ่างแก้ว กรุงเทพฯ
๕๘. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี
๕๙. หลวงปู่สิมมา วัดบ้านหมอ จ.สระบุรี
๖๐. หลวงพ่อโอด โคกเดื่อ จ.นครสวรรค์
๖๑. หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว จ.นครสวรรค์
๖๒. หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
๖๓. หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท
๖๔. หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
๖๕. พระอธิการถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
๖๖. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
๖๗. พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
๖๘. หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว  จ.เพชรบุรี
๖๙. หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์

       หลังจากประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งแรกแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุดโดยคำสั่งของ จอมพลขน กิตติขจร ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เดินทางมารับมอบ พระอู่ทองออกศึก จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ เพื่อแจกแก่ทหารอาสาสมัครรุ่น " จงอางศึก " เดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม นอกจากนี้ ทางวัดยังนำพระที่เหลือประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกสองครั้ง ในวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ๒๕๑๑ และวันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ ก่อนที่จะแจกไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ และได้นำพระที่เหลือทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ที่วัดพระธาตุ เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๒

       พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก มีประสบการณ์อิทธิปาฏิหารย์มากมาย ในสงครามเวียดนาม ทหารหาญของไทยรุ่นนี้ให้ความเชื่อมั่นในพุทธคุณ และมั่นใจเป็นอันมาก ไม่ว่าจะโดนยิง โดนแทง หรือโดนระเบิด ต่างก็รอดจากเงื้อมมือมัจจุราชมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบัน พระอู่ทองออกศึกมีอายุการสร้างผ่านไป ๔๗ ปีแล้ว จึงเป็นพระที่มีอายุพอสมควร น่าบูชา และสะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านพุทธคุณแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็น " หนึ่ง " ไร้เทียมทาน

http://legendamulet.blogspot.com/2014_11_01_archive.html


ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้