ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4382
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัชระ

[คัดลอกลิงก์]
วัชระ

วัชระ แปลว่าสายฟ้า และมีความหมายอีกประการคือ เพชร เป็นนัยแห่งความหมายร่วมกันคือความแข็งแกร่ง และทรงพลัง ในการตัดทำลายสิ่งต่างๆ

ทำไมต้อง สายฟ้า
ผู้คนแต่โบราณในทุกวัฒนธรรม ล้วนเป็นกลุ่มชนที่ยำเกรงอำนาจของธรรมชาติทั้งสิ้น ฟ้า ฝน ลม เป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้คนสมัยนั้น การนับถือเจ้าแม่ และเจ้าพ่อแห่งธรรมชาติ ปรากฏในวัฒนธรรมทั้งอียิปต์ กรีก จีนและอินเดีย
ผู้คนสังคมเกษตรกรรมต้องพึ่งฟ้าฝน บางทีฟ้าก็ให้น้ำท่าสมบูรณ์ด้วยความเมตตา บางทีฟ้าก็พิโรธให้เกิดความแล้ง หรืออุทกภัย
แสงแห่งสายฟ้านั้นมาเมื่อมีฝน ความสว่างและเสียงอันกึกก้องนั้น น่าเกรงขาม แต่ใครคือผู้บันดาลสิ่งนี้

ซุส,อินทร,วัชรปาณิ เทพเจ้าแห่งสายฟ้า
ชาติอารยันนั้นเป็นบรรพบุรุษแห่งชาวกรีก เปอร์เซีย และอินเดีย ในกรีกนั้น ซุสเป็นมหาเทพผู้ทรงสยฟ้า ส่วนในอินเดียนั้น พระอินทร์คือเทพสูงสุดแห่งยุคพระเวท(ก่อนที่พระศิวะ พระนารายณ์จะ มาแทนที่) และก็ทรงสายฟ้าเช่นกัน




โปรดสังเกตสายฟ้าในพระหัตถ์ของซุส คือการจับเอาสายฟ้ามากำรวมกัน

เมื่อช่างกรีกได้ตามทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มาอินเดีย ช่างฝีมือชาวกรีกในอินเดียเหล่านี้เป็นผู้สลักพระพุทธรูปขึ้นเป็นชาติแรก แน่นอนว่าช่างเหล่านี้เคยเห็นรูปของซุสที่กรีกมาก่อนแล้ว "สายฟ้า"ในดินแดนอินเดียจึงรับเอารูปจินตนาการมาจากกรีกนั่นเอง

พระพุทธรูปสลักหินศิลปะสมัยคันธาระ(พุทธศตวรรษที่7) คือศิลปะกรีกในอินเดีย ขวาของภาพคือพระโพธิสัตว์วัชระปาณิ ซึ่งแผลงมาจากพระอินทร์เดิมโดยแท้ สังเกตวัชระในพระหตถ์ซ้ายเป็นวัชระแบบกิ่งเดียว


รูปพระอินทร์ที่โสมนาถปุระ ราว พุทธศตวรรษที่17 ทรงวัชระในพระหัตถ์ขวา

รูปวัชระนี้มีขนาดเล็กลงในศิลปะทิเบต กลายเป็นของในพิธีที่สามารถถือในมือได้สะดวก ไม่เหมือนกับดั้งเดิมในกรีก หรืออินเดียที่ดูเป็นอาวุธขนาดใหญ่

วัชระและระฆัง(ฆัณฏะ)ของทิเบต


วัชระในนิกายชิงงอน(มนตรยาน)ของญี่ปุ่น

ในพุทธศาสนาวัชรยาน วัชรยังคงแสดงความหมายของการตัดทำลายกิเลสอย่างทรงพลัง หมายถึงการตรัสรู้อย่างฉับพลัน สัญลักษณ์ของอุบายหรือการปฏิบัติอันเป็นสัญลักษณ์ของชาย คู่กับระฆังหรือฆัณฏะ สัญลักษณ์แห่งปัญญาและฝ่ายหญิง

http://paxpix.blogspot.com/2007/11/blog-post_15.html

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้