ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2823
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สายน้ำแห่งมังกรเมืองแปดริ้ว

[คัดลอกลิงก์]
สายน้ำแห่งมังกรเมืองแปดริ้ว

จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากรุงเทพฯเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงเป็นจังหวัดหนึ่งที่หลายคนมองว่าเป็น เมืองเล็กๆอยู่ชานเมืองหลวงแต่หลายคนนั้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดนี้ เพื่อนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง หลวงพ่อพุทธโสธร ณ. วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ด้วยจังหวัดนี้มีแม่น้ำสายหลักหล่อเลี้ยงชีวิตมาแต่ดั้งเดิม ในอดีตการดำเนินชีวิตตลอดสองฟากฝั่งลำน้ำทั้งการค้าขายการเกษตรกรรมการประมงมีให้เห็นเป็นระยะๆ อยู่ตลอดลำน้ำ แม่น้ำบางปะกงคือชื่อเรียกของสายน้ำแห่งนี้ซึ่งเล่ากันสืบต่อมาว่าเป็นแหล่งชุกชุมของปลาอีกงจึงเรียกขานกันว่าบางปลาอีกง และที่สุดก็เพี้ยนเสียงมาเป็น บางปะกงจวบจนปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง เริ่มต้นจากการรวมตัวของแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก ที่ ตำบลบางแตน จังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางตามสายน้ำราว 122 กิโลเมตร จนถึงปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
เหตุใดแม่น้ำสายนี้จึงมีชื่อว่า สายน้ำแห่งมังกร ของ เมืองแปดริ้วนั่นก็คงเป็นชื่อเรียกขานตามการสันนิษฐานที่เกิดขึ้น เนื่องด้วยหลายๆ เหตุผล แต่ด้วยลักษณะทางกายภาพของสายน้ำแห่งนี้ที่มีความคดโค้งไปมาดุจดั่ง พญามังกร พาดผ่านเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
กอปรกับการวางตำแหน่งตามหลักฮวงจุ้ยของคณาจารย์จีนวังส์สมาธิวัตร (สกเห็ง) ปฐมบูรพาจารย์ผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอย่างมาก ท่านได้พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดจีนแห่งหนึ่งขึ้นบริเวณเยาวราช ซึ่งก็คือ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาสในปัจจุบัน และตำแหน่งนี้เปรียบได้เป็น ตำแหน่งหัวมังกร โดยกำหนดตำแหน่งท้องมังกร ไว้ที่วัดเล่งฮกยี่จังหวัดฉะเชิงเทรา(พ.ศ. 2450 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาส แล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดจีนประชาสโมสร” )สำหรับ ตำแหน่งหางมังกร อยู่ที่ วัดเล่งฮัวยี่หรือ วัดมังกรบุปผาราม จังหวัดจันทบุรี หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าตำแหน่งต่างๆ ที่พระอาจารย์สกเห็งท่านได้วางไว้นั้น เป็นตำแหน่งของความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพย์สิน เงินทองการค้าขายและความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในบริเวณนั้นอย่างมีความสุข  ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการผสมผสานความเชื่อตำนานเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำบางปะกงด้วยความสอดคล้องกันอย่างมีเหตุผล
สายน้ำแห่งมังกร จึงเกิดเป็นชื่อเรียกขานที่บ่งบอกถึงความเชื่อของความศักดิ์สิทธิ์แห่งสายน้ำนี้โดยมี มังกรตัวเล็กพาดอยู่ตามลำน้ำบางปะกงตำแหน่งหัวมังกรอยู่บริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพุทธโสธรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพ นับถือของชาวไทย ทั่วประเทศ
ตำแหน่งท้องมังกร อยู่ตำแหน่งเดิมที่ วัดเล่งฮกยี่(วัดจีนประชาสโมสร)ซึ่งภายในวัดนั้นมีสิ่งน่าสนใจมากมายประกอบด้วย องค์พระประธาน และ 18 อรหันต์ ที่เป็นประติมากรรมโบราณ ทำจากกระดาษอายุกว่า 100 ปี(ลักษณะเปเปอร์ - มาเช่) ภูมิปัญญาชาวจีนจากเมืองเซี่ยงไฮ้ เทพเจ้าไฉ้เซ่งเอี้ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ,ระฆังศักดิ์สิทธิ์ใบใหญ่หนึ่งในสามใบในโลกและ พระสำเร็จ ร่างสังขารเจ้าอาวาสที่มรณภาพแล้วไม่เน่าเปื่อย
ตำแหน่งหางมังกรคือตำแหน่งที่พระเจ้าตากสินได้เดินทัพผ่านสู่เมืองจันทบุรี เพื่อระดมไพร่พลในการกู้กรุงศรีอยุธยาและเมื่อเดินทัพถึงบริเวณปากน้ำโจ้โล้จึงได้เจอทัพพม่าซุ่มโจมตี และสู้รบกันจนได้รับชัยชนะ จึงได้สั่งให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบริเวณแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ และพักทัพณบริเวณวัดโพธิ์ บางคล้า (สถานที่ชมค้างคาวแม่ไก่)
บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ประกอบ “พระราชพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งแม่น้ำบางปะกงเป็นหนึ่งใน “เบญจสุทธคงคา”(คือแม่น้ำสายสำคัญ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำบางปะกง เปรียบเสมือน “ปัญจมหานที”ของประเทศอินเดีย คือ คงคายมนา เนรัญชราสินธุและพรหมบุตร)ที่ได้ตักน้ำไปทำพิธีเสกเป็น “น้ำอภิเษก”จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งของที่มาแห่งสายน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้
การเดินทางท่องเที่ยวตามเส้นทางสายน้ำแห่งมังกร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกสัมผัสธรรมชาติ สืบสานวัฒนธรรมในเส้นทาง“สายน้ำแห่งชีวิตสายน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งธรรม”

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้