ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12081
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"หมูทองแดงมหาลาภ"หลวงปู่เส็ง จันทรังสี

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติการสร้างหมูทองแดงมหาลาภ                       

พญาหมูมหาลาภ





การสร้างหมูทองแดงของหลวงปู่เส็ง จันทรังสี แห่งวัดบางนานั้น สาเหตุมาจากที่หลวงปู่เส็งท่านเป็นพระที่มีเมตตาจิตสูง ในกุฏิของท่านจึงเต็มไปด้วยหมาและแมวเป็นจำนวนมาก ในราวปี พ.ศ. ๒๕๑๕–๒๕๑๖ หลวงปู่เส็งท่านได้เลี้ยงหมูไว้หนึ่งตัว อันที่จริงหมูตัวนี้ก็มีบุญดี ที่ได้มาอยู่กับหลวงปู่ เพราะหมูตัวนี้ถูกคนนำเอาไปทิ้งน้ำ หวังจะให้ตาย แต่เดชะบุญที่หมูไม่ตายลอยน้ำมากับผักตบชวา ในที่สุดก็มาหยุดอยู่ตรงท่าน้ำของวัด ผู้คนได้ยินแต่เสียงร้องจึงมาพบและได้ช่วยชีวิตเอาไว้ จากนั้นจึงนำมาให้หลวงปู่เส็ง ท่านได้เลี้ยงหมูตัวนั้นไว้ ชั่วระยะเวลาไม่ถึงปีหมูก็โตอ้วนอย่างสมบูรณ์ กินนอนอยู่ข้างกุฏิหลวงปู่เส็งตลอดมา จนมาถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หมูจึงตายลง ญาติโยมบริเวณวัดก็มาช่วยกันนำหมูตัวนั้นออกไปจากวัด โดยไม่ได้แจ้งให้หลวงปู่เส็งรับทราบ เพราะคิดว่าเป็นสัตว์ที่ตายแล้ว จากนั้นจึงนำไปแล่เนื้อด้วยคนประมาณ ๓–๔ คนที่หามออกไป แต่ทว่าน่าแปลกประหลาดตรงที่ว่า เพราะเหตุใดหมูจึงแล่ไม่เข้า จะสับหรือจะฟันอย่างไรก็ยังคงอยู่ในสภาพปรกติ ผู้คนเหล่านั้นจึงมากราบเรียนบอกหลวงปู่เส็งให้ทราบ เมื่อหลวงปู่เส็งได้รับทราบแล้วท่านจึงอนุญาติให้กลับไปแล่เนื้ออีกครั้งหนึ่งและปรากฎว่าได้แล่เนื้อหมูตัวนั้นได้ หมูที่ท่านหลวงปู่เส็งได้เลี้ยงไว้นี้เกิดเขี้ยวงอกยาวออกมาและปรากฎว่าเป็นเขี้ยวตัน จึงเป็นแรงดลใจให้หลวงปู่เส็งคิดค้นตำราการสร้างหมูทองแดงเขี้ยวตัน ท่านจึงได้ให้ลูกศิษย์และฆราวาสศึกษารูปแบบ ถ่ายแบบจากหมูป่าจริงๆ เพื่อนำมาถอดรูป ทำแบบเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตัน เมื่อใส่รูปแบบที่ถูกต้องตามลักษณะของหมูป่าแล้ว หลวงปู่เส็งท่านจึงได้ลงแผ่นทองสามกษัตริย์ และวัตถุมงคลอื่นๆ ให้ช่างแกะพิมพ์และหล่อออกมา เป็นรูปหมูทองแดงตามรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

เมื่อการหล่อได้จัดการเสร็จเรียบร้อย ท่านจึงได้กำหนดวันเวลาปลุกเศก ซึ่งได้ทำพิธีภายในพระอุโบสถของวัดบางนาโดยมีเกจิในจังหวัดปทุมธานี ที่มีพรรษาอาวุโสและมีวิชาแก่กล้าจำนวน ๑๐รูปนั่งสวดในพิธีกรรม โดยมีหลวงปู่เส็งเป็นประธาน นั่งปรกปลุกเศกเพียงรูปเดียว เมื่อเสร็จแล้วท่านก็แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และญาติโยมที่มาทำบุญเช่าบูชาไป ต่อมาไม่นานก็เกิดประสปการณ์กันหลายอย่าง การสร้างหมูทองแดงของหลวงปู่ในครั้งนี้นั้น ท่านจะอธิษฐานจิตให้เป็นไปในทางเมตตามหานิยม ในทางค้าขายและในทางโชคลาภ เพราะฉนั้นจึงดีเด่นในทางค้าขาย ซื้อง่ายขายคล่องทำอะไรก็จะดีเป็นของหมูๆ ฉนั้นทุกครั้งที่จะใช้ในการเดินทางหรือนำติดตัวไปค้าขาย หรือตั้งบูชาไว้ที่บ้านจะต้องอาราธนานึกถึงบารมีของหลวงปู่เส็ง และกล่าวคำอาราธนาคาถา “หัวใจหมู” เพื่อปลุกให้หมูออกฤทธิ์และอำนาจตามที่คนศรัทรานำไปใช้

คาถาหัวใจหมู
นะโมฯ ๓จบ
อิ สะ วา สุ สุ สะ วา อิ นะมะพะทะ
จะ ภะ กะ สะ นะโมพุทธายะ นะชาลีติ
จันทะรังสี เอ สะ มะ สุ อิทธิฤทธิ ภะวันตุเม

ใช้ไปในทางติดต่อเจรจา ค้าขาย เป็นโชคลาภ และในขณะที่ท่านนำหมูติดตัวไปด้วย ก่อนออกจากบ้านหรือเดินทาง จะต้องอาราธนาว่าคาถาหัวใจหมูก่อน เมื่อนำติดตัวไปด้วยนั้นหากจะกินข้าวหรือน้ำหรือสิ่งใด ให้เรียกหรืออธิษฐานในใจว่า “พระยาหมูทองแดง กินข้าวกินน้ำด้วยกันนะ” หมูก็จะได้กินไปกับผู้ใช้ด้วย และถ้าตั้งบูชาที่บ้านก็ให้ตั้งต่ำกว่าพระพุทธมีข้าวแดงผสมใส่ในถ้วยและน้ำ เรียกให้กินด้วยการสวดหัวใจหมูเป็นต้น

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-27 07:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2016-4-27 07:08

การทำพระเครื่องของหลวงปู่เส็ง จนถึงปี 2512 หลวงปู่จะเอาพระเครื่อง ที่ทำออกมาไปปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ ถ้าเป็นเหรียญ ท่านจะทำพิธีพุทธาภิเษกนิมนต์พระระดับเจ้าอาวาสละแวกวัดบางนามาเจริญพุทธมนต์ด้วย หลังจากปี 2512 การทำวัตถุมงคลหลวงปู่จะจัดพิธีพุทธาภิเษกในอุโบสถตลอด พระผงรุ่นที่โด่งดังมากก็คือ รุ่นขี่หมู ซึ่งรุ่นนี้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่เป็นคนจัดสร้างขึ้นมานำไปให้หลวงปู่ทำพิธีพุทธภิเษก แล้วก็มอบพระให้หลวงปู่ไว้จำนวนหนึ่ง บรรดานักเล่น พระนิยมกันมาก



สำหรับวัตถุมงคลรูปแบบต่างๆ นั้น ครั้งแรกหลวงปู่จัดสร้างหมูทองแดงในปี 2522 สาเหตุ การจัดทำหมูทองแดงของหลวงปู่เส็งนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้นปืนยิงไม่เข้า หลวงปู่ก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่หลวงปู่ปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระที่นิมนต์มาเจริญพุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ขณะที่พระสงฆ์กำลังปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนสมาธิ ขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอกหลวงปู่ ท่านก็เฉยๆ แถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ท่านไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอา ครั้นเมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี 2522” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง 4 ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน และในปี 2524 หลวงปู่เส็งได้จัดสร้าง ทำหมู 7 หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบที่เรียกว่า 7หัวนั้น หมายถึงหัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี 7 แห่ง คือที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี 2524 นอกจากนี้หลวงปู่เส็งได้ทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีก 1 รุ่น หมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ 2,500 ตัวเท่านั้น พุทธคุณไปในทางแคล้วคลาดและค้าขาย




หลังจากทำหมูทองแดงออกมาหลวงปู่ก็จัดทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก 10 รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี 2522” สลับกับอักขระขอม ประสบการณ์มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัย จากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้นท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน ต่อมาท่านก็สร้างพญาเต่าเลือนเนื้อทองแดงผสมโลหะ แล้วจัดสร้างหงส์ทอง หงส์เงิน อีก 1 ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน ทำเพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา


http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=121796.0

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-27 07:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติวัดบางนา จ.ปทุมธานี                       

บริเวณทางเข้าวัด

วัดบางนาเป็นวัดที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกสร้างขึ้นในช่วงราวกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๐ โดยชนชาวมอญ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๙ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี


บริเวณอุโบสถ





เสาหงษ์เป็นสัญลักษณ์ของชนชาวมอญ ในการสร้างวัดบางนาเปรียบเหมือนเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ในยามเช้าของทุกๆวันแสงพระอาทิตย์ที่ขึ้นจากทางทิศตะวันออกจะสาดลำแสงเป็นทางยาวทาบมายังประตูพระอุโบสถ ซึ่งเป็นความสามารถของคนยุคก่อนที่ได้ทำการคำนวนทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ได้อย่างลงตัว ในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยชื่อ พระพุทธทิพย์สุวรรณมุนี สร้างโดยการก่ออิฐถือปูนในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถได้ถูกบูรณะขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระอธิการยงยุทธ อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนา
  
พระพุทธบาทจำลอง





ถัดจากบริเวณอุโบสถยังมีวิหารโบราณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ และรอยพระพุทธบาทจำลอง และวิหารจันทรังสี ซึ่งได้ทำการยกช่อฟ้าไปเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ผ่านมานี้ ภายในวิหารได้ประดิษฐานสรีระอันไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่เส็ง จันทรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนา และรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสพระอธิการทัด และหลวงพ่อแสวงอีกด้วย
ในช่วงต้นจนถึงปัจจุบัน วัดบางนาได้มีเจ้าอาวาสทั้งหมดดังนี้
๑ พระอธิการ เลี่ยว
๒ พระอธิการ ทัด
๓ พระครูมงคลธรรมสุนทร (หลวงปู่เส็ง จันทรังสี)                              
๔ พระครูอนุกูลศาสนกิจ (หลวงพ่อแสวง นันทิโย)
๕ พระอธิการ ยงยุทธ ยโสธโร
๖ พระครูศรีปทุมานุรักษ์ (รักษาการแทน)
๗ พระอธิการสำเริง ปญญาทีโป เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๑)


https://watbangna.org/2008/12/29/history-of-wat-bang-na/
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-4-27 07:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รำลึก …จันทรังสี                       

สรีระของหลวงปู่เส็งในโลงแก้ว ไม่เน่าเปื่อย


โลกแห่งสังคมนิยม ได้แผ่ขยายอำนาจปกคลุมเข้ามายังจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ประชาชนภายในประเทศ ต้องพบกับความเดือดร้อนจากการปกครองแบบใหม่ นายจู ซึ่งเป็นคนจีนคนหนึ่ง ที่ได้เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ประกอบอาชีพตั้งหลักแหล่งอยู่ปทุมธานี ครั้นแต่งงานอยู่กินกับนางเข็ม ซึ่งสถานภาพเป็นคนมอญ และทั้งสองได้ทำอาชีพ ทำนา ทำอิฐ เพื่อค้าขายเป็นหลัก

ที่สุดก็ให้กำเนิดบุตร มีจำนวนถึง๗คน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาย นอกนั้นเป็นหญิงทั้งหมด บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อบุตรชายนั้นว่า “เส็ง” นามสกุล บุญเซ็ง เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ต่อมาพี่น้องที่เป็นหญิงนั้นได้เสียชีวิตลง
พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบางนา โดยมีพระครูนันทมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทัด เจ้าอาวาสวัดบางนา เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาในบวรพุทธศาสนาว่า “จันทรังสี”
หลวงปู่เส็งท่านเป็นผู้พูดน้อยแต่ว่าพูดได้หลายภาษาเช่น ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษาจีน ภาษาขอม และท่านได้ศึกษาธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ. ๒๔๘๗
หลวงปู่เส็งท่านได้เริ่มทำพระเครื่องเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นพระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง ผสมผงอิธิเจ ปถมังค์ และผงตรีนิสิงเห นอกจากนั้นแล้วยังมีตะกรุดโทนและพระผงประเภทอื่นๆอีกมากมาย
ความชรานั้นเป็นทุกข์ หลวงปู่เส็งท่านได้ชรภาพลงตามวัยและได้ละสังขารมรณภาพลงในวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ รวมอายุได้ ๘๗ปี ที่โรงพยาบาลคุ้มเกล้า แต่ทว่าสภาพร่างกายภายนอกนั้นยังคงสมบูรณ์เป็นปรกติ หรือที่เรียกว่าไม่เน่าไม่เปื่อย และเก็บรักษาไว้ในโลงแก้วเพื่อเป็นที่เคารพกราบไหว้แก่ศิษยานุศิษย์ ตลอดถึงประชนชนที่สัญจรผ่านมาทำบุญ



https://watbangna.org/2008/12/29/bio-luang-poo-seng/

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-16 10:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-5-31 05:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นึกว่าท่านเก่งเรื่องครุฑ นี่ก็น่าสนนะนี่
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้