ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
จาด จง คง อี๋
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 20148
ตอบกลับ: 3
จาด จง คง อี๋
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-12-26 10:14
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงพ่อ จาด จง คง อี๋ สี่ยอดพระเกจิแห่งสงครามอินโดจีน
สมัยที่เมืองไทยเกิดข้อพิพาท ต้องรบกับข้าศึกในสงครามอินโดจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔ เป็นช่วงที่ประชาชนชาวไทยต่างต้องการขวัญและกำลังใจกันมาก โดยเฉพาะเหล่าทหารหาญที่ต้องไปร่วมในศึกสงคราม จึงเกิดการเสาะหาวัตถุมงคลเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อผลทางแคล้วคลาดปลอดภัย รวมถึงคงกระพันชาตรีจากอาวุธปืนของข้าศึก
ในสมัยนั้นพระเกจิอาจารย์จำนวนมากได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครองเหล่าบรรดาลูกศิษย์ โดยมีพระอาจารย์ ๔ รูปที่ได้รับนิมนต์ร่วมปลุกเสกพระเครื่องรวมถึงเครื่องรางของขลังต่างๆ ในพิธีใหญ่ที่ทางการจัดขึ้น อาทิ ผ้าประเจียด, เสื้อยันต์ ฯลฯ สำหรับแจกทหารที่ออกรบ และด้วยความศักดิ์สิทธิ์จากพุทธาคมของพระอาจารย์ทั้ง ๔ ทำให้ทหารไทยที่ไปรบต่างได้รับความปลอดภัย แคล้วคลาด จนถึงขั้นคงกระพันชาตรี ขนาดถูกยิงล้มลงไปยังลุกขึ้นสู้กับข้าศึกต่อไปได้ จนถูกขนามนามว่า “ทหารผี” พระอาจารย์ทั้ง ๔ ท่านที่ได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนชาวไทย คือ
๑.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี
พระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลังที่สุดรูปหนึ่งของเมืองปราจีนบุรี ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อเติบโตจนถึงวัยหนุ่มได้ย้ายไปอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรี จนอายุครบบวชใน พ.ศ.๒๔๓๖ ท่านได้บรรพชาที่วัดบ้านสร้าง โดยมี พระครูปราจีนบุรี วัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นท่านได้ย้ายมาอยู่ประจำที่วัดบางกระเบา ศึกษาพระธรรม รวมทั้งวิชาอาคมต่างๆ จากพระอาจารย์หลายๆ ท่านที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น
ว่ากันว่า ท่านได้เดินธุดงค์ไปศึกษาวิชาอาคมถึงประเทศเขมร จนเชี่ยวชาญในคาถาอาคมอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะวิชาการถอนคุณไสย และวิชามหาอุด คงกระพันชาตรี ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคลจนโด่งดังไปทั่ว มีลูกศิษย์ให้ความเคารพนับถือทั่วมืองไทย รวมถึงข้าราชการนายทหารตำรวจผู้ใหญ่สมัยนั้น
และที่สำคัญสุด ท่านได้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่มักจะถูกคุณไสยจากอาจารย์ชาวเขมรที่ชอบลองวิชาปล่อยของในสมัยก่อน เป็นต้องถูกหลวงพ่อสยบจนสิ้นฤทธิ์ทุกรายไป ด้วยคุณประโยชน์ที่หลวงพ่อจาดสร้างให้กับวัด และเป็นที่ศรัทธาของประชาชน ทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยตลอด จนเมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูสิทธิสารคุณ
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ หลวงพ่อจาดได้มรณภาพที่วัดบางกระเบา สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔ สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อที่ได้รับความนิยมกันมาก มีราคาสูง และหายาก คือ เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นเหรียญกลม รูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระปิดตา นอกจากนี้ยังมี เหรียญรุ่น ๒ พ.ศ.๒๔๘๕ มีหลากหลายแบบพิมพ์ เหรียญรุ่น ๓ รูปเหมือนลอยองค์ พระกริ่งออกที่วัดบางหอย ตะกรุด เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ฯลฯ
วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด ได้รับความนิยมในทุกรุ่นที่ท่านปลุกเสก เพราะชื่อเสียงที่เชื่อถือได้ทางมหาอุด คงกระพันชาตรี ยังรวมถึงเมตตาค้าขายก็มีอย่างครบถ้วน เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ทุกครั้ง
๒.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งความเมตตา” เป็นผู้มีแต่ให้สำหรับชาวอยุธยาและประชาชนทั่วไป ซึ่งล้วนเคารพรักท่านทุกคน หลวงพ่อเป็นชาว ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ ต่อมาบิดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ที่วัดหน้าต่างใน เพื่อเรียนหนังสือตั้งแต่เล็ก
จนอายุครบ ๒๐ ปี ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดแห่งนี้ โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความที่สนใจใฝ่หาวิชาร่ำเรียนเพิ่มเติม ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ฯลฯ โดยหลวงพ่อเป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อปาน นับถือหลวงพ่อจง เป็นที่สุด โดยเรียกหลวงพ่อจงว่า “หลวงพี่” ทุกคำ พร้อมกับยกย่องหลวงพ่อจง ให้ศิษย์ฟังเสมอว่า “หลวงพ่อจงนี่แหละพระทองคำทั้งองค์”
ในสมัยที่หลวงพ่อปกครองวัด ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือมาก มีกิจนิมนต์แทบทุกวัน ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านมากราบไหว้ท่านที่วัดไม่ขาดระยะ หลวงพ่อมีความเมตตามาก ท่านไม่เคยปฏิเสธในการให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ว่าการรดน้ำมนต์ ทำตะกรุด ปลุกเสกพระเครื่อง โดยหลวงพ่อเพียงแค่เป่าพ่วงเดียว ก็มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยิ่งนัก
วัตถุมงคลของหลวงพ่อจง สูงค่าทั้งทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ป้องกันเขี้ยวงา ภูตผีปีศาจ มหาอุด คงกระพันชาตรี ฯลฯ โดยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเหรียญยอดนิยมหลายรุ่น รูปหล่อ เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ตะกรุด แหวน ปลาตะเพียน รักยม ฯลฯ
ตลอดเวลาที่ท่านให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน และปกครองวัด ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ที่ทางการมอบให้ กิจนิมนต์ที่สำคัญที่ท่านมักจะได้รับเป็นประจำ คือ การไปร่วมนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีใหญ่ๆ ทุกครั้ง เรียกว่าทุกพิธีสำคัญจะขาด หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ไม่ได้
จนถึง พ.ศ.๒๕๐๘ หลวงพ่อจงมรณภาพอย่างสงบที่ วัดหน้าต่างนอก นับเป็นการสูญเสียสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่น่ากราบไหว้อย่างสนิทใจท่านหนึ่งของเมืองไทย
๓.หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม
เป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองสมุทรสงคราม ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ ที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม เมื่อเติบโตอายุ ๑๒ ปี บิดามารดานำไปบวชเรียนเป็นสามเณร ที่ วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา ต่อมาได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ ที่วัดเหมืองใหม่ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ เนื่องจากหลวงพ่อบวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร จนเป็นพระภิกษุ ทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญในภาษาบาลี รวมถึงสนใจในวิชาอาคมต่างๆ โดยได้เดินทางไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อเก่งๆ ดังๆ ในอดีตหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ฯลฯ
เมื่อถึง พ.ศ.๒๔๔๘ ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม มีความศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อคง จึงรวมใจกันขอให้ท่านรับเป็นเจ้าอาวาส วัดบางกะพ้อม ซึ่งตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง หลังจากที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ได้ทำนุบำรุงวัดที่กำลังเสื่อมโทรม โดยหลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญในฝีมือทางช่าง รวมถึงการตกแต่งสิ่งก่อสร้างต่างๆ พร้อมกันนี้ท่านก่อสร้างพระพุทธรูป ด้วยตัวท่านเอง และลูกศิษย์ต่างพร้อมใจกันมาช่วยงาน จนวัดเด่นเป็นสง่าสวยงามถึงทุกวันนี้
หลวงพ่อคง มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ โดยตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาส ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ที่ทางคณะสงฆ์มอบให้ ทางด้านวิชาอาคม หลวงพ่อได้ทำตะกรุด และลูกอม แจกศิษย์ในยุคแรกๆ ปรากฏเป็นที่ร่ำลือในทางคงกระพันชาตรี กล่าวกันว่า มีดปาดตาลที่คมๆ ยังไม่สามารถทำอะไรผู้ที่บูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่อคงได้ นอกจากนี้ยังดีทางเมตตาค้าขายเป็นยิ่งนัก
พระเครื่องที่โด่งดังที่สุดของหลวงพ่อคง คือ เหรียญรูปเหมือน ที่ออกเมื่อปี ๒๔๘๔ เป็นเหรียญหลักยอดนิยม ที่จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยม เหรียญสวยๆ เช่าบูชาเกินหลักล้านบาท นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องเนื้อผง เหรียญหล่อ อีกหลายพิมพ์ รวมทั้ง เสื้อยันต์วิรุฬจำบัง ที่หายาก และมีราคาสูง
๔.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี
ชายแดนริมฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งของหน่วยทหารกองทัพเรือ ชาวทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนเคารพนับถือ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ สุดยอดพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ปลุกเสกวัตถุมงคลได้อย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะ ปลัดขิก ของท่านโด่งดังเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เพราะอานุภาพเป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัดว่า ดีทุกทาง ทั้งเมตตา มหานิยม ค้าขาย เป็นเสน่ห์ยิ่งนัก โดยเฉพาะป้องกันเขี้ยวงา แคล้วคลาดคงกระพันรวม ถึงอาราธนาทำน้ำมนต์ก็ยังขลัง ตามแต่จะอธิษฐาน
หลวงพ่ออี๋ เป็นชาวสัตหีบ จ.ชลบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ พออายุครบ ๒๐ กว่าปี ได้บวชเรียนที่วัดอ่างศิลา โดยมี พระอาจารย์จั่น วัดอ่างศิลาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชเรียนแล้ว ท่านได้ศึกษากับพระอาจารย์ที่วัดแห่งนี้ จนมีวิชาอาคมระดับหนึ่ง จึงได้เดินทางไปขอเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จ.สมุทรปราการ ทำให้ได้รู้จักและสนิทสนมกับ หลวงพ่อนก วัดสังกะสี และ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ซึ่งได้ร่วมขบวนธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆ โดยมี หลวงพ่อปาน เป็นผู้นำ
หลังจากได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ อยู่นานพอสมควร ท่านได้เดินทางกลับมาบ้านที่สัตหีบ และได้สร้างวัดขึ้น โดยได้เป็นเจ้าอาวาส รูปแรกของวัดสัตหีบ ท่านได้ปกครองวัด สร้างความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก จนถึง พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวรเวทมุนี เจ้าคณะอำเภอสัตหีบ จนเมื่ออายุท่านได้ ๘๒ ปี หลวงพ่อได้มรณภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ ที่วัดสัตหีบ
สำหรับวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อของท่าน นอกจาก ปลัดขิก อันโด่งดังแล้ว ยังมี เหรียญรุ่นแรก สร้างปี ๒๔๗๓ จัดเป็นเหรียญยอดนิยมที่มีราคาสูงเหรียญหนึ่งของเมืองไทย รวมทั้ง ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ก็เป็นที่นิยมแสวงหาของลูกศิษย์และนักสะสมพระเครื่องทั่วไป...จนถึงทุกวันนี้
ในช่วงสมัยสงครามอินโดจีน ที่กล่าวมา ยังมีพระคณาจารย์เก่งๆ อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และมักจะได้รับนิมนต์ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีใหญ่ๆ อีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อโอภาสี วัดอาศรมบางมด, หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ฯลฯ นับเป็นยุคสมัยที่มีการสร้างพระเครื่องรางของขลัง มากที่สุด จนโด่งดังไปทั่วเมืองไทย ซึ่งความขลังความศักดิ์สิทธิ์ก็จะยังอยู่เป็นที่พึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน จนถึงทุกวันนี้ และต่อไปอีกนานเท่านาน
http://thaipra-siam.blogspot.com#
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
moshido
moshido
ออฟไลน์
เครดิต
984
2
#
โพสต์ 2014-1-27 16:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
โพสต์ 2015-8-8 07:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
โพสต์ 2017-7-10 08:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...