ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ความเคยชิน โดย วีรพงษ์ รามางกูร
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1692
ตอบกลับ: 1
ความเคยชิน โดย วีรพงษ์ รามางกูร
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8069
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-2-26 10:05
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ความเคยชิน โดย วีรพงษ์ รามางกูร
[url=line://msg/text/ความเคยชิน%20โดย%20วีรพงษ์%20รามางกูร%20http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fnews%2F49517][/url]
ผู้เขียน
วีรพงษ์ รามางกูร
ที่มา
มติชนรายวัน
คนไทยหรือสังคมไทยเป็นสังคมที่เคยชินกับข่าวลือ เมื่อมีข่าวลือเกิดขึ้นก็ไม่มีใครสนใจจะค้นหาความจริง ปล่อยให้ลือกันไปจนเกิดความเคยชิน จะจริงหรือไม่จริงไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครคิดถึงว่าข่าวดังกล่าวที่ร่ำลือกันนั้นถ้าเป็นจริงแล้วจะเป็นจริงได้ยังไง ผิดหรือถูก จะขัดหรือไม่ขัดกับกฎหมายหรือประเพณีวัฒนธรรมหรือเปล่า การปล่อยข่าวให้ลือไปกลายเป็นธรรมชาติของคนไทย
ตามปกติในการบริหารราชการบ้านเมือง เป็นของธรรมดาที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองบ้านเมืองมักจะต้องมีเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้ทั้งหมด หรือเปิดเผยไม่ได้บางส่วน อาจเป็นเรื่องที่จะเสียหายต่อประเทศชาติหรือสังคมโดยส่วนร่วมก็ได้ หากข่าวเช่นว่านั้นถูกเปิดเผย
ยิ่งเป็นเรื่องที่จะต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ การเจรจาระหว่างประเทศ หากข่าวรั่วหรือเปิดเผยไปเสียก่อนการดำเนินการหรือการเจรจา การปฏิบัติการอาจจะเป็นไปไม่ได้ โดยเมื่อทางการจะต้องเก็บไว้เป็นความลับข่าวลือก็จะเกิดขึ้น และเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชิน ไม่มีใครสนใจจนกว่าจะเกิดข่าวลือขึ้นมากลบหรือทำให้ข่าวลือเช่นว่านั้นกลายเป็นข่าวที่เคยชินกันไป
หนังสือราชการที่ติดต่อกันระหว่างหน่วยราชการก็มักจะประทับ ลับ ลับมาก และลับที่สุด ทั้งๆ ที่เรื่องที่ติดต่อถึงกันนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่ควรจะเป็นเรื่องลึกลับนักหนาอะไร เช่นเดียวกับการประทับบนหัวจดหมายราชการว่าด่วน ด่วนมาก และด่วนที่สุด ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องธรรมดาปกติ ไม่ใช่เรื่องด่วน ด่วนมาก หรือด่วนที่สุด และเนื่องจากการประทับลับ ลับมาก ลับที่สุด และด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด ทั้งผู้ส่งหนังสือเช่นว่าไปก็ไม่ได้คิดว่าต้องเป็นเช่นนั้นจริงๆ ในที่สุดทั้งผู้ส่งและผู้รับก็รู้สึกเคยชิน ที่จะต้องประทับหัวจดหมายหรือหนังสืออย่างนั้น ผู้รับเองก็รู้สึกเคยชินกับการที่ได้รับจดหมายหรือหนังสือที่มีการประทับดังกล่าว ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่จะต้องปฏิบัติเป็นพิเศษตามระเบียบของราชการแต่ประการใด
เมื่อต้องฟังคำพูดที่ไม่สุภาพ หยาบคาย เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวหรือเป็นเท็จ ฟังทีแรกก็ขัดหูต้องปิดโทรทัศน์ หรือปิดวิทยุในระหว่างขับรถอยู่บนถนน แต่เมื่อฟังไปนานๆ ก็เกิดความเคยชิน แม้ว่าคำพูดจะเป็นคำพูดที่ขัดหูและไม่เคยชินมาก่อน แต่เมื่อต้องฟังไปนานๆ ก็รู้สึกเฉยๆ เคยชินไปเอง กลายเป็นคำธรรมดา ไม่หยาบคาย หรือที่สมัยนี้เรียกกันว่า “new normal”
เวลาฟังการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของโลกหรือเศรษฐกิจไทย รวมทั้งการคาดการณ์ไปข้างหน้า เนื่องจากผู้วิเคราะห์หรือผู้พยากรณ์มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ จึงพูดจากันผิดๆ เสมอ ที่สำคัญก็คือการใช้ศัพท์วิชาการแบบผิดๆ แม้ว่าตอนแรกจะรู้สึกขัดหู แต่เมื่อฟังไปนานๆ ก็เกิดความเคยชิน และบางทีเพื่อความเข้าใจของคนฟัง ต่างก็ร่วมกันใช้ศัพท์ที่ผิดๆ เหล่านั้นไปด้วยอย่างไม่เคอะเขิน กลายเป็นความเคยชินไป
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8069
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-2-26 10:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การที่ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นสังคมที่ประชาชนมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่ามนุษย์โดยพื้นฐานเป็นคนดี มีความสามารถที่จะปกครองตนเอง ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นก็จะมีความเคยชินกับการมีคุณค่าแบบประชาธิปไตยหรือ democratic value เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เคารพต่อความเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่น เป็นปกติด้วยความเคยชิน
ตรงกันข้ามกับสังคมที่เป็นสังคมที่มีการปกครองโดยเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าประชาชนนั้นยังโง่เขลา ไม่สามารถปกครองกันเองได้ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่จำเป็นต้องให้เกียรติ พูดดีด้วยไม่ได้ ต้องใช้วิธีกำราบด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะด้วยกิริยา วาจา หรือวิธีการข่มขู่ด้วยกำลังหรืออาวุธ จนเป็นเรื่องปกติด้วยความเคยชิน
ในสังคมจะมีกลุ่มคนอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยและคิดว่าตนที่เป็นคนดี มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองและประชาชน สามารถสร้างความสุขคืนให้กับประชาชนได้ มองคนส่วนใหญ่นั้นโง่เขลาเบาปัญญา คิดเองไม่ได้ ถ้าปล่อยให้เป็นอิสระมีเสรีภาพก็จะเกิดความแตกแยก ไร้ความสามัคคีและชอบมีความเห็นที่ไม่อยู่ในกรอบที่ควรจะเป็น การทำการโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องคุณค่าของสังคมเพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีก็ทำไม่ได้ จนกลายเป็นความเคยชินที่ไม่มีใครตั้งข้อสงสัยว่าจริงหรือไม่จริง
เมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหารใหม่ๆ ผู้คนจะยังไม่เคยชิน ในระยะนั้นต้องใช้อำนาจ ต้องใช้กำลังเข้าข่มขู่ ต้องเรียกไปปรับทัศนคติ แต่เมื่อผู้คนเกิดความเคยชินกับการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ชินกับการถูกลดระดับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลังข่มขู่ปราบปรามก็จะลดลงไป เหลือเพียงการระวังไม่ให้ใครออกมาเป็นหัวหน้าในการสร้างกระแสความคิดทางการเมือง ความคิดต่อต้านระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจการปกครองแผ่นดิน หรืออำนาจในการแก้ไขปัญหาของตนเองที่ไม่ได้มาจากประชาชน นานๆ เข้าประชาชนก็จะรู้สึกเคยชินกับวาทกรรมประเภทนี้ เคยชินกับการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง ในสังคมที่ไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย ผู้คนในสังคมก็จะเคยชินกับการที่ไม่ต้อง “คิด” เป็นสังคมที่ผู้นำและผู้ปกครองเป็นคนคิดให้เสร็จ ความคิดและการกระทำของผู้ปกครองเป็นความคิดที่ถูกต้องเสมอ ไม่ต้องโต้เถียง
นโยบายและการกระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โปร่งใส ไม่มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องถูกตรวจสอบ ไม่จำเป็นต้องชี้แจง ระบบและกลไกการตรวจสอบผู้ปกครองในการบริหารกิจการบ้านเมืองจึงไม่จำเป็น
มีภาษิตทางรัฐศาสตร์ที่ว่า..
“ผู้ปกครองที่เป็นคนดีแต่ตรวจสอบไม่ได้นั้น เป็นอันตรายยิ่งกว่าผู้ปกครองที่ไม่ใช่คนดีแต่ถูกตรวจสอบได้”
ระบอบประชาธิปไตยไม่เคยคิดว่าจะต้องได้คนดีสะอาดบริสุทธิ์มาเป็นผู้ปกครอง ตรงกันข้ามระบอบประชาธิปไตยนั้นสันนิษฐานเสมอว่า นักการเมืองนั้นไม่ใช่ผู้บริสุทธิ์ แต่เป็นระบบที่เราตรวจสอบผู้ที่ไม่บริสุทธิ์เช่นว่านี้ได้ ในระยะแรกๆ อาจจะตรวจสอบไม่ได้
แต่ด้วยประสบการณ์ที่ซ้ำๆและพัฒนาการของการมีส่วนร่วม ในที่สุดสังคมก็จะสร้างระบบที่จะตรวจสอบ
ระบบที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามให้ผู้ปกครองตอบและชี้แจง
ประเทศไทยเรายังไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยที่ยาวนานพอจนประชาชนเกิดความเคยชิน แต่มีระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหาร หรือระบอบการปกครองที่แบ่งอำนาจกันระหว่างกองทัพกับประชาชนจนประชาชนเกิดความเคยชิน เมื่อเปิดให้มีประชาธิปไตย ก็จะเป็นประชาธิปไตยแบบสุดโต่ง ไม่มีวินัย ไม่มีระเบียบ ประชาชนก็ไม่เคยชินกับการไม่มีวินัย ไม่เคยชินกับการมีความคิดที่แตกต่าง จึงยินดีที่จะเรียกร้องให้มีการทำปฏิวัติรัฐประหารเพราะเป็นระบอบที่ตนมีความเคยชิน
กองทัพก็ไม่เคยชินกับการอยู่ใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลที่ไม่ใช่รัฐบาลทหาร เคยชินกับการมีผู้บังคับบัญชาหรืออดีตผู้บังคับบัญชาของตนเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ความไม่เคยชินของกองทัพที่จะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือน ทำให้มีการแก้ไขกฎหมายให้กองทัพค่อนข้างจะเป็นอิสระจากรัฐบาล แต่กองทัพจะมีความเคยชินที่จะอยู่ใต้การบังคับบัญชาของทหารด้วยกัน
ความไม่เคยชินของกองทัพที่จะอยู่ใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือน ความไม่เคยชินกับการจะมีผู้บังคับบัญชาเป็นนักการเมือง จะทำให้เกิดความอึดอัดและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในที่สุดก็กลายเป็นความไม่เคยชินกับระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ความเคยชินจึงมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบอบการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการพัฒนาประชาธิปไตย คนไทยเคยชินกับระบอบเผด็จการ เคยชินกับการมีสิทธิเสรีภาพที่จำกัด เคยชินกับระบอบอำนาจนิยมที่ไม่ต้องการคำอธิบาย แต่ระบอบดังกล่าวก็ไม่มีเสถียรภาพ อยู่นานก็ไม่ได้เพราะขัดกับกระแสโลกาภิวัตน์ของโลก
คนไทยจึงอยู่ในภาวะที่ “งงๆ” ไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรดี ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการทหาร
วงจรอุบาทว์ทางการเมืองหรือ “political vicious circle” จึงเกิดซ้ำรอยขึ้นอยู่เสมอ
ไม่สามารถที่จะออกจากวงจรอุบาทว์นี้ได้
นอกจากมีเหตุการณ์ที่รุนแรงไม่คาดฝันเกิดขึ้นจริงๆ เท่านั้น
ความเคยชินจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของทุกประเทศ
http://www.matichon.co.th/news/49517
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...