ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4307
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ถามว่า "บุญ" กับ "บารมี" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

[คัดลอกลิงก์]
บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์
จำแนกได้ 10 อย่าง เรียกว่า บุญกริยาวัตถุ10
ทานมัย บุญสำเร็จด้วย การบริจาค
สีลมัย บุญสำเร็จด้วย การรักษาศีล
ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วย การเจริญภาวนา
อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วย การประพฤติตนอ่อนน้อม
เวยยวัจจมัย บุญสำเร็จด้วย การขวยขวายในกิจที่ควร
ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วย การอุทิศส่วนบุญ
ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วย การอนุโมทนาบุญ
ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วย การฟังพระสัทธรรม
ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วย การแสดงพระสัทธรรม
ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วย การตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิบารมี แปลว่า "เต็ม"
บารมี10 ประการนี้ ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ควรประพฤติอย่างยิ่ง บารมีทั้ง10ประการ เป็นสิ่งที่ควรสะสมไว้เพื่อขัดเกลาจิตให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น บารมีทั้ง10นี้ เป็นสิ่งที่ พระอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องทรงบำเพ็ญ อย่างยาวนาน พระอรหันตสาวกก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านทั้งหลายได้อ่านประวัติใน อดีตชาติของ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์และ อุบาสกอุบาสิกาในพระไตรปิฏก ท่านจะทราบได้ทันทีเลยว่า ทุกท่านบำเพ็ญบารมี10ประการนี้ มากมาย และต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน คุณธรรมนี้เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ และเจริญรอยตามแนวทางที่ท่านทั้งหลาย เหล่านี้ได้กระทำไว้ บารมีทั้ง10ประการมีดังนี้
ทานบารมี
ศีลบารมี
เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมี
วิริยะบารมี
ขันติบารมี
สัจจบารมี
อธิฐานบารมี
เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี
บารมี 10 เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะดับกิเลส เพื่อเลื่อนฐานะของปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล เพราะการสร้างบารมีต้องสร้างทุกบารมีจนครบทั้ง10 ประการ เพื่อที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาคมกล้าจนสามารถ ตัดกิเลส ดับกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นซากไปได้ ฉะนั้นเราควรที่จะพิจารณาตนเอง ว่าในแต่ละวันเรามีการเจริญบารมีต่างๆมากน้อยอย่างไร สิ่งใดที่เรายังกระทำน้อย ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเร่งสร้างบารมีให้เกิดกับตนเองเพิ่มขึ้น ชีวิตนี้ไม่ยืนยาวเลย
ตอบ ให้กระชับก็คือ
"บุญ" หมายความว่า ความดี มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ที่สามารถชำระกระแสจิตที่ถูกกิเลสทั้งหลาย มีโลภ โกรธ หลง ให้หายจากกระแสจิต ฉะนั้น บุญจึงเป็นของสาธารณะแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกลียดบาปที่ให้ผลเป็นทุกข์ และบุญนั้นยังสามารถให้สำเร็จผลตามมโนรถของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดีในการเกิด ต้องเกิดต้องตายในสุคติภูมิ มีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ อันเป็นภพภูมิที่สัตว์ผู้ไม่รู้จักทุกข์ปรารถนากัน
ส่วน "บารมี" คือ คุณความดี มีทาน ศีล ภาวนา เช่นกัน แต่เป็นคุณความดีที่สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นทุกข์ภัยต่างๆ มีทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในสังสารวัฏฏ์ บำเพ็ญกันเพื่อให้บรรลุถึงนิพพาน โดยปรารถนาให้ต้นพ้นจากทุกข์ และช่วยให้สัตว์อื่นพ้นจากทุกข์ด้วย
ฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า บุญ กับ บารมี ถึงแม้จะเป็นความดีเหมือนกัน แต่ย่อมมีความต่างกัน คือ จุดประสงค์ ในการบำเพ็ญ ในการปรารถนา และผลที่ได้รับต่างกัน ทำให้เราทราบได้ว่า การทำบุญกุศลต่างๆที่เราทั้งหลายทำกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นบารมีหรือเป็น การทำบุญทุกๆครั้ง ปรารถนาเพื่ออะไร เป็นไปเพื่อการออกจากทุกข์หรือเป็นไปเพื่อทุกข์...

https://www.facebook.com/permalink.php?id=168976123191566&story_fbid=363675613721615
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม

บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
มี ๑๐ คือทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าเอาตามนี้ บารมี...ก็คือการที่เราได้กระทำบุญด้านใดด้านหนึ่งอย่างยิ่งยวดจนติดเป็นอุปนิสัย ไปทุกภพทุกชาติ สรุปง่าย ๆบารมีก็คือ บุญชนิดหนึ่ง เพราะอาศัยบุญเป็นแหล่งกำเนิดของบารมี บารมี 10 บุญก็มี บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ซึ่งถ้าสังเกตุดูให้ดีก็คือแนวทางการสร้างบารมีนั่นเอง...จึงกล่าวได้ง่าย ๆว่า การสร้างบุญกับบารมีนั้นคืออันเดียวกันแต่จะให้บุญกลายเป็นถึงขั้นบารมีได้นั้นเราต้องทำบ่อย ๆ ทำจนชิน ทำจนติดเป็นนิสัยไม่ทำแล้วจะตาย หรือ ยอมตายถ้าไม่ได้ทำ.....สวัสดี
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บุญ : การกระทำที่ "จิตเป็นกุศล"
บารมี : การกระทำที่ "เครื่องประทับแห่งจิต"

ทุกการทำบุญจะเกิดบารมีขึ้นเสมอ แต่อาจไม่ครบทั้งบารมี 10

แต่การทำบารมี บางอย่างอาจไม่เกิดบุญขึ้นเลย ได้แต่สิ่งที่ประทับลงในจิต
อย่างเช่น โจรบางคน ถือสัจจะว่าจะปล้น แต่จะไม่แตะต้องเครื่องมือทำกิน
ของเจ้าทรัพย์ เป็นต้น นั้นคือ โจรได้ทำสัจจะบารมีแล้วแต่ส่วนกุศล
ไม่ได้ทำไง (คือไปปล้นของเค้าแต่ยังมีสัจจะอยู่)

บุญ ยังมีการส่งผลมาก-น้อย ตาม "เนื้อนาบุญ"
บารมี ไม่ได้ขึ้นกับเนื้อนาบุญ ขึ้นกับว่าคุณได้ทำลงไปหรือยัง

แล้ว จขกท อยากทำอะไรล่ะคะ ระหว่างบุญหรือบารมี เมื่อก่อนดิฉันก็
ซีเรียสกับคำว่า "เนื้อนาบุญ" แต่ตอนนี้ไม่แล้วล่ะ ก็คือขอให้ได้ทำไว้ก่อน
ไม่ต้องไปสงสัย ทำแล้วตัดไปเลย นึกถึงพระแล้วอธิษฐานอย่างเดียว
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บารมีก็คือกำลังใจ ของผู้ ปฏิบัติ ในการให้ทาน รักษา ศิล เจริญ ภาวนา บารมี มีต้น กลาง และ ปลาย ทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม บางคน ทำ บุญทุกประเภท ไม่เข้าใจก็มี แต่ทำทุกอย่าง เขาเรียกขี้ตรงล่องนั่นเอง แล้วแต่กำลังใจ ของใครแค่ไหน ถ้าพูดถึงตามตำราหรือครูบาอาจารย์ บารมี ๑๐ มี ทาน การให้ ศิล รักษาตามกำลังของตน เนกขัมมะ ในการถือบวช ศิล ๕ ก็ถือบวช ได้ เอาแค่กำลังของตัว ศิล ๘ -๑๐ -๒๒๗ ปัญญา สัจจะ ขันติ วิริยะ
อธิฐาน เมตตา อุเบกขา


การสำรวมกายวาจาใจถือเป็นบารมีหรือไม่ มันก็เป็นอยู่แล้ว มันจะอยู่ ในขั้น โลกียะ โลกุตร พระอริยระดับใด ก็ว่าไปตามชั้นขั้นตอนแหละครับ

บารมีทางโลก กับทางธรรม มันจะต่างกันตรงไหน ล่ะ มันต่างกันตรงที่ว่า เป็นนักบวช กับไม่ได้บวช พระทำได้ เราก็ทำได้ จะทำได้มากน้อย กว่ากัน หรือ บารมีต่างกันต่างระดับ ต่างชั้นวรรณะ มันมี ๑๐ นิ้ว เหมือนกัน มีขา ๒ ขา แต่ว่านักบวช มีเวลามากกว่าฆราวาส ทางโลก ต้องทำมาหากิน เลี้ยงชีพ มีภาระหนักหน่วง ต้องยุ่งกับ ภาระต่างๆ ลูกผัวเมีย สิ่งเย้ายวน กวนใจมากมาย สุดที่จะพรรณา

ไม่รู้จะเข้ากรอบ ของผู้ตั้งกระทู้ หรือเปล่า บางที ความเข้าใจมันต่างกันก็มีครับ

ทุกอย่างถ้าเรา ทำ มันก้เป็นบารมีหมด ถวายอีโต้เล่มเดียว ยังทำความปราถนา เป็นพระพุทธเจ้าเลย ถวายเข็ม กับได้ ก็เป็นปัจจัย ให้ได้ เป้นพระพุทธเจ้า ฉนั้น การบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์นี่ ขาดอย่างใด อย่างหนึ่ง มิได้เลย แม้สาวก ก้เหมือนกัน ต่างกันที่ ทำน้อยกว่า พระโพธิสัตว์ มากๆเลย ทุกอย่างต้องทำไปจากคนเท่านั้น สาวก บำเพ็ญ เทวดาพรหม ได้ พุทธภูมิ ไม่ได้ เป็นกฎ ตายตัว เกิดระหว่างคนกับสัตว์เท่านั้นครับ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บุญ หมายถึง ความสุขใจ ความปิติสุขของจิต ความพองฟูของจิต
กุศล หมายถึงเครื่องกระทำ หรือเครื่องชำระให้ดีงาม ให้ขาวสะอาดผ่องใส
บารมี หมายถึง การตั้งไว้ซึ่งกำลังใจที่ยิ่งกว่า และการประกอบความเพียรเพื่อให้กำลังใจที่ตั้งไว้สมดั่งที่ตั้งไว้หรือปราถนาไว้

บุญ กุศล และบารมี สามสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้คือ

ก็กุศลกรรมย่อมเป็นเหตุ อันก่อให้เกิดผลสองส่วนคือ บุญและผลแห่งบุญหรือวิบากรรม อันเรียกว่า กุศลวิบากรรม นั่นเอง
ขยายความได้ว่า
ก็บุญที่เกิดแล้ว ยังผลให้ จิตมีปิติสุข เหล่าบัณทิตทั้งหลายจึงมีปัญญาเห็นว่า การสร้างบุญกุศล มีประโยชน์มาก ฉนี้แล้วเหล่าบัณฑิตทั้งหลายต่างก็พยายามสร้างบุญกุศลบารมีให้เกิดขึ้น คือหมายถึงการวางหรือตั้งกำลังใจมีความเพียรในการสร้างบุญกุศลให้มากขึ้นยิ่งๆขึ้นไป จนกว่าจะสมดั่งปณิธานที่ตั้งไว้ เมื่อทำได้เต็มหรือสมดั่งปณิธาณเมื่อไหร่ เช่นนั้นจึงกล่าวว่า การสร้างบุญกุศลบารมีนั้นเต็มแล้วบริบูรณ์แล้ว สาธุครับ

ทีนี้ประการสุดท้ายเราขอกล่าวว่า ก็บารมีนี้ ย่อมต้องกำหนดซึ่งเป้าหมาย การตั้งกำลังใจปราถนาที่จะกระทำความดีนั้นๆ ให้ได้ตามที่ตนปราถนา
การสร้างบารมีนั้นจึงเป็นของยาก และขึ้นอยู่ว่า เป็นบารมีขั้นใด บารมีแต่ละขั้นนั้น การวางหรือตั้งกำลังใจไว้ย่อมมีความมากน้อยไม่เท่ากัน ปรมัตถบารมีจึงกล่าวได้ว่าเป็นบารมีขั้นสูงที่ทำได้ยากยิ่ง อาศัยอิทธิบาท4 อย่างยิ่ง ครับ สาธุครับ

http://board.palungjit.org/f4/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-427118.html
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-17 17:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

โมทนาสาธุครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้