ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 16255
ตอบกลับ: 64
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อยากเห็น คศช.รื้อฟื้นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

[คัดลอกลิงก์]
อยากเห็น คศช.รื้อฟื้นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย ในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน



              ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ1. พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉานเพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน



2. หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้งนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร

ประเพณีหลวง เรียกเป็นทางการว่า "การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา"ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพราะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์



ประเพณีราษฎร เรียกกันว่า "เทียนจำนำพรรษา" หรือ "เทียนพรรษา" ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ

การแห่เทียน เป็นประเพณีที่แสดงถึงความศรัทธา ความสามัคคีของชุมชนและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่ต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อเทียนพรรษาสำเร็จรูป มีไฟนีออนหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ถวายแทน แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ ประเพณีการหล่อเทียนและแห่เทียนจำนำพรรษาก็จะเป็นประเพณีอยู่คู่ประเทศไทยต่อไปวิธีทำเทียนเบื้องต้น



วิธีทำ      

  ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน ( ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มจนหลอมละลายเข้ากัน ผสมสี (ให้ แผ่นสีเทียน หรือสีมัตสุตะ) ผสมให้เข้ากันดี ยกหม้อลงจากเตา ใส่หัวน้ำ หอม กลิ่นที่ชอบ ทิ้งให้ส่วนผสมเย็นลงเล็กน้อย (สังเกตุดูเทียนจะเริ่มขุ่น) ใส่ไส้เทียน ในพิมพ์ให้ยาวพ้นพิมพ์ประมาณ 4 - 5 ซ.ม. เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ ประมาณ 92 องศา) ลงในพิมพ์ ทิ้งให้เย็น จึงค่อยแกะออกจากพิมพ์

ข้อควรระวังขณะทำเทียน ใช้หม้อ 2 ชั้นในการต้มเทียน ซึ่งจะเป็นวิธีที่ดี และปลอดภัย 2. อย่าต้มเทียนในอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 100 องศา เพราะน้ำเทียนจะติดไฟ ได้ง่าย 3. ถ้าเทียนที่กำลังต้มอยู่ติดไฟ ให้ปิดแก๊ส หรือดึงปลั๊กไฟออกทันทีอย่าเคลื่อน ย้ายหม้อต้ม หรือใช้น้ำดับไฟ (ถ้าต้องการดับไฟให้ปิดฝาหม้อหรือใช้ ผ้าชื้นๆ ปกคลุมฝาหม้อไว้) 4. ถ้าเทียนหกบนพื้นหรือโต๊ะ ต้องคอยจนกว่าเทียนเย็น หรือแข็งตัวแล้วขูดออก 5. อย่าเทเทียนเหลวลงในท่อน้ำ เพราะจะทำให้ท่อน้ำอุดตัน

ส่วนผสมเพิ่มเติม

สเตียริน (Stearin) คือ แว๊กซ์แข็งสีขาวใช้เป็นส่วนผสมของพาราฟีน ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มการหดตัวในการทำเทียนหล่อ ทำให้เทียนหลุดจาก พิมพ์ง่าย เทียนจะเป็นเงา และมีสีสดใส พี.อี. (Polyester Easterien) ใช้ 5% - 10% ของน้ำหนักพาราฟิน จะช่วยทำให้เทียนแข็งตัว และจุดติดไฟนานขึ้น ที่สำคัญ เมื่อจุดเทียน จะมี ควันน้อย ขี้ผึ้ง (Beeswax) คือ แว๊กซ์ทำจากธรรมชาติมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้ผสมกับพาราฟิน ประมาณ 1% เพื่อเพิ่มระยะเวลาผาไหม้ของเทียน และช่วยทำให้สีของเทียนสดขึ้น

สี ช่วยทำให้เทียนมีสีสวยน่าใช้ การใช้แผ่นสีเทียนช่วยให้สะดวกในการ ผสมสีเข้ากับเทียน หากใส่สีมาก สีจะเข้มมาก หัวน้ำหอม ช่วยทำให้เทียนมีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่นให้เลือกใช้ เช่น กลิ่นกุหลาบ ส้ม สตรอเบอร์รี มะลิ ลาเวนเดอร์ กำยาน ฯลฯ เลือกใช้ได้ตาม สีของเทียน หรือโอกาส (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ "เทียนหอมแฟนซี" ของสำนัก พิมพ์แม่บ้าน)

การตกแต่งเทียนเพิ่มเติม
        1. หั่นแผ่นสีเทียนเป็นชิ้นสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วโรยในพิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงพิมพ์ ควรใช้ชิ้นสีหลาย ๆ สี และเลือกสีที่เข้มกว่าสีเทียนที่จะเท เพื่อให้สีต่าง ๆ สามารถมองทะลุเทียน ออกมาได้   

         2. ตกแต่งพื้นผิวด้านนอกของเทียนด้วยเทียนแฟนซีที่เป็นรูปดอกไม้ หรือรูปทรงอื่น ให้ตกแต่งทีละด้าน จุ่มเทียนแฟนซีในน้ำเทียนบาง ๆ แล้วนำไปติดข้างในพิมพ์ด้านที่ต้องการตกแต่ง จากนั้นจึงเทเทียน ที่ผสมแล้วลงไป หรือวางชิ้นเทียนแฟนซีลงบนพิมพ์ด้านใน จากนั้นนาบด้วยมีด หรือโลหะที่ร้อนที่ด้านนอกของพิมพ์ เพียง 1 นาที ชิ้นเทียนแฟนซีก็จะติดที่พิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงไป        

          3. การทำเทียน 2 สี ให้เทเทียนสี ที่ 1 ลงไปในพิมพ์ ปล่อยให้เทียนเกือบแข็งตัว( สังเกตุดูเนื้อเทียนจะเป็นสีขุ่นมาก )แล้วเทเทียนสี ที่ 2 ลงไป อาจทำสลับกันเป็นชั้นๆ แต่ต้องทิ้งให้แต่ละชั้นเย็นตัวเสียก่อน แต่ไม่แข็ง    หมายเหตุ การทำเทียนสูตรอื่น ๆ อาจจะไม่มีการผสมแว็กซ์ (ไมโครแว็กซ์) ลงไป การผสมแว็กซ์จะช่วยทำให้เนื้อเทียนสวย เพิ่มระยะเวลา เผาไหม้ของเทียนให้นานขึ้น ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีที่กระทำกันตั้งแต่โบราณกาล  จนกระทั่งทุกวันนี้การหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี  คือ  เมื่อใกล้ถึงฤดูการเข้าพรรษาตามพุทธานุญาต ให้บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต้องเข้าประจำพรรษาในอารามนั้นๆมิืให้เที่ยวจาริกไปในที่อื่นๆ


ในการเข้าพรรษานี้พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนบูชาด้วย  พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษา  สำหรับให้พระภิกษุจุดบูชาเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญา  หูตาสว่างไสว  เมื่อหล่อเทียนเสร็จแล้วมีการแห่แหนตามประเพณีรอบพระอุโบสถ  เวียนสามรอบแล้วนำไปจุดบูชาพระตลอดเวลา 3 เดือน


ตามชนบทการหล่อเทียนเข้าพรรษาทำการอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งประเภทต่างๆ  มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว  ในวันนั้นจะมีการร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระภิกษุสงฆ์  เป็นการร่วมการกุศลกันในหมู่บ้านนั้นๆ  ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีงานเอิกเกริกสนุกสนานอยู่ตามชนบทต่างๆ  ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมศรัทธากันอย่างพร้อมเพรียง
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-30 15:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

จัดเลยก๊าบๆๆๆๆๆๆ
หล่อเทียนเอง น่าสนน่ะครับ
เห็นดีด้วยครับ_/\_
ร่วมด้วยครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 06:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-1 07:08

เสาร์ 5

วันเสาร์ที่ 5 ก.ค. 2557 บ่าย (อ่อนๆ)

นัดรวมพลรื้อฟื้นตำนานหล่อเทียนเข้าพรรษา

เทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้ง 8 โล (ขี้ผึ้งก้อนโลละประมาณ 80 บาท)

จะหล่อเทียน 4 ต้น


เอาแผ่นขี้ผึ้งมาเขียนชื่อและนามสกุล



ท่านผู้มีความประสงค์จะร่วมบริจาคเทียนกี่กิโล
ลงชื่อแจ้งความจำนงค์ได้คร๊าบ.บบบ






ทำบุญคนเดียวเป็นบุญ
ทำบุญหลายๆคน เป็นมหาบุญ
ทำบาปคนเดียวเป็นบาป
ทำบาปหลายๆ คน เป็นมหาบาป


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 06:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้





9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-1 07:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ

1. พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม
ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉานเพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน


2. หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตน
มาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้งนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร


ขอมีส่วนร่วมด้วย 8 โล  นะครับ _/\_
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้