ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2022
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หัวครูทำจากหนังตะโพน

[คัดลอกลิงก์]

เรื่องเล่าชาวสยาม ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ในอัลบั้ม: เสด็จเตี่ย



หัวครูทำจากหนังตะโพน เริ่มสร้างขึ้นสมัยเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ
"หัวครู" หรือที่เรามักจะเรียกกันติดปากว่า เศียรพ่อแก่ ซึ่งจริงๆ วัตถุที่นำมาสร้างมีมากมาหลายแบบ อาทิ ปั้นจากดินเจ็ดท่า เจ็ดป่า เจ็ดโปร่ง หรือแกะจากไม้ขนุน หรือก็กระดาษสา บางสำนักก็ทำจากทำจากหนังตะโพน เหล่านี้ ล้วนมีที่มาที่ไป ฉะนั้นพวกลูกศิษย์ลูกหารุ่นหลังควรค่าแก่การศึกษาหาความรู้ เพราะครูของท่านส่วนใหญ่คือพ่อแก่ วันนี้ ข้าพเจ้า จะเล่าถึงพ่อแก่ ที่สร้างจากหนังตะโพน และทำไมต้องใช้หนังตะโพนสร้าง บางท่านอุตริ บอกว่า หนังตะโพนก็คือหนังวัว หนังควาย ถ้าเราไปเอาหนังวัว หนังควายมาสร้างเลย ก็น่าจะได้ ขอบอกไว้เลยนะ นั่นจะนำความวิบัติมาให้ท่าน การที่เขาเรียกว่าหนังตะโพน นั้น เขาถึอว่า ตะโพนเครื่องดนตรีไทยที่มีเสน่ห์ มีมนต์ขลัง ถ้าชุดปี่พาทย์ระนาดเอก ขาดกลองตะโพนเมื่อไหร่ คณะปี่พาทย์วงนั้น จะเล่นไม่ได้สมบูรณ์แบบเลย การนำหนังตะโพนเก่ามาประกอบเป็นรูปเคารพเศียรพ่อแก่ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะ หนังตะโพน ถือเป็นของขลัง เพราะผ่านการกราบไหว้ ผ่านการบูชาเป็นร้อยเป็นพันครั้งที่มีการนำไปเล่นไปแสดง เมื่อตะโพนลูกไหนถึงเวลาต้องเปลี่ยนหนัง ก็จะมีการถอดเอาหนังเก่าเก็บไว้
ครูเพลงหน้าพาทย์ในอดีต จึงดำริที่จะนำหนังตะโพนมาประกอบเป็นเศียรพ่อแก่ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยวงปี่พาทย์ของครูพุ่ม พุ่มเสนาะ ซึ่งเป็นต้นตะกูลของ ครูนิ่ม โพธิ์เอี่ยม ปรมจารย์ครูใหญ่แห่งวัดพระพิเรนทร์ ว่ากันว่าวงปี่พาทย์ของครูพุ่ม เป็นวงประจำวังกรมเสด็จหลวงชุมพรฯ ครั้งกระนั้นพระองค์ รับสั่งให้ครูพุ่มหาหนังตะโพนเก่ามาสร้างหัวครูสำหรับบูชา โดยพระองค์ท่านจะเป็นคนเชิญครูด้วยตัวเอง ครูพุ่มก็ทำตามพระบัญชา หาหนังตะโพนเก่ามาให้ช่างหลวงประกอบเป็นเศียรพ่อแก่ถึงสามเศียร แล้วนำขึ้นไปถวายเสด็จกรมหลวงชุมพร หลังจากนั้น ท่านก็ให้โหราจารย์ตั้งเครื่องบวงสรวงแล้วประกอบพิธีกล่าวโองการเชิญครูของพระองค์ท่านด้วยตัวเอง ระหว่างนั้น ว่ากันว่า หลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามฒ่าพระอาจารย์ของพระองค์ท่านก็มาปรากฏกายให้เห็นด้วย ในขณะที่พระองค์ท่านประกอบพิธีกรรมเชิญครู
หลังจากนั้น เศียรพ่อแก่ทั้งสาม จะถูกตั้งประดิษฐานไว้ในห้องบูชาในวังของพระองค์ท่าน และก็มีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นเสมอ เพราะเวลาที่เสด็จกรมหลวงชุมพรไม่อยู่ โดยเฉพาะเวลากลางคืนข้างขึ้น จะมีคนเห็นฤาษีถือไม้เท้า หน้าตาดุดันเดินไปเดินมาอยู่ในพระราชวัง จนทำให้ข้าหลวงและทหารมหาดเล็กในวังหวาดกลัวกันไปตามกัน แม้เวลาผ่านล่วงเลยมานมนาน ก็ไม่ปรากฏว่า เศียรพ่อแก่ทั้งสามตกไปอยู่ที่ผู้ใด นับแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดาครูนาฏศิลป์สายโขน ละคร ลิเก จึงนิยมที่จะใช้หนังตะโพนนำมาประกอบเป็นหัวครูไว้บูชา เพราะเชื่อว่า จะเป็นเมตตามหานิยม ผู้บูชาจะมีชื่อเสียงโด่งดังเช่นเสียงของตะโพน และถ้าใครมีเศียรที่สร้างจากหนังตะโพน โปรดเก็บบูชารักษาไว้ให้ดี เพราะเดี๋ยวนี้หายากแล้ว ส่วนใหญ่สร้างจากดินหรือไม่ก็กระดาษสาเสียมากกว่า ส่วนเศียรหนังตะโพนที่ข้าพเจ้าได้รับมาบูชาเป็นเศียรพ่อแก่ประจำชมรมอนุรักษ์ พ่อแก่ ทุกวันนี้ ได้มาจาก ทายาทของคณะลิเกเก่าแก่ในจังหวัดสิงห์บุรีชื่อคณะประมวลศิลป์ ทายาทของคณะนี้ได้เลิกคณะไปแล้ว ท่านชื่ออาจารย์เหวก เป็นศิษย์ผู้พี่ของข้าพเจ้าเอง(สำนักสายสัญญา) ส่วนหัวครูที่สร้างขึ้นมาใหม่ ก็สร้างจากหนังตะโพนเช่นกัน ตั้งใจสร้างมาสองเศียร แต่สุดท้ายได้ 1 เศียร ปัจจุบัน อยู่ที่ห้องพระของอาจารย์เหวก รูปที่ข้าพเจ้านำมาลงให้ชม ถ่ายวันไปเยี่ยมชมและ(แอบถ่ายไม่ได้ขอ) บังเอิญท่านเจ้าของไม่อยู่ ก็ขออโหสิกรรมไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับท่าน ส่วนพระคาถาที่ข้าพเจ้าใช้เชิญครูบูชาครูอยู่บ่อยๆ ใครอยากได้ก็จดไปท่องจำกันเอาเอง
“ตั้งนะโม ๓ “
เอหิคาถัง ปิยังกาโย ทิศาปาโมกขัง อาจาริยัง เอหิ เอหิ พุทธานุภาเวนะ เอหิ ธรรมมานุภาเวนะ เอหิ สังฆานุภาเวนะ นะโมนมัสสิทธิตะวา อิสีสิทธิเวสสะ (สวด ๓ จบ)
เขียนโดย อ.ศุภณัฏฐ์ อัฏฐวัฒน์

ขอลคุณครัย
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้