ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3575
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

[คัดลอกลิงก์]

    ๑. สติปัฏฐาน ๔
    ๒. สัมมัปปธาน ๔

    ๓. อิทธิบาท ๔
    ๔. อินทรีย์ ๕
    ๕. พละ ๕
    ๖. โพชฌงค์ ๗
    ๗. มรรค ๘

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
  • กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  • เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  • จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  • ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ[1] มี 4 ประการ
  • สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
  • ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่ ( เพียรละ )
  • อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
  • ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น ( เพียรเจริญ )

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ
  • ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้อง หลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉัน นั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม จิตใจให้สว่างอยู่.
[1]
  • วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้ สว่างอยู่.
[2]
  • จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[3]
  • วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อินทรีย์ หรือ อินทรีย์ 5 คือ ความสามารถหลักทางจิต ห้า ประการ[1] ได้แก่

อินทรีย์ 5 เป็นหลักธรรมที่คู่กับ พละ 5
  • สัทธินทรีย์ เปรียบเสมือน การหาภาชนะดีๆมาใส่น้ำ
  • วิริยินทรีย์ เปรียบเสมือน การเติมน้ำสะอาดแทนน้ำสกปรกเสมอ
  • สตินทรีย์ เปรียบเสมือน การระวังไม่ให้สิ่งใดหล่นใส่ในน้ำ
  • สมาธินทรีย์ เปรียบเสมือน การถือภาชนะใส่น้ำไว้นิ่งๆและไม่ให้สิ่งใดมากระทบกระเทือนให้หวั่นไหว
  • ปัญญินทรีย์ เปรียบเสมือน การเห็นนำสิ่งสกปรกออกจากน้ำ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ[1] ได้แก่
  • ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
  • วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
  • สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
  • สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
  • ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย
เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
  • สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
  • ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
  • วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
  • ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
  • ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
  • สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
  • อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) ทั้งนี้ พระสูตรและปาฐะที่เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 โดยตรง ได้แก่ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 12:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความรู้-ปัญญา หรือมุมมอง ที่ถูกต้องตรงกับความจริง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4
  • สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกต้อง หมายถึง ความคิดที่ต้องละเว้นจากความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน
  • สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกต้อง หมายถึง การพูดที่ต้องละเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียดและเพ้อเจ้อ
  • สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง การกระทำที่ต้องละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และประพฤติผิดในกาม
  • สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง หมายถึง การทำมาหากินอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีการทุจริตและเอาเปรียบผู้อื่น
  • สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความพยายามที่อยู่ในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
  • สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยกำจัดความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัย และลังเล คือการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เช่นการเจริญอานาปานสติสมาธิ มีสติรู้ลมหายใจ
  • สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกต้อง หมายถึง การฝึกกายและอารมณ์ให้สงบ โดยกำจัดควาคิด,ความจำและอารมณ์ออกไปชั่วขณะหนึ่ง คือการเจริญฌานทั้งสี่
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้