ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7456
ตอบกลับ: 16
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

บารมี 30 ทัศ

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-5-5 10:15


ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-5-5 10:20

คำ แ ป ล คำ ไ ห ว้ บ า ร มี ๓๐ ทั ศ น์
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือศีล
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี


พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี


พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี


พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี


พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทสบารมีอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี

ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อิ ติ ปา ระ มิ ตา ติง สา
อิ ติ สัพ พัญ ญู มา คะ ตา
อิ ติ โพ ธิ มะ นุ ปัต โต
อิ ติ ปิโส จะเต นะโม
เรียกอีกอย่างว่าหัวใจบารมี 30 ทัศ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บารมี 30 ทัศ

กล่าวถึงบารมี 10 ทัศก่อน มี ดังนี้

1. ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า

2. ศีลบารมี คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ

3. เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อน ถือศีล 8 ขึ้นไป

4. ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น

5. วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ

6. ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย

7. สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้

8. อธิษฐานบารมี คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี

9. เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน

10. อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น

บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ

1. บารมี ธรรมดาทั่วไป

2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น

3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต

เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัศ
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์

พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่

1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด

2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด

3. ไม่เป็นคนบ้า

4. ไม่เป็นคนใบ้

5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย

6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน

7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)

8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ

9. ไม่เป็นสตรีเพศ

10. ไม่ทำอนันตริยกรรม

11. ไม่เป็นโรคเรื้อน

12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง

13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย

14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก

15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร

16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)

17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก

18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้



ที่มา
http://www.bodhisattva.name/Bodhiyana/p103.html
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช
ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว ครั้งพระเจ้าสีวิมหาราชได้เสวยราชสมบัติอยู่ใน อริฎฐบุรี แว่นแคว้นสีวี หรือประเทศสีพีนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีวีมหาราช มีนามว่า “สีวิกุมาร”
   เมื่อสีวิกุมารนั้นเติบโตขึ้นแล้ว ก็ได้ไปศึกษาศีลปศาสตร์ที่เมืองตักสิลา เวลากลับบ้านเมืองแล้วก็ได้เป็นอุปราช ในเวลาต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ได้เป็นพระราชาได้ทรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม    พระองค์ได้ทรงสร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนครกับที่ประตูพระราชวังแล้วทรงบริจากมหาทานสิ้นพระราชทรัพย์วันล่ะ ๖ แสน กับทรงรักษาอุโบสถศีลทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำตลอดมา    อยู่มาวันหนึ่งพระราชาได้ประทับอยู่ที่ราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ในวันปุณณมีดิถีเพ็ญเวลาเช้า ทรงนึกถึงทานที่พระองค์ทรงบริจาก ก็ไม่ทรงเห็นว่าสิ่งของภายนอกซึ่งพระองค์ยังไม่เคยบริจาก จึงทรงดำริว่า    ของนอกกายที่เรายังไม่ได้ให้ทานนั้นไม่มีการให้ทานของนอกกาย ไม่ทำให้เราดีใจได้เราใคร่จะให้ทานของในกาย ในเวลาเราไปที่โรงทาน ขออย่าให้มียาจกคนใดคนหนึ่งขอทานของนอกกาย ขอให้เขาขอของในกาย    ถ้ามีใครจักขอเนื้อในกายของเรา เราก็จักเชือดออกให้ ถ้ามีใครขอโลหิตของเรา เราก็จักเจาะออกให้ มีใครมาขอเราไปเป็นทาสเราก็จักยอมไป มีใครมาขอจักษุของเรา เราก็จะควักออกให้     พระอินทร์จำแลงมาทดลอง    เมื่อพระเจ้าสีวิราชทรงดำริอยู่ดังนี้ ท้าวโกสีย์ในดาวดึงส์สวรรค์ก็ทรงทราบ จึงทรงดำริว่า วันนี้พระเจ้าสีวิราชคิดว่า จักควักจักษุออกให้ทานแก่ยาจกที่ไปทูลขอ ดังนี้พระเจ้าสีวิราชจักทำได้จริงหรือไม่ เราจักไปทดลองดู    ท้าวสักกะทรงดำริดังนี้แล้ว ก็ทรงจำเเลงเป็นพราหมณ์ชราตาบอด ไปที่โรงทาน ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปที่โรงทาน แล้วประนมมือขึ้นร้องถวายชัยมงคล พระเจ้าสีวิราชได้ทอดพระเนตรเห็น จึงทรงไสช้างพระที่นั่งบ่ายหน้าไปตรัสถามว่า “พราหมณ์...ต้องการสิ่งใด?”    พราหมณ์แปลงก็ทูลตอบว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกสันนิวาสทั้งสิ้นได้ถูกเสียงสรรเสริญอันแผ่ไป ด้วยอาศัยพระองค์มีพระหฤทัยยินดีในการให้ทาน ถูกต้องอยู่เป็นนิจ    ข้าพระองค์เป็นคนตาบอดทั้งสองข้าง ส่วนพระองค์เป็นผู้มีพระจักษุดีทั้งสองข้าง ขอพระองค์จงโปรดประทานจักษุสักข้างหนึ่งให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า”    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าก็ทรงยินดีว่าเป็นลาภอันใหญ่ของเราจักทำสำเร็จแล้ว เราจักได้ให้ทานที่เรายังไม่เคยให้ ครั้นทรงดำริดังนี้แล้วจึงได้ตรัสขึ้นว่า    นี่แนะวณิพก ใครนำให้เจ้ามาขอจักษุต่อเรา ซึ่งเป็นของที่นำออกให้ทานได้ยาก แต่ว่าเราจักให้แก่พราหมณ์ตามประสงค์”    ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดำริว่า การที่เราจะควักจักษุทั้งสองออกให้เป็นทานในที่นี้ เป็นการไม่สมควร จึงได้ทรงนำพราหมณ์นั้นกลับเข้าพระราชวัง ประทับนั่งบนราชอาสน์แล้วตรัสสั่งให้ แพทย์สีวิกะ เข้าเฝ้า รับสั่งว่า “เจ้าจงทำจักษุทั้งสองของเราให้บริสุทธิ์ในบัดนี้”    ในคราวนั้น ก็มีเสียงระบือไปตลอดพระนครว่า พระราชาจะควักพระเนตรทั้สองออกให้เป็นทานแก่พราหมณ์ พวกราชวัลลภมีเสนาบดีเป็นต้น และชาวพระนครสนมกำนันในทั้งปวง ก็ได้พร้อมกันเข้าเฝ้ากราบทูลคัดค้านว่า    “ขอเทวราชเจ้าอย่าได้พระราชทานจักษุเลย ขอพระองค์อย่าได้ทรงสละข้าพระบาททั้งปวง ให้เป็นทานของพระราชาองค์อื่นเลย ขอพระองค์จงพระราชทานแต่ทรัพย์สินเถิด พระเจ้าข้า”    พระเจ้าสีวิราชจึงตรัสว่า “ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าเอาบ่วงมาสวมคอของตน ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าเลวกว่าคนเลว ผู้นั้นจะต้องถึงที่ลงอาญาของพระยายม มีผู้ขอสิ่งใดควรให้สิ่งนั้น สิ่งใดเขาไม่ขอไม่ควรให้สิ่งนั้น พราหมณ์นี้ได้ขอสิ่งใดต่อเรา เราจักให้สิ่งนั้น”    ทรงให้ทานเพื่อสัพพัญญุญาณ ลำดับนั้น พวดอำมาตย์จึงกราบทูลถามว่า    “พระองค์ปรารถนาสิ่งใด ปรารถนาอายุ หรือวรรณะ สุขะ พละ ประการใด จึงจักพระราชทานจักษุให้แก่พราหมณ์ในบัดนี้พระเจ้าข้า?”    พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า    “เราไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นแก่ทรัพย์ ยศ หรือบุตรภรรยา แว่นแคว้นบ้านเมืองอันใด เราเห็นว่าการให้ทาน เป็นธรรมเนียมของสัตบุรุษทั้งหลายแต่โบราณ เราจึงได้ยินดีในการให้ทาน    สัตบุรุษทั้งหลายแต่เก่าก่อน เมื่อยังไม่ได้บำเพ็ญบารมีให้เต็มที่แล้ว ก็ไม่สามารถจะเป็นพระสัพพัญญูได้ เราจักบำเพ็ญบารมีให้เต็มที่ เพื่อจะได้เป็นพระสัพพัญญู”    เมื่ออำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระราชดำรัสตอบดังนี้แล้ว ก็หมดหนทางที่จะทูลทัดทานจำต้องนิ่งเฉยอยู่    ฝ่ายพระเจ้าสีวิราชก็ได้ตรัสสั่งนายแพทย์สีวิกะว่า    “นี่สีวิกะ เธอเป็นมิตรสหายของเรา เธอได้ศึกษาวิชาแพทย์มาเป็นอันดีแล้ว เธอจงทำตามถ่อยคำของเราให้ดี เมื่อเราลืมตาขึ้นมองดู เธอจงควักตาของเราให้หลุดออกเหมือนกับควักจาวตาล แล้งวางไว้ที่มือของคนขอทาน คือพราหมณ์คนนี้ ในบัดนี้เถิด”
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระโพธิสัตว์ได้รับทุกขเวทนาหนัก    ลำดับนั้น นายแพทย์สีวิกะกราบทูลว่า    “ข้าแต่มหาราชเจ้า การให้จักษุเป็นทานนี้เป็นของสำคัญมาก ขอพระองค์จงใคร่ครวญให้ดีเถิด”    พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า    “เราใคร่ครวญดีแล้ว เธอจงอย่าชักช้าอย่าพูดมากกับเรา”    นายแพทย์สีวิกะจึงคิดว่า การที่แพทย์ผู้ได้ศึกษามาดีเช่นเรานี้ จะเอาศาตราคว้านพระเนตรของพระราชา ย่อมไม่สมควร    เขาคิดดังนี้แล้ว จึงผสมยาแล้วอบด้วยดอกบัวเขียว แล้วป้ายพระเนตรข้างขวาของพระราชา พระเนตรข้างขวานั้นก็พลิกกลับทันที ทุกขเวทนาก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา    เขาจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกตินั้น เป็นหน้าที่ของข้าพระองค์”    ตรัสตอบว่า “เธออย่าได้ชักช้า” แล้วนายแพทย์นั้นก็ได้ทายาช้ำอีกพระเนตรก็ได้หลุดจากหลุมพระเนตรในทันที ทุกขเวทนาอันเหลือประมาณ ก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา นายแพทย์นี้กราบทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด ข้าพระองค์อาจทำให้เป็นปกติได้” จึงตรัสว่า “หลีกไปอย่าได้ชักช้า” นายแพทย์ก็ประกอบยาให้แรงขึ้นกว่าเดิม แล้วน้อมเข้าไปถวาย พระเนตรนั้นก็ได้หมุนหลุดออกมาจากเบ้าพระเนตรด้วยกำลังยาแล้วตกออกมาห้อยอยู่ด้วยอำนาจเส้นเกี่ยวไว้ แล้วนายแพทย์ก็กราบทูลอีกว่า    "ข้าพระองค์อาจทำให้เป็นปกติได้” ตรัสตอบว่า “เจ้าอย่าได้ชักช้า”    ทุกขเวทนาอันเหลือที่จะจะมาณก็ได้เกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ พระโลหิตก็ได้ไหลออกมาจนเปียกพระภูษาที่ทรงนุ่ง พวกนางสนมกำนันใน อำมาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลาย ก็ได้พากันหมอบร้องไห้ว่า    “ขอพระองค์อย่าได้ทรงบริจากพระเนตรเลย พระเจ้าข้า”    พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนาไว้แล้วจึวตรัสสั่งส่า “อย่าได้ชักช้า”    นายแพทย์จึงรับพระเนตรไว้ด้วยมือข้างซ้าย ถือศาตราด้วยมือข้างขวา ตัดเส้นที่เกี่ยวดวงพระเนตรให้ขาด แล้วรับเอาดวงพระเนตรไปวางลงที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระเจ้าสีวิราช    พระบาทท้าวเธอได้ทอดพระเนตรพระจักษุข้างขวา ด้วยพระจักษุข้างซ้าย แล้วตรัสเรียกพราหมณ์เข้าไปใกล้ ตรัสสั่งว่า    “พระสัพพัญญุตญาณ คือการรู้แจ้งสิ่งทั้งปวง ได้เป็นที่รักยิ่งกว่าจักษุนี้ ตั้งร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า การให้จักษุเป็นทานนี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณนั้นเถิด”    ตรัสดังนี้แล้ว ก็ได้พระราชทานพระเนตรข้างขวานั้นแก่พราหมณ์ พราหมณ์ก็รับไปใส่ลงในจักษุของตน แล้วบันดาลให้จักษุนั้นตั้งติดอยู่เป็นอันดี เหมือนกับดอกบัวสีเขียวอันแย้มบานฉะนั้น    พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงทอดพระเนตรจักษุของพราหมณ์นั้น แล้วทรงพระดำริว่า การให้จักษุเป็นทานนี้ เป็นการดีแล้ว แล้วก็เกิดปีติทั่วพระวรกาย ได้พระราชทานซึ่งพระเนตรอีกข้างหนึ่งแก่พรามหณ์นั้น    พราหมณ์ผู้เป็นพระอินทร์นั้น ก็รับพระเนตรข้างนั้นใส่ในจักษุของตน แล้วออกจากพระราชวังเหาะขึ้นสู่สวรรค์ในทันใด    พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า    “หมอสีวิกะที่พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนแล้ว ได้กระทำตามพระราชดำรัส ควักดวงพระเนตรทั้งสองข้างของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่พราหมณ์ พราหมณ์นั้นก็ได้เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึงความเป็นคนตาบอด”    แต่ในไม่ช้า พระเนตรก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชาอีก พระเนตรที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นหลุมได้เต็มขึ้นด้วยก้อนเนื้อเหมือนกับปมผ้ากัมพลและเหมือนกับภาพนัยน์ตาแห่งรูปปั้นฉะนั้นทุกขเวทนาก็เสื่อมหายขาดไปสิ้น     ทรงสละราชสมบัติ    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้ประทับอยู่ที่ปราสาทสัก ๒-๓ วัน แล้วทรงพระดำริว่า ไม่มีประโยชน์อันใดกับราชสมบัติให้แก่คนตาบอด เราจักมอบราชสมบัติให้แก่พวกอำมาตย์จักไปบรรพชาอยู่ที่อุทยาน จักทำสมณธรรมจึงเป็นการดี แล้วทรงโปรดให้ประชุมพวกอำมาตย์ ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบแล้วตรัสว่า    “เราต้องการเพียงคนใช้สอยคนเดียวสำหรับทำกิจการต่าง ๆ มีน้ำล้างหน้า เป็นต้นเท่านั้น ท่านทั้งหลายจงผูกเชือกให้เป็นราวสำหรับเราจักไปในเวลาที่ทำสรีรกิจ”    ตรัสสั่งดังนี้แล้ว ก็ตรัสสั่งนายสารถีให้เทียมรถ พวกอำมาตย์ไม่ยอมให้ท้าวเธอเสด็จไปด้วยรถ ได้อันเชิญท้าวเธอขึ้นประทับที่สวรรณสีวิกาแล้วหามไป ให้ประทับนั่งที่ริมสระโบกขรณี จัดการพิทักษ์รักษาเป็นอันดีแล้วจึงกลับมา     ท้าวสักกะทรงประทานพร    เมื่อพระราชาประทับนั่งอยู่ที่บัลลังก์ทรงนึกถึงทานของพระองค์ด้วยทรงมีปีติยินดีในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกเทวราชก็ร้อนขึ้น เมื่อพระองค์ทรงเล็งดูก็ทรงรู้เหตุนั้นจึงทรงดำริว่า เราจักให้พรแก่มหาราช แล้วจักทำจักษุให้เป็นปกติ จึงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ในที่ใกล้ของพระมหาสัตว์เจ้า    พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงสดับเสียงฝีเท้าจึงตรัสถามว่า “นั้นเป็นใคร?”    “ข้าพระเจ้าท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมของเทวดา ได้มาหาท่านแล้ว ขอท่านจงเลือกพรตามพระประสงค์”    องค์พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า " ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ของข้าพเจ้าก็มีอยู่มากแล้ว กำลังก็มีอยู่มากแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าเป็นคนตาบอด พอใจแต่ความตายเท่านั้น ขอพระองค์จงประทานความตายแก่ข้าพเจ้าเถิด”    “นี่แน่ะพระเจ้าสีวิราช เหตุไรพระองค์จึงอยากสิ้นพระชนม์ หรืออยากสิ้นพระชนม์เพราะความเป็นคนตาบอด?”    “ข้าพเจ้าอยากสิ้นพระชนม์เพราะความเป็นคนตาบอด”    “นี่แน่ะมหาราช อันธรรมดาการให้ทานย่อมไม่ให้ผลแต่ภายหน้าเท่านั้น แม้ในปัจจุบันนี้ก็ให้ผล เขาขอพระเนตรของพระองค์เพียงข้างเดียว พระองค์ก็ได้พระราชทานทั้งสองข้าง เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงตั้งสัจจกิริยาเถิด เมื่อพระองค์ตั้งสัจจกิริยาพระเนตรก็จักเกิดขึ้นแก่พระองค์อีก”    “ข้าแต่ท้าวสักกะ ถ้าพระองค์ประสงค์จะประทานจักษุให้แก่ข้าพเจ้า ก็ขออย่าได้ทำอุบายอย่างใดอย่างอื่น ด้วยใช้คำว่า จักษุจงเกิดขึ้นด้วยผลแห่งทานของเรา”    “ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพยเจ้าทั้งหลายก็จริง แต่ไม่อาจจะให้จักษุแก่ผู้อื่นได้ จักษุจะเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งทานที่พระองค์ได้พระราชทานแล้ว”    “ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็เป็นอันได้ให้ทานดีแล้ว”
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเนตรเกิดขึ้นเพราะสัจจกิริยา    เมื่อจะทรงทำสัจจกิริยา จึงได้ตรัสขึ้นว่า “วณิพกผู้มีนามและโคตรเหล่าใดได้มาหาเราเพื่อจะขอสิ่งของ วณิพกเหล่านั้นก็ได้เป็นที่พอใจของเรา เมื่อผู้ใดขอจักษุต่อเราจักษุนั้นก็เป็นที่รักของเรา ด้วยคำสัจจะอันนี้จึกษุจงเกิดขึ้นแก่เรา”    พอขาดคำนี้ลง พระเนตรข้างที่หนึ่งก็เกิดขึ้นแก่พระเจ้าสีวิราช ในลำดับนั้น พระองค์จึงได้ตรัสต่อไป เพื่อให้เกิดพระเนตรข้างที่สองขึ้นว่า    “พราหมณ์ผู้เนั้นได้มาขอจักษุต่อเราว่า ขอพระองค์จงพระราชทานจักษุแก่ข้าพองค์เถิด เราได้ให้จักษุทั้งสองข้างแก่พราหมณ์นั้นแล้วเราเกิดมีปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ด้วยถ่อยคำสัจจะอันนี้ จักษุข้างที่สองจงเกิดมีแก่เรา”    พอตรัสเท่านี้แล้ว พระเนตรข้างที่สองก็ได้เกิดขึ้นอีก     
พระเนตรทิพย์    แต่พระเนตรทั้งสองนั้น จะว่าเป็นพระเนตรปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็ไม่ใช่ เพราะพระเนตรที่พระเจ้าสีวิราชได้พระราชทานแก่พราหมณ์แล้วนั้น ใคร ๆ ไม่อาจทำให้เป็นปกติได้    ส่วนพระเนตรทิพย์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่วัตถุที่ถูกกระทบแล้ว (ประสาทตาพิการแล้ว) แต่พระเนตรเหล่านั้นท่านเรียกว่า “จักษุบารมี” เพราะสำเร็จด้วย “สัจจบารมี”    ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชก็ได้ทรงบันดาลให้ราชบุรุษทั้งปวงมาประชุมพร้อมสรรเสริญพระเจ้าสีวิราชในท่ามกลางมหาชน จึงได้ตรัสขึ้นว่า    “ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ทรงบำรุงแว่นแคว้นให้เจริญ พระดำรัสที่พระองค์ทรงทำสัจจกิริยานั้น เป็นพระดำรัสที่ชอบธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์นี้ จักปรากฎเหมือนกับพระเนตรทิพย์    พระเนตรทั้งสองของพระองค์นี้ จักแลเห็นทั้งนอกฝา นอกกำแพงและภูเขา จักแลเห็นไกลได้ ๒๐๐ โยชน์ โดยไม่มีสิ่งใดขัดขวาง”    เป็นอันว่า ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสอย่างนี้ในท่ามกลางมหาชน แล้วตรัสเตือนว่า ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ตรัสแล้วก็เสด็จกลับสู่เทวโลก    
ตาทิพย์เป็นเหตุให้คนบริจากทาน    ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า พร้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร จึงเสด็จเข้าพระนครด้วยกระบวนพยุหยาตราอันใหญ่หลวง เสด็จขึ้นประทับที่สุจันทกปราสาท การที่พระเจ้าสีวิราชได้มีพระเนตรขึ้นอีกนั้น ก็ได้ปรากฎไปตลอดแว่นแคว้นสีพี    ชาวแว่นแคว้นสีพีก็ได้พร้อมกันนำเครื่องบรรณาการเป็นอันมากมาถวาย เพื่อจะได้เชยชมซึ่งพระเนตรของท้าวเธอ พระบาทท้าวเธอทรงพระดำริว่า จักพรรณนาทานของเราให้มหาชนฟัง จึงได้ตรัสสั่งให้สร้างปะรำใหญ่ขึ้นที่ประตูพระราชวังทั่วพระนคร ให้บรรดาผู้คนมาประชุมพร้อมกัน แล้วตรัสว่า    “ดูก่อนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแคว้นสีพี ขอท่านทั้งหลายจงดูตาทิพย์ทั้งสองของเราจำเดิมแต่นี้ไป เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ให้ทานจงอย่าบริโภค”    ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า    “ไม่ว่าใคร ๆ เวลามีผู้มาขอทาน ก็ย่อมไม่อยากให้ของที่พึงใจตน ไม่อยากให้ของดีของรักของตน ของรักของดีของตนนั้นเราก็ได้ให้แล้ว เราขอเตือนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว้นแคว้นสีพีทั้งสิ้น ที่ได้มาประชุมกันแล้วในที่นี้ จงแลดูตาทิพย์ของเราในวันนี้เถิด ตาทิพย์ของเรานี้แลเห็นไปได้ตลอดนอกฝา นอกกำแพงและภูเขา แลเห็นไปได้รอบตัวข้างละ ๑๐๐ โยชน์    ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐเท่าการให้ทาน เราจักได้ให้ทานจักษุของมนุษย์ แต่เราก็ได้จักษุอันไม่ใช่ของมนุษย์ ท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแค้วนสีพี ได้เห็นจักษุทิพย์ที่เราได้แล้วนี้ จงพากันให้ทานเสียก่อน แล้วจึงได้ปริโภคภายหลัง บุคคลที่ได้ให้ทาน และได้ปริโภคตามกำลังของตนแล้ว ย่อมไม่มีผู้ใดติเตียนได้ ย่อมได้ไปสู่สุคติ”    พระเจ้าสีวิราชบรมโพธิสัตว์ได้ทรงสั่งสอนประชาชนด้วยประการดังนี้ จำเดิมแต่นั้นมาพอถึงวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ ทุกกึ่งเดือนไปพระองค์ได้โปรดให้ประชาชนประชุมพร้อมกันแล้วสั่งสอนอย่างที่ว่ามาแล้วนี้ทุกครั้งไป ประชาชนก็ได้พากันบำเพ็ญกุศล มีทาน เป็นต้น เวลาสิ้นอายุขัยแล้วก้ได้ไปเกิดในสวรรค์เป็นอันมาก    ครั้นต่อมาภายหลัง พระเจ้าสีวิราชก็ได้มาเกิดเป็น พระพุทธองค์ นายแพทย์สีวิกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอานนท์ ท้าวสักกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ ส่วนประชาชนในคราวนั้น ก็ได้มาเกิดเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล  หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร  ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก  ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง  ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง  ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า  หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน  ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก  พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร  3  องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย  3  ตัว  คือราชสีห์  เสือโคร่ง  และเสือเหลือง  ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม   เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย  เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ  พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก  จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก  เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้  ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป  ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น  พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า  พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี  พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรด้วย
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-5 10:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่างของพ่อค้าชาวเมืองคนหนึ่งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่ายอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งท่ามกลางหุบเขาและแม่น้ำล้อมรอบ มีสัตว์เป็นเพื่อนกันอัก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก สัตว์ทั้ง ๔ เป็นสัตว์มีศีลธรรม ทุกเย็นจะมาพบกันและฟังโอวาทของกระต่ายเสมอ
          ต่อมาวันหนึ่ง กระต่ายมองดูจันทร์รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นวันอุโบสถ จึงให้โอวาท ว่า " วันพรุ่งนี้ พวกเราจงพากันรักษาศีล ให้ทานเถิด เพราะมีผลบุญกุศลมาก ฉะนั้นพวกท่านจงเตรียมอาหารไว้แบ่งปันคนขอทานเถิด" สัตว์ทั้ง ๓ รับคำแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน
          ครั้นรุ่งขึ้นมีนายพรานคนหนึ่งตกเบ็ดได้ปลาตะเพียน ๗ ตัวฝังทรายกลบไว้แล้วก็ข้ามไปทางใต้น้ำต่อไป นากออกหาอาหารได้กลิ่นปลานั้นแล้วจึงร้องขึ้น ๓ ครั้ง รู้ว่าไม่มีเจ้าของแล้วจึงคาบเอาปลาทั้ง ๗ ตัวไปยังที่อยู่ของตน นอนรักษาศีลอยู่
          ฝ่ายลิงเข้าไปในป่าได้มะม่วงมาแล้วก็กลับที่อยู่ตนนอนรักษาศีลอยู่ ส่วนเจ้ากระต่ายรักษาศีลอยู่ที่อยู่ของตนไม่ได้ออกไปหาอาหารมาไว้ให้ทาน คิดที่จะสละชีวิตให้ทานว่า " ถ้ามีคนมาขออาหาร งา และข้าวสารของเราก็ไม่มี ถ้าเช่นนั้นเราจะให้เนื้อของเราแก่เขาก็แล้วกัน" คิดแล้วก็นอนรักษาศีลอยู่
          ด้วยอานุภาพแห่งศีลของกระต่ายเป็นเหตุให้บรรลังก์ของเท้าวสักกะเร่าร้อน ท้าวเธอจึงลงมาพิสูจน์คุณของศีลของสัตว์ทั้ง ๔ ด้วยการแปลงร่างเป็นพราหมณ์ไปยังที่อยู่ของนากก่อน ร้องขออาหารกับนาก นากจึงกล่าวว่า "พราหมณ์.. เรามีปลาตะเพียนอยู่ ๗ ตัว ขอเชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของสุนัขจิ้งจอก เอ่ยปากขออาหารอีก สุนัขจิ้งจอกก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. ข้าพเจ้ามีเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ เชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของลิงเอ่ยปากขออาหารเช่นเคย ลิงก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. มะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาไม่อันร่มรื่นขอเชิญท่านบริโภคและพักผ่อนก่อนเถิด"
          พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของกระต่ายพร้อมร้องขออาหารเช่นเดิม กระต่ายดีใจจึงพูดว่า " พราหมณ์… ขอเชิญท่านก่อไฟเถิด เราไม่มีอะไรจะให้ท่าน นอกจากเนื้อของเรานี่แหละ ขอเชิญท่านบริโภคเราเถิด" ว่าแล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า
         "กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร ท่านจงบริโภค เราผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด"
          ท้าวสักกะจึงเนรมิตให้มีกองไฟขึ้นแล้วบอกให้กระต่ายทราบกระต่ายลุกขึ้นจากหญ้าแพรกสลัดขนไล่สัตว์อื่น ๆ ๓ ครั้ง มีความดีใจ ไม่กลัวต่อความตาย กระโดดเข้ากองไฟไป แต่ก็ต้องแปลกใจว่าไฟทำไมเย็นยิ่งนักจึงถามพราหมณ์ดู ท้าวสักกะในร่างพราหมณ์จึงกล่าวว่า "ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ดอก เราเป็นท้าวสักกะ มาเพื่อทดลองศีลของท่านเท่านั้นเอง"
          กระต่ายพูดว่า "ท่านท้าวสักกะ ท่านหวังจะทดลองข้าพเจ้าเท่านั้นเองหรือ แล้วชาวโลกจะรู้ว่าข้าพเจ้าปรารถนาให้ชีวิตเป็นทานได้อย่างไรกันเล่า" ท้าวสักกะตอบว่า "คุณความดีในการเสียสละชีวิตเป็นทานของท่านครั้งนี้จะมีปรากฏตลอดไป" ว่าแล้วก็เขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกได้เห็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แล้วก็หายวับกลับเทวโลกไป สัตว์ทั้ง ๔ ตัวได้รักษาศีลจนตราบสิ้นชีวิต
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : การรักษาศีลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน เพราะผู้มีศีลเทวดาย่อมคุ้มครอง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้