ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2811
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทำไมถึงเรียกว่า..แม่ทัพ

[คัดลอกลิงก์]
ทำไม ?แม่ทัพ ถึงใช้ แม่ทัพ
ทำไม?ไม่ใช้ พ่อทัพ




คำว่า "แม่"  ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ มีอยู่ ๑๑ ข้อดังนี้

๑. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน

๒. เป็นคำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้น ว่า แม่นั่น แม่นี่.

๓. เป็นคำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน

๔. ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทำครัว เรียกว่า แม่ครัว

๕. เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว

๖. เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง

๗. คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี

๘. เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่างๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ

๙. เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ

๑๐.แม่น้ำ เช่น แม่ปิง แม่วัง

๑๑.คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-6-20 05:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เพราะแม่ไม่ได้แปลว่าแค่ มารดา หรือเพศหญิงเท่านั้น น่ะสิ

แม่ มีความหมายว่า ผู้ให้กำเนิด ผู้เป็นใหญ่

ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ แม่กุญแจ แม่เสียง แม่สี รวมถึงแม่ไม้มวยไทย

แม่ในคำเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับเพศสภาพของคำที่ตามหลังแม่เลย

เช่นเดียวกัน ในภาษาไทยมีคำว่า "นาย" อีกคำ ที่สามารถใช้นำหน้าคำอื่นๆ

โดยไม่ต้องใส่ใจเพศสภาพของคำที่อยู่หลังนาย เช่น นายทะเบียน นายทุน นายประกัน นายตรวจ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-6-20 05:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"แม่" เป็นอารยธรรมดั้งเดิมของชนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลก่อนการรับอารยธรรมอินเดียครับ

ชนพื้นเมืองแถบนี้ นับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ การสืบเชื้อสายก็ต้องมาจากเพศหญิง

เทวดาที่คุ้มครองต้นข้าวก็เป็นเพศหญิง
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-6-20 05:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คุณสุจิตต์ วงศ์เทศมีความเห็นเกี่ยวกับคำว่า "แม่" ว่า

แม่ เป็นคำร่วมของชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ มีใช้ทุกเผ่าพันธุ์ แต่ออกเสียงต่างกันบ้าง ใกล้เคียงกันบ้าง เช่น คำเขมรออกเสียง เม เป็นต้น แต่มีความหมายเหมือนกันหมด คือ ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, ประธาน ฯลฯ เพศหญิง

ภาษาตระกูลไทย-ลาว ยกย่องลำน้ำใหญ่เป็นแม่ เช่น ภาคกลางและภาคใต้เรียก แม่น้ำ เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา ฯลฯ ส่วนภาคเหนือและภาคอีสานเรียก น้ำแม่ เช่น น้ำแม่ปิง น้ำแม่ลาว น้ำแม่กก น้ำแม่อิง ฯลฯ น่าสงสัยว่าชื่อแม่กลองจะเรียกตามประเพณีลาวว่าน้ำแม่กลองมาก่อน แล้วปรับเปลี่ยนเรียกสมัยหลังว่า แม่น้ำแม่กลอง


จากบทความเรื่อง ฉิบหายแล้ว สวนผลไม้เก่าแก่และดีที่สุด ที่แม่กลอง เมืองสมุทรสงคราม


หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๕๘๓๓            
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-6-20 05:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สรุปก็คือ แม่ที่นำหน้าไม่ได้ แสดงถึงเพศสภาพ
และรับเอามาจากอารยธรรมดั้งเดิมที่เพศหญิงเป็นใหญ่
และอธิบายประวัติการใช้คำว่าแม่ รวมถึงความหมาย

สุดท้าย มันน่าจะรวมกัน เพราะ ความหมายของคำว่าเป็นใหญ่
ซึ่งในที่นี้ หมายถึงเป็นใหญ่ในกองทัพ
            
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้