ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1573
ตอบกลับ: 0
ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-2-13 05:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด ???
ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่มีกิเลสครอบงำจิตใจมากน้อยแตกต่างกัน ( ส่วนผู้ที่ไม่มีกิเลสเป็นอริยชน และเป็นพระอริยะ)
กิเลส เป็นเหตุให้แบ่งมนุษย์เป็นระดับชั้นแตกต่างกันไป กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ซึ่งมีอยู่แล้วในจิตใจของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิด มนุษย์ปุถุชนแบ่งออกเป็น ๓ระดับ ดังต่อไปนี้
๑. มนุษย์ปุถุชนระดับสูง
๒. มนุษย์ปุถุชนระดับกลาง
๓. มนุษย์ปุถุชนระดับต่ำ
๑. มนุษย์ปุถุชนระดับสูง หมายถึง..
ผู้ที่มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่มากนัก เช่น ความโลภมีไม่มากนัก
เพราะมีคุณธรรมประจำใจ คือ มีความสันโดษเป็นสันดาน พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ที่เป็น..
ตัวอย่างเช่น
พอใจในสิ่งที่มี หมายถึง ผู้ที่มีความพอใจในทรัพย์สมบัติที่มีอยู่แล้ว ไม่ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง จนเกินศักดิ์
พอใจในสิ่งที่ได้ หมายถึง ผู้ที่มีความพอใจในสิ่งที่หามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็พอใจ ในสิ่งเหล่านั้น
ไม่ทะเยอทะยาน อยากได้มากมายจนเกินกำลังกาย กำลังสติ กำลังปัญญา จนเกิดทุกข์
พอใจในสิ่งที่เป็น หมายถึง ผู้ที่มีความพอใจในตำแหน่งหน้าที่ ยศถาบรรดาศักดิ์ แม้ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ ก็พอใจในความเป็นมนุษย์ที่ดี เพราะมีคุณธรรมอีกมากมาย เช่น มีทาน ศีล สมาธิ ปัญญา มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีหิริโอตตัปปะ สติสัมปชัญญะ
และยังมีคุณธรรมอื่น ๆ ที่ประจำใจอยู่บ้าง เป็นผู้ที่ รู้ผิด รู้ถูก รู้ชั่ว รู้ดี พอสมควร ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น ไม่เป็นนักเลงผู้หญิง หญิงไม่เป็นนักเลงชาย ไม่ดื่มสุรา ไม่เสพยาเสพติด ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตคดโกง มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละทรัพย์สินเงินทองให้กับผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ด้อยโอกาส สร้างสาธารณประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศชาติบ้านเมือง
มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย มีความพอเพียงอยู่ในสันดาน คิดดี พูดดี ทำดี ตลอดเวลา นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น
ของมนุษย์ปุถุชนระดับสูง มีทาน มีศีล มีสมาธิ มีสติปัญญามากเพราะมีกิเลสน้อย
๒. มนุษย์ปุถุชนระดับกลาง หมายถึง...
ผู้ที่มีกิเลสปานกลาง มีสติปัญญา ความประพฤติทั้งดี และชั่ว เท่า ๆ กัน มีคุณธรรมไม่มากนัก ทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้ แล้วแต่โอกาสจะอำนวย เช่น ฆ่าสัตว์เพื่อทำอาหารไปถวายพระสงฆ์ การ ฆ่าสัตว์เป็นการทำบาป แต่นำอาหารไปถวายพระสงฆ์สามเณร เป็นการทำบุญ ขากลับก็นำอาหารที่วัดกลับบ้านด้วย การเอาอาหารไปถวายพระสงฆ์เป็นบุญ แต่เจตนานำอาหารที่วัดกลับบ้านเป็นบาป ขณะที่พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา กลับคุยกันไม่ตั้งใจฟัง ขณะที่นั่งฟังพระสงฆ์เทศนานั้น เป็นบุญ แต่การไม่ได้ตั้งใจฟังเป็นบาป มีโอกาสฆ่าสัตว์ก็จะฆ่า มีโอกาสช่วยชีวิตสัตว์ก็จะช่วย, ถ้ามีโอกาสลักทรัพย์ก็จะลัก มีโอกาสให้ทานก็จะให้
มีโอกาสเป็นชู้สู่สมกับสามีภรรยาของผู้อื่นก็ทำ มีโอกาสช่วยเหลือให้สามีภรรยาผู้อื่นให้เขาดีกันก็ทำ มีโอกาส พูดปดหลอกลวง พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด ก็จะพูด มีโอกาสพูดดีก็พูด มีโอกาสดื่มสุรา เสพยาเสพติดก็ดื่มก็เสพ ไม่มีโอกาสก็ไม่ดื่มไม่เสพ มีโอกาสเล่นการพนันก็เล่น ไม่มีโอกาสก็ไม่เล่น มีโอกาสซื้อหวยก็ซื้อ ไม่มีโอกาสก็ไม่ซื้อ คบคนชั่วเป็นมิตรบ้างในบางครั้ง เที่ยวกลางคืนบ้างบางโอกาส นี่คือผู้ที่อยู่ระดับกลาง มีศีลธรรมบ้าง ไม่มีศีลธรรมบ้าง ถ้าเป็นข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง มีโอกาสทุจริต คดโกง ตามโอกาสที่มี ไม่มีโอกาสก็ไม่ทำ พ่อค้าวานิชมีโอกาสค้ากำไรเกินควรก็ทำ ไม่มีโอกาสก็ค้าขายอย่างปกติ นี่คือตัวอย่างของมนุษย์ระดับกลาง ที่ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้างบางเวลา มีทาน มีศีล มีสมาธิ มีสติปัญญา ปานกลาง เพราะมีกิเลสปานกลาง
๓. มนุษย์ปุถุชนระดับต่ำ หมายถึง...
ผู้ที่มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตใจมาก มีสติปัญญาน้อย ขาดศีล ขาดธรรม เช่น มีความโลภมาก อยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ทุจริต คดโกง ปล้น จี้ ฉกชิงวิ่งราวได้ทุกโอกาส เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ของผู้อื่นมาเป็นของตน นี่คือคุณสมบัติของมนุษย์ปุถุชนระดับต่ำ ที่ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน ของตนเองและผู้อื่น เพราะขาดศีล ชอบฆ่าสัตว์ ชอบลักทรัพย์ ชอบประพฤติผิดในกาม ชอบพูดปดหลอกลวง พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด ชอบดื่มสุรา เสพยาเสพติด เป็นนักเลงผู้หญิง นักเลงผู้ชาย นักเลงสุรา นักเลงการพนัน
คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่มีคุณธรรมประจำใจ คือไม่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือไม่รักใคร ไม่สงสารใคร
ไม่ช่วยเหลือใคร ไม่ยินดีกับใคร ไม่มีความเป็นธรรมให้กับใคร ไม่มีหิริโอตตัปปะ คือไม่มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาปที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง สามารถทำชั่วได้ทุกอย่าง ไม่มีความสันโดษในสันดาน ไม่มีความพอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ที่เป็น มีแต่ความทะเยอทะยาน ไม่คำนึงถึงบุญวาสนาของตน ที่มีมาแล้วในอดีตชาติ และไม่ประกอบกรรมดีในปัจจุบัน เขาเหล่านั้นจึงเป็นมนุษย์ปุถุชนระดับต่ำ สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง สร้างความวุ่นวายให้กับสังคมประเทศชาติบ้านเมือง
และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับอนุชนรุ่นหลัง มีแต่ความทุกข์ทรมานตลอดชีวิต เพราะกรรมชั่วจากอดีตและกรรมชั่วในปัจจุบันส่งผลให้ได้รับทุกข์ นี่คือคุณสมบัติของมนุษย์ปุถุชนระดับต่ำ เพราะมีกิเลสมาก
ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดพิจารณาไตร่ตรองด้วยตนเองเถิดว่า ท่านเป็นปุถุชนระดับใด ถ้าเป็นระดับต่ำ ขอให้สร้างความดีเพื่อยกระดับเป็นระดับกลาง ถ้าท่านอยู่ระดับกลางขอให้สร้างความดีมากขึ้น เพื่อยกระดับเป็นระดับสูง ถ้าท่านอยู่ระดับสูงก็ขอให้สร้างความดียิ่ง ๆ ขึ้นไปให้มากขึ้น มีสติปัญญาอันเป็นเลิศ มีดวงตาเห็นธรรม สามารถชำระกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ เข้าสู่แดนวิมุต พ้นจากความเป็นปุถุชนระดับสูงเป็นอริยะชนในที่สุด แล้วท่านจะอยู่อย่างสุขสบายในชาตินี้ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในชาติต่อ ๆ ไป
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...