ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 11977
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อชุ่ม "วัดราชคาม"

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 22:58

"วัดราชคาม"

วัดราชคาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตรงที่วัดราชคามที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้เดิมทีเป็นจวนที่อยู่และเป็นที่ว่า ความของพระยาราชเดชะ ต่อมีปี พ.ศ. 2409 สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ได้มาขุดคลองดำเนินวะดวก มีบัญชาให้ท่านพระยาราชเดชะไปช่วยทำการขุดคลองดำเนินสะดวก ก่อนที่ท่านพระยาราชเดชะจะย้ายไปช่วยขุดคลองได้มอบจวนที่อยู่ให้เป็นที่ สร้างวัด โดยมีชาวบ้านที่อยู่ในระแวกนั้น ได้ทำการสร้างวัดโดยใช้ชื่อว่า "วัดราชคาม" ตามนามท่านพระยาราชเดชะ บริเวณวัดที่ตั้งติดริมแม่น้ำแม่กลอง โดยเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่ออู่ทอง อดีตพระประธานอุโบสถเก่า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและชาวบ้านได้สักการะบูชาตามวิถีประเพณี

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 22:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 23:00

อัตโนประวัติของหลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร





หลวงพ่อชุ่ม กำเนิดที่ราชบุรี เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑ อันตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๒ ที่ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวนทั้งหมด ๙ คนของนายทุ้ม กลิ่นเทพเกษร และนางลำใย กลิ่นเทพเกษร ในครั้งที่ท่านมีอายุได้ ๙ ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือขอมและไทยกับหลวงพ่อโต๊ะ วัดราชคาม ครั้งมีอายุได้ ๑๖ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร จากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดท่าสุวรรณ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๖๐ โดยมีพระอธิการพู่ วัดราชคาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร”


จากนั้นจึงจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชคาม ได้ศึกษาเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานจากพระอธิการพู่ และพระอธิการอินทร์ (หลวงพ่อดำ วัดตาลบำรุงกิจ) พระ อนุสาวนาจารย์ และพระกรรมวาจารย์ของท่าน ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่อพระอธิการพู่ เจ้าอาวาสวัดราชคาม มรณภาพลง หลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร ก็ได้รับการนิมนต์จากญาติโยมให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสืบแทน ซึ่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแล้ว ได้ทำนุบำรุงวัดสุดความสามารถ ได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งในด้านวัตถุ ตลอดจนการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ได้จัดสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ รอยพระพุทธบาทจำลอง พระประธานประจำพระอุโบสถ ศาลาท่าน้ำ หอระฆัง ฌาปนกิจสถาน และที่สำคัญยิ่งคือ ได้จัดสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาทางธรรม ซึ่งก็คือการเรียนพระไตรปิฏกนอกจากนั้นยังได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของลูกหลานชาวบ้านในละแวกวัด ซึ่งมีชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลชุ่มประชานุกูล”
นอก จากนั้น ยังได้ช่วยเหลือวัดใหม่ต้นกระทุ่ม จังหวัดราชบุรีในการดำเนินการสร้างพระอุโบสถ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ หลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะตำบลคุ้งน้ำวน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับสมณศักดิ์เป้นพระครูชั้นประทวน
หลวง พ่อชุ่ม พุทธสโร สมัยหนุ่ม ๆ เคยเดินธุดงค์ข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้าไปปักกลดบำเพ็ญเพียรภาวนากับพระ อาจารย์ลึกลับในถ้ำมะละแหม่งในเขตพม่ากับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ (พระไพโรจน์วุฒาจารย์) และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ มาด้วยกัน กรมหลวงชุมพรฯ เคยเสด็จมาเยี่ยมถึงที่วัดราชคาม เพราะเป็นศิษย์พระอาจารย์เดียวกัน
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-28 22:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-28 23:27

วัตถุ มงคลของหลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร





นั้นมีเหรียญแสตมป์สี่เหลี่ยม ด้านหน้าสกรีนรูปท่าน ด้านหลังเป็นยันต์เนื้ออลูมิเนียม ๒ ชิ้นประกบกัน หาดูได้ยากยิ่ง สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประมาณ ๒,๐๐๐ เหรียญออกให้เช่าบูชาเพื่อหาทุนสร้างพระอุโบสถวัดใหม่ต้นกระทุ่ม



เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก (ออกที่วัดราชคาม) สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จำนวนการสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ประกอบไปด้วยเนื้อทองฝาบาตร(สร้างน้อย) เนื้อทองเหลือง เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง มี ๒ พิมพ์คือยันต์อุ (นิยม เพราะสร้างก่อนจนบล๊อกชำรุด ) กับยันต์จุด







และในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนรูปใข่ขนาดเล็กเป็นรุ่นที่ ๒ มี ๓ เนื้อประกอบไปด้วย ทองเหลือง อัลปาก้า และทองแดง



ใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ก่อนหลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร จะมรณะภาพ ๑ ปี




ได้มีการจัดสร้างรูปเหมือนขนาดใหญ่ของหลวงพ่อชุ่ม พุทธสโรขึ้นและได้จัดสร้างรูปหล่อขนาดหน้าตักกว้าง ๑ นิ้ว ขึ้นด้วย เป็นเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลืองจำนวนการสร้าง ๑,๑๐๐ องค์ โดยในการสร้างครั้งแรกนั้น ช่างที่กรุงเทพฯได้ สร้างตัวอย่างมาถวายให้หลวงพ่อเลือกจำนวน ๑๐ องค์ (ภายหลังแจกให้แก่กรรมการวัด)โดยทั้ง ๑๐ องค์มีการตกแต่งมาเรียบร้อยแล้วแต่ด้วยอายุของหลวงพ่อที่มากแล้วทำให้การ สร้างแล้วแต่งองค์พระทำให้เสียเวลารวมทั้งต้นทุนที่แพงเกินไปจึงไม่ได้ ผลิตออกมา แต่ได้เลือกเอาพระที่หล่อเสร็จแล้วไม่ได้ตกแต่งแต่ให้รมดำมาทดแทน และได้ตอกโค๊ตอักษรใต้ฐานว่า “พระครูชุ่ม” (บางองค์ตอกด้านหน้าที่ฐานก็มี) ซึ่งต้องสังเกตให้ดีเพราะเป็นข้อพิจารณาพระเก๊-แท้ได้เป็นอย่างดี ส่วนพระที่ไม่ได้ตอกก็มีเช่นกันแต่มีจำนวนน้อยแค่ ๑๐๐ องค์ เนื่องจากหลังจากสร้างเสร็จได้มีการออกให้บูชาไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ตัวตอกยังดำเนินการส่งมาไม่ถึงและพระชุดนี้ได้ออกให้บูชาไปก่อนแล้ว




ลักษณะของรูปหล่อลอยองค์ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง ห่มจีวรพาดผ้าสังฆาฏิเฉียง ด้านหลังเห็นสังฆาฏิ และรอยจีวรอย่างชัดเจน
ใต้ฐานตรงกลางเยื้องไปด้านหลังมีรอยอุดด้วยทองแดงอย่างเห็นได้ชัด เป็นรอยอุดเม็ดกริ่งและผงพุทธคุณไว้ด้านใน
หลวง พ่อชุ่ม พุทธสโร มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ เวลา ๐๔.๓๐ น. มีอายุได้ ๗๗ ปี ๕๗ พรรษา และร่างกายหาเน่าเปื่อยไม่.

แหล่งที่มา..http://www.kungnamwon.com/web/in ... day-comes&Itemid=75

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-17 21:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เคยไปวัดท่านเงียบเหงามากมายครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-6-3 06:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-8-5 08:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้