ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 31863
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตะกรุด

[คัดลอกลิงก์]
ตะกรุด เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ฯลฯ ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อนำไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร
ตะกรุดทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นการนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะผสมอื่น ๆ มาลงอักขระเลขยันต์ด้วยเหล็กจารแสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วม้วนให้เป็นท่อกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อยเชือกติดตัว อาจนำมาหลอมรวมกันแล้วทำเป็นตะกรุดหล่อโบราณ ทำจากรางน้ำฝน ทำจากกาน้ำ ทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นท่อกลม ทำจากหนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังหน้าผากเสือ หนังงู หนังเสือดาว หนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือจากกระดูกสัตว์ ตะกรุดกระดูกช้าง ตะกรุดจากเขาวัวเผือก หรือจากไม้มงคลต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ซึ่งมีทั้งไผ่ตันและไผ่รวก ไม้คูน ไม้ขนุน ตะกรุดส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านเมตตา มักจะทำโดยใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น
รูปแบบของตะกรุดก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อย ๆ ลดขนาดลง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็ก ๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้ ปัจจุบันก็มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาโดยทำมาจากปลอกลูกปืน อาศัยนัยว่า แม่ไม่ฆ่าลูก แล้วอาจจะถักด้วยเชือก ด้ายมงคล พอกด้วยผงยาจินดามณี แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรักปิดทองตามตำรา ตะกรุดใช้บูชาอยู่ 2 แบบ คือใช้คล้องคอ หรือใช้คาดเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน ตะกรุดหากเป็นดอกเดียว เรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะสามชนิดเรียกว่า ตะกรุดสามกษัตริย์ หาก 16 ดอกเรียกว่า ตะกรุดโสฬส ดังจะเห็นได้จากพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก คล้องไว้ด้วยตะกรุดดอกใหญ่ เรียงเป็นแนวยาวพาดพระอังสะ ในลักษณะการเฉียงลงถึงบั้นพระองค์ มีสายตะกรุด 16 ดอก คล้องเป็นแนวยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งพระองค์ท่านสะพาย 2 เส้น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ตะกรุด
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-5 02:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบจะใช้ช่างชาวบ้านและพระเณรมาช่วยกันทำเริ่มจากการตัดโลหะก็จะตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วก็นำไปม้วนช่วงแรกๆจะมีการม้วนด้วยมือแต่งานออกมาจะไม่ค่อยสวย  ต่อมาเลยดัดแปลงโดยใช้ไม้หีบมาคีบแล้วม้วนตะกรุดชุดนี้จึงม้วนได้แน่นและสวยงาม..แต่มีปัญหาเวลาม้วนเสร็จโลหะจะคลี่ออกทุกดอกจึงได้ลองทุบหัวตะกรุดดูปรากฏว่าตะกรุดำม่คลี่ออก
  ...ตั้งแต่นั้นมาตะกรุดหลวงพ่อทบจึงมีการเก็บหัวตะกรุดด้วยการทุบหัวทั้งสองข้างจนติดปากชาวบ้านว่าตะกรุดหลวงพ่อทบต้องทุบหัว... ในยุคต้นๆการเก็บหัวตะกรุดจะใช้การทุบหัวบนไม้เลียบๆทั้งสองด้านงานออกมาจึงบุบๆบี้ๆในตะกรุดยุคต้นๆตะกรุดยุคต้นนั้นหลวงพ่อทบท่านจารเองลงอักขระเองจนมายุคกลางหลวงพ่อทบจึงมอบหมายให้พระอาจารย์เพ็งลูกศิษย์ที่หลวงพ่อทบไว้ใจมากที่สุดในการจารแผ่นโลหะทุกแผ่นครับ

   การพันตะกรุดหลวงพ่อทบหลวงพ่อไม่ได้กำหนดลายถักขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนถักเองจะเห็นได้ว่าตะกรุดของหลวงพ่อทบจะมีหลายลายครับไม่ถือเป็นข้อยุติ ในยุคกลางเรื่มมีการทำเครื่องมือในการใช้เก็บและย้ำหัวตะกรุดขึ้นมา...คล้ายๆกับตะปูตีสังกะสี...มีแท่งเหล็กตรงกลางแล้วมีหมวก...ก็จะเอาแท่งเหล็กเสียบลงไปในรูของตะกรุดส่วนหมวกก็จะวางบนหัวตะกรุด จากนั้นก็ใช้ค้อนตอกไล่เบาๆ การเก็บกัวแบบนี้งานจะออกมาสวยงามเป็นระเบียบสวยกว่ายุคต้นๆ
   และอีกอย่างตะกรุดของหลวงพ่อทบในยุคกลางเริ่มมีตะกรุด3 กษัตริย์เข้ามาทำให้การเก็บหัวตะกรุดแบบเดิมๆทำไม่ได้แล้ว เชือกที่ใช้พันตะกรุดของหลวงพ่อทบนั้นจะใช้เชือกแท้ เชือกป่านเชือกปอ และเชือกไนลอน การพันด้วยในลอนเป็นงานที่ยากมากๆเพราะเชือกจะลื่นส่วนใหญ่ตะกรุดที่ใช้เชือกไนลอนพันจะพบว่าจะพันแค่ 2 เส้นเท่านั้นเพราะจะทำให้พันง่ายสอดซ่อนเงื้อนได้ง่ายกว่าใช้เชือกเส้นใหญ่...นี้ก็เป็นเอกลักษ์อีกอย่างในการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ

   การพันตะกรุดหลวงพ่อทบโดยจะเริ่มพันรอบแรกแล้วจะเก็บซ่อนเงื้อน1เส้นแล้วเหลือหัวเชือกไว้ประมาณ 1-2 นิ้วเพื่อใช้ดึงเชือกรัดตะกรุดให้แน่นในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อพันไปจนเสร็จแล้วก็จะเก็บหัวเชือกโดยการพันยึดกับเชือกเส้นสุดท้ายแล้วสอดเชือกกลับไปที่เริ่มต้นจนปลายเชือกโพล่จากนั้นก็จะใช้มือกำตะกรุดแล้วหมุนเชือกรอบๆตะกรุดจนแน่นแล้วก็ดึงปลายเชือกที่โพล่ออกมาให้ตึงเชือกจะรัดตะกรุดจนแน่นแล้วก็ตัดปลายเชือกที่เกินออก

....จากนั้นก็จะนำตะกรุดไปทุบหัวให้ปลายตะกรุดทั้งสองข้างบานออกเพื่อล็อคเชือกที่พันไว้ไม่ให้หลุด...ตรงนี้ก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างครับของการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ....ในยุคกลางลงมาการเก็บเชือกจะไม่สวยงามเหมือนยุคต้นๆเพราะเวลาในการสร้างน้อยความต้องการตะกรุดของหลวงพ่อมีมาก ท่านอาจารย์เพ็งเคยเล่าให้อาจาร์วีรวัฒน์ฟังว่าตะกรุดบางรุ่นของหลวงพ่อทบไม่พันเชือกก็มีเป็นตะกรุดเปลือยๆช่วงนั้นตะกรุดชุดนี้จะเอาไปแจกที่จังหวัดจันทบุรีและตราด ปัจจุบันเล่นเป็นพระเกจิในพื้นที่ไปแล้ว การเก็บปลายเชือกยุคกลางปมจะใหญ่มากหรือไม่ก็เอาไฟจี้เอาเลยจะสังเกตุได้ว่าตะกรุดยุคปลายและยุคปลายจะเห็นมีการใช้ไฟจี้เอาเลย...

การพิจารณายุคของตะกรุดหลวงพ่อทบ

1.นอกจากพิจารณาจากความเก่าของโลหะแล้วยังพิจารณาจาก การเก็บหัวตะกรุด ยุคต้นการเก็บหัวจะไม่เรียบร้อย ส่วนยุคกลางและยุคปลายจะมีการเก็บหัวที่สวยงามเป็นระเบียบ

2. พิจารณาจากการเก็บปลายเชือกในยุคต้นๆการเก็บปลายเชือกจะมองแทบไม่รู้เลยเพราะการเก็บปลายเชือกไว้ใต้เชือกที่พัน ส่วนยุคกลางจะผูกปมค่อนข้างใหญ่หรือไม่ก็มัดเอาดื้อๆ และมีการใช้ไฟจี้เพื่อให้เชือกติดกันเป็นข้อสังเกตุอีกอย่าง

3. ขนาดของตะกรุดใยยุคต้นตะกรุดจะดอกไม่ใหญ่มีทั้งดอกสั้นและดอกยาวใช้โลหะ1-2 ชนิด ในยุคกลางตะกรุดจะเริ่มใหญ่ขึ้นมีทั้งดอกสั้นและดอกยาวและการม้วนโลหะจะหนากว่าทุกรุ่นส่วนยุคปลายดอกจะไม่ใหญ่มากแต่จะมีโลหะตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป

4. ตะกรุดของหลวงพ่อทบส่วนใหญ่...ตรงนี้สังเกตุให้ดีครับ ขอบทั้ง 4 ด้านของแผ่นโลหะจะตัดมุนออกทั้ง 4 มุม สังเกตุให้ดีครับจะเห็นได้ทั้งด้านในและด้านนอกครับ...ตรงนีเชื่อว่ายังไม่มีใครเคยสังเกตุลองดูครับส่วนใหญ่จะมี...ขอบคุณข้อมูลจากทีมงานเปิดตำนานหลวงพ่อทบ

ที่มา http://prasiamgroup.myreadyweb.com/article/topic-10530.html
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-5 02:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตะกรุดตะกั่วถ้ำชา หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง จุ่มรักจีน แดงเลือดนก ยาว 2.5 นิ้ว เก่า มันส์ๆครับ ถ้าคนรุ่นเก่าแถว สะพานสูง ตะกรุดตะกั่วถ้ำชาแล้วละก็ไม่ต้องพูดถึงเลยที่เดียว คนรุ่นเก่าที่อยู่ในคลองพระอุดมจะหวงแหนกันมากเป็นพิเศษเพราะถือว่าเป็นรุ่น แรกของท่าน หลวงปู่เอี่ยมท่านสร้างตะกรุดขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยตะกั่วถ้ำชา มีความยาวตั้งแต่ ๑ นิ้วจนถึง ๕ นิ้ว ตามแต่ตะกั่วถ้ำชาที่ใส่ใบชาจะมีความยาวเท่าใดแต่ส่วนมากจะไม่เกิน ๕ นิ้ว พูด ถึงถ้ำชา!!! หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักและเคยเห็นมาก่อน ถ้ำชาคือภาชนะสำหรับใส่ใบชาของชาวจีนที่นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัย อยุธยา คนไทยในอดีตมักจะนิยมนำใบชาไปถวายพระ ถ้าเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีลูกศิษย์ลูกหาที่มีอันจะกินหรือเป็นขุนท้าวขุนนางก็ จะ นำใบชาดีๆที่ใส่อยู่ในภาชนะที่เรียกว่า ถ้ำชา นำมาถวายเพื่อแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เช่นเดียวกับหลวงปู่เอี่ยม ท่านก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมายตั้งแต่ชาวบ้านธรรมดา พ่อค้าชาวจีน ตลอดจนถึงขุนนางผู้ใหญ่ ที่อยู่ในกรุงเทพ เวลามากราบท่านมักจะนำชามาถวายท่านอยู่เสมอฉะนั้นถ้ำชาที่วัดสะพานสูงจึงมี มากพอ ท่านจึงนำมาสร้างเป็นตะกรุดแจกลูกศิษย์ ในยุคแรกๆของท่าน นับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของท่านจริงๆ ที่นำของเหลือใช้มาสร้างเป็นเครื่องรางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์ และ "นี่คือที่มาของคำว่า ตะกรุดถ้ำชา ปิดตามือพนม" คนปากเกร็ดในสมัยเก่าก่อนถ้าใครจะใช้ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม เขาก็จะใช้ตะกรุดถ้ำชา หรือถ้าใครจะใช้พระปิดตาเขาก็จะใช้พระปิดตามือพนม จนเป็นคำพูดติดปากกันมาถึงทุกวันนี้...ว่า “ ตะกรุดถ้ำชาหลวงปู่เอี่ยม ” , “ พระปิดตามือพนมหลวงปู่เอี่ยม ” ผู้ที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง คือ ขุนโจร5นัด เสือจำเรียง ปางมณี, เสือผาด แก้วสนธิ, เสือเพี้ยน แดงสังวาลย์ และ เสือ แก่น ได้คาดตะกรุดหลวงปู่เอี่ยมอยู่แนบกายฝ่าห่าดง ลูกกระสุนปืนตำรวจมาแล้ว... ได้สร้างความมหัสจรรย์แก่บรรดาผู้พบเห็นมาแล้วในอดีตกาล  ตะกรุดเนื้อตะกั่วถ้ำชา รักเป็นรักน้ำเกลือ (รักเมืองจีน) เรียกตามประสาชาวบ้านสายวัดสะพานสูงนิยมเรียก รักข้างโบสถ์ เอกลักษณ์ของรักข้างโบสถ์ (รักจีน,รักนำเกลือ)นี้ สีจะแดงเข้มเหมือนสีเลือดนก ด้วยความเก่าเข้ากล้องส่องเห็นเป็นรอยแตกลานขึ้นเป็นใยแมงมุมทั่วทั้งดอก ตะกรุดยุคแรกๆไม่ใช่ถักเชือกเหมือนยุคหลังๆเช่น รุ่นสร้างเจดีย์ แต่ใช้พันด้วยเชือกสายสิญจน์หรือเชือกปอ แล้วพอกผงคลุกรักอีกที ถ้าไม่ละเอียดหรือรู้ไม่ลึกจริงๆ ยิ่งถ้าไม่เคยสัมผัสและเห็นของจริงมาก่อนจะไม่รู้เลยครับ ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่...เว็ป uamulet ครับ

ที่มาhttp://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=71386





4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-6 13:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


'หลวงพ่อโม ธัมมรักขิโต'
อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทนาราม ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นอดีตเกจิเรืองนามรูปหนึ่งของชัยนาท

เกิดในสกุลคงเจริญ เมื่อปีมะเมีย ปี 2413 ณ บ้านบางยายอ้น ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ช่วงวัยเยาว์อาศัยอยู่กับญาติ และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 8 ขวบ กระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ มีหลวงพ่อเถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพระสมุห์คง เป็นพระกรรมวาจาจารย์, หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านเชี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (บางท่านว่า พระอาจารย์นวม วัดกลาง เป็นพระอนุ สาวนาจารย์) ได้รับฉายา ธัมมรักขิโต

หลังบวชแล้วศึกษาเล่าเรียนทั้งวิชาภาษาไทย บาลี และพระธรรมวินัย รวมทั้งภาษาขอม เรียนกัมมัฏฐานและวิชาอาคมจากหลวงพ่อเถื่อน หลวงพ่อคง และหลวงพ่อม่วง ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวบ้านห้วยกรดให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง โดยอยู่จำพรรษาที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญได้ประมาณ 10 พรรษา จากนั้นไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

ต่อมา หลวงพ่อคงพาไปฝากเป็นศิษย์พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัด สิงห์ รับการถ่ายทอดสุดยอดวิชาอาคมแขนงต่างๆ ตำรายาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณอยู่นานถึง 5 ปี ระหว่าง ปี 2451-2456 ก่อนกลับมายังวัดใหม่บำเพ็ญบุญ และได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนหลวงพ่อคงที่มรณภาพ

พ.ศ.2457 ญาติของท่านได้ซื้อที่ดินติดกับวัดร้างประมาณ 30 ไร่เศษ สร้างเป็นวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า วัดจันทนาราม ก่อนอาราธนานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จากนั้นท่านได้ร่วมมือกับชาวบ้านพัฒนาวัดจนเจริญขึ้นโดยลำดับ

ด้วยเหตุที่บริเวณวัดส่วนหนึ่งมีเนินอิฐปรักหักพัง มีพระพุทธรูปหินชำรุดอยู่องค์หนึ่ง ท่านจึงชักชวนชาวบ้านร่วมกันปฏิสังขรณ์ โดยนำเศียรพระ พุทธรูป ศิลปะอู่ทอง หรืออยุธยายุคต้น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกันนำมาต่อเข้ากับพระองค์ดังกล่าว และเรียกชื่อตามเนื้อวัตถุที่สร้างว่า "หลวงพ่อหิน" ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของหลวงพ่อโม ที่มีความศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารคู่กับรูปหล่อหลวงพ่อโม

ยามว่างจากงานพัฒนาวัด ท่านก็มักเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาอาคมกับสหธรรมิกหลายๆ องค์ เช่น หลวงพ่อปลื้ม วัดสังฆาราม อ.สรรคบุรี หนึ่งในเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองสรรคบุรีที่วงการพระเครื่องรู้จักกันเป็นอย่างดี

หลวงพ่อโมเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย สงบสำรวม ถ่อมตน ไม่อวดอ้างและพูดน้อย มีเมตตาธรรม ใครเดือดร้อนหรือมีปัญหาอะไรก็จะอนุเคราะห์ตามสมควรแก่เหตุโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมที่สุดของหลวงพ่อโมคือ ตะกรุดโทน มีทั้งเนื้อทองเหลืองฝาบาตร ทองเหลืองและทอง แดง ในยุคแรกยังหาแผ่นโลหะได้ยาก ท่านจึงไปขอฝาบาตรพระตามวัดต่างๆ มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วจารยันต์ในตาราง ด้วยเหตุที่ใช้ฝาบาตรทำจึงเรียกว่า "ตะกรุดฝาบาตร"

นอกจากตะกรุด ยังมีวัตถุมงคลเครื่อง รางของขลังอื่นๆ อาทิ สิงห์งาแกะ เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อขนาดเล็ก รูปถ่าย พัด และสีผึ้ง เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อโมมีประสบการณ์มากมาย

ท่านไม่เคยอาพาธถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่กระนั้นท่านก็ไม่พ้นหลักอนิจจังตามธรรมะแห่งพระพุทธองค์ โดยถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2502

ภายหลังการมรณภาพของหลวงพ่อโม มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับสรีระหลวงพ่อประการหนึ่งคือ ร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย ไม่มีกลิ่นเหม็น ทั้งที่สมัยนั้นยังไม่มีการฉีดยากันศพเน่า คณะศิษย์นำศพใส่โลงไม้ธรรมดาและตั้งไว้บำเพ็ญกุศลนานเกือบปี


ที่มา http://www.web-pra.com/Shop/More-maung-khon/Show/547970
ขอบคุณครับ ชอบมากตะกรุด
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-7 15:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เยี่ยม...
เยี่ยมฝุดๆ
ช่วยชี้แนะด้วยคับอยากรู้คับเนื้อตะกั่วประมาน2นิ้วครึ่ง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้