ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1540
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สัญญา สติ ปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

[คัดลอกลิงก์]


สัญญา คือความจำ เป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ไม่ลืม และความจำที่เป็นสัญญาก็เป็นความจำตรงไปตรงมาทั้งสิ้นทั้งเรื่อง ไม่ประกอบด้วยความรู้เหตุรู้ผล

ดังนั้นสัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบพร้อมด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา ความจำ คือสัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ ต้องลืม

แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อตั้งสติไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล ก็จะมีสติอยู่ได้เหตุการณ์ทั้งหลายที่ประสบพบผ่านแม้นาน เมื่อมีสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวงสัญญา

ความจำกับสติความระลึกได้มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง ในเรื่องเดียวกันสัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นแต่คุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้จึงเป็นความถูกต้องและเป็นไปได้ยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา.

ความจำที่เป็นสัญญานั้น มีผิดเพราะมีลืมและมีโทษ เพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญาคือความไม่สงบแห่งจิต

แตกต่างจากความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา ปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ความสงบแห่งจิตและจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงนั้น ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น


: แสงส่องใจ ตุลาคม ๒๕๓๖
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
                                                                                       
........................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=33318

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้