ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ
"พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้) "พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ
ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ ..........เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามยังพบลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ | พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'พระธาตุ'
.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบมากในประเทศศรีลังกา ไทย จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงหรือใกล้เคียงตามลักษณะที่ปรากฏในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ตามวัดต่างๆทั่วไป
| | พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'กระดูกคน'
.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบเฉพาะเขตโบราณสถานในประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ 2 รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน
* ในภาพเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย
|
คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ ..........คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้ | - มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ | - มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ | - หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ | - สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ | - เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ | - ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด |
พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์ 2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ | 1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล)
[อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน
|
| | 2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก)
[อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
|
| | 3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร)
[อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
|
|
และเมื่อพิจารณาจากขนาด ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด (ดูเปรียบเทียบขนาดได้จากภาพประกอบ) ได้แก่ | 1.ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม
|
| | 2.ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา
|
| | 3.ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง*
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร
|
| *หมายเหตุ 1
บางตำราที่ระบุขนาด ได้แก่ คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณ; ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
*หมายเหตุ 2
ในอรรถกถาบาลีกล่าวว่าเป็นถั่วมุคคะ โดยปาลี-สยามอภิธาน ของนาคะประทีป ให้ความหมายคำว่า ถั่วมุคคะ คือ ถั่วเขียว และเพิ่มเติมข้อมูลชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็น Phaseolus mungo เช่นเดียวกับที่พบในเอกสารทางพุทธศาสนาต่างประเทศบางฉบับ ซึ่งถั่วชนิดนี้มีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วดำเมล็ดเล็กซึ่งเป็นถั่วคนละชนิดกับถั่วเขียวที่พบทั่วไป (Phaseolus aureus) อย่างไรก็ดีถั่วทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมา มีความยาวใกล้เคียงกันคือประมาณ 0.50 ซม.
เกร็ดความรู้ว่าด้วยสีพระบรมสารีริกธาตุ |
ไข่มุก
moonstone
| ............ในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีกล่าวถึง สีของพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีดอกมะลิตูม สีแก้วมุกดา และสีผงทองคำ ทั้งนี้ สีดอกมะลิตูมและสีผงทองคำนั้น สามารถพบเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย แต่สีแก้วมุกดานั้น ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นสีอย่างไร
.............คำว่า มุกดา นั้นมาจากภาษาบาลีว่า มุตฺตา โดยพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "มุกดา" คือ ไข่มุก, ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อนๆ ซึ่งรัตนะในความหมายหลังมีผู้จำแนกไว้ว่าคือ moonstone(แต่บางท่านก็ว่า มุกดา ในนพรัตน์ของไทยนั้นคือ แก้วใสสีขาว ไม่ใช่ moonstone) ซึ่งหากในความหมายนี้หมายถึงแก้วใสสีขาว หรือ moonstone แล้ว พระบรมสารีริกธาตุสีนี้ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก แต่หากหมายถึงไข่มุกแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะสีเหลือบแบบไข่มุกนั้น จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก
.............อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากคำว่า "แก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว" ในอรรถกถา เป็นไปได้ว่า มุกดา ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงไข่มุก เนื่องจากมีคำว่าเจียระไนเข้ามาประกอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้คำนี้จะหมายถึงไข่มุก พระบรมสารีริกธาตุที่มีสีในเฉดขาว-เทาไข่มุกทั้งหมด ก็อาจนับอยู่ในกลุ่มสีแก้วมุกดาได้ เช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสีทองอุไร ที่นับเอาพระบรมสารีริกธาตุที่มีสีเฉดเหลืองทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้
|
|
เกร็ดความรู้ว่าด้วยอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี | ............อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เรียบเรียงขึ้นโดยพระพุทธโฆสาจารย์ พระภิกษุชาวอินเดีย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1000 พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นชาวอินเดีย บ้านเกิดท่านอยู่ใกล้พุทธคยา ศึกษาจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อน ภายหลังได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงบรรพชาอุปสมบทและได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศศรีลังกา ท่านได้เรียบเรียงคัมภีร์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ในเวลานั้นที่เกาะลังกา มีอรรถกถาต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นภาษาสิงหล ท่านจึงได้แปลเป็นภาษาบาลี แล้วรจนาอรรถกถาอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น คัมภีร์สมันตัปปสาทิกา สุมังคลวิลาสินี ปปัญจสูทนี สารัตถปกาสินี มโนรถปูรณี ปรมัตถทีปนี เป็นต้น แล้วจึงได้เดินทางกลับอินเดีย ปัจจุบันคัมภีร์ที่ใช้ศึกษาอยู่ในเมืองไทยขณะนี้ เป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์เป็นส่วนมาก |
|
พระธาตุลอยน้ำ | ตามโบราณาจารย์ต่างๆท่านกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่นักนั้น สามารถที่จะลอยน้ำได้ ส่วนการลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น จะลอยน้ำโดยที่น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้ นอกจากนี้อาจปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ทั้งนี้หากทำการลอยพร้อมๆกันหลายๆองค์ พระบรมสารีริกธาตุจะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด ไม่ว่าจะลอยห่างกันสักเพียงใด นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า หากมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดแล้ว หากมีการถวายความเคารพเป็นอย่างดีและเหมาะสมแล้ว ท่านก็สามารถที่จะดึงดูดองค์อื่นๆให้เสด็จมาประทับรวมกันได้ อย่างไรก็ตาม ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ห้ามมิให้ทำการทดสอบพระบรมสารีริกธาตุด้วยการลอยน้ำ โดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเหตุการณ์นี้ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้เล่าไว้ในงานเขียนของท่านที่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และภายหลังท่านจึงได้ทำการขอขมาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ |
หมายเหตุ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ เธอได้ติดต่อมายังผมและถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ ขณะที่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปสรงน้ำ คือเมื่ออัญเชิญท่านลงในน้ำ ท่านก็จมลงไปยังก้นภาชนะที่ใช้สำหรับสรงท่านทันที เพื่อนๆของเธอที่ดูอยู่จึงถามว่าไหนว่าพระธาตุท่านลอยน้ำมิใช่หรือ ไหนเล่า? เธอจึงอธิษฐานขอให้ท่านลอย ทันใดนั้นท่านก็ลอยขึ้นมาจากก้นภาชนะนั้น จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เห็นว่าแปลกดีและเกิดกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ด้วย ทั้งที่มิเคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อน จึงได้นำมาให้อ่านกัน
ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้ โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)1 พระเขี้ยวแก้ว4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำรา ที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น | | สถานที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับมาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้ | | | 1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย) | | 2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ
(แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)
| | 3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา
(เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลาดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน) | | 4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ | | 5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา) | | 6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม)
| | 7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา)
พระบรมสารีริกธาตุของพระอดีตพุทธเจ้า
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าไว้ 25 พระองค์ นับตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมา โดยในช่วงท้ายของพระพุทธประวัติแต่ละพระองค์ กล่าวถึงลักษณะการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายหลังพุทธปรินิพพาน เป็น 2 ลักษณะ คือ บางพระองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้รวมกัน ณ ที่แห่งเดียว หรือ บางพระองค์พระบรมสารีริกธาตุกระจายไปประดิษฐานยังสถานที่ต่าง ๆ เพียงเท่านี้ จากการสืบค้นเพิ่มเติมใน อุปวานเถราปทาน ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 (ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย) และ อรรถกถา (วิสุทธชนวิลาสินี) มีการกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระปทุมุตรพุทธเจ้า ว่ามีลักษณะรวมกันเป็นก้อนเดียว มหาชนจึงสร้างพระสถูปประดิษฐานไว้ในที่แห่งเดียว แต่ในขณะที่ คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี (อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รจนาโดย พระพุทธทัตตะเถระ) กล่าวต่างออกไป ว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระปทุมุตรพุทธเจ้ามีลักษณะกระจัดกระจาย แต่มหาชนร่วมกันสร้างสถูปประดิษฐานไว้ในสถานที่แห่งเดียว ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า และ พระสิขีพุทธเจ้า กล่าวว่ามีีลักษณะดำรงอยู่เป็นแท่งแท่งเดียว ดังรูปปฏิมาทอง รายพระนามพระพุทธเจ้า พระชนมายุ และลักษณะการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ [table=98%,#006633]
| ลำดับที่ | พระนาม | พระชนมายุ | ลักษณะการประดิษฐานพระบรมธาตุ | 1 | พระทีปังกรพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 36 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม | 2 | พระโกณฑัญญพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 7 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม | 3 | พระมังคลพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระสถูปสูง 30 โยชน์ ประดิษฐาน ณ พระราชอุทยานเวสสระ | 4 | พระสุมนพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อังคาราม | 5 | พระเรวตพุทธเจ้า | 60,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 6 | พระโสภิตพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 7 | พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 20 โยชน์ ประดิษฐาน ณ ธรรมาราม | 8 | พระปทุมพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 9 | พระนารทพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ สุทัสนนคร | 10 | พระปทุมุตรพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 12 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม | 11 | พระสุเมธพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 12 | พระสุชาตพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระสถูปสูง 3 คาวุต ประดิษฐาน ณ เสลาราม | 13 | พระปิยทัสสีพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสัตถาราม | 14 | พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 15 | พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 3 โยชน์ ไม่กล่าวถึงสถานที่ประดิษฐาน | 16 | พระสิทธัตถพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อโนมาราม | 17 | พระติสสพุทธเจ้า | 100,000 ปี | พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม | 18 | พระปุสสพุทธเจ้า | 90,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 19 | พระวิปัสสีพุทธเจ้า | 80,000 ปี | พระสถูปสูง 7 โยชน์ ประดิษฐาน ณ สุมิตตาราม | 20 | พระสิขีพุทธเจ้า | 70,000 ปี | พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสาราม | 21 | พระเวสสภูพุทธเจ้า | 60,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 22 | พระกกุสันธพุทธเจ้า | 40,000 ปี | พระสถูปสูง 1 คาวุต ประดิษฐาน ณ เขมาราม | 23 | พระโกนาคมนพุทธเจ้า | 30,000 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | 24 | พระกัสสปพุทธเจ้า | 20,000 ปี | พระสถูปสูง 1 โยชน์ ประดิษฐาน ณ เสตัพยาราม | 25 | พระโคตมพุทธเจ้า | 100 ปี | พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป | สรุปจาก: พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายพุทธวงศ์ รัตนะจงกรมกัณฑ์ |
| ตำนานธาตุปรินิพพาน
คัมภีร์อรรถกถาหลายเล่ม ได้แก่ สุมังคลวิลาสินี ปปัญจสูทนี มโนรถปูรณี และ สัมโมหวิโนทนี ปรากฏตำนานที่เล่าขานสืบมาแต่ครั้งโบราณว่า การปรินิพพานจะปรากฏด้วยกัน 3 ครั้ง ครั้งแรกคือ กิเลสปรินิพพาน ปรากฏ ณ โพธิบัลลังก์เมื่อครั้งตรัสรู้ ครั้งที่ 2 คือ ขันธปรินิพพาน ปรากฏ ณ เมืองกุสินารา และครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ธาตุปรินิพพาน เนื้อหาโดยรวมในแต่ละคัมภีร์มีความคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อย ดังนี้
กล่าวกันว่า เมื่อถึงเวลาที่พระศาสนาเสื่อมถอยลง พระบรมสารีริกธาตุทุกพระองค์ไม่ว่าจะประดิษฐานอยู่ที่ใดก็ตาม จะเสด็จไปประชุมกันยังเกาะลังกา แล้วจึงเสด็จไปยังมหาเจดีย์(กล่าวกันว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้ คือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์)จากมหาเจดีย์เสด็จต่อไปยังราชายตนเจดีย์ในนาคทวีป จากนั้นจึงเสด็จต่อไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา)
ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวต่อไปว่า องค์พระบรมสารีริกธาตุที่เคยประดิษฐานยังนาคพิภพ เทวโลก และ พรหมโลก เมื่อเสด็จไปรวมกันยังมหาโพธิบัลลังก์ที่ตรัสรู้ ก็รวมกันเป็นแท่งเดียวกันดุจแท่งทองคำหรือกองทองคำ เปล่งพระฉัพพรรณรังสี ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ
ยกเว้นแต่คัมภีร์มโนรถปูรณี ที่กล่าวต่างไปว่า พระบรมสารีริกธาตุที่มาประชุมกัน จะแสดงเป็นองค์พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระสรีระครบถ้วนด้วยมหาปุริสลักษณะและอนุพยัญชนะ จากนั้นจึงกระทำยมกปาฏิหาริย์แสดง
ในตำนานกล่าวไว้ว่า ไม่มีมนุษย์คนใดเข้าไปในสถานที่แห่งนั้น แต่เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬจะมาประชุมกันทั้งหมด คร่ำครวญว่า พระศาสดาจะปรินิพพานวันนี้ พระศาสนาจะเสื่อมถอย การเห็นของพวกเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดพระศาสนา เตโชธาตุลุงโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ เปลวเพลิงพวยพุ่งไปถึงพรหมโลก และดับลงเมื่อพระบรมสารีริกธาตุหมดสิ้นไปไม่เหลือแม้เท่าเมล็ดผักกาด หลังจากนั้นหมู่เทพทำการสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์ ดังเช่นในวันปรินิพพาน กระทำประทักษิณ 3 รอบ ถวายบังคม แล้วจึงกลับสู่วิมานของตน
** ตำนานนี้ปรากฏในคำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณด้วยเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่การกล่าวเพิ่มเติมว่า องค์พระบรมสารีริกธาตุที่ประชุมกันขึ้นเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงตรัสพระธรรมเทศนาอีกเจ็ดวันก่อนสิ้นอายุพระศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏความนี้ในอรรถกถาฉบับใดเลย
พุทธเจดีย์ เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้งสิ้น สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท นั่นคือ [table=98%,rgb(255, 255, 255)]
| | 1. พระธาตุเจดีย์
คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง) ฯลฯ | | 2. พระธรรมเจดีย์
มีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการที่ทรงมีพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ จึงเกิดมีการคิดจารึกพระธรรมลงบนวัตถุแล้วนำมาบูชาแทนพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ ฯลฯ | | 3. บริโภคเจดีย์
คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร รอยพระพุทธบาท ฯลฯ | | 4. อุเทสิกเจดีย์
คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุจำลองด้วย |
บุคคลที่สมควรสร้างสถูปไว้บูชา (ถูปารหบุคคล)
...............การบูชาบุคคลที่ควรบูชา นั้นเป็นมงคลข้อหนึ่งในมงคลสูตร 38 ประการการบูชา คือ การยกย่อง เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำนั่นหมายถึง กิริยาอาการสุภาพที่แสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลังซึ่งการบูชาในทางปฏิบัตินั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การบูชาด้วยสิ่งของ เรียกว่า อามิสบูชา และ การบูชาด้วยการตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนหรือแบบอย่างที่ดีของท่าน เรียกว่า ปฏิบัติบูชา ซึ่งอย่างหลังนี้เองเป็นการบูชาสูงสุด ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ...............บุคคลที่ควรบูชา คือ บุคคลที่มีคุณงามความดี ควรค่าแก่การระลึกถึง และยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม มีอยู่ด้วยกันจำนวนมาก เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบุคคลที่สมควรแก่การสร้างสถูปไว้บูชาไว้เพียง 4 จำพวก ได้แก่ [table=98%]
| 1.พระพุทธเจ้า
เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
| 2.พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
| 3.พระอรหันต์ (ในพระสูตรกล่าวเป็น "พระตถาคตสาวก" ซึ่งปกติ หมายถึง "พระอรหันต์")เหตุที่พระสาวกของพระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระสาวกของผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
| 4.พระเจ้าจักรพรรดิ์
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
|
|
|
|
| [/td][/tr]
[/table][/td][/tr]
[/table]
[/td][/tr]
[/table]
|