ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1550
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ความริษยา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

[คัดลอกลิงก์]


ผู้มีความริษยานั้น ทำอะไรรุนแรงได้ร้อยแปด
แม้เป็นความไม่จริงก็พูดได้ ใส่ร้ายได้ มุ่งเพียงเพื่อความฉิบหายของผู้ถูกริษยาเท่านั้น

อำนาจความมุ่งร้ายต่อผู้ที่ถูกริษยารุนแรงนักหนา
คิดพูดทำอะไรได้ทุกอย่าง
มุ่งพียงเพื่อทำลายชื่อเสียงเกียรติยศของผู้ถูกริษยา
ผู้ถูกถือว่าเป็นศัตรูร้าย
น่าจะลืมสนิทถึงบาปกรรมที่ตนกำลังทำว่า
กำลังนำชีวิตไปนรกเพราะบาปกรรมนั้น


บาปกรรมที่เจ้าตัวผู้กระทำรู้ดีว่า เป็นบาปกรรมที่ตนทำขึ้นจริงๆ
ผู้ตกเป็นเหยื่อไม่มีส่วนทำชั่วดังถูกยกขึ้นอ้างถึงเลย

ควรสงสารบรรดาผู้ที่ไม่ได้มีความริษยาด้วยแม้แต่น้อยและก็มีจิตใจห่วงบ้านเมืองมากเกินไป
ไม่อยากให้คนเลวเชิดหน้าชูตาอยู่ในบ้านเมืองอย่างคนดี
อย่างที่ทำให้ใครๆ หลงเข้าใจว่าเป็นคนดี
ผู้ห่วงบ้านห่วงเมือง ห่วงผู้คนในบ้านในเมืองไทยว่าจะมีคนชั่วอยู่ร่วมสังคมคนดี
จึงตัดสินใจทำหน้าที่ช่วยสถาบัน
ด้วยการคิดพูดเต็มความสามารถเพื่อให้ความไม่ดีของผู้นั้นปรากฏประจักษ์แก่คนทั่วไป

โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ความจริง
คือไม่ได้รู้ว่าผู้ตกเป็นเหยื่อความริษยานั้น ตีหน้าหลอกหลวงว่า
เป็นคนดีทั้งที่เป็นคนไม่ดีสารพัดจริงหรือไม่ หรือว่าเพียงถูกกล่าวหา


อย่างไรก็ตาม ความรักความห่วงใยสถาบันก็ทำให้ตัดสินใจให้ความปกป้องคุ้งครองเต็มที่
ประกาศให้รู้กันว่า คนไม่ดีกำลังเข้ามามีบทบาททำลายบ้านเมืองไทยที่รัก ให้ทำลายเขาเสียก่อน

แผนการทำลายเพื่อรักษาสถาบันที่รักของไทยจึงเริ่มกระทำกันอย่างจริงจัง
กระเทือนไปทั่ว ผู้เป็นเหยื่อความริษยาที่ก็ยืนยันกับตัวเอง
และกับผู้ที่เชื่อในความดีของผู้ตกเป็นเหยื่อริษยาว่า
คนเหล่านั้นกำลังทำบาปที่ร้ายแรงนักหนา
จะพาความวุ่นวายเดือดร้อนรุนแรงมาสู่ประเทศชาติ

การทำลายคนดีมีหรือจะไม่บาป
แม้จะรู้สึกว่าทำเพื่อชาติก็ตาม
แต่เมื่อผู้ต้องรับเคราะห์กรรมอย่างน่าเศร้าเสียใจที่สุดเป็นคนดี
การทำร้ายคนดีให้เดือดร้อนนักหนา
จะคิดอย่างไร จะอ้างอย่างไร
ก็ไม่พ้นต้องรับบาปอันเกิดแต่กรรมของตนแน่
เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเพียงไรเท่านั้น



: แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



                                                                                       
..........................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=42931

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้