ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2466
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อำนาจเกินควบคุมมักจะถูกทำลายเสมอ

[คัดลอกลิงก์]
ต้องพูดว่า ศิลปะแห่งการดำรงค์ชีวิต แบบนินจา เป็นสิ่งที่ถูกท้าทายอย่างยิ่งในปัจจุบัน
นินจาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 นิจจาถูกนำมาใช้อีกครั้งในการสร้างหน่วยข่าวกรอง และยังเป็นกลเม็ดในการจรกรรมข้อมูลจากฝั่งตรงข้าม หัวใจหลักของนิจจาก็คือ "ธรรมชาติ"

นินจาถือกำเนิดขึ้นในช่วงรอยต่อของการเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซน ในยุคคามะกุระ หรือก่อนหน้านั้นนิดหน่อย
ซึ่งจะเป็นที่แพร่หลายในหมู่นักรบหลายตระกูล โดยตระกูลเหล่านั้นจะมีบทบาทสำคัญอย่างเช่นการได้เป็นตระกูลแห่งโชกุน

หลายครั้งในการรบ ที่เหล่าโชกุนได้แสดงให้เห็นถึงเคล็ดลับวิชาที่เรียกกันว่า "นินจา" แม้ว่าในโลกจะมีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับนินจา แต่แท้ที่จริงแล้ว นินจาก็คือนักวิทยาการที่ล่ำสมัยที่สุดเสมอๆ เท่านั้นเอง

สิ่งที่ถูกซ้อนไว้ในแนวของทหารหรือที่เรียกกันว่า "ซามูไร" ซามูไรเป็นเพียงทหารหน่วยหนึ่งขององค์จักรพรรดิ์
แต่สำหรับนินจา เป็นมากกว่านั้น นักฆ่าไร้สังกัด เป็นอีกนิยามหนึ่งของนินจา เมื่อนินจาเป็นทั้งนักฆ่า และศิลปิน
สิ่งที่ถูกท้าทายที่สุดก็คือ นินจาคือใคร แล้วใครคือนินจา การอยู่ร่วมกันในหมู่นินจาคืออะไรกันแน่
นินจาแท้จริงคือคนที่คลั่งการฆ่าฟันอย่างนั้นหรือเปล่า

หมู่บ้านนินจา "อีกะ" กับ "โคงะ" เป็นตำนานแห่งหมู่บ้านนินจา ทำให้เราต้องทำการค้นคว้าต่อไปในช่วงรอยต่อของนินจา
นิจจา เป็นสิ่งที่สวยงามสำหรับการฆ่าอย่างนั้นหรือ หรือนิจจาเป็นตำนานแห่งวิชาลับของเหล่าขุนพลที่ทำหน้าที่เป็นโชกุนกันแน่


นินจาถูกองค์จักรพรรดิ์กวาดล้างให้หมดหลังมีการปฏิวัติระบบโชกุนทั้งประเทศ
และนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะมีความเป็นไปได้ว่า
อำนาจของนินจาที่แท้จริงก็คือ ขุนพลที่ทำหน้าที่เป็นโชกุนนั้นเอง


ยุคก่อนการปฏิวัติระบบโชกุน โชกุน กับนินจา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในยุคคามะกุระ เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ความหายนะของคามิกาเซ่ ลมสวรรค์แห่งมัจจุราช เมื่อย้อนรอยแห่งประวัติศาสตร์ นินจาเป็นกลุ่มคนที่กุมอำนาจมากที่สุดในการสงคราม และก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการกุมการรบ พร้อมทั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลเมืองสำคัญๆ อย่างเช่นเมือง คามากุระ เมืองหลวงแห่งสมัยโชกุน


ประวัติโดยย่อ


"โชกุน" หรือที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันในนามของ "เซอิไทโชกุน" มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังทหารของประเทศ ซึ่งหากจะเปรียบตำแหน่งโชกุนในอดีตกับตำแหน่งทางการทหารในยุคปัจจุบันแล้ว ก็น่าจะเทียบเท่ากับตำแหน่งนายพลผู้บัญชาการทหารสูงสุด นั่นเอง      
        ตามประวัติศาตร์แดนซามูไรระบุไว้ว่า ผู้ที่ได้รับตำแหน่งโชกุนคนแรกแห่งญี่ปุ่น คือ โยริโตโมะ โดยเขาได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นในปี 1192 ให้ดำรงตำแหน่ง "เซอิไทโชกุน" หลังจากที่เขาได้ทำการสถาปนาตัวเองเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดด้านการทหารของแดนอาทิตย์อุทัยในช่วงเวลานั้น
      
        โยริโตโมะ เลือกเมืองคามากุระเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการการปกครองและบริหารงาน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "บากุฟุ" เขาลงจากอำนาจในปี 1199 และได้ส่งมอบตำแหน่งโชกุนต่อไปยัง โยริอิเอะลูกชายคนโต ก่อนที่ โยริอิเอะจะส่งต่อไปยังเซะเนะโตโมะ น้องชายอีกทอดหนึ่ง ทว่าในปี 1219 เซะเนะโตโมะ ถูกลอบสังหาร ซึ่งถือเป็นการปิดฉากโชกุนแห่งตระกูลโยริโตโมะ
      
        จากนั้น ตำแหน่งโชกุนก็ได้มีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนผ่องถ่ายอำนาจกันเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1603 เมื่อ อิเอะยาสุ โทกุงาวะ ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งโชกุน เขาทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวกลายเป็นช่วงเวลาที่ตำแหน่งของโชกุนเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และ ณ เวลานั้น เขาก็เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในญี่ปุ่นด้วย
      
        อิเอะยาสุ โทกุงาวะ ทำการรวบรวมศูนย์อำนาจแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบโชกุนของเขา ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว หลังจากนั้น ตระกูลนี้ก็ได้ผ่องถ่ายตำแหน่งโชกุนสืบทอดต่อๆ กันไปถึง 14 รุ่นด้วยกัน ซึ่งรวมระยะเวลาที่คนในตระกูลนี้อยู่ในตำแหน่งโชกุนแล้วก็ยาวนานประมาณ 200 กว่าปี เลยทีเดียว
      
        ปี 1867 ถือเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของระบบโชกุน โดยโยชิโนบุซึ่งดำรงตำแหน่งโชกุนคนสุดท้ายได้สละอำนาจของตัวเองทั้งหมด เพื่อเปิดทางให้มีการคืนอำนาจให้แก่องค์จักรพรรดิดังเดิม


ตำนานหนึ่งได้มีการกล่าวถึงมินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ ว่าได้มีเทนงูมาสอนวิชามินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะเพื่อฝึกฝนเป็นนินจา โดยในประวัติศาสตร์ได้มีกล่าวไว้ว่ามีพระชาวจีนรูปหนึ่งมาสอนเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามให้ แก่มินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ
โทงะคุเระ ริวได้กล่าวถึงนินจาในช่วงปลายยุคเฮอัน ไว้ว่านินจา ได้แบ่งออก เป็น 2 ฝ่ายหลัก คือ อิงะ และโคงะ ได้ร่วมต่อสู้กัน
ยุคคามะคุระ ได้มีประวัติศาสตร์กล่าวไว้ถึง คุสุโนะกิ มาซาชิเงะ ได้ใช้เทคนิคในการรบซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับวิชานินจา ต่อมาในช่วง ยุคเซนโงกุ(หรือที่รู้จักกันว่าเป็นยุคสงคราม)



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-21 11:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นินจา (忍者) หรือ ชิโนบิ (忍び) (ความหมาย: "ผู้คงทน") ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนักฆ่า หรือสปาย ในช่วงสมัยเปลี่ยนการปกครองของประเทศญี่ปุ่น โดยขณะเดียวกันนินจาได้ถูกเปรียบเทียบกับซามูไร ซึ่งซามูไรเปรียบเหมือนนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหน้า ขณะที่นินจาเป็นนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหลัง นอกจากนี้มีการกล่าวกันว่ากลุ่มคนบางคนเป็นทั้งนินจาและซามูไรพร้อมกัน ในปัจจุบันไม่มีร่องรอยของบุคคลที่เป็นนินจาหลงเหลือ เหลือเพียงแต่ซามูไ...ร สำหรับนินจาหญิงจะเรียกว่า คุโนะอิจิ


ที่มาของคำว่านินจา

คำว่านินจาเชื่อว่ามีการใช้มาประมาณ 800 ปีก่อน ซึ่งหมายถึงบุคคลที่อยู่ในภูเขาและฝึกฝน นินจุตสุ (วิชาต่อสู้เกี่ยวกับการขโมยและการล่องหน) ซึ่งมาจากประโยคที่ว่า ชิโนบิโนะโมโนะ โดยเขียนในคันจิว่า 忍者 โดยตัวอักษรแรก 忍 (นิน) หมายถึง "คงทน" โดยในภายหลังคำนี้ได้มีความหมายเพิ่มเติมหมายถึง "การซ่อนตัว" และ "การขโมย" โดยตัวอักษรที่สอง 者 (จา) หมายถึง "บุคคล" นอกจากนี้ได้มีภาษาจีนได้กล่าวถึงนินจาว่า 林鬼 (หลินกุ้ย) ซึ่งหมายถึง ปีศาจในป่า




ประวัติของนินจา

เนื่องจากตามลักษณะของนินจาที่ได้ชื่อว่านินจาไม่เคยทิ้งร่องรอยอะไรไว้รวมถึงไม่กล่าวคุยโวเกี่ยวกับผลงานของตัวเอง ซึ่งทำให้ผลงานหรือชีวประวัติของนินจาถูกเก็บไว้เป็นความลับ ซึ่งเป็นการยากที่จะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนินจา ในตำนานหนึ่งได้มีการกล่าวถึงมินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ ว่าได้มีเทนงูมาสอนวิชามินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะเพื่อฝึกฝนเป็นนินจา โดยในประวัติศาสตร์ได้มีกล่าวไว้ว่ามีพระชาวจีนรูปหนึ่งมาสอนเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามให้ แก่มินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ

โทงะคุเระ ริวได้กล่าวถึงนินจาในช่วงปลายยุคเฮอัน ไว้ว่านินจา ได้แบ่งออก เป็น 2 ฝ่ายหลัก คือ อิงะ และโคงะ ได้ร่วมต่อสู้กัน
ซึ่งในนิยายหรือการ์ตูนจะกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายนี้

ในยุคคามะคุระ ได้มีประวัติศาสตร์กล่าวไว้ถึง คุสุโนะกิ มาซาชิเงะ ได้ใช้เทคนิคในการรบซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับวิชานินจา ต่อมาในช่วง ยุคเซนโงกุ (หรือที่รู้จักกันว่าเป็นยุคสงคราม) ไดเมียวที่มีชื่อเสียงทุกคนมีนินจาอยู่ภายใต้การปกครองสำหรับการเป็นสปายแอบสืบข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ในยุคสงครามการรู้ข้อมูลและแผนการของฝ่ายข้าศึก จะทำให้มีชัยชนะเหนือกว่า ไดเมียวบางคนได้ถูกกล่าวว่าเป็นนินจาเอง ซานาดะ ยูคิมูระ หัวหน้ากลุ่มซานาดะ ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนินจา หลังจากที่ซานาดะ ยูคิมูระนำกลุ่มทหารเพียง 3,000 คนปกป้องปราสาท สู้กับกองทัพ 50,000 คนของโทกุงาวะ ฮิเดทาดะ

ในยุคเดียวกัน โทกุงาวะ อิเอยาสุ ได้มีการใช้นินจา จนท้ายที่สุดได้ชนะสงครามและตั้งตัวเป็นโชกุนของประเทศญี่ปุ่น มีการกล่าวถึงผลงานกลุ่มนินจา นำโดยฮัตโตริ ฮันโซ หัวหน้ากลุ่มนินจาฝ่ายอิงะ เป็นผู้นำทางให้อิเอยาสุหลบหนีออกมาในช่องเขานาระภายหลังจากที่ลอบโจมตีทัพของ โอดะ โนบุนากะ สงครามครั้งสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงนินจา ในช่วงยุคของโชกุนโทกุงาวะ คือสงครามกลางเมืองที่ชิมาบาระ ของกลุ่มชาวนาที่โกรธแค้นฝ่ายรัฐบาลที่เรียกเก็บภาษีแพง เมื่อสิ้นสุดสงครามนินจาเริ่มหมดหน้าที่ โดยนินจาบางคนได้มาเป็นโอนิวะบันชู กลุ่มรักษาความปลอดภัยของปราสาทเอโดะ ทำหน้าที่ปกป้องผู้ร้ายและขณะเดียวกันก็แอบสืบข้อมูลของไดเมียวคนอื่น นินจาคนอื่นจะเก็บตัวปลอมปนกับชาวนาโดยยังคงฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อพร้อมที่จะได้ใช้วิชานินจาที่อาจจะมีสงครามเกิดขึ้น ในช่วงยุค 200 ปีหลังจากของตระกูลโทกุงาวะ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดเกิดขึ้น ทำให้ไม่มีการสืบต่อวิชานินจา โดยมีการสืบต่อผ่านทางปากต่อปากและคนสนิทเท่านั้น

ในยุคเอโดะ นินจาได้เป็นที่นิยมในหนังสือและการแสดง วิชานินจาต่างๆ รวมทั้ง การล่องหน การกระโดดสูง การท่องมนต์นินจา และการเรียกกบยักษ์มาช่วยต่อสู้ ถูกสร้างขึ้นในยุคนี้สำหรับใช้ประกอบในการแสดง เพื่อความบันเทิง



อาวุธของนินจา

อาวุธของนินจามีลักษณะเป็นอาวุธที่ซ่อนไว้ รวมถึง ชูริเคน (ดาวกระจาย) โบะ (กระบอง) นินจาเคน (ดาบนินจาซึ่งเล็กกว่าคะตานะ (ของซามูไร) แต่ใหญ่กว่าวากิซาชิ คุนะอิ (คล้ายๆดาบแต่เป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าและสั้นกว่า) ประวัตินินจาในญี่ปุ่น นินจา นักฆ่าซัดอาวุธดาวกระจายที่โด่งดังในภาพยนตร์ญี่ปุ่นนั้น เดิมทีไม่ใช่มีภาพเช่นนั้น เชื่อกันว่า นินจาเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ฝึกฝนในกลุ่มนักบวช ที่เผยแพร่จากจีนมาญี่ปุ่นในช่วงเผยแผ่ศาสนาราวปีค.ศ. 522 กลุ่มนักบวชเหล่านี้ไม่ใช้วิชาการต่อสู้เพื่อความรุนแรง จนกระทั่งปีค.ศ. 645 ที่ฝ่ายสงฆ์เริ่มนำวิชาการต่อสู้นี้มาใช้ หลังจากถูกกดขี่บีบคั้นจากรัฐบาลกลางให้ปกป้องตนเอง

ในสมัยเฮอัน เกิดการต่อสู้ชิงอำนาจกันระหว่างตระกูลเพื่อโค่นล้มราชสำนัก ตระกูลใหญ่ๆ เหล่านี้ต้องการนักฆ่ามืออาชีพ ที่ทำงานหาข่าวและลอบสังหารฝ่ายตรงข้าม ทำให้คนที่ฝึกวิชาการต่อสู้เป็นที่ต้องการสูงมาก และกลุ่มนินจาก็เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น

คำว่า นินจา มาจากคำว่า ชิโนบิโนโมโน่ เมื่อเขียนด้วยตัวอักษรคันยิ อ่านว่า "นินชา" หากอ่านเป็นภาษาจีนจึงเป็น "นินจา" นินหมายถึงการหลบซ่อน จาหมายถึงบุคคล นินจาจึงหมายถึงบุคคลที่ซ่อนตัว ชนิดแวบไปแวบมานั่นเอง

ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นหลังจากมีนินจา แล้ว โชกุนของทุกๆฝ่ายเริ่มเห็นพลังอำนาจของนักฆ่าเหล่านี้ จึงมีนินจาไว้ใช้งานกันหมด ส่งผลให้ผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นนินจาโดนตามล่า และกำจัดทิ้งไปมากมาย ด้วยเหตุนี้เอง การใช้นินจาลอบสังหารกระทำได้ยากขึ้น ทำให้ นักฆ่าหญิงมีเริ่มมีบทบาท กลายเป็นว่ามีนินจาหญิง ซึ่งถูกเรียกขานกันในนาม คุโนอิจิ

--- วิชาการต่อสู้ ---

ซามูไร - ศิลปะการใช้ดาบ + เน้นโจมตีแบบประชิดตัว จะมีศักดิ์ศรีมากในตัวซามูไรแต่ละคน
นินจา - ลอบสังหาร ว่องไวสูง ทักษะดี พรางตัวเก่ง เลือดเย็น ภารกิจที่ได้รับมา จะต้องทำให้สำเร็จ
ซามูไร - เวลารู้ตัวว่าแพ้ หรือ สู้ไม่ได้ จะฮาราคีรี
นินจา - ทำภาระกิจผิดพลาด หรือถูกจับได้ ก็จะฮาราคีรี
ฮาราคีรี - การคว้านท้อง ว่ากันว่า เป็นการปลดปล่อย วิญญาณตัวเอง (ถึงไม่ยอมถูกคนอื่นฆ่าตาย)
จากประวัติศาสตร์ ชาวโปรตุเกสที่เป็นพ่อค้าได้บันทึกเกี่ยวกับนินจาไว้ว่า
He 's the same magician
ซึ่งหมายถึงว่านินจาที่เค้าเห็นนั้นดูเหมือนกับมีเวทมนตร์ นักวิชาการ สาขาประวัติศาสตร์ก็ให้ข้อสันนิษฐานว่า การที่นินจาดูเหมือนมีและใช้เวทมนตร์นั้น เป็นไปได้ว่านินจาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ มายากลขั้นสูง เช่นการ แปลงกายเป็นท่อนไม้ หลบซ่อน อำพราง เรียกไฟ เรียกลม ใช้ระเบิดควันหายตัว

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-21 12:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-8-21 13:09

อำนาจเกินควบคุมมักจะถูกทำลายเสมอ


Doctor Octopus











“มียศอย่าประมาท มีอำนาจอย่ามัวเมา”
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-21 13:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติเพลงพญาโศก






เพลงอัตราจังหวะสองชั้น  ทำนองเก่าสมัยอยุธยา  เป็นเพลงแรกในเพลงเรื่องพญาโศก

  

ใช้ประกอบการแสดงละครในบทโศกเศร้ามี ๖ เพลงคือ  เพลงพญาฝัน  พญาโศก  ท้ายพญาโศก  พญาตรึก  พญารำพึง  และพญาครวญ  

พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตราจังหวะสามชั้นเมื่อปลายรัชกาลที่ ๔  สำหรับใช้เป็นเพลงบรรเลงและขับร้องในวงมโหรีและวงปี่พาทย์  นอกจากนี้พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ยังได้นำมาประดิษฐ์เป็นเพลงทางเดี่ยว  

ซึ่งนักดนตรีสมัยต่อมายึดเป็นแบบฉบับในการเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทุกชนิด  เช่น  พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตรเสวิน) แต่งสำหรับเดี่ยวซอสามสาย  จางวางทั่ว  พาทยโกศล  แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่  ระนาดเอก  นายสอนวงฆ้อง  แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่  เป็นต้น  

นอกจากนี้ จ่าเอกมล(เจียน) มาลัยมาลย์ ได้แต่งทำนองสำหรับเดี่ยวระนาดเอกโดยขยายเป็นสี่ชั้น (บางแห่งแรกเป็นหกชั้น)


เพลงพญาโศก เป็นเพลงตับมโหรีใช้บรรเลงประกอบอากับกิริยา โศกเศร้าเสียใจของตัวละคร พระ นาง หรือผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์

อย่างเช่นตอนเล่นโขนตอนที่พาลีสั่งเมือง ,ตอนที่พิเภกโดนไล่ออกเมือง แล้วไปสั่งเสียกับครอบครัว เป็นต้นนอกจากนี้ยังใช้ในลิเกด้วย เฉพาะกับ ตัวพระ ตัวนาง ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้