ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
พิจารณาอสุภะจนหลุดพ้น (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3017
ตอบกลับ: 6
พิจารณาอสุภะจนหลุดพ้น (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-7-17 06:35
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
โอวาทธรรม
ของ
พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)
วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
ที่มา (๑) โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดชีวิตกับธรรมะ
กระทู้ ๑๖๑๖๕ โดย : คุณจอม วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ที่มา (๒)
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... ang-06.htm
(เริ่มทำสมาธิ)
ต่อไปนี้ขอให้ญาติโยมทั้งหลาย พระภิกษุ สามเณร
พากันตั้งใจปฏิบัติ คือ เราปฏิบัติบูชา
พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ว่า การปฏิบัติบูชานั้นประเสริฐกว่าอามิสบูชา
เพราะการปฏิบัติบูชาชื่อว่ารักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
ถึงแม้ว่าเรา นั่งสมาธิ เกิดความเจ็บปวด ความเมื่อย ความกระวนกระวาย
แต่เราก็ต้องคิดว่าในขณะนั้น เรากำลังรักษาพระพุทธศาสนา
นอกเหนือจากรักษาพระพุทธศาสนา
เราก็ได้ชื่อว่าเราได้ทำประโยชน์แก่ตัวของเราด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ไม่ควรคำนึงถึง ว่ามันจะเจ็บ ปวด เมื่อย
เหนื่อย หิว กระวนกระวายแค่ไหน เราก็ต้องทำใจของเราให้แน่วแน่
เพราะการที่จะสำเร็จ หรือการที่จะเกิดผลประโยชน์นั้น
มันเกิดขึ้นเพียงวินาทีเท่านั้นเอง
ผลที่ได้รับ สิ่งที่สำเร็จ เราลองดูก็แล้วกัน คิดดูก็แล้วกันว่า
การสำเร็จนั้นมันอยู่ที่วินาทีสุดท้าย
เหมือนกันกับเรารับประทานอาหาร
มันไปสำเร็จเอาคำสุดท้ายคือคำอิ่ม
ตัวหนังสือก็ไปจบเอาตัวสุดท้าย
สุดท้ายนั้นมันไม่กี่วินาที สมาธิของเราก็เช่นเดียวกัน
ที่มันจะเกิดผลประโยชน์ หรือที่จะให้สำเร็จนั้นมันอยู่ในวินาทีสุดท้าย
แต่ก่อนที่จะถึงวินาทีสุดท้ายนั้น
ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกระทำมานานบ้าง ไม่นานบ้าง ก็สุดแล้วแต่เหตุการณ์นั้นๆ
อย่างบ้าน หลังมันโตก็นานหน่อย หลังมันเล็กก็ไม่นานเท่าไร
แต่เวลาที่จะสำเร็จนั่นมันมีอยู่เวลาหนึ่ง
สมาธิของเราก็เช่นเดียวกัน มันก็มีอยู่เวลาหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องคำนึงถึงความทุกขเวทนาที่จะเกิดขึ้นกับเราเรียกว่ากัดฟันต่อสู้
ต่อไปนี้ให้ทุกคนว่าตาม อาตมาจะเป็นผู้นำ
"ข้าพเจ้าระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
จงมาดลบันดาลให้ใจของข้าพเจ้าจงรวมลงเป็นสมาธิ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ (๓ ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ"
นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย
มือขวาหงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตา นึกพุทโธในใจ
กำหนดใจไว้ที่ใจ ไม่ต้องส่งใจมาที่เสียง
เสียงแห่งพระธรรมเทศนา จะเข้าทางหู รู้ถึงใจเอง
ธรรมะจะเข้าสู่ใจเอง ใจของเรานั้น ให้ทำเป็นประดุจภาชนะ
น้ำฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าสู่ผืนแผ่นดิน
เข้าสู่ภาชนะของเรา เราก็สามารถรองรับน้ำฝนนั้น
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(การสั่งสมธรรมนำสุขมาให้)
ภาชนะนั้น รองรับน้ำฝนได้เต็มที่
เปรียบเหมือนกันกับกระแสของพระธรรม
กระแสของพระธรรมจะออกไปตามเสียง
เมื่อออกไปตามเสียงแล้วจะเข้าทางหูของเราแล้วก็จะเข้าสู่ใจ
เรียกว่าเป็น
"ประตูรับธรรมะ"
ธรรมะเข้าไปสู่ใจเองนั้น
เรียกว่า เป็นธรรมะที่ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนก็คือว่าเป็นอมตธรรม
ธรรมะที่เข้าสู่ใจนี้ ยากนักหนาที่เราจะมีธรรมะเข้าสู่ใจของเราได้
ในวันและคืน เดือนและปี เราจะมีแต่อารมณ์และสัญญา
นานัปการที่มันจะหลั่งไหลเข้าสู่ใจของเราแล้วก็เก็บเอาไว้
ให้เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง
ส่วนธรรมะ หรือกระแสธรรมที่เข้าสู่ใจของเรานั้น
เป็นส่วนที่ทำให้ขจัดสิ่งที่ไม่ดี ในใจของเรา ก็ไปสะสมเป็นพลัง
การสะสมของธรรมะนั้น นำสุขมาให้ นำความบริสุทธิ์มาให้
เพราะฉะนั้น ที่เราได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เราก็ตั้งภาชนะของเราให้ดี แล้วปล่อยให้ธรรมะเหล่านี้หลั่งไหลเข้าสู่ใจ
ถึงแม้ว่าจะเข้าใจก็ตามไม่เข้าใจก็ตาม สิ่งเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกันกับเรารับประทานอาหาร
เราจะเห็นเมล็ดข้าวก็ตาม เราจะเห็นเนื้อ
เห็นปลาอาหารต่างๆ ก็ตาม ไม่เห็นก็ตาม
เมื่อเรากินมันเข้าไป มันก็ต้องเข้าไปเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทุกชิ้นทุกอัน
ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน
ย่อมจะต้องเป็นประโยชน์ต่อจิตใจของเราทุกบาท ทุกคาถา และทุกคำ
จะเข้าใจก็ตาม ไม่เข้าใจก็ตาม เหมือนดั่งที่ค้างคาวจับอยู่ที่บนถ้ำ
มีพระจำนวนหนึ่งได้เข้าไปอยู่ในถ้ำ สวดมนต์
เสียงสวดมนต์นั้น ค้างคาวมันก็คงไม่รู้ว่าพระท่านทำอะไร
แต่ในที่สุดนั้นพวกค้างคาวเหล่านั้นมันลืมตัว
ปล่อยเท้าของมันลงมาหัวกระทบหิน ค้างคาวได้ตายหมดทั้งฝูง
และค้างคาวเหล่านั้น ก็จิตได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ธรรมะที่จะเข้าใจก็ตามไม่เข้าใจก็ตาม
ในเมื่อหลั่งไหลเข้าสู่ใจของเราแล้วนั้น คือ อมฤตธรรม
ที่จะเข้าไปเป็นบุญ เข้าไปเป็นวาสนา เข้าไปเป็นบารมี
สนับสนุนให้จิตใจของเรานี้ได้รับการพัฒนาและมีความสูงขึ้นตามลำดับ
ความสูงของใจนั้นอยู่ที่การฝึกฝน
การฝึกฝนนั้นอยู่ที่ความขยันหมั่นเพียรของแต่ละบุคคล
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
ความอดทน เป็นเครื่องแผดเผากองกิเลส
ความอดทน เป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต
ความอดทน ย่อมนำความสุขมาให้
อดทน หมายถึง อดทนต่อการทำความดี อดทนต่อการจำศีล
อดทนต่อการภาวนา อดทนต่อการทำบุญกุศลทั่วไป
ความอดทนเหล่านั้นถือว่า เป็นความอดทนที่นำความสุขมาให้
ธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตัวของเรา
ที่พระพุทธเจ้าแสดงว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ตน
ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ก็เพื่อให้เข้าใจว่า รูปนี้มันเป็นเพียงธาตุทั้ง ๔
ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น แต่เราก็พากันหลงรักหลงชังมันแต่แท้ที่จริงนั้น คือธาตุทั้ง ๔
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(กิเลส ๓ กอง, โลกธรรม ๘)
ธาตุทั้ง ๔ ส่วนใดที่แข็งๆ อยู่ในร่างกายอันนี้ก็เรียกว่าธาตุดิน
ส่วนใดที่เหลวๆ ก็เรียกว่าธาตุน้ำ ส่วนใดที่พัดไปพัดมาก็เรียกว่าธาตุลม
ส่วนใดที่ทำร่างกายให้อบอุ่นก็เรียกว่าธาตุไฟ
ทั้ง ๔ อย่างประชุมพร้อมกันเข้าก็เป็นร่างกาย
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า
รูปัง ภิกขเว อนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้ไม่ใช่ตน
การที่เราถือเป็นตัวเป็นตนแล้วเกิดกิเลสเกิดขึ้นมานั้น
เป็นเรื่องของการสมมุติ เราได้สมมุติกันขึ้น
เมื่อเราสมมุติแล้ว เราก็ได้ไปหลงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมานั้น นั่นแหละ เรียกว่า โมหะ
ในกิเลสทั้ง ๓ กองนั้น มี กองที่ ๑ ก็คือ ความโลภ เรียกว่า โลภะ
กองที่ ๒ เรียกว่าความโกรธ ก็เรียกว่า โทสะ
กองที่ ๓ เรียกว่าความหลง ก็เรียกว่า โมหะ
เพราะฉะนั้น โมหะ ที่ความที่ไม่เข้าใจนั้น
จึงได้ประกอบพร้อมด้วยอวิชชา เมื่อมีอวิชชาอยู่แล้ว
กิเลสทั้ง ๓ กองก็รวมตัวกันเป็นกำลัง
เพื่อที่จะผลักดันบุคคลให้เข้าไปสู่จุดหนึ่ง จุดนั้นคือความหลง
เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าจะแก้
คือพระพุทธองค์ของเรานั้น ไม่ได้ทรงเกรงใจ
คือไม่ทรงเกรงใจว่า เมื่อพระองค์เทศนาไปแล้ว คนจะชอบก็ตาม ไม่ชอบก็ตาม
เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม แต่พระองค์ได้ทรงตรัสความจริง
ต้องการที่จะให้เป็น
หิตานุหิตประโยชน์
แก่มวลมนุษยชาติทั้งมวล
เหมือนกันกับคนที่ผ่าตัด คนผ่าตัด เรียกว่าหมอผ่าตัด ไม่ต้องเกรงใจ
คนที่เป็นโรค ร่างกายจะเป็นอะไร ไม่ทราบ
ชั้นมีมีด ชั้นจะปาดมันลงไป ตรงไหนมันเป็นโรค ชั้นจะตัดมันออก
แกจะเจ็บ แกจะปวด แกจะเป็นอะไร ชั้นไม่รู้ด้วย
แต่ชั้นมีหน้าที่ที่จะต้องการให้คนผู้นี้หายจากโรคภัย
แล้วก็ทำการผ่าตัดทันที ไม่ต้องกลัวว่าคนผ่าตัดจะเจ็บปวดแค่ไหน
อันนี้ก็เปรียบเหมือนกับพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
เพื่อที่จะให้ผู้คนทั้งหลายนั้นได้รู้ความจริง
ถึงแม้ว่า พระดำรัสที่พระองค์ดำรัสไปนั้น
ต้องกระทบบุคคลผู้หนึ่งบุคคลผู้ใด จำพวกหนึ่ง จำพวกใดก็ตาม
พระองค์ไม่ได้ทรงคำนึงถึง
คำนึงแต่ว่า เมื่อใครปฏิบัติตามนี้แล้วก็จะบังเกิดผล คือ ความดีงามที่เกิดขึ้น
แล้วก็สามารถทำให้เค้าเหล่านั้น พ้นไปจากห้วงแห่งความทุกข์ได้ด้วยประการทั้งปวง
การยกย่อง การสรรเสริญ หรือว่า พวกที่ประจบสอพลอต่างๆ เหล่านั้น
พระพุทธองค์ทรงตรัสตำหนิติเตียน ตำหนิติเตียนว่า
พวกเหล่านั้นพากันหลงอยู่ใน
"โลกธรรม"
โลกธรรมมีอยู่กี่อย่าง เค้าเรียกว่าโลกธรรม ๘
โลกธรรม ๘ นั้นก็คือ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้ลาภ เสื่อมลาภ
มีสุข มีทุกข์ นินทา สรรเสริญ เหล่านี้เรียกว่าโลกธรรม
โลกธรรมนี้ มีอยู่ประจำใจมนุษยโลกทั้งหลาย
ซึ่งพอใจในการที่จะมีโลกธรรมทั้งหลายเหล่านี้
เพราะอะไร เพราะว่าโลกธรรมนั้นมันประกอบพร้อมไปด้วยอารมณ์ต่างๆ
คอยยกยอบุคคลบ้าง คอยข่มขู่บุคคลบ้าง
ได้มาบ้าง เสียไปบ้าง อะไรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของโลกธรรม
โลกธรรมเหล่านี้ คนย่อมติด คือติดมัน ใครๆ ก็ยอมมัน
คือยอมอยู่ภายใต้อำนาจแห่งโลกธรรม
มียศ ดีใจ ยศเสียไป เสียใจ ได้เงินมาดีใจ เสียเงินไปเสียใจ อะไรอย่างนี้เป็นต้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(จิตที่ไม่มีธุลี)
อันนี้คือจิตที่อยู่ในสำนึกที่อยู่ภายใต้แห่งอำนาจของโลกธรรม
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงแก้
เรียกว่า พระองค์ทรงตรัสเลย ตรัสไว้อย่างตรงๆ เลยว่า
เมื่อโลกธรรมถูกต้องแล้ว
ไม่มีการหวั่นไหว
จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะ ติ
จิตนี้ไม่หวั่นไหว
พุทธัสสะ โลกะ ธัมเมหิ
เมื่อโลกธรรมถูกต้องแล้ว
จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะ ติ
เพราะฉะนั้นเมื่อจิตไม่หวั่นไหวแล้ว
วิรชัง
ก็ไม่มีธุลี
แต่ถ้าหากว่าบุคคลผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบกระเทือนเข้าไปแล้ว
เกิดความหวั่นไหวขึ้น เรียกว่า บุคคลผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีจิตที่เป็นธุลี
ธุลีนั้น คือสิ่งที่ทำให้เกิดความสกปรก จิตใจก็เกิดความสกปรกขึ้น
เมื่อจิตใจเกิดความสกปรกขึ้น ก็เรียกว่าเต็มไปด้วยธุลี
เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้พากันเหยียบย่างเข้ามาปฏิบัติธรรมะ
ในเรื่องของจิตใจแล้ว เราก็เริ่มต้นด้วยความสงบ
ความสงบที่เกิดขึ้นนั้น คือเกิดขึ้นด้วยอะไร
เกิดขึ้นด้วยการบริกรรมพุทโธ
เมื่อคำบริกรรมพุทโธเกิดขึ้นในจิตของเรานั้น จิตของเราก็เริ่มเป็นสมาธิ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:37
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(สมาธิ)
การเป็นสมาธินี้ก็ จะมีความละเอียดขึ้นตามลำดับ
อย่างที่ท่านแสดงเอาไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
ปฐมฌานนั้น มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
วิตก วิจารณ์ ก็คือการบริกรรม จะบริกรรมอะไรๆ ก็ตาม ที่เรียกว่าพุทโธก็ตาม
หรือบริกรรมคำอื่นก็ตาม การบริกรรมนั้น ถือว่าเป็น วิตก วิจารณ์
เมื่อบริกรรมไปแล้ว จิตก็เป็น เอกัคคตา คือความเป็นหนึ่ง
เมื่อจิตเป็นหนึ่งแล้ว ก็เกิด ปีติ คือความเอิบอิ่ม แล้วก็เกิดความสุข
คือความสบาย นี่คือ ปฐมฌานเกิดขึ้น ปฐมฌานเกิดขึ้นนั้น จะรู้สึกว่ามีตัวเบา
แล้วก็รู้สึกว่า อารมณ์ต่างๆหายไป
รู้สึกว่าอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่งซึ่งไม่รับอารมณ์ทั้งปวง
แต่ว่าปฐมฌานนั้น จะอยู่ได้ ก็ไม่นานนัก
เพราะว่าเป็นฌานชั้นต่ำ อยู่ไปได้เพียงชั่วขณะ
ประเดี๋ยวอารมณ์มันก็จะกลับคืนเข้ามาเกิดใหม่
เมื่อกลับคืนเข้ามาเกิดใหม่ ก็จำเป็นที่จะต้องตั้งวิตก วิจารณ์ขึ้นมาใหม่
คือพุทโธ หรือเรียกว่าบริกรรมขึ้นมาใหม่
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตก็จะสงบอีก เมื่อสงบต่อไปอีกแล้ว
ต่อมาภายหลัง จิตนั้น ก็จะต้องฟุ้งซ่านต่อไปอีก
แล้วก็กลับมา นึกพุทโธใหม่ ก็สร้างแล้วสร้างอีก
เหมือนกันกับเด็ก เราจับมันมายืน มันไม่มีแรงพอ มันก็ล้มลงไป
ล้มลงไปก็จับมันมายืนอีก แล้วมันก็ล้มลงไป เพราะว่าแรงมันไม่พอ มันยังเด็กมาก
จิตที่ยังเป็นเด็ก หมายความว่าจิตที่ยังเป็นปฐมฌาน
ก็จะต้องพอเข้ามาเป็น เอกัคคตา พอมีความสบายซักหน่อยหนึ่ง
เดี๋ยวมันก็หายจากความสบายนั้นไป จิตมันก็เริ่มที่จะฟุ้งซ่านต่อไปอีก
ก็ต้องเริ่มกลับมานึกพุทโธใหม่ เป็นอย่างนี้
ต่อมาภายหลัง จิตอันนี้แหละ ที่เป็นปฐมฌาน
อันนี้แหละ ก็จะต้องเป็นปัจจัยต่อไปถึงทุติยฌาน
การถึงทุติยฌานนั้น ท่านแสดงว่า ทุติยฌานมีองค์ ๓
ทุติยฌานมีองค์ ๓ ก็คือ ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป เหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
ปีติ สุข เอกัคคตา ๓ เรียกว่าองค์ ๓ ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป เรียกว่า ทุติยฌาน
เมื่อตัดวิตก วิจารณ์ออกไปก็คือตัดคำบริกรรมออกไป
บุคคลผู้นั้น จะทำจิตให้เป็นหนึ่งได้ ด้วยการไม่ต้องบริกรรม
คือการไม่ต้องบริกรรมนั้น จิตก็ยังตั้งอยู่ได้
ถือว่า ผู้นั้นได้เลื่อนขั้นขึ้นมา จากขั้นที่ ๑ มาถึงขั้นที่ ๒ แล้ว
เมื่อเลื่อนมาถึงขั้นที่ ๒ อันนี้ไม่ต้องบิรกรรม จิตนั้นตั้งอยู่ได้
แต่ว่าเราจะไปเลื่อนเองนั้น ย่อมไม่ได้
บางคนก็อยากจะเลื่อนชั้น แต่ว่าไปเลื่อนเอาเอง มันเลื่อนไม่ได้หรอก
เหมือนกันกับเราเรียนหนังสือ เราจะไปเลื่อนชั้นเอาเองมันก็ไม่ได้
มันต้องสอบ มันต้องเลื่อนชั้นตามกำหนดเวลา
เหมือนกับจิตที่จะเข้าสู่ทุติยฌาน การจะเข้าสู่ทุติยฌานนั้นก็จำเป็นอยู่เอง
จำเป็นอยู่เองที่จะต้องอาศัยความชำนาญในปฐมฌานมาก่อน
คือบริกรรมจนชำนาญ จนกระทั่งไม่ต้องบริกรรม
จิตนี้มันก็ นิ่งได้ มันก็เหลือความเอิบอิ่ม
เรียกว่าอิ่มเอิบ แล้วก็ความสุขสบาย แล้วก็ความเป็นหนึ่งของใจ อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตนี้ ก็ถือว่าได้รับการฝึกฝนที่ดีและถูกต้อง
เลื่อนชั้นขึ้นมาตามลำดับ มาเป็นทุติยฌาน ซึ่งมีปีติ สุข เอกัคคตาอยู่
ในขณะที่ เราได้กระทำไปเช่นนี้นั้น ก็เกิดความแก่กล้าขึ้นตามลำดับ
จิตนี้ก็จะเริ่ม ต่อไปถึงตติยฌาน คือชั้น ๓ ชั้น ๓ นั้น ก็ลดองค์เหลือ ๒
คือมีแต่ความสุข กับ เอกัคคตา ในชั้นที่ ๓ นี่ ตัดปีติออกไป
การตัดปีตินั้น คือความเอิบอิ่มนั้นออกไปนั้น
ก็หมายความว่าผู้นั้น ได้เป็นผู้ที่ ได้รับการฝึกฝนมามากแล้ว
การฝึกฝนมามาก จนกระทั่งมีแต่ความสุข และก็ความเป็นหนึ่ง ความปีติไม่มี
ข้อนี้เป็นข้อที่เปรียบเทียบ เหมือนกันกับคนที่ได้เงิน
ครั้งแรกได้เงินมา ไม่เคยมีเลย หรือมีก็ร้อยๆ พันๆ ได้เงินมาเป็นล้านก็เกิดความเอิบอิ่ม
เรียกว่า ปีติ ยินดี กับเงินที่ได้มานั้นเหลือหลาย
ไม่เคย นั่งคิดนอนคิด ก็กระหยิ่มอยู่ในใจ อย่างนี้เค้าเรียกว่า ปีติ
แต่ถ้าหากว่า คนนั้น ต่อมา เงินมันก็ได้มาอีก ๒ ล้าน ๕ ล้าน
เป็น ๑๐ ล้าน เป็นหลายล้านอย่างนี้ ไอ้การที่จะมีความเอิบอิ่มเหมือนเก่านั้นย่อมไม่มี
เพราะว่ามันมากไปแล้ว มันก็เลยอย่างงั้นๆ เอง จิตก็เลยไม่มี คือไม่มีความเอิบอิ่ม
เหมือนกันกับที่ได้ครั้งแรกได้ล้านแรกอย่างนี้ ข้อนี้ท่านก็เปรียบเหมือนกันกับ ตติยฌาน
ตติยฌานนั้น ปีติไม่มี เพราะว่าสมาธิได้มาหลายหนแล้ว
ความเอิบอิ่มได้มามากแล้วได้มาจนชิน คือหมายความว่า
นับสิบ นับร้อย นับพัน หรือเรียกว่านับไม่ถ้วน
จิตชั้นนี่มันรวมนับไม่ถ้วนแล้ว มันสบายมานับไม่ถ้วนแล้ว
มันเกิดขึ้นมานับไม่ถ้วนแล้ว ที่มันเป็นเช่นนี้
ความปีติก็อาจเกิดขึ้นในเมื่ออยู่ในทุติยฌาน
แต่เมื่อมาถึงตติยฌานแล้วมันมากแล้ว เหมือนกับคนที่ได้เงินมากแล้ว
ไอ้ปีติมันก็ไม่มี มีแต่ความสุขน่ะ แต่ความสุขและความเป็นหนึ่งของจิต
นี่เรียกว่า จิตขึ้นมาในชั้นที่ ๓ จากนั้นจิต
เมื่อทำมากเข้า คือการเจริญให้มาก กระทำให้มาก
นี้จิตจะไม่หยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นั้น จิตนี้จะก้าวหน้าตลอดไป
ทีนี้จากตติยฌาน ก็ขึ้นมาจตุถฌาน ที่ขึ้นมาถึงจตุถฌานก็คือ ชั้นที่ ๔
เป็นเรียกว่าชั้นสุดท้ายของรูปฌาน
เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ความสุขก็ไม่มี มีแต่ความวางเฉย เรียกว่าอุเบกขา กับ เอกัคคตา
อันนี้เรียกว่าเหลือล้นพ้นประมาณ เมื่อเหลือล้นพ้นประมาณแล้ว ก็อย่างงั้นๆ เองแหละ
ไม่เหมือนกับว่า เมื่อตอนที่ไม่มีเงินน่ะ
เค้าเอาเงินมาให้เราเป็นล้าน เราก็ดีใจ ชื่นอก ชื่นใจ มี ๑๐ ล้าน ๒๐ ล้าน
ก็ยิ่งมีความสุขใจว่า ชาตินี้เราก็ไม่ต้องลำบากแล้ว
แต่ทีนี้มันมีมาก จนกระทั่งหมื่นล้านแสนล้าน มันนับไม่ไหวซะแล้ว
ความสุขก็ไม่มีอีก ที่ว่าความสุขไม่มีคือมันเฉยๆ มันมากเกินไปแล้ว มันก็เฉยๆ
เพราะว่ามันเฉยๆ จึงเรียกว่าเป็นอุเบกขา
อุเบกขานี่อันนี้เป็นข้อเปรียบเทียบที่ว่า เมื่อจิตของเราสงบ รวม
ได้รับความสบาย นับจำนวนไม่ถ้วน ไม่รู้เป็นมาเท่าไหร่แล้ว เหลือหลายแล้ว
จนกระทั่งมากมายเหลือล้นก็มาถึงชั้น ๔ เรียกว่าจตุถฌาน
เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็เรียกว่ามีจิตเป็นสมถะเต็มที่
หรือเรียกว่าจิตเข้มแข็ง มีกำลัง ไม่มีการที่จะเสื่อมคลายไปได้ง่ายๆ
คือมีกำลังแข็งแรง ถ้าเราจะเปรียบก็เหมือนกับคนที่เป็นหนุ่มแล้ว เป็นสาวแล้ว
มีกำลังเต็มที่แล้ว ไม่ต้องมีใครไปประคองแล้ว
ถ้าหากว่ามีคนมาประคองมันก็ รำคาญ ตัวใหญ่เบ้อเร่อแล้ว
ใครจะต้องไปประคอง เดินเองก็ได้ กินเองก็ได้ ทำเองก็ได้
เที่ยวเองก็ได้ ไปไหนก็ได้ นี่เรียกว่า ถึงขั้นโตที่สุด
สมถะ หรือเรียกว่าจตุถฌานนี้ ก็เรียกว่า โตที่สุด มาถึงขั้นแล้ว เรียกว่าโตที่สุด
เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว เราจะเอาอะไรเป็นหลัก
อะไรเป็นหลักในการที่เราพากันทำความเข้าใจให้แก่ตัวของเราว่า
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันมาถึงขั้นนี้แล้ว มันมีอะไรเป็นหลัก?
สิ่งที่จะต้องเป็นหลักนั้น ก็คือ พลังจิต หรือเรียกว่าความแข็งแกร่งของจิต
พลังจิตและความแข็งแกร่งของจิตนั้น มันไม่ใช่เกิดขึ้นจากสิ่งอื่นใด
ไม่ใช่เกิดขึ้นจากเงิน ทองมากมาย ร้อยล้านพันล้าน
หรือไม่ใช่เกิดขึ้นจากยศถาบรรดาศักดิ์ มากมายก่ายกอง
หรือไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากสมบัติพัสถาน แต่มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกหัดจิตใจ
จิตใจที่ได้รับการฝึกหัดมาตามลำดับนั้น
จิตใจอันนี้ต่างหาก ที่เป็นจิตใจ ที่เกิดความแข็งแกร่ง
คือได้รับการฝึกฝน จากสมาธิมา ความแกร่งของจิตนี่มันจะเพิ่มเป็นพลัง
ความแกร่งของจิตนี่เรียกว่าพลังจิต ที่สุดถึงที่สุด
คือ จุดประสงค์แท้จริง ที่เราเรียกกันว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุถฌาน อะไร เราก็เรียกกันไปละ
เรียกว่าชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ชั้นที่ ๔ เราก็ ว่ากันไป
แต่ว่าจุดประสงค์จริงๆ แล้ว
ก็คือ ความแกร่ง หรือเรียกว่า พลังจิต อันนี้ต่างหาก
ที่เรียกว่าเป็นจุดประสงค์ ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ
ในเมื่อคนที่เกิดขึ้นมานี้ เรียกว่า ตั้งแต่เด็กๆ น่ะมันก็ไม่ค่อยมีกำลังเท่าไหร่
โตขึ้นมามันก็มีกำลังตามขึ้นมาเรื่อยๆ
สิ่งที่เด็กโตขึ้นมาจนกระทั่งถึงความเป็นหนุ่มนั้น มันเกิดขึ้นมาจากอะไร
มันเกิดขึ้นมาจากอาหาร หรืออากาศ หรือสิ่งต่างๆแวดล้อม
ก็เรียกว่า มีสุขภาพดีเจริญขึ้นมา แล้วจุดประสงค์ของคนนั้นน่ะอะไร
จุดประสงค์ของคนก็คือว่า ต้องการความเป็นใหญ่เป็นโตมีกำลัง
มีเรี่ยว มีแรง เป็นคนน่ะ โดยจุดประสงค์คือต้องการเป็นคน
เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นเด็กอยู่อย่างนั้นตลอดไป
แต่ว่าต้องการที่จะเป็นคนที่สมบูรณ์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:38
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แต่ที่การที่จะเป็นคนที่สมบูรณ์นั้น ต้องกินข้าว
ต้องนอนบ้าง ต้องเล่นบ้าง ต้องไปทำอะไรบ้าง อย่างนี้เป็นต้น
ในที่สุดถึงที่สุดนั้น ต้องการความเป็นคนที่เต็มที่
อันนี้ก็เปรียบเทียบเหมือนกับสมาธิ ถึงแม้ว่าเราจะเรียกว่า
อันนี้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
แต่ที่จริงแล้วนั่น จุดประสงค์เต็มที่ ก็ต้องการ พลังจิต
อันนี้เป็นเรื่องที่เรา ผู้ปฏิบัติ จะต้องทราบเอาไว้ว่า
การกระทำของเราที่เราทำทุกวันทุกวัน
ที่มีความตั้งอกตั้งใจที่จะกระทำกันอยู่เสมอๆ ในขณะนี้ และเวลานี้นั้น
ก็โดยจุดประสงค์ ความพอเพียงแห่งความต้องการ
หรือเรียกว่า ความมีพลังจิต หรือเรียกว่า เป็นผู้มีสมถะพอเพียง อย่างนี้เป็นต้น
(ปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายแท้จริงของพระพุทธศาสนา)
ครั้นเมื่อเรามีสมถะพอเพียงแล้วนั้น
เราจะจบลงเพียงแค่นั้นหรือ อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง
ถ้าหากว่าจบเพียงแค่นั้น ก็ไม่ถือว่า เราได้ศึกษาพระพุทธศาสนา
การที่เราศึกษาพระพุทธศาสนานั้น เราต้องการการบรรลุเป็นพระอริยบุคคล
การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลนั้น คือ
บรรลุเป็นพระโสดา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๑
พระสกิทาคา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๒
พระอนาคา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๓
พระอรหันต์ เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๔ ก็เรียกว่าชั้นสุดท้าย
อันนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนา
ที่จะได้เกิดเป็นพระอริยบุคคลขึ้นมานี้
เกิดขึ้นมาจากพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าของเราเป็นพระบรมศาสดา
แต่การที่จะเป็นพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ได้นั้น
ก็ต่อเมื่อจะต้องมาบำเพ็ญวิปัสสนา
ถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนานั้นไปถึงนั้นไม่ได้ ก็ยังต้องเร่ร่อนกันไปก่อน
ถ้าหากเราทำแค่ทำบุญทำทาน ทำสมาธิไปพอเพียง เป็นพิธีเล็กๆ น้อยๆ
ก็ต้องท่องเที่ยวอยู่ในมนุษย์นี่ กลับมาเป็นมนุษย์บ้าง
ไปเกิดในชั้นสวรรค์บ้าง อะไรอย่างนี้ ท่องเที่ยวไปตามเรื่อง
ถ้าพลาดพลั้งไปทำความผิดเข้า ก็ตกนรกไปบ้าง อะไรอย่างนี้ มันก็ไม่แน่
เพราะฉะนั้น สิ่งที่แน่นอนนั้น คือการดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนา
เพื่อความเป็นอริยบุคคล อริยบุคคลชั้นแรก เรียกว่าท่านพระโสดาบันนี้
ท่านก็ไม่มี การที่ต้องไปตกนรกแล้ว คือหมายความว่า
ท่านเป็นบุคคลผู้เที่ยงแท้ ที่จะต้องไปสู่ความบรรลุในขั้นสุดท้าย อริยบุคคล
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:39
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
(วิปัสสนา คือ ทำอย่างไร)
เพราะฉะนั้นวิปัสสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนา
วิปัสสนานั้นเราไม่ต้องพูดกันมาก
วิปัสสนามีข้อความที่จะอธิบายนิดเดียว ก็คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
๓ อย่างเท่านี้ เรียกว่าวิปัสสนา
แล้วทีนี้ เมื่อ ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นวิปัสสนานั้น
เราจะทำยังไงกับ ทุกขัง จะทำยังไง อนิจจัง จะทำยังไง
อนัตตา จะทำยังไง ถึงจะเป็นวิปัสสนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่า
"จิตของคนนี้เจือปนไปด้วยกิเลส"
อันนี้ถูกต้อง
แต่กิเลสนี้ เกิดขึ้นมาจากอะไร เกิดขึ้นมาจาก
"ตัณหา"
คือ ความรัก ความชัง ความรัก ความกำหนัดยินดี
ความชื่นชมยินดี อะไรต่างๆ ในจิตใจของคนเรานี้ อันนี้ก็เรียกว่า
อาสวกิเลส
ทีนี้เกิดขึ้นจากอะไร ก็เกิดขึ้นจากตัวประสานงาน คือร่างกายอันนี้
ร่างกายอันนี้เป็นตัวประสานงาน ถ้าหากร่างกายนี้ไม่มี
กิเลส มันก็ไม่มีตัวประสานงาน ก็อยู่เฉยๆ
แต่ถ้าร่างกายนี้มี จิตใจนี้มี ร่างกายก็จะเป็นตัวประสานงาน
ที่จะให้เราเกิดกิเลส เกิดความรัก เกิดความชังขึ้น
เพราะฉะนั้น คำว่าทุกขังนี้ จึงปรากฏขึ้น
ในวิปัสสนาว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้
ท่านเรียกว่าเป็นความทุกข์ แล้วผู้ที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ก็คือร่างกายอันนี้เกิดมา ร่างกายอันนี้แก่ ร่างกายอันนี้เจ็บ ร่างกายอันนี้ตาย
ทีนี้คนที่จะหลงรักหลงชังกันก็ต้องมีร่างกายนี้เป็นสื่อสัมพันธ์
มองเห็นตา มองเห็นศีรษะ แขน ขา มองเห็นร่างกายต่างๆ
แล้วเกิดความชอบ หรือเรียกว่าเกิดความพอใจ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายอันนี้ก็เป็นตัวสำคัญที่จะต้องจัดการในอันดับแรกของวิปัสสนา
จัดการอันดับแรกก็คือ หั่นร่างกายนี้ออกมาเป็นชิ้นๆ ให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นเพียงธาตุทั้ง ๔
ถ้าหากว่าพลังจิตเพียงพอนั้น พิจารณาเห็นได้
ถ้าพลังจิตไม่เพียงพอนั้น มองเข้าไปเท่าไหร่ มันก็ไม่เห็น
คือมันเห็นเหมือนกัน แต่มันเห็นไปด้วยอำนาจกิเลส
แต่ถ้าพลังจิตเพียงพอนั้นมองเข้าไปแล้วก็เห็นชัดว่า อันนี้เป็นธาตุ ๔
ดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดอะไรขึ้น เมื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นมา
เมื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นมาก็เกิดนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย
มันน่าเบื่อ หน่ายจริงๆ อย่างนี้ ร่างกายอันนี้ ดูสิเวลาเค้าเผาลงไปแล้วนี่
อย่างท่านมหากาลเถระ มีพระเถระองค์หนึ่ง ชื่อว่ามหากาล
ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้าของเรานั้น ได้ไปอยู่ป่าช้า
เมื่อได้ไปอยู่ป่าช้าแล้ว วันหนึ่ง มีเด็กสาวคนหนึ่ง
อายุประมาณ ๑๖ ปี ตายด้วยโรคปัจจุบัน เค้าหามมาที่ป่าช้า
ในขณะที่หามมาเค้าก็ห่อผ้ามา เมื่อห่อผ้ามา ท่านมหากาล ท่านก็บอกว่า ให้แก้ออกมาดู
ทุกอย่างท่านก็แก้ดูจนหมด นี่ร่างกายยังสดใส เพราะว่ามันเพิ่งตายไม่กี่ชั่วโมงมานี้
ในที่สุดท่านก็ไปนั่งสมาธิ เพื่อที่จะสะกดใจของท่าน
ไม่ให้ใจนั้นต้องฟุ้งซ่านไปตามกิเลส แล้วก็บอกให้สัปเหร่อ
เอาขึ้นเชิงตะกอนเผา พอเผาแล้วก็ ให้มาบอกอีกที
ในที่สุดเมื่อสัปเหร่อเผา ท่านก็ออกมาดูในคราวนี้ก็ถูกไฟเผาผลาญดำเป็นตอตะโก
แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เปื่อยออกไป เปื่อยออกไป
ในที่สุดท่านมหากาล ท่านได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์
อยู่ที่ตรงข้างเชิงตะกอนนั่นเอง อันนี้เรียกว่าทุกขัง
การที่จะพิจารณาให้เป็นวิปัสสนานั้น ต้องการที่จะให้จิตหลุดพ้นนั้น
มันก็ต้องมาถึงจุดนี้ ทีนี้ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง
ความไม่เที่ยงนั้นมันก็เกิดขึ้นจากสังขาร สังขารที่มีใจครองและไม่มีใจครอง
มีใจครองก็คือร่างกายเราร่างกายเขา
หรือว่า สัตว์ต่างๆ ที่ไม่มีใจครองก็คือบ้านเรือนทรัพย์สินสมบัติ
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเบื้องต้น สิ่งเหล่านี้คร่ำคร่าท่ามกลาง สิ่งเหล่านี้แตกสลายที่สุด
อยู่ไปไม่มีอะไรที่จะยั่งยืนอยู่ได้
เหมือนกันกับท่าน...เหมือนกันกับ มีพระองค์หนึ่ง
พระองค์หนึ่งนั้น เรียกว่า จูฬบัณถก
ท่านจูฬบัณถกนั้นพระพุทธเจ้า ให้ไปนั่งอยู่ที่หน้ากุฏิ
เมื่อนั่งอยู่ที่หน้ากุฏิแล้ว ท่านก็ อธิษฐานผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาผืนหนึ่งให้ท่าน
พระจูฬบัณถก ผ้าเช็ดหน้าผืนนั้น ปักสวยมาก เรียกว่าผ้าเช็ดหน้าที่สวยที่สุด
ในขณะนั้น แดดมันกล้า เมื่อส่องมาถึงหน้าท่านจูฬบัณถก
เหงื่อมันก็ไหลออกมา เมื่อเหงื่อไหลออกมา ท่านก็ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนนั้นแหละ
ถูเข้าไปที่เหงื่อ ซึ่งไม่กี่ครั้งผ้าเช็ดหน้าก็ค่อยคล้ำลง คล้ำลง
ในที่สุดผ้าเช็ดหน้าที่สวยงามนั้น มันก็เลย มองดูแล้วมันเป็นสิ่งสกปรกเสียแล้ว
ท่านพระจูฬบัณถกนั้น ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ในขณะที่ท่านเช็ดหน้านั่นเอง อันนี้เรียกว่าอนิจจัง
อนัตตานั้น อย่างที่ท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
ที่ท่าน ได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มันไม่ใช่ตัวตน
เพราะอะไรมันจึงไม่ใช่ตัวตน เพราะมันไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของเรา
นี่ แกอย่าแก่นะ มันก็จะแก่ แกอย่าเจ็บนะ มันก็จะเจ็บ
แกอย่าตายนะ รออีกซักหน่อยก่อน มันก็ไม่ยอม ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ได้อยู่ในอำนาจ
คือไม่ได้อยู่ในอำนาจของตัวเรา เราต้องการจะให้มันอยู่อย่างนี้
แต่มันก็อยู่ไม่ได้ มันไม่ได้อยู่ด้วยประการทั้งปวง
เพราะฉะนั้น สัพพัง รูปัง...สัพพา เวทนา...สัพพา สัญญา
...สัพเพ สังขารา...สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
นะ เมโส อัตตาติ...(ท่านอาจารย์พูดเร็ว)
มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเรา
เอวะเมตัง ยถาภูตัง สัมมัปปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ...(ท่านอาจารย์พูดเร็ว)
ก็พิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อท่านพิจารณาถึงว่า อนัตตา มันไม่ใช่ตัวตนเช่นนี้แล้ว
รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในรูป
เวทะนายะปิ นิพพิน ทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในเวทนา
สัญญายะปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในสัญญา
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย
วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในวิญญาณ
เมื่อจิตอันนี้ เบื่อหน่ายเช่นนี้แล้ว ท่านปัญจวัคคีย์ท่านก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
ในขณะที่นั่งต่อหน้าพระพักตร์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันนี้คือวิปัสสนา การทำวิปัสสนานั้น คือการเพ่ง สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
ดังที่อธิบายมานี้ ถ้าหากว่าจิตมันเกิดนิพพิทาญาณขึ้นมาเมื่อไหร่
เจริญให้มาก กระทำให้มาก อภิญญายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ดี นิพพานายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความดับสนิท
นี่เรียกว่าสมถะ นี่เรียกว่าวิปัสสนา ที่อธิบายมาในวันนี้นั้น
คืออธิบายสมถะ อธิบายวิปัสสนา ให้เข้าใจว่า พระพุทธศาสนานั้น มีความดีลึกซึ้งเพียงใด
ต่อไปนี้ นั่งสมาธิกันต่อ
จบธรรมบรรยาย
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43859
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...