ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
หลวงพ่ออภัยวงศ์ วัดแก้วพิจิตร จ.ปราจีนบุรี
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2450
ตอบกลับ: 2
หลวงพ่ออภัยวงศ์ วัดแก้วพิจิตร จ.ปราจีนบุรี
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-7-17 06:43
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงพ่ออภัยวงศ์
หรือ “หลวงพ่อปางอภัยทาน”
พระประธานในอุโบสถ วัดแก้วพิจิตร ต.บางบริบูรณ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
“วัดแก้วพิจิตร” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๔ ตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
บนริมฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก
ประมาณ ๒ กิโลเมตร
สร้างขึ้นโดยนางประมูลโภคา (นางแก้ว ประสังสิต)
เพื่อให้วัดเป็นสถานที่ในการทำบุญตักบาตร ถือศีลฟังธรรม
โดยมีผู้ร่วมกันบริจาคที่ดิน แรงงาน และทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง
สิ่งก่อสร้างภายในวัด ระยะแรกประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ
หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ อุโบสถ ศาลาท่าน้ำ และเรือนแพ ฯลฯ
ภายในอุโบสถแต่เดิมประดิษฐานรอยพระพุทธจำลอง
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๔
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ซึ่งอพยพครอบครัวมาจากพระตะบอง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำปราจีนบุรี
ได้เกณฑ์ช่างชาวเขมรมาด้วย
และได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหนังสือไทย
เป็นอาคารตึกชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๑๑ เมตร
ยาว ๔๐ เมตร ชั้นบนเป็นดาดฟ้ามียอดโดม ๓ ยอด
ตรงกลางดาดฟ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมียอดหลังคาเป็นโดม
อาคารหลังนี้ได้รับพระราชทานนามว่า
โรงเรียนอภัยพิทยาคาร
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
เห็นว่าอุโบสถหลังเดิมของวัดชำรุดทรุดโทรมมาก
จึงได้รื้อและก่อสร้างใหม่เป็น
อุโบสถก่ออิฐถือปูน
ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลปกรรมผสมผสาน ๔ ชาติ
คือ ศิลปะไทย จีน ตะวันตก และเขมร โดยก่อสร้างบนที่เดิม
ขนาดอาคารจำนวน ๕ ห้อง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๑.๓๐ เมตร
ได้รับการผูกพัทธสีมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๔
ภายใน “อุโบสถ” วัดแก้วพิจิตร เป็นที่ประดิษฐาน
พระประธานในท่านั่งขัดสมาธิทำปาง ซึ่งเรียกกันว่า
“หลวงพ่อปางอภัยทาน” หรือ “หลวงพ่ออภัยวงศ์”
นอกจากนี้ ยังมีภาพเขียนบนผืนผ้าเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ
ใส่กรอบแขวนไว้ในอุโบสถ ๑๓ ภาพ แต่ได้ถูกโจรกรรมไป
พระพุทธรูปปางอภัยทาน เป็นศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์
ตามแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๔ หล่อด้วยโลหะทองแดง
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๗ เซนติเมตร
พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
พระหัตถ์ขวายกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านนอก
พระองค์วางตั้งฉากอยู่บนพระเพลา
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายฝ่าพระหัตถ์ขึ้นอยู่บนพระเพลา
พระเนตรและพระอุมาฝังด้วยอัญมณี อยู่ภายใต้ฉัตรเงิน ๕ ชั้น
เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงออกแบบและทรงประทานพระนามว่า “ปางอภัยทาน”
พระพุทธรูปมีลักษณะเหมือนมนุษย์สามัญ
และเลียนแบบพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ของอินเดีย
พระพักตร์เป็นแบบประติมากรรมกรีกโรมัน
พระเกศาหยักศกรวบเป็นมวยกลางพระเศียร
ครองจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ
พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงกันกับพระพุทธรูปปางขอฝน
ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่างกันตรงที่พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งเท่านั้น
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุชนที่มานมัสการมักมาขอพร ๓ ประการ ที่ประสบความสำเร็จ คือ
พรข้อที่ ๑ ถ้าท่านเป็นผู้ใจร้อน เมื่อได้นมัสการแล้วใจจะเย็นลงสงบขึ้น
พรข้อที่ ๒ ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีคำพูดไม่มีความหมาย
พูดแล้วไม่ประทับใจผู้รับฟัง พูดแล้วเหมือนขวางหูผู้รับฟัง
เมื่อได้นมัสการแล้วจะเป็นผู้ที่พูดแล้ว
มีความหมายติดตรึงใจผู้รับฟัง ประทับใจผู้ร่วมสนทนา
พรข้อที่ ๓ จะล่วงเกินผู้ใดก็ตามจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
เมื่อได้นมัสการแล้วจะได้รับการให้อภัยจะไม่มีการโกรธไม่มีศัตรู
ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ได้จัดสร้างหอไตร ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร
บริเวณที่เคยเป็นศาลาการเปรียญ
เป็นสถาปัตยกรรมผสมศิลปะตะวันตกกับศิลปะไทย
และสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น
เป็นอาคารขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหอไตร
สิ่งสำคัญนอกจากการนมัสการหลวงพ่ออภัยวงศ์
คือ อุโบสถ ๔ ชาติ กล่าวคือ ฝรั่งเศส เขมร จีน และไทย
ซึ่งเป็นที่ร่ำลือกล่าวขวัญอย่างมากว่าเป็นการสร้างที่แปลก
ด้วยการผสมผสานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
อันงดงามไว้ได้ถึง ๔ ชาติในอุโบสถหลังเดียวกัน
โดยอุโบสถหลังนี้จำลองแบบมาจากวัดพระเจ้าช้างเผือก
เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา (ราชอาณาจักรกัมพูชา)
ด้วยความสำคัญของวัดแห่งนี้ ทางด้านศิลปกรรม ประวัติศาสตร์
ความเป็นมา และการเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ
ของจังหวัดปราจีนบุรี กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียน
วัดแก้วพิจิตรให้เป็นโบราณสถานของชาติ ในปี พ.ศ.๒๕๓๓
และในปี พ.ศ.๒๕๓๕ จังหวัดปราจีนบุรีจึงได้ดำเนินการบูรณะ
วัดแห่งนี้อีกครั้ง โดยใช้รูปแบบวิธีการบูรณะของกรมศิลปากร
อนึ่งในการเยี่ยมชมและนมัสการ จะมีคุณวารินทร์ คุ้มกาญจน์
วิทยากรบรรยายพิเศษของกรมศิลปากร นำชมให้ความรู้โดยตลอด
หากสาธุชนท่านใดมีโอกาสเดินทางไปแถบภาคตะวันออก
ใกล้จังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ควรแวะไปที่วัดแก้วพิจิตร
ชมลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปกรรมผสมผสาน ๔ ชาติ
พร้อมนมัสการหลวงพ่ออภัยวงศ์ หรือ “หลวงพ่อปางอภัยทาน”
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-7-17 06:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก...
หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =7&gblog=1
................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=41099
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...