ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5224
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

[คัดลอกลิงก์]


พระเจ้าตนหลวง   หรือ “พระเจ้าองค์หลวง”  
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดศรีโคมคำ
(พระอารามหลวง) ถ.พหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา


“วัดศรีโคมคำ” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา


กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่
เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย

เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา
มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา
คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่
มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด
และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย
ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก
จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔  
สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา
ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก
ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน
จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา’
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-19 00:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง  

ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง”
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระเจ้าตนหลวง”
โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗  

“พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง
ศิลปะเชียงแสน ที่องค์พระมีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร
สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว
ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง


ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔
โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่
และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น

เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล
ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล
แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง
ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป
ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี
วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ




3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-19 00:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา
เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา
ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน
ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์
กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง

นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์
สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ
โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ
“จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ
ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน  
ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”
ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า
“พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา
พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ
ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา
พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก
ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ

พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ
พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ
พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ
กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา
ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา
ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา

พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ
ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา
กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ
ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”


“พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง”
มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย


ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา
จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง”
จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก   

เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง
เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา
ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า
ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-19 00:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระวิหารหลวงวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา


พระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา



หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน


  ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ
http://photo.lannaphotoclub.com/index.php?topic=3461.0
http://nirunphoto.multiply.com/photos/album/49/                                                                                       
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19124

สาธุ กราบหลวงพ่อเจ้าข้า
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้