ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4115
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระพรหมจริยาจารย์(สมุท รชตวณฺโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
พระพรหมจริยาจารย์
(สมุท รชตวณฺโณ)


วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร



๏ อัตโนประวัติ

พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) มีนามเดิมว่า สมุท รัชฏาวรรณ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2463 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ณ บ้านเลขที่ 74 หมู่ที่ 4 ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายฟอง และนางแก้ว รัชฏาวรรณ


๏ การศึกษาเบื้องต้น

ในช่วงวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์ ณ โรงเรียนประชาบาลวัดโบสถ์ราษฎร์ศรัทธา ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

เมื่อสมัยเป็นเด็ก ได้เข้ามาอยู่วัดเบญจมบพิตรฯ  เป็นศิษย์วัดเรียนบาลี ซึ่งเป็นศิษย์วัดรุ่น  “ราชปะแตน” คือ นุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้อราชปะแตนขาวอย่างชาววัง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ การบรรพชา

กระทั่งอายุได้ 16 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2479 ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) ครั้งดำรงพระสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

สามเณรสมุท มีความมุ่งมั่นในการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นอย่างสูง พ.ศ.2479 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2480 สอบได้นักธรรมชั้นโท และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค

พ.ศ.2481 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

พ.ศ.2482 สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค จากสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ การอุปสมบท

ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2483 ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) ครั้งดำรงพระสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมงคลวัตรกวี (คอน นนฺทิโย ป.ธ.3) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระสรภาณกวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (ดอกไม้ อุตฺตรภทฺโท ป.ธ.6) เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับนามฉายาว่า “รชตวณฺโณ”

พ.ศ.2485 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ณ สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ.2490 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ณ สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ลำดับงานด้านการศึกษา

พ.ศ.2486 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมและบาลีสนามหลวง

พ.ศ.2488 เป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดพระสิงห์และวัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ.2490 เป็นพระอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พ.ศ.2495-2537 เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2489 เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ.2496-2516 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พ.ศ.2505 เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอบางเขน และเป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ

พ.ศ.2507-2508 เป็นรองเจ้าคณะภาค 11

พ.ศ.2508-2516 เป็นเจ้าคณะภาค 11

พ.ศ.2516 เป็นเจ้าคณะภาค 5

พ.ศ.2516-2537 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวานาราม

พ.ศ.2537-2538 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พ.ศ.2538 เป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2493 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ ฐานานุกรมในสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9)

พ.ศ.2496 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระอมรเมธี

พ.ศ.2501 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชกิตติเวที

พ.ศ.2506 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพกิตติเวที

พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมกิตติโสภณ

พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่ พระพรหมจริยาจารย์

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ งานด้านกวีนิพนธ์

พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) ฉายแววอัจฉริยะในด้านกวีนิพนธ์ จนได้รับการยกย่องเป็น“รัตนกวี” รูปหนึ่งของวงการคณะสงฆ์ไทยและชาวพุทธทั่วไป ด้วยมีผลงานร้อยกรอง กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ที่รวมบทกวีตีพิมพ์ออกมา อาทิ คาถาพระธรรมบทคำกลอน เบญจมราชาสดุดี เบญจวรรณ (รวมบทกวี กาพย์เห่เรือ กลอน โคลง และฉันท์) เป็นต้น ในโอกาสสำคัญต่างๆ ท่านได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แต่งคำฉันท์ต่างๆ อาทิ

- แต่งบทประพันธ์อาเศียรวาทราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พ.ศ.2526

- แต่งบทประพันธ์อาเศียรวาทรัชมังคลาภิเษกสมโภช เนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ.2531

- แต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ กลอนสุภาพ ในพระราชพิธี พิธีสำคัญ หรือโอกาสสำคัญ ตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย

- แต่งคำฉันท์สดุดี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส พ.ศ.2533

- แต่งคำฉันท์สดุดี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เนื่องในมงคลวโรกาสเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา พ.ศ.2536

- แต่งคำฉันท์สดุดี พระธรรมิกมหาราชากาญจนาภิเษก เนื่องในการพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539

- แต่งกาพย์ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม  พ.ศ.2542

อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดท่าสุทธาวาส บ้านบางเสด็จ ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พระพรหมจริยาจารย์ได้แต่งคำประพันธ์กาพย์เห่เรือ และจัดแห่เรือถวาย

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)


๏ เป็นสหชาติกับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์

วันเดือนปีเกิดของ พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) นั้น ตรงกันกับวันเดือนปีเกิดของ พระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) อดีตเจ้าอาวาสหรืออธิบดีสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ รูปที่ 3 สมเด็จพระพุทธชินวงศ์กับพระพรหมจริยาจารย์จึงเป็นสหชาติคือเกิดพร้อมกัน ตลอดจนยังได้มาอยู่วัดเดียวกันด้วยคือวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม การศึกษาก็จบ ป.ธ.7 เหมือนกันอีก

โดยขณะที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรฯ  พระพรหมจริยาจารย์ก็ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาส สนองงานสมเด็จพระพุทธชินวงศ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2537 พระพรหมจริยาจารย์จึงได้รับบัญชาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสหรืออธิบดีสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นรูปที่ 4 มาตั้งแต่บัดนั้น นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


๏ สนับสนุนโครงการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน

นอกจากนี้ พระพรหมจริยาจารย์ได้ให้การสนับสนุนโครงการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน วัดเบญจมบพิตรฯ ได้ถือเป็นนโยบายหลัก เพราะคู่กับคันถธุระตามหลักฐานพระบาลีที่มีมา และทางวัดได้จัดให้มีกิจกรรมอบรมจิตตภาวนา ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาจิตใจในการทำงาน และสร้างสมรรถนะจิตใจให้มีความเข้มแข็งและมีคุณค่าสูงขึ้นดีงามต่อไป

ผู้สร้างความดีไว้ในแหล่งหล้า
บุญย่อมพาใจเพลินเจริญศรี
ย่อมเพลิดเพลินคราตายวายชีวี
ทั้งโลกนี้โลกหน้าบุญพาเพลิน
ย่อมเพลิดเพลินว่าฉันสรรค์กุศล
จึงได้ดลแดนสวรรค์น่าสรรเสริญ
ผลของบุญกูลเกื้อดีเหลือเกิน
ให้จำเริญเพลินจิตนิจนิรันดร์


ด้วยภาระหน้าที่อธิบดีสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ, เจ้าคณะใหญ่หนใต้, กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.), ประธานกรรมการที่ปรึกษาพระธรรมจาริก และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตรฯ พระพรหมจริยาจารย์ได้ทุ่มเทอุทิศงานสนองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย จวบกระทั่งถึงวาระสุดท้ายที่ท่านเจ้าคุณได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่าที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง ชีวประวัติของท่านนับว่าสวยงาม ควรแก่การศึกษาและสักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 13:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


๏ การมรณภาพ

“โอ้กายนี้ ไม่นาน วิญญาณจาก
ต้องทิ้งซาก นอนทับ กับดินหนอ
ดั่งท่อนไม้ ไร้ค่า ล้มคาตอ
ทิ้งท่อนรอ ปลวกไฟ อยู่ในดง”


เป็นคติธรรมคำกลอนที่ประพันธ์โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมจริยาจารย์ อันสะท้อนถึงความจริงแห่งชีวิตอย่างยิ่ง

บัดนี้ พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)  ได้ถึงแก่มรณภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อเวลา 20.10 นาฬิกา ของคืนอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2549 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว สิริรวมอายุได้ 86 พรรษา 66 ภายหลังเข้ารับการผ่าตัดก้อนนิ่วจากคณะแพทย์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ท่านเจ้าคุณมีอาการอาพาธเป็นประจำ ต้องเดินทางเข้าออกรับการรักษาจากโรงพยาบาลเป็นประจำ และก่อนหน้านี้ยังเคยเข้ารับการผ่าตัดลำไส้ ต่อมาในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2549  ท่านเจ้าคุณมีอาการท้องเสีย แต่ถ่ายปัสสาวะไม่ได้ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมาก คณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำท่านเจ้าคุณส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อรับการรักษาอาการด้วยการผ่าตัด แต่สุดท้ายไม่สามารถยื้ออาการไว้ได้เป็นผลสำเร็จ ท่านเจ้าคุณจึงได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ท่ามกลางความเศร้าสลดอาลัยของบรรดาคณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง


ซ้าย : รูปหล่อสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) อดีตเจ้าอาวาส รูปที่ 3
ขวา : พระรูปหล่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์พระอนุสรณ์ อปก. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม




.............................................................

♥ รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5890
และข่าวประจำวันจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด                                                                                       
............................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22288

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้