ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3227
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎอัยการศึก

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎอัยการศึก



กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน ดังนั้นทางทีมงาน toptenthailand ขอนำเสนอ 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎอัยการศึก
กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน ดังนั้นทางทีมงาน toptenthailand ขอนำเสนอ 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎอัยการศึก



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
10.ด้านสัดส่วนและความจำเป็น



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thairath.co.th
ในด้านความจำเป็น เห็นได้ว่า กฎอัยการศึกอาจเคยมีความจำเป็นในยุคสมัยโบราณที่การจัดการภัยคุกคามไม่อาจทำได้ทันท่วงทีและการสื่อสารสั่งการโดยรัฐบาลพลเรือนไปยังฝ่ายทหารมีข้อจำกัดในยามวิกฤติจึงต้องให้อำนาจฝ่ายทหารดำเนินการได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที อย่างไรก็ดี สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏชัดว่าเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือในด้านความมั่นคงมีความก้าวหน้าและมีการนำเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายพัฒนาและบำรุงกองทัพอย่างมหาศาล และแม้คณะรัฐมนตรีจะอยู่ที่ใด ก็ยังบัญชาสั่งการฝ่ายทหารได้อย่างทันท่วงทีกฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความจำเป็นในทางรัฐธรรมนูญ

ในด้านความได้สัดส่วน กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติให้อำนาจฝ่ายทหารประกาศใช้อำนาจได้เองโดยปราศจากนิยามหรือหลักเกณฑ์อีกทั้งให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจค้น เกณฑ์กำลัง ที่จะห้ามการกระทำ ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่ขับไล่ได้เต็มที่โดยปราศจากเงื่อนไขชัดเจน โดยเฉพาะการให้อำนาจฝ่ายทหารทำหน้าที่ทั้งด้านบริหารสถานการณ์ ออกข้อบังคับในทางนิติบัญญัติ และพิพากษาคดีทหารและอาญาศึกแทนตุลาการ โดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลอันเป็นการละเมิดหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างร้ายแรง กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความได้สัดส่วนในทางรัฐธรรมนูญ

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9.กฎอัยการศึกที่ผ่านมา



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thairath.co.th
- ที่ผ่านมา กฎอัยการศึกถูกประกาศใช้ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย อาทิ การประกาศใช้และแก้ไขหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติช่วงปี 2534 และการประกาศใช้ในช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 มาถึงช่วงการจัดทำรัฐธรรมนูญ

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8.การเลิกใช้กฎอัยการศึก



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thairath.co.th
- การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7.สงครามหรือจลาจล



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:sportclassic.in.th
- ในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับเพิ่มเติมให้ดำเนินไปตามกฎอัยการศึกนี้และเมื่อได้ประกาศแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติ

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6.อำนาจศาลของฝ่ายทหาร



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:news.th.msn.com
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลของฝ่ายทหารมีอำนาจ กล่าวคือ ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ปกติเว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5.เมื่อประกาศกฎอัยการศึก



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:news.th.msn.com
- เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น,ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้ามการกระทำ,ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย,ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่ ทั้งข้าศึกและประชาชน และหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจและเกิดความเสียหาย บุคคลหรือบริษัทใด ๆจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4.ประกาศใช้กฎอัยการศึก



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:news.th.msn.com
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3.อำนาจฝ่ายทหาร



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:news.mthai.com
- กฎอัยการศึกให้อำนาจฝ่ายทหารประกาศได้เอง โดยเมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพันหรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-20 14:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2.จุดมุ่งหมาย



ขอขอบคุณรูปภาพจาก:mthai.com
- กฎอัยการศึกมุ่งหมายให้ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดเท่าที่จำเป็น ในยามสงครามหรือจลาจลแต่ไม่ได้นิยามความหมายของยามสงครามหรือจลาจลไว้โดยชัด และไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารว่าเป็นไปโดยสุจริตได้สัดส่วน และสมควรแก่เหตุหรือไม่

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้