ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6718
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัฒนธรรมการกินหมาก

[คัดลอกลิงก์]




วัฒนธรรมการกินหมากของไทย

การกินหมาก ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างหนึ่ง จากเอกสารของจีนโบราณได้กล่าว ถึงกลุ่มชนฟันดำซึ่งหมายถึงคนกินหมาก เมื่อ 200 ปี อยู่ทางทิศใต้ซึ่งหมายถึงไทย และลาว ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงว่า “ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมัน สิ้น” ซึ่งมีการปลูกหมากปลูกพลู และมีวัฒนธรรมในการกินหมากสืบต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา

จากหลักฐานที่พบที่ชุมชนบ้านเก่า บางกระบือ เต้าปูนทองแดง/สำริด แสดงให้เห็น ว่าคนในชุมชนบ้านเก่ามีการกินหมาก เป็นสำรับเรียกว่า “เชี่ยนหมาก” มีอุปกรณ์ประกอบด้วย ตลับใส่ยาเส้น ใส่หมากแห้ง สีผึ้ง สีเสียด เต้า ปูนใส่ปูนแดง ซองพลูใส่ใบพลู กรรไกรหนีบหมาก ครกหรือตะบันหมาก กระโถนบ้วนน้ำหมาก

เชี่ยนหมากเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของไทยในสมัย โบราณได้ เช่น พวกขุนนางและพระเจ้าแผ่นดิน จะพระราชทานเครื่องประดับยศมีหีบหมากทองคำ ดาบ เรือยาว สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ ทาสสำหรับใช้สอย

กินหมาก

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามา ได้แต่งหนังสือไว้เรียกว่า “จดหมายเหตุของลาลูแบร์” บันทึกเรื่องราว ในสมัยอยุธยาไว้เป็นอันมากได้กล่าวถึงเรื่อง การกินหมากของคนไทยในสมัยอยุธยาไว้ว่า “เป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านต้องยอมให้แขก ที่มาสู่เหย้านั่งที่ตนเคยนั่ง และต้องเชื้อเชิญให้ยอมนั่ง ภายหลังก็ยกผลไม้ ของว่างและของหวานมาเลี้ยง บางที่ก็ถึงเลี้ยงข้าวปลาด้วยและข้อสำคัญนั้นเจ้าของบ้าน ต้องส่งเชี่ยนหมากแลทีชาให้แขกรับประทาน ด้วยมือเอง ถ้าเป็นราษฎร์สามัญแล้วไม่ลืมเลี้ยง เหล้า”

จากบันทึกอีกตอนหนึ่งของบาลูแบร์ กล่าวไว้ว่า “ในพระราชมณเทียรพระมหากษัตริย์นั้น ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่กล้าไอ จาม หรือบ้วนน้ำหมาก ถ่มเสลด และไม่กล้าสั่งมูลนาสิก หมากที่อมติดปากไว้ นั้นก็กลืนน้ำหมากเอือก ๆ ให้หายเข้าไปในคออย่างแช่มชื่น” วัฒนธรรมการกินหมาก สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งไม่ให้มีการค้าขายหมาก ทำให้คนไทยเลิกกินหมาก วัฒนธรรมการกินหมากกับสังคมไทยก็ค่อย ๆ เลือนหาย ไป




ใบยาสูบซอยละเอียดและตากให้แห้งไว้สูบเอง


เชี่ยนหมาก



หลักฐานทางโบราณคดีบริเวณถ้ำในภาคเหนือของไทยพบร่องรอยการกินหมากพลูมามากกว่า 8000 ปี หมากเป็นเครื่องหมายของความชอบพอ การรับแขกด้วยหมากแสดงให้เห็นซึ่งการยอมรับสถานภาพพิเศษ และฐานะทางสังคมของบุคคลนั้น ในพิธีบุญของไทยล้านนาที่มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มักมีหมากพลูที่เจียนและม้วนเรียบร้อยแล้วใส่พานไว้ถวายพระสงฆ์ รวมทั้งมีการจัดเตรียมกระโถนไว้ให้ท่านด้วย
วัฒนธรรมการกินหมากเคยมีความหมายต่อวิถีชีวิตผู้คนอย่างมากในอดีต นอกจากนั้นแล้ว ในบางสังคมการกินหมาก เป็นสัญลักษณ์ของความดีความชอบด้วย




ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ความนิยมในการกินหมากได้สะดุดหยุดลง เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศแบบตะวันตก จึงได้สั่งตัดต้นหมากและพลูทิ้งแล้วปลูกพืชอื่นแทน ประกอบด้วยอนุชนรุ่นหลังไม่ชอบกินหมากด้วย ทำให้ต้นหมากลดน้อยลงโดยปริยาย การกินหมากจะทำให้บางคนเกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน และเวียนศรีษะได้หรือที่เรียกว่าเกิดอาการยันหมาก


การมีฟันดำจากการกินหมากถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในอดีตและถือเป็นความงามของคนด้วย ความงามที่มีฟันสีดำ นั้น ถึงขนาดมีคำกล่าวกันว่า “หมาน่ะซี ที่มีฟันสีขาว” และมีคำอธิษฐานขอต่อพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงว่า “ขอให้ฟันดำเหมือนลูกหว้า ขอให้ปัญญาเหมือนพระมโหสถ” การกินหมากจึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องความอยาก ความหิว ความอิ่มเพียงเท่านั้น หากยังเป็นความพึงพอใจ และเป็นความงามอย่างหนึ่งในทรรศนะของคนในยุคก่อน ตามความเชื่อของคนอินเดีย พระพิฆเนศที่เป็นเทพเจ้าแห่งความรอบรู้จะแปลงร่างเป็นผลหมาก หมากจึงเป็นพืชผลของเทพเจ้า ดังนั้นในพิธีกรรมต่างๆของพราหมณ์จึงขาดหมากไม่ได้


สิ่งอื่นที่ตามมาจากวัฒนธรรมการกินหมากพลู คือ การทำให้เกิดศิลปกรรมชั้นเยี่ยมอันเป็นปราณีตศิลป์หลายอย่าง เช่น โถพลู เชี่ยนหมาก และ อุปกรณ์การกินหมากอื่นๆ อย่างหนึ่งคือ ทำให้เกิด เชี่ยนหมาก ซึ่งเป็นเครื่องใช้เกี่ยวกับการกินหมาก ซึ่งมีรูปลักษณ์ต่างๆที่สวยงาม



เชี่ยนหมาก
เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับ






ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการกินหมากทั้งสิ้น ด้วยแต่เดิมคนไทยกินหมากกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เพราะสมัยก่อนนั้นถือว่าการกินหมากเป็นสิ่งดีงาม อีกทั้งยังมีค่านิยมที่ว่าคนสวยจะต้องกินหมากจนปากแดง และ ฟันดำอีกด้วย
เชี่ยนหมากจึงเป็นสิ่งที่แทบทุกครัวเรือนจะต้องมีติดบ้านไว้เสมอ เพราะนอกจากสมาชิกในครอบครัวได้เพลิดเพลินกับการเคี้ยวหมากในยามว่างแล้ว เชี่ยนหมากยังใช้รับแขกที่มาเยี่ยมเยียนถึงเรือนชานได้เป็นอย่างดี ตามปกเชี่ยนหมากทำขึ้นจากไม้ ทอง ทองเหลือง เงิน และเครื่องเขิน โดยมีลักษณ์เป็นทรงกลมหรือหกเหลี่ยม บ้างมีการตกแต่งรวดรายเพื่อเพิ่มคุณค่าความงามตามความนิยมท้องถิ่น




ปัจจุบันวัฒนธรรมการกินหมากค่อยๆ เลื่อนหายไปตามการเวลา มีเพียงคนสูงอายุเท่านั้นที่ยังจีบหมากจีบพูลใส่เชี่ยนหมากไว้ถวายพระในงานบุญงานกุศลต่างๆ เช่น งานบวช และพิธีแต่งงาน เป็นต้น





เครดิต : http://www.samunpri.com/?p=7452#sthash.55SaLXsb.dpuf
http://www.baanmaha.com/community
และขอบคุณ รูปภาพจากกูเกิ้ล - อินเทอร์เน็ต
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้